พบผลลัพธ์ทั้งหมด 303 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่า, ค่าทดแทน, ค่าอุปการะเลี้ยงดู กรณีมีชู้, ความผิดทางแพ่งต่อเนื่อง, อายุความ
โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2 และอยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยโดยยังมิได้หย่าขาดกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องหย่าเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยที่ 1 และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสอง แม้โจทก์ทราบว่าจำเลยทั้งสองจดทะเบียนสมรสและอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2536 แต่จำเลยทั้งสองก็อยู่กินร่วมกันตลอดมาจนถึงวันฟ้อง ลักษณะการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดการกระทำ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
จำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันสามีภริยาอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1) และศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันด้วยเหตุดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสองได้ตามมาตรา 1523 วรรคแรก
สิทธิของบุตรผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเป็นสิทธิของบุตรแต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรทั้งสองรวมกันจึงไม่ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันสามีภริยาอันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1) และศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่ากันด้วยเหตุดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสองได้ตามมาตรา 1523 วรรคแรก
สิทธิของบุตรผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเป็นสิทธิของบุตรแต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรทั้งสองรวมกันจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่า: พิจารณาจากเหตุแห่งการฟ้องเป็นค่าเช่าค้างชำระหรือค่าเสียหายจากการเลิกสัญญา
คำฟ้องของโจทก์ใช้ถ้อยคำบางตอนว่าฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ แต่ก็ได้กล่าวด้วยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนและครอบครองใช้ทรัพย์สินที่เช่าตลอดมา อันเป็นการผิดสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันและจำเลยตกลงชำระค่าเสียหายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าเมื่อได้มีการเลิกสัญญานั้นแล้วด้วย กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยเหตุมาจากการเลิกสัญญาเช่าเป็น 2 ประการ คือ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้ให้เช่าต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่า ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30เมื่อโจทก์เข้ายึดถือครอบครองเอาคืนซึ่งหัวรถยนต์บรรทุกที่เช่าเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม2540 สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2542 ยังไม่พ้นสิบปี จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากสัญญาจ้างทำของที่แบ่งชำระเป็นงวดๆ เริ่มนับจากวันที่ส่งมอบงานครบถ้วน
การที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้พิมพ์หนังสือเป็นเรื่องจ้างทำของสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวมีกำหนดอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)
สัญญากำหนดชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ตามงานที่เสร็จเป็นช่วง ๆ โจทก์จัดส่งหนังสือให้จำเลยครบถ้วนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 ฉะนั้น อายุความของโจทก์ในการฟ้องเพื่อสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงวดสุดท้ายจึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/12 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 จึงเป็นเวลาเกินกว่าสองปีแล้ว จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/9 การบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นจริงของสัญญาที่แบ่งชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ให้กลายเป็นการชำระหนี้ให้บางส่วน เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) ได้
สัญญากำหนดชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ตามงานที่เสร็จเป็นช่วง ๆ โจทก์จัดส่งหนังสือให้จำเลยครบถ้วนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 ฉะนั้น อายุความของโจทก์ในการฟ้องเพื่อสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงวดสุดท้ายจึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/12 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 จึงเป็นเวลาเกินกว่าสองปีแล้ว จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/9 การบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นจริงของสัญญาที่แบ่งชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ให้กลายเป็นการชำระหนี้ให้บางส่วน เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงิน, การยอมรับสภาพหนี้, ผลกระทบการตายของผู้กู้ต่ออายุความ, การฟ้องร้องภายใน 1 ปี
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาอย่างไรก็ตาม เมื่อจำเลยไม่คัดค้านภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาพออนุโลมได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
สัญญากู้เงินลงวันที่ 12 มิถุนายน 2523 มีข้อตกลงว่าผู้กู้จะชำระหนี้เมื่อผู้ให้กู้เรียกร้อง มิได้มีข้อตกลงเรื่องการชำระหนี้ไว้จึงเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 13 มิถุนายน 2523 ตามมาตรา 193/3 วรรคสองและมาตรา 193/12
