พบผลลัพธ์ทั้งหมด 303 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคืนเงินค่าอากร, การวางประกันค่าอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร, และการสำแดงเท็จ
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 40 และ 112 ต่างมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการวางเงินประกันค่าอากร แต่มาตรา 112 เป็นการวางเงินประกันกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากร แตกต่างจากมาตรา 40 ที่เป็นการวางประกันกรณีที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากร เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าโจทก์สำแดงเท็จและโจทก์ได้วางเงินประกันตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีจึงเป็นการวางเงินประกันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามมาตรา 112 เมื่อมีการคืนเงินประกัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามมาตรา 112 จัตวา วรรคสี่
โจทก์ได้ชำระค่าอากรเฉพาะตามจำนวนที่สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มโจทก์ได้วางเงินประกันไว้ เงินประกันดังกล่าวมิใช่เงินอากรที่โจทก์ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 10 วรรคท้าย เมื่อไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ประกอบมาตรา 193/12
โจทก์ได้ชำระค่าอากรเฉพาะตามจำนวนที่สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มโจทก์ได้วางเงินประกันไว้ เงินประกันดังกล่าวมิใช่เงินอากรที่โจทก์ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 10 วรรคท้าย เมื่อไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ประกอบมาตรา 193/12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีสรรพสามิตโดยมิชอบ ผู้รับคืนต้องชำระคืนพร้อมเงินเพิ่มตามกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งการที่จำเลยได้รับคืนเงินค่าภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยไปจากโจทก์ก็เนื่องจากจำเลยอ้างว่าได้นำน้ำมันที่ชำระค่าภาษีอากรแล้วเติมให้แก่เรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์และพนักงานศุลกากรได้ปล่อยเรือดังกล่าวให้ไปต่างประเทศแล้ว จำเลยจึงใช้สิทธิขอรับภาษีที่ชำระแล้วคืนตามมาตรา 102 (4) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยได้รับคืนเงินค่าภาษีไปโดยมีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงมิใช่เรื่องลาภมิควรได้ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าภาษีที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย ซึ่งสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 โดยอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ซึ่งได้แก่วันที่จำเลยได้รับหักคืนภาษีไปโจทก์ได้อนุมัติให้คืนเงินภาษีและจำเลยนำไปหักคืนภาษีแล้วในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2535 เรื่องมาจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2538 อันเป็นครั้งสุดท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 18 กันยายน 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าภาษีซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 137 บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาหรือชำระขาดจากจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน เมื่อจำเลยรับคืนเงินภาษีที่ชำระไว้แล้วจึงเป็นการไม่ชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วนจึงต้องเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าภาษีซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 137 บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาหรือชำระขาดจากจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน เมื่อจำเลยรับคืนเงินภาษีที่ชำระไว้แล้วจึงเป็นการไม่ชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วนจึงต้องเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเบิกถอนเงินเกินวงเงิน สัญญาเลิกแล้ว ถือเป็นการทำงานต่าง ๆ
โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เกินกว่าเงินฝากในบัญชีโดยอาศัยข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญา ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองไปก่อนคืน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2539 และไม่ปรากฏว่าในเดือนถัดไปโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินอีก คงมีเพียงรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้น ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกันโดยปริยายตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่มีการคำนวณดอกเบี้ยของรอบเดือนดังกล่าว โจทก์จึงอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2541 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความเดิม ตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีนี้วันที่ 23 มิถุนายน 2548 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10264/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนมัดจำจากสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่า: กำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า นัดโอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน เป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้เป็นการแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน ถือได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้โอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมสามารถบังคับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12
