คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 40 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12466/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้บริการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ข้ามประเทศ: อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 0% ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 80/1
แม้งานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ทำให้แก่บริษัท ฮ. จะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวและอาจโอนลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นได้ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 8 และมาตรา 17 แต่มาตรา 10 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติว่า ในกรณีที่งานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายได้ถูกทำขึ้นโดยการว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นหามีลิขสิทธิ์ในงานนั้นไม่ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น เงินค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงไม่ใช่ค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามมาตรา 40 (3) แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ฮ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายของต่างประเทศ มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ทำเป็นหนังสือ โปรแกรมที่ผลิตตามสัญญาโจทก์ทำการผลิตในประเทศไทย โดยบริษัท ฮ. เป็นผู้กำหนดรูปแบบและรายละเอียดต่าง ๆ และโจทก์ส่งมอบโปรแกรมที่ผลิตให้แก่บริษัท ฮ. แล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 80/1 (2) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แล้ว จึงต้องใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดขายหรือรายรับของโจทก์ที่ได้รับตามสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: เหตุผลความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และลักษณะของสัญญาบริการ
หลังจากที่โจทก์ทราบว่าสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าได้รับความเสียหายจากพายุฝนแล้ว แม้โจทก์จะทราบถึงจำนวนสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้าแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่อาจทราบจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงได้จนกว่าจะได้มี การสำรวจค่าเสียหายก่อน ในวันที่โจทก์ได้ยื่นประมาณการกำไรสุทธินั้น โจทก์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า สินค้าของโจทก์ได้รับความเสียหายเท่าใด และไม่ทราบว่าโจทก์จะมีรายได้ที่จะได้รับจากค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยจะชดใช้ให้ แก่โจทก์เพียงใด อีกทั้งไม่ทราบว่าบริษัทประกันภัยจะไม่รับเอาสินค้าที่ได้รับความเสียหายไป จึงทำให้โจทก์มีกำไรจากการขายซากทรัพย์เพิ่มขึ้นอีก การที่โจทก์ยื่นประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2533 ขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ที่ได้รับจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ จึงมีเหตุอันสมควร
ตามสัญญาให้บริการด้านการตลาดที่บริษัทต่างประเทศตกลงให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การบริหารการเงินและด้านการตลาดให้แก่โจทก์ เป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 และการรับจ้างทำของดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่ามีการให้ใช้สิทธิในกรรมวิธี สูตร หรือ สิทธิในการประกอบกิจการอันเป็นความลับแต่อย่างใด แม้การจ่ายค่าตอบแทนตามสัญญาจะกำหนดให้คิดคำนวณในอัตราร้อยละของยอดขายสินค้า ที่บริษัทต่างประเทศเป็นผู้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่บริษัทต่างประเทศก็มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์เป็นตัวแทนขายสินค้าที่มีชื่อตราสินค้าหรือผูกขาดยี่ห้อสินค้าต่าง ๆ แต่ผู้เดียว กรณีที่โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทต่างประเทศจึงไม่ใช่ค่าให้ใช้สิทธิแห่งเครื่องหมายการค้า หรือค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นลักษณะทำนองเดียวกับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือค่าแห่งลิขสิทธิ์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (3) และสัญญาดังกล่าวก็ไม่ได้มีการตกลงที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์พิเศษ ซึ่งจะต้องไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนอันเป็นวิทยาการเพื่อให้โจทก์นำไปใช้ จึงมิใช่การให้ข้อสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์ทาง อุตสาหกรรม การพาณิชย์ หรือวิทยาศาสตร์ อันจะเป็นค่าสิทธิตามที่ระบุไว้ในข้อ 12 วรรคสอง แห่งอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศเดนมาร์ก เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และทุน เงินค่าบริการดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนตามสัญญารับจ้างทำของ อันเป็นเงินได้ในลักษณะเป็นกำไรทางธุรกิจที่บริษัทต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และ ไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยได้รับจากโจทก์ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทยตามสัญญาข้อ 7 แห่งอนุสัญญาดังกล่าวประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 มาตรา 3 โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่ง ป. รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรรายได้จากสัญญาต่างประเทศ: ค่าสิทธิ vs. วิชาชีพอิสระ (วิศวกรรม) และการหักภาษี
โจทก์ทำสัญญาตกลงจ่ายค่าตอบแทนเป็นค่าสิทธิในการใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าให้แก่บริษัท ซ. และโจทก์ยังได้ทำสัญญาจ่ายค่าตอบแทนการให้ความรู้ทางวิศวกรรมกับบริษัท น. โดยบริษัท ซ. และบริษัท น. มีสำนักงานบริษัทตั้งอยู่ที่ เวเว่ย์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ แห่งเดียวกันสัญญาที่โจทก์ทำกับบริษัททั้งสองดังกล่าวมีอายุสัญญาและมีรายละเอียดเริ่มต้นกับวันสิ้นสุดเหมือนกันทั้งมีเงื่อนไขว่าหากบริษัท น. เลิกสัญญากับโจทก์บริษัท ซ.ก็มีสิทธิเลิกสัญญากับโจทก์เช่นเดียวกันและสัญญาทั้งสองฉบับยังระบุให้บริษัททั้งสองซึ่งเป็นสัญญากับโจทก์จัดหาและแนะนำกรรมวิธีการผลิตตำรับสูตรหรือความรู้อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์ของโจทก์โดยเฉพาะข้อตกลงซึ่งโจทก์ทำไว้กับบริษัท น. นั้นนอกจากบริษัท น. จะต้องให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเทคนิคทางวิศวกรรมแล้วยังต้องให้ข้อแนะนำวิธีในการผลิตแก่โจทก์ศึกษาและแนะนำวิธีการใช้กรรมวิธีใหม่และพัฒนาให้ดีขึ้นส่วนบริษัท ซ.ไม่ปรากฏว่าเคยให้ข้อแนะนำแก่โจทก์เกี่ยวกับเรื่องสูตรหรือกรรมวิธีการผลิตเลยแสดงว่าการผลิตของโจทก์อยู่ภายใต้เงื่อนไขและควบคุมของบริษัท น. เงินค่าตอบแทนที่บริษัท น. ได้รับจึงไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระประเภทวิศวกรรมตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา40(6)แต่เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิตามมาตรา40(3) บริษัท น. เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยดังนั้นเงินได้ซึ่งบริษัท น.ได้รับจากโจทก์โจทก์ต้องหักภาษีแล้วนำส่งจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา70(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากสัญญาช่วยเหลือทางวิศวกรรมและใช้เครื่องหมายการค้า: เงินได้จากการให้ใช้สิทธิค่าตอบแทน vs. วิชาชีพอิสระ
การที่โจทก์ทำสัญญากับบริษัทต่างประเทศไว้ 2 ประเภท คือสัญญาประเภทให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรม กับสัญญาประเภทให้ใช้เครื่องหมายการค้า โดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมเลิกกัน โจทก์ต้องส่งคำแนะนำและเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับข้อมูลการผลิตอันถือเป็นความลับคืน โดยห้ามทำสำเนาไว้ และผลของการเลิกสัญญาดังกล่าวมีผลให้สัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้าเลิกกัน สิทธิของโจทก์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าย่อมหมดไปสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการให้ใช้สิทธิค่าตอบแทนสัญญาจึงเป็นเงินได้ตาม มาตรา 40 (3) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา40 (6) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 (4) แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวไม่
โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการไม่ชอบและไม่ถูกต้องแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ที่วินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับเงินปันผลที่โจทก์จ่ายจากกำไรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2524 ที่โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้องจึงต้องเสียเงินเพิ่มว่าไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างไรจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษี•อากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าบริการทางวิศวกรรมและค่าสิทธิใช้เครื่องหมายการค้า ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 40(3) และ 70(2) ไม่ใช่ 40(6) และ 70(4)
การที่โจทก์ทำสัญญากับบริษัทต่างประเทศไว้ 2 ประเภท คือสัญญาประเภทให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรม กับสัญญาประเภทให้ใช้เครื่องหมายการค้า โดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมเลิกกัน โจทก์ต้องส่งคำแนะนำและเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับข้อมูลการผลิตอันถือเป็นความลับคืน โดยห้ามทำสำเนาไว้ และผลของการเลิกสัญญาดังกล่าวมีผลให้สัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้าเลิกกัน สิทธิของโจทก์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าย่อมหมดไปสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการให้ใช้สิทธิค่าตอบแทนสัญญาจึงเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(3) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตาม มาตรา 70(2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6)ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70(4) แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวไม่ โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการไม่ชอบและไม่ถูกต้องแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับเงินