คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 182 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6365/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้น การโอนหุ้นสมบูรณ์แม้ไม่ได้ทำตามข้อบังคับบริษัท และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
ที่จำเลยขอเพิ่มเติมประเด็นแห่งคดีว่า"การซื้อขายหุ้นได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยและโจทก์ ทั้งสามและมีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรองตามข้อบังคับของบริษัทท.หรือไม่ และสัญญาซื้อขายหุ้นเป็นโมฆะหรือไม่"นั้น ปัญหาที่จำเลยยกขึ้นอ้างดังกล่าวเป็นวิธีปฏิบัติในการโอนหุ้นตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งเป็นรายละเอียดที่คู่ความจะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อให้ได้ความตามประเด็นข้อพิพาทที่ว่า จำเลยได้ตกลงขายหุ้นของจำเลยที่ถืออยู่ในบริษัทท. ให้แก่โจทก์ทั้งสามหรือไม่ปัญหาดังกล่าวจึงรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทแล้วกรณีย่อมไม่จำต้องกำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทซ้ำซ้อนขึ้นอีก จำเลยได้ขายหุ้นของจำเลยที่ถืออยู่ในบริษัทท. ให้แก่โจทก์และรับเงินค่าหุ้นจากโจทก์แล้ว เมื่อการโอนหุ้นพิพาทเป็นการโอนระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน โดยบริษัทยังไม่ได้ ออกใบหุ้น จึงไม่อยู่ในบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและ พยานลงลายมือชื่อ 2 คน ตามข้อบังคับของบริษัท และถือว่าการโอนหุ้นสมบูรณ์จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา จำเลยได้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นได้นำสัญญาซื้อขายหุ้นเอกสารหมาย ล.10 มากำหนดค่าเสียหายหุ้นละ88.09 บาท เป็นการมิชอบโดยจำเลยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินความเป็นจริงถือได้ว่าจำเลยได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้แล้วที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยมิได้กล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ชอบหรือกำหนดค่าเสียหายเกินกว่าพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการประพฤติผิดสัญญาอย่างไรบ้างจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นอุทธรณ์อันพึงวินิจฉัยย่อมเป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6365/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้น, ข้อบังคับบริษัท, ประเด็นข้อพิพาท, การกำหนดค่าเสียหาย, การอุทธรณ์
ที่จำเลยขอเพิ่มเติมประเด็นแห่งคดีว่า "การซื้อขายหุ้นได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยและโจทก์ทั้งสามและมีพยาน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรองตามข้อบังคับของบริษัท ท.หรือไม่ และสัญญาซื้อขายหุ้นเป็นโมฆะหรือไม่"นั้น ปัญหาที่จำเลยยกขึ้นอ้างดังกล่าวเป็นวิธีปฏิบัติในการโอนหุ้นตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งเป็นรายละเอียดที่คู่ความจะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อให้ได้ความตามประเด็นข้อพิพาทที่ว่า จำเลยได้ตกลงขายหุ้นของจำเลยที่ถืออยู่ในบริษัท ท. ให้แก่โจทก์ทั้งสามหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวจึงรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทแล้ว กรณีย่อมไม่จำต้องกำหนดปัญหานี้เป็นประเด็นข้อพิพาทซ้ำซ้อนขึ้นอีก
จำเลยได้ขายหุ้นของจำเลยที่ถืออยู่ในบริษัท ท.ให้แก่โจทก์และรับเงินค่าหุ้นจากโจทก์แล้ว เมื่อการโอนหุ้นพิพาทเป็นการโอนระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน โดยบริษัทยังไม่ได้ออกใบหุ้น จึงไม่อยู่ในบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและพยานลงลายมือชื่อ 2 คน ตามข้อบังคับของบริษัท และถือว่าการโอนหุ้นสมบูรณ์จำเลยต้องผูกพันตามสัญญา
จำเลยได้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่า ศาลชั้นต้นได้นำสัญญาซื้อขายหุ้นเอกสารหมาย ล.10 มากำหนดค่าเสียหายหุ้นละ 88.09 บาท เป็นการมิชอบโดยจำเลยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินความเป็นจริงถือได้ว่า จำเลยได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้แล้ว ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยมิได้กล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ชอบหรือกำหนดค่าเสียหายเกินกว่าพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการประพฤติผิดสัญญาอย่างไรบ้างจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นอุทธรณ์อันพึงวินิจฉัย ย่อมเป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นฉ้อฉล สัญญาเงินกู้ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกายกคำพิพากษาให้สืบพยานเพิ่มเติม
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทสัญญาเงินกู้และการฉ้อฉล หากศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาสั่งให้สืบพยานเพิ่มเติมและพิพากษาใหม่ได้
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมสัญญาเงินกู้และจำนอง: กลฉ้อฉล, ความรับผิด, และอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้ให้การตอนต้นว่า จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินเฉพาะส่วนแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่ได้ให้การต่อสู้ตอนหลังในเรื่องจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด รวมทั้งเรื่องความไม่สุจริตของตัวแทนโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1ได้กู้เงินและจำนองที่ดินเป็นประกันจริงตามฟ้องหาได้ไม่ และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดแต่เพียงประเด็นโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่อย่างเดียว เป็นการไม่ชอบเพราะคดีมีประเด็นที่จะพิจารณาต่อไปในเรื่องสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์หรือไม่ และที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 ถอนเงินฝากที่ค้ำประกันเงินกู้คืนไปนั้นจำเลยที่ 1 ยังต้องผูกพันชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่อีก ทั้งจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและจำนองที่ดินกับโจทก์เพราะถูกโจทก์กับจำเลยที่ 2 ใช้กลฉ้อฉลอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจะต้องรับผิดชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์มากน้อยเพียงใด และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานในประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ววินิจฉัยใหม่ตามรูปคดี
กรณีที่ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้แก่ผู้อุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนการบังคับคดีได้หากศาลชั้นต้นผิดพลาด
สิทธิในการบังคับคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าศาลชั้นต้นบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยไม่ถูกต้องศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนการบังคับคดีของศาลชั้นต้นเสียได้ สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมระบุว่า หากจำเลยไม่ยอมรื้อถอนเสาคอนกรีตและรั้วกำแพงเหล็กทึบที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ ทั้งไม่ยอมรื้อถอนสายไฟฟ้าแรงสูงที่ติดตั้งอยู่บนรั้วดังกล่าวให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์หรือบุคคลที่โจทก์จ้างมีสิทธิเข้าไปรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นได้โดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย และจำเลยยินยอมให้โจทก์บังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องได้ดังนั้น ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ยอมรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่จะต้องรื้อถอนให้เสร็จภายในกำหนดสองเดือนนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกจากโจทก์จะมีสิทธิรื้อถอนสิ่งก่อสร้างนั้นเองหรือจ้างให้บุคคลอื่นเข้าไปรื้อถอนโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิบังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องโดยโจทก์ไม่จำต้องเข้าไปรื้อถอนหรือจ้างให้บุคคลอื่นเข้าไปรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นก่อนจึงจะขอบังคับคดีได้ เพราะข้อความเกี่ยวกับเรื่องรื้อถอนสิ่งก่อสร้างกับข้อความเกี่ยวกับการที่โจทก์จะขอบังคับคดีตามคำขอท้ายฟ้องเป็นข้อความคนละตอน สามารถแยกใจความคนละส่วนต่างหากจากกันได้ โจทก์ร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีอ้างว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมซึ่งหมายถึงว่า จำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนเสาคอนกรีต รั้วกำแพงทึบที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่ได้รื้อถอนสายไฟฟ้าแรงสูงที่ติดตั้งอยู่บนรั้วดังกล่าวด้วย ศาลอุทธรณ์ย่อมชอบที่จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า สิ่งก่อสร้างทั้งหมดจำเลยยังไม่ได้รื้อถอนออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและชอบที่จะยกเอาเหตุผลดังกล่าวประกอบการวินิจฉัยการวินิจฉัยได้ว่าใครเป็นฝ่ายผิดสัญญาอันเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หาเป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องนอกประเด็นไม่