คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 4 ทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6610/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยคืนภาษีอากร: การปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานและผลกระทบต่อสิทธิในการรับดอกเบี้ย
เจ้าพนักงานได้เรียกให้โจทก์ผู้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมจากที่โจทก์เคยส่งพร้อมกับคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรทั้งนี้เพื่อตรวจสอบว่าโจทก์ได้ถูกหักหรือเสียภาษีเกินกว่าที่ควรต้องเสียหรือไม่โจทก์จึงต้องนำเอกสารหรือหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนดเวลาที่เจ้าพนักงานสั่ง ตามข้อ 2 วรรคสาม ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526)ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานภายในเวลาที่กำหนด และโจทก์มิได้ขอขยายเวลาส่งเอกสารต่ออธิบดี ซึ่งตามข้อ 2 วรรคท้าย ของกฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้ระงับการคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันสุดท้ายของเวลาที่เจ้าพนักงานสั่งตามวรรคสามโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันสุดท้ายของเวลาที่เจ้าพนักงานสั่งคือวันที่ 9สิงหาคม 2536 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ส่งมอบเอกสารครั้งสุดท้ายให้แก่เจ้าพนักงานเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานระงับการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2536 ซึ่งเป็นวันออกหมายเรียกถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2538จึงไม่ถูกต้อง โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของต้นเงินภาษีอากรที่เจ้าพนักงานของจำเลยได้ส่งคืนให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 21กรกฎาคม 2536 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2536 ด้วย ตามมาตรา 4 ทศ แห่ง ป.รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายอ้อย และการจ่ายดอกเบี้ยคืนภาษีอากร
กฎกระทรวงฉบับที่ 173 (พ.ศ.2530) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ให้กำหนดเงินได้ของชาวไร่อ้อยตามกฎหมายว่าด้วยอ้อยและน้ำตาลทรายที่ได้รับจากการขายอ้อยอันเกิดจากกสิกรรมที่ตนเองและหรือครอบครัวได้ทำเอง เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา42 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่ขายให้แก่โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยอ้อยและน้ำตาลทราย ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2529 ถึงวันที่ 30 กันยายนพ.ศ. 2530 ซึ่งมีผลให้จำนวนเงินที่ได้จากการขายอ้อยดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้นเอง
การที่จะพิจารณาว่าเงินได้ของชาวไร่อ้อยจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงแหล่งที่มาของรายได้เป็นสำคัญ กล่าวคือถ้าเป็นเงินได้ที่ได้จากการขายอ้อยให้แก่โรงงานตามวันเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ก็ย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าชาวไร่อ้อยจะได้รับเงินดังกล่าวมาในเวลาใด
การคืนเงินภาษีอากร มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้ที่ได้รับคืนเงินภาษีอากรได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน ซึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ข้อ 1 (3) ก็มีข้อความชัดเจนว่า กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินหรือตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระสำหรับสินค้าที่นำเข้าในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันชำระภาษีอากร การที่ศาลภาษี-อากรกลางให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระดอกเบี้ยจากจำนวนเงินภาษีที่จะต้องคืนให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนถึงวันชำระเสร็จโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน จึงนับว่าเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 มากแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีการค้าจากผลักภาระภาษี การคิดดอกเบี้ย และอำนาจฟ้องของหน่วยงาน
โจทก์เป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาวออกจำหน่ายจึงเป็นผู้ประกอบการค้า และน้ำตาลทรายดิบเป็นสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้า โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกรณีการขายน้ำตาลทรายดิบให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้า แม้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า แต่เมื่อมีประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออก เท่ากับเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออก จึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีรายได้ส่วนท้องถิ่นให้แก่โจทก์
จังหวัดจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหน่วยงานที่บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนภูมิภาค การจัดเก็บภาษีอากรเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคืนเงินโจทก์ ปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้รับเงินภาษีอากร-คืนได้ดอกเบี้ยด้วยโดยไม่คิดทบต้น แต่มิให้เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 ต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 27สิงหาคม 2524 เป็นต้นไป ให้จำเลยรับผิดดอกเบียไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีการค้าจากการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษี และดอกเบี้ยที่ได้รับ
โจทก์เป็นผู้ผลิตขายน้ำตาลทรายดิบให้องค์การคลังสินค้าภายในประเทศ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เสียภาษีการค้า และตาม พ.ร.ก. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54)พ.ศ.2517 บัญชีท้าย พ.ร.ก. บัญชีที่ 1 หมวด 1 (7) แต่เนื่องจากได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18) เรื่องกำหนดหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ดังนั้น แม้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ เมื่อจำเลยได้ประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยยอมเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้าให้โจทก์
ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับขณะโจทก์ต้องเสียภาษีอากรกำหนดให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ0.625 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133 (พ.ศ.2516) ข้อ 1 (2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรเป็นต้นไป และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งไม่มากกว่าอัตราที่มาตรา 4 ทศ วรรคแรกกำหนดไว้ จึงให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ในอัตราตามที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ
of 2