คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/12

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 303 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15016/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาค้ำประกัน & ข้อตกลงไม่ยกข้อต่อสู้ลูกหนี้: ศาลฎีกาตัดสินฟ้องขาดอายุความ
แม้ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วยดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 694 แต่บทกฎหมายดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงอาจทำข้อตกลงแตกต่างกับที่กฎหมายมาตรานี้บัญญัติไว้ได้ สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความเป็นข้อต่อสู้อย่างหนึ่งซึ่งลูกหนี้ยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตกลงกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะไม่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามข้อ 4 ของสัญญาค้ำประกัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับระหว่างคู่สัญญาและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่อย่างไรก็ตาม คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว และยังได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จึงมีประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ด้วยสัญญาค้ำประกันข้อ 4 คงมีผลเพียงว่า จำเลยที่ 2 ไม่อาจยกข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความของจำเลยที่ 1 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์เท่านั้น ส่วนอายุความตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 เองโดยตรงกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความของสัญญาค้ำประกันไว้ จึงมีอายุความสิบปีอันเป็นอายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2531 ซึ่งถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดและโจทก์ชอบที่จะเรียกจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน จนถึงวันที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2545 พ้นเวลาสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15016/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงไม่ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความในสัญญาค้ำประกัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องขาดอายุความสำหรับผู้ค้ำประกัน
แม้ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 694 แต่บทกฎหมายดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงอาจทำข้อตกลงแตกต่างกับที่กฎหมายมาตรานี้บัญญัติไว้ได้ สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความเป็นข้อต่อสู้อย่างหนึ่งซึ่งลูกหนี้ยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตกลงกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะไม่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามข้อ 4 ของสัญญาค้ำประกัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับระหว่างคู่สัญญาและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และคงมีผลเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่อาจยกข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความของจำเลยที่ 1 ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์เท่านั้น ส่วนอายุความตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 เองโดยตรง กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความของสัญญาค้ำประกันไว้ จึงมีอายุความสิบปีอันเป็นอายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8172/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้เงิน – การเริ่มต้นนับอายุความ – เหตุสะดุดอายุความ – การพิสูจน์หลักฐาน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินรวม 4 ฉบับ จำเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญากู้ตามฟ้องไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันทำสัญญากู้แต่ละฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ซึ่งภาระการพิสูจน์ในประเด็นข้อนี้ตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธินำสืบถึงเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7431/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินสงเคราะห์การทำสวนยาง การผิดสัญญาไม่ใช่ละเมิด
การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่ได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางโจทก์ให้แก่ ว. โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากโจทก์เป็นการผิดคำรับรองข้อ 6 ถือว่าเป็นการทำผิดสัญญาต่อโจทก์ ไม่เป็นการทำละเมิด จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินสงเคราะห์และบรรดาวัสดุสงเคราะห์ที่ได้รับไปแล้ว โดยคิดเป็นตัวเงินตามราคาที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ไปให้แก่โจทก์ทั้งหมดตามคำรับรองข้อ 10 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากผู้ที่ไม่มีอำนาจยึดถือครอบครอง สามารถเรียกคืนได้ตลอดเวลาไม่มีกำหนดอายุความ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6830/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการกู้ยืมเงิน เริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย ไม่ใช่เมื่อครบกำหนดสัญญา
การกู้ยืมเงินกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป" จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 4 กำหนดให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทุกเดือน ซึ่งจะครบกำหนดชำระดอกเบี้ยเดือนแรกในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 การที่จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้ทันทีตามสัญญาข้อ 6 โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2539 เป็นต้นไป โดยไม่จำต้องรอจนครบกำหนดชำระเงินคืนตามสัญญา อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 10 มิถุนายน 2549 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2550 เกินกว่า 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6830/2551

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6225/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากที่ราชพัสดุ: เริ่มนับเมื่อใด และระยะเวลาเท่าใด
โจทก์รู้ว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิและมีสิทธิฟ้องคดีขอให้เพิกถอนที่ดินพิพาทพ้นจากที่ราชพัสดุและเรียกร้องค่าเสียหายได้ตั้งแต่โจทก์ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี 2520 หรืออย่างช้าไม่เกินปี 2527 ซึ่งเป็นปีที่โจทก์ถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์เพิ่งจะยื่นคำฟ้องคดีนี้เรียกร้องค่าเสียหายต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2539 ก็ถือเป็นการฟ้องคดีต่อเนื่องจากการที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิและมีสิทธิฟ้องคดีได้ อันเป็นระยะเวลาล่วงเลยมาถึงประมาณ 12 ปีเป็นอย่างน้อย คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว หาใช่สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดดังที่โจทก์ฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ
คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ และมีคำขอด้วยว่า เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าเสียเวลา ขอศาลอุทธรณ์ได้โปรดวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่น ๆ ที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยไปเสียเลยทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนแล้วพิพากษากลับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามฟ้องแก่โจทก์ รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความอัตราขั้นสูงแก่โจทก์ด้วย อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องคิดค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ในศาลชั้นต้นตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ (1) (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยอายุความ และขอบเขตการอุทธรณ์คำชี้ขาด
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายใช้บังคับขณะพิพาทให้อำนาจอนุญาโตตุลาการที่จะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกัน ดังนั้น อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องขาดอายุความหรือไม่
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 22 บัญญัติว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดให้เป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณี ดังนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการย่อมเป็นที่สุด ส่วนการที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้หรือไม่ เป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 26 ที่อนุญาตให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้ หากคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ปัญหาเรื่องอายุความเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่วินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องขาดอายุความแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการผ่อนชำระเป็นงวดๆ เริ่มนับแต่วันผิดนัดงวดแรก
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ โดยจะชำระหนี้ให้โจทก์เป็นสองงวด งวดที่ 1 ชำระภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2541 งวดที่ 2 ชำระภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2542 หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีได้ทันที ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกำหนดวิธีการชำระหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ มีกำหนดจำนวนเงินและระยะเวลาจ่ายที่แน่นอน สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตั้งแต่งวดแรก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระได้ทั้งหมด อายุความเริ่มนับแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 จึงพ้นกำหนดอายุความ 5 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมและสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
หนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาตามยอมของศาลที่ถึงสุดแล้ว จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี และเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ประกอบมาตรา 193/12 เมื่อลูกหนี้ทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมตั้งแต่งวดแรกวันที่ 8 กรกฎาคม 2537 เจ้าหนี้จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมได้นับแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2537 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2547 จึงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้ จึงขาดอายุความแล้ว
การที่ลูกหนี้ที่ 1 เคยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายขอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาลดยอดหนี้เพื่อให้ลูกหนี้ที่ 1 สามารถไถ่ถอนทรัพย์จำนอง เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ และเจ้าหนี้ได้ดำเนินการบังคับคดีโดยมีการยึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในกำหนดระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แล้ว มิใช่เป็นกรณีที่ลูกหนี้ที่ 1 รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง ทั้งมิใช่เป็นการกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และ (5) ที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันในทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองไว้ในคดีแพ่ง และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) แล้ว แม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความเจ้าหนี้ก็ยังคงมีทรัพย์สิทธิบังคับชำระหนี้จากราคาทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในวงเงินจำนอง แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพญ์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเกินกว่าห้าปีไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745
of 31