กฎหมายมิได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ ร. ผู้กู้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2523เมื่อ ร. นำเงินบางส่วนมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2531 เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการชำระหนี้คือ วันที่ 2 มิถุนายน 2531และจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง มาตรา 193/5 วรรคสอง และมาตรา 193/15 วรรคสอง
ร. ถึงแก่ความตายวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะต้องฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตามมาตรา 193/23 เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. จะถึงแก่ความตายจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ภายหลังจากที่ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวฟังขึ้น ศาลฎีกาก็ยังไม่มีอำนาจวินิจัยให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องของโจทก์ได้ เนื่องจากมีประเด็นข้อพิพาทอีกหลายข้อที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยซึ่งต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเหล่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
สัญญากู้เงินลงวันที่ 12 มิถุนายน 2523 มีข้อตกลงว่าผู้กู้จะชำระหนี้เมื่อผู้ให้กู้เรียกร้อง มิได้มีข้อตกลงเรื่องการชำระหนี้ไว้จึงเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 13 มิถุนายน 2523 ตามมาตรา 193/3 วรรคสองและมาตรา 193/12
กฎหมายมิได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ ร. ผู้กู้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2523เมื่อ ร. นำเงินบางส่วนมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2531 เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการชำระหนี้คือ วันที่ 2 มิถุนายน 2531และจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง มาตรา 193/5 วรรคสอง และมาตรา 193/15 วรรคสอง
ร. ถึงแก่ความตายวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะต้องฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตามมาตรา 193/23 เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. จะถึงแก่ความตายจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ภายหลังจากที่ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวฟังขึ้น ศาลฎีกาก็ยังไม่มีอำนาจวินิจัยให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องของโจทก์ได้ เนื่องจากมีประเด็นข้อพิพาทอีกหลายข้อที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยซึ่งต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเหล่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าสินค้า: ผู้ประกอบการค้า vs. ผ่อนชำระเป็นงวด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขาย เป็นการที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย แม้โจทก์ยินยอมให้จำเลยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นเพียงผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ เท่านั้น กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)ซึ่งมีอายุความ 2 ปี หาใช่เป็นกรณีเงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2) ซึ่งมีอายุความ 5 ปีไม่ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์2544 เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีซื้อขายสินค้า: ผ่อนชำระเป็นงวด vs. ชำระหนี้ทั้งหมด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขาย เป็นการที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย แม้โจทก์ยินยอมให้จำเลยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นเพียงผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ เท่านั้น กรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี หาใช่เป็นกรณีเงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีอายุความ 5 ปีไม่ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544 เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9647/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงิน: เริ่มนับจากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยรายเดือน ไม่ใช่วันครบกำหนดชำระหนี้
การกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้กำหนดอายุความฟ้องร้องไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถือว่ามีอายุความ10 ปี ตามมาตรา 193/30 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 ดังนั้น เมื่อหนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 4 กำหนดไว้ว่า จำเลยจะต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทุกเดือน ย่อมหมายความว่า จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เดือนแรกภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 การที่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เลยเช่นนี้จึงถือว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญา ทั้งหนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 6 ระบุว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยจากจำเลยได้ทั้งหมดทันทีโดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเวลาชำระเงินต้นคืนตามที่กำหนดกันไว้ในสัญญาอันถือได้ว่ากำหนดเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้นั้นเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2531 เป็นต้นไปโจทก์จึงต้องฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยคืนจากจำเลยภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 หาใช่เริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 28มิถุนายน 2532 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญากู้เงินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9539/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค: เริ่มนับจากวันออกเช็คที่ตกลงกันได้ แม้มีการแก้ไขหรือลงวันออกเช็คภายหลัง