แม้ตามระเบียบข้อบังคับของผู้ให้เช่าจะได้ระบุว่า การโอนสิทธิการเช่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อน แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการใช้สิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้ จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการติดต่อขอให้ผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยทั้งสามโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ โจทก์ย่อมใช้สิทธิฟ้องเรียกคืนมัดจำจากการผิดสัญญาดังกล่าวได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้ตามระเบียบข้อบังคับของผู้ให้เช่าจะได้ระบุว่า การโอนสิทธิการเช่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อน แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการใช้สิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้ จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการติดต่อขอให้ผู้ให้เช่ายินยอมให้จำเลยทั้งสามโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ โจทก์ย่อมใช้สิทธิฟ้องเรียกคืนมัดจำจากการผิดสัญญาดังกล่าวได้ และการฟ้องเรียกเอาเงินมัดจำคืนกรณีนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10264/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนมัดจำจากสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่า: กำหนดเวลาชำระหนี้ที่แน่นอนและการดำเนินการขอความยินยอม
หนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า นัดโอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน เมื่อปรากฏว่าสัญญาดังกล่าวทำขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม 2534 กำหนดโอนสิทธิการเช่าซึ่งต้องกระทำภายใน 3 เดือนนั้นก็จะครบกำหนดภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534 การที่คู่สัญญากำหนดเวลาชำระหนี้ไว้เป็นการแน่นอนตามวันแห่งปฏิทินเช่นนี้ถือได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามมิได้โอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์อันเป็นกรณีที่ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ย่อมสามารถบังคับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วคือตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 อันเป็นวันที่จำเลยทั้งสามผิดนัดและโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12
แม้การโอนสิทธิการเช่าในกรณีนี้จะต้องได้รบความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อนก็ตาม แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการโอนสิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาตามสำเนาหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้
แม้การโอนสิทธิการเช่าในกรณีนี้จะต้องได้รบความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อนก็ตาม แต่กำหนดเวลาของการชำระหนี้โดยการโอนสิทธิการเช่านั้นเกิดจากความตกลงระหว่างบุคคลเพียง 2 ฝ่าย คือ ผู้โอนกับผู้รับโอนซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาโอนสิทธิการเช่ามิได้มีส่วนในการกำหนดเวลาในการชำระหนี้ด้วยแต่ประการใด ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาตามสำเนาหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทที่ระบุให้โอนสิทธิการเช่าภายใน 3 เดือน จึงมีผลบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6109/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม เริ่มนับจากวันที่จำเลยผิดนัดตามสัญญาประนีประนอม
สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 4 กำหนดไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดหรือเดือนหนึ่งเดือนใด ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมดยอมให้โจทก์บังคับได้ทันที เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมกับค่าทนายความแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ภายในกำหนดวันที่ 15 มิถุนายน 2538 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามยอมนั้นแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ทันทีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 4 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในการบังคับชำระหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2538 มิใช่เริ่มนับในวันที่ 16 กรกฎาคม 2538 อันเป็นวันถัดจากวันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์งวดแรกตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องคดีเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2548 พ้นกำหนด 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต เริ่มนับเมื่อใด? ศาลฎีกาชี้ การพักยอดเรียกเก็บเพื่อตรวจสอบเอกสาร ยังไม่ถือเป็นการเริ่มนับอายุความ
จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาและคำสั่ง จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำพิพากษาให้แก่โจทก์อันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจจำหน่ายคดีจากสารบบความหรือไม่ก็ได้ เมื่อคำแก้อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นการแก้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งของจำเลยแล้วพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
จำเลยนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปซื้อสินค้ารวม 11 รายการจากร้าน จ. แต่ตามใบเรียกเก็บเงินมีการนำเงินค่าสินค้ามาจากร้านดังกล่าวทั้งหมดคืนเข้าบัญชีเป็นเครดิตของจำเลย เนื่องจากจำเลยโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้นำบัตรไปใช้ โจทก์จึงพักการเรียกเก็บเงินเป็นการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบก่อน เหตุผลหนึ่งก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้อายุความจึงยังไม่เริ่มนับจนกว่าได้ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงแล้วเสร็จและมีการเรียกเก็บเงินใหม่ และจำเลยไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามกำหนด อายุความจึงจะเริ่มนับตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาที่โจทก์กำหนดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นต้นไป
โจทก์มีใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยลงวันที่ 2 เมษายน 2540 โดยระบุเลิกการพักยอดเรียกเก็บเงินชั่วคราว และให้จำเลยชำระค่าซื้อสินค้าต่างๆ รวมทั้งสินค้าจากร้าน จ. 11 รายการ ที่พักยอดเรียกเก็บชั่วคราวภายใน 30 วัน ซึ่งจำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมสามารถบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 เมษายน 2542 จึงยังไม่เกิน 2 ปี ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7)
จำเลยนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปซื้อสินค้ารวม 11 รายการจากร้าน จ. แต่ตามใบเรียกเก็บเงินมีการนำเงินค่าสินค้ามาจากร้านดังกล่าวทั้งหมดคืนเข้าบัญชีเป็นเครดิตของจำเลย เนื่องจากจำเลยโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้นำบัตรไปใช้ โจทก์จึงพักการเรียกเก็บเงินเป็นการชั่วคราวเพื่อตรวจสอบก่อน เหตุผลหนึ่งก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้อายุความจึงยังไม่เริ่มนับจนกว่าได้ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงแล้วเสร็จและมีการเรียกเก็บเงินใหม่ และจำเลยไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามกำหนด อายุความจึงจะเริ่มนับตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาที่โจทก์กำหนดให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นต้นไป
โจทก์มีใบเรียกเก็บเงินจากจำเลยลงวันที่ 2 เมษายน 2540 โดยระบุเลิกการพักยอดเรียกเก็บเงินชั่วคราว และให้จำเลยชำระค่าซื้อสินค้าต่างๆ รวมทั้งสินค้าจากร้าน จ. 11 รายการ ที่พักยอดเรียกเก็บชั่วคราวภายใน 30 วัน ซึ่งจำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 2 พฤษภาคม 2540 แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมสามารถบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้นับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 เมษายน 2542 จึงยังไม่เกิน 2 ปี ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับเมื่อส่งมอบงานตามสัญญา ไม่ใช่เมื่อคดีถึงที่สุด
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (16) โจทก์กับจำเลยไม่ได้ตกลงกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ ต้องถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความถึงกำหนดเมื่อจำเลยได้รับมอบการงานที่ทำแล้วตามป.พ.พ.มาตรา 602 วรรคหนึ่ง จำเลยประสงค์ให้โจทก์ดำเนินคดีเฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น เมื่อโจทก์ดำเนินคดีให้แก่จำเลยและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาอันถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบและจำเลยได้รับมอบการงานที่ทำตามสัญญาจ้างว่าความแล้ว สิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาค่าจ้างย่อมเกิดขึ้นทันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างทนาย: เริ่มนับเมื่อส่งมอบงาน ไม่ใช่เมื่อคดีถึงที่สุด
สัญญาที่โจทก์รับจ้างจำเลยทั้งสามว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างทำของนั้นมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (16) ส่วนการเริ่มนับอายุความในการเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ค่าว่าความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/12 บัญญัติไว้ว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป..." และมาตรา 602 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "อันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ" ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสามได้ตกลงกำหนดเวลาชำระค่าจ้างว่าความไว้ ก็ต้องถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความไว้ ก็ต้องถือว่าหนี้ค่าจ้างว่าความถึงกำหนดเมื่อจำเลยทั้งสามได้รับมอบการงานที่ทำแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 วรรคหนึ่ง ซึ่งการส่งมอบและรับมอบการงานการที่ทำนั้นปรากฏข้อเท็จจริงว่าหลังจากที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำพิพากษาแล้วจำเลยทั้งสามพอใจและไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แสดงว่าจำเลยทั้งสามประสงค์ที่จะให้โจทก์ดำเนินคดีเฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นทนายความดำเนินคดีให้แก่จำเลยทั้งสามในศาลชั้นต้นซึ่งคือศาลจังหวัดเชียงใหม่จนศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2545 ต้องถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบและจำเลยทั้งสามได้รับมอบการงานที่ทำตามสัญญาจ้างว่าความแล้ว สิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาสินจ้างย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำพิพากษา หาใช่เมื่อคดีถึงที่สุดดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ ส่วนการที่โจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์นั้นก็น่าเชื่อว่าโจทก์ทำไปโดยพลการ โจทก์จึงหาอาจยกข้อดังกล่าวขึ้นอ้างได้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 อันเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิไล่เบี้ย: เริ่มนับแต่วันชำระหนี้แทนเจ้าหนี้เดิม คดีไม่ขาดอายุความ
ศาลแพ่งพิพากษาให้โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมแก่ อ. เมื่อโจทก์ได้ใช้เงินแก่ อ. ไปตามคำพิพากษาแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229 (3) สิทธิเรียกร้องนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงต้องถือว่ามีอายุความสิบปีตามมาตรา 193/30 และสิทธิไล่เบี้ยของโจทก์เพิ่งมีขึ้นนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป การนับกำหนดอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/12 คือวันที่โจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่ อ.