คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/12

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 303 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566-4567/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำของ: สัญญาบริการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ฟ้องข้ามปี
สัญญาจ้างบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์มีข้อความกำหนดให้ผู้รับจ้างจัดหาสิ่งของชนิดที่ดีใช้เครื่องมือดีและช่างผู้มีความรู้ความชำนาญและฝีมือดีมาดำเนินการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์สัญญามีกำหนดระยะเวลา12เดือนคู่สัญญาตกลงค่าจ้างซึ่งรวมทั้งค่าแรงงานและค่าสิ่งของตลอดอายุสัญญาเป็นเงิน5,088,252บาทโดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ424,021บาทสัญญาเช่นนี้เป็นสัญญาซึ่งผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นจึงเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา587สิทธิเรียกร้องค่าจ้างทำของจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)(เดิม),193/34(1)(ใหม่)นับแต่วันที่เริ่มจะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปของค่าจ้างแต่ละเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม),193/12(ใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำซื้อขายรถยนต์ เริ่มนับเมื่อจำเลยผิดนัดส่งมอบ
สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้รับรถภายในเดือนพฤศจิกายน 2535 จำเลยมีสิทธิที่จะส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์ในวันหนึ่งวันใดก็ได้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวดังนั้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องเอาเงินมัดจำคืนของโจทก์จึงยังไม่อาจบังคับได้ การนับอายุความเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องจึงต้องเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดไปแล้วคือเริ่มนับในวันที่ 1 ธันวาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินมัดจำซื้อขายรถยนต์ เริ่มนับเมื่อจำเลยผิดนัดส่งมอบรถ
สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้รับรถภายในเดือนพฤศจิกายน2535จำเลยมีสิทธิที่จะส่งมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์ในวันหนึ่งวันใดก็ได้ในช่วงระหว่างเวลาดังกล่าวดังนั้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องเอาเงินมัดจำคืนของโจทก์จึงยังไม่อาจบังคับได้การนับอายุความเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องจึงต้องเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดไปแล้วคือเริ่มนับในวันที่1ธันวาคม2535อันเป็นวันที่จำเลยผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายยุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขาย: เริ่มนับเมื่อผิดนัดส่งมอบ
สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์จำเลยกำหนดให้รับรถภายในเดือนพฤศจิกายน 2535 จำเลยมีสิทธิที่จะส่บมอบรถยนต์ให้แก่โจทก์ในวันหนึ่งวันใดก็ได้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ดังนั้น ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวสิทธิเรียกร้องเอาเงินมัดจำคืนของโจทก์จึงยังไม่อาจบังคับได้ การนับอายุความเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องจึงต้องเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดไปแล้ว คือเริ่มนับในวันที่ 1ธันวาคม 2535 อันเป็นวันที่จำเลยผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857-2858/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, การตีราคาชำระหนี้, อายุความ, มูลหนี้เดียวกัน, คำพิพากษาขัดแย้ง
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเครื่องประดับให้แก่โจทก์ด้วยเช็ค 2 ฉบับ เป็นเช็คลงวันที่20 กุมภาพันธ์ 2532 และเช็คลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 ครั้นเช็ค 2 ฉบับดังกล่าวถึงกำหนดชำระแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อได้ความดังกล่าวถือได้ว่า กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าเครื่องประดับ คือ วันเดือนปีที่กำหนดไว้ในเช็ค 2 ฉบับ มิใช่วันที่ซื้อขายหรือวันที่ส่งมอบเครื่องประดับ เพราะโจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเครื่องประดับก่อนวันเดือนปีที่กำหนดไว้ในเช็คได้
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา แม้ข้อเท็จจริงในสำนวนแรกจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนี้ทั้งสองสำนวนมาจากมูลกรณีเดียวกันและเป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกัน จึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า คือ คำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนหลังนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ และเมื่อฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันการซื้อทรัพย์สินครั้งที่สองตามเช็คฉบับที่สองด้วย เมื่อราคาทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ที่ฝากโจทก์ขายและนำไปตีชำระหนี้มีราคามากกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีหนี้ที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ในสำนวนแรก ส่วนการบังคับคดีในสำนวนแรกให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7190/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี: นับจากคำพิพากษาศาลฎีกา ไม่ใช่อายุความตาม ป.พ.พ.
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 271 มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลใดก็ตาม แต่เมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกา ผลของคำพิพากษาอาจจะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้ แล้วแต่กรณี ดังนั้น กรณีที่มีการฎีกา ระยะเวลาการบังคับคดีก็ต้องนับจากวันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แม้ในชั้นฎีกาจำเลยไม่ได้ขอทุเลาการบังคับคดีและโจทก์มีสิทธิขอบังคับคดีได้ ก็เป็นคนละเรื่องกับกำหนดเวลาในการบังคับคดี
กำหนดเวลาในการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. กำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความไม่อาจนำเรื่องการเริ่มนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7190/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี: เริ่มนับจากคำพิพากษาศาลฎีกา แม้ไม่มีการขอทุเลา
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271มิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน10ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลใดก็ตามแต่เมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกาผลของคำพิพากษาอาจจะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้แล้วแต่กรณีดังนั้นกรณีที่มีการฎีการะยะเวลาการบังคับคดีก็ต้องนับจากวันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแม้ในชั้นฎีกาจำเลยไม่ได้ขอทุเลาการบังคับคดีและโจทก์มีสิทธิขอบังคับคดีได้ก็เป็นคนละเรื่องกับกำหนดเวลาในการบังคับคดี กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดระยะเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความไม่อาจนำเรื่องการเริ่มนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/12มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างทำของ เริ่มนับแต่วันจำเลยผิดนัดชำระหนี้
สิทธิเรียกร้องในเงินค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างทำของในข้อที่ไม่ชำระหนี้เลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นมาทำการงานแทนนั้นจำเลยได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่เมื่อครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่1วันครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่1ตามสัญญาข้อ4คือวันที่3ตุลาคม2522ดังนั้นจำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่4ตุลาคม2522โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องกับจำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าวอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา163เดิม(มาตรา193/12ที่แก้ไขใหม่)โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่27ตุลาคม2532นับจากวันที่4ตุลาคม2522ถึงวันฟ้องเกินกำหนด10ปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขไหม่)จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา188เดิม(มาตรา193/10ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีผิดสัญญาจ้างทำของ เริ่มนับแต่วันจำเลยผิดนัดชำระหนี้
สิทธิเรียกร้องในเงินค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างทำของในข้อที่ไม่ชำระหนี้เลยเป็นเหตุให้โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นมาทำการงานแทนนั้น จำเลยได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่เมื่อครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่ 1 วันครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่ 1 ตามสัญญาข้อ 4 คือ วันที่ 3 ตุลาคม 2522 ดังนั้นจำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2522 โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องกับจำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าว อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 163 เดิม (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2532 นับจากวันที่ 4 ตุลาคม 2522 ถึงวันฟ้องเกินกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30ที่แก้ไขไหม่) จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188 เดิม (มาตรา 193/10ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา: เริ่มนับแต่วันจำเลยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยให้ทำการย่อยและขนส่งหินคลุกกองรายทางใช้สำหรับราดยางในทางหลวง ตามสัญญาดังกล่าวกำหนดให้จำเลยส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้เสร็จภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2522 และส่งมอบงานงวดที่ 2 ให้เสร็จภายในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่ครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่ 1 คือ วันที่3 ตุลาคม 2522 จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าว ดังนั้น อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12ที่แก้ไขใหม่) โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2532จึงเกินกำหนด 10 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 164 เดิม|มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) จำเลยจึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ตามมาตรา 188 เดิม(มาตรา 193/10 ที่แก้ไขใหม่)
of 31