เช็คเป็นตั๋วเงินที่ผู้สั่งจ่ายสั่งให้ธนาคารใช้เพื่อทวงถาม ผู้ทรงเช็คจึงมีสิทธิทวงถามให้ธนาคารใช้เงินตั้งแต่วันออกเช็คซึ่งหมายถึงวันที่ลงในเช็ค มิใช่หมายถึงวันที่ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คหรือมิใช่วันที่ผู้ทรงเช็คยื่นเช็คแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ลงในเช็คอันเป็นวันที่ผู้ทรงอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12
โจทก์จำเลยตกลงให้จำเลยขีดฆ่าวันออกเช็คพิพาทเดิม และยินยอมให้โจทก์ลงวันออกเช็ควันใดวันหนึ่งก็ได้ตามที่โจทก์เห็นสมควร การที่โจทก์ไม่ลงวันออกเช็คในครั้งแรกที่นำเช็คพิพาทไปยื่น ธนาคารชอบที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินได้เพราะตราสารที่นำไปยื่นนั้นมีรายการขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์อันจะถือว่าเป็นเช็ค เมื่อโจทก์นำตราสารนั้นมาลงวันออกเช็คในครั้งหลังเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2541 เพื่อให้สมบูรณ์เป็นเช็คจึงเป็นสิทธิที่โจทก์ย่อมกระทำได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป
โจทก์จำเลยตกลงให้จำเลยขีดฆ่าวันออกเช็คพิพาทเดิม และยินยอมให้โจทก์ลงวันออกเช็ควันใดวันหนึ่งก็ได้ตามที่โจทก์เห็นสมควร การที่โจทก์ไม่ลงวันออกเช็คในครั้งแรกที่นำเช็คพิพาทไปยื่น ธนาคารชอบที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินได้เพราะตราสารที่นำไปยื่นนั้นมีรายการขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์อันจะถือว่าเป็นเช็ค เมื่อโจทก์นำตราสารนั้นมาลงวันออกเช็คในครั้งหลังเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2541 เพื่อให้สมบูรณ์เป็นเช็คจึงเป็นสิทธิที่โจทก์ย่อมกระทำได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9231/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจและอายุความสัญญาซื้อขาย: การนับอายุความเริ่มจากวันที่ส่งมอบสินค้า
แม้ขณะที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย หนังสือมอบอำนาจจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่เมื่อได้มีการปิดอากรแสตมป์ในชั้นพิจารณาครบถ้วนก่อนสืบพยานโจทก์ ก็ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
เมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์จะจัดส่งสินค้าให้แก่จำเลยผ่านบริษัทขนส่งสินค้า โจทก์จะรวบรวม ใบส่งของชั่วคราวฉบับจริงและใบขนส่งบริษัทขนส่งไว้เป็นหลักฐาน และจะทำใบวางบิลสรุปยอดหนี้ว่ามีจำนวน เท่าใด และโจทก์ไม่มีหลักปฏิบัติว่าเมื่อค้างสินค้าจนถึงเวลาใดจึงจะไปเรียกเก็บ แต่โจทก์จะรวบรวมค่าสินค้าที่ค้างชำระไปเรียกเก็บจากจำเลยโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ทันทีนับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าตามใบส่งของ แต่ละฉบับ มิใช่นับจากวันที่โจทก์สรุปยอดหนี้วางบิลเพื่อเรียกเก็บเงินจากจำเลย ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ประกอบมาตรา 193/12 อายุความจึงเริ่มนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยตามวันที่ระบุในใบส่งของแต่ละฉบับ
เมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์จะจัดส่งสินค้าให้แก่จำเลยผ่านบริษัทขนส่งสินค้า โจทก์จะรวบรวม ใบส่งของชั่วคราวฉบับจริงและใบขนส่งบริษัทขนส่งไว้เป็นหลักฐาน และจะทำใบวางบิลสรุปยอดหนี้ว่ามีจำนวน เท่าใด และโจทก์ไม่มีหลักปฏิบัติว่าเมื่อค้างสินค้าจนถึงเวลาใดจึงจะไปเรียกเก็บ แต่โจทก์จะรวบรวมค่าสินค้าที่ค้างชำระไปเรียกเก็บจากจำเลยโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ทันทีนับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าตามใบส่งของ แต่ละฉบับ มิใช่นับจากวันที่โจทก์สรุปยอดหนี้วางบิลเพื่อเรียกเก็บเงินจากจำเลย ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ประกอบมาตรา 193/12 อายุความจึงเริ่มนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยตามวันที่ระบุในใบส่งของแต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้บัตรเครดิต: เริ่มนับแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้อง ไม่ใช่วันเลิกสัญญา
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด (มหาชน) ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ จำเลยเป็นลูกค้าโจทก์ ตามบัตรเครดิต 2 ประเภท คือ เพื่อซื้อสินค้าและชำระราคาค่าบริการต่าง ๆ แทนเงินสดประเภทหนึ่ง กับใช้เบิกเงินสดจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน หรือธนวัฎบัตรเครดิตอีกประเภทหนึ่ง การให้บริการบัตรเครดิตเป็นวัตถุประสงค์ ของโจทก์ การที่โจทก์ให้บริการใช้บัตรเครดิตแก่สมาชิกโดยเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของสมาชิกไปก่อน รวมทั้งการที่โจทก์ยอมให้จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าทดรองที่ได้ออกไปก่อน กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) โจทก์แจ้งให้จำเลยงดใช้บัตรเครดิตตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 และมีการแจ้งชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ก่อนวันดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่ต้นปี 2535 มิใช่นับแต่วันที่คำบอกกล่าวเลิกสัญญา มีผล โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 9 สิงหาคม 2539 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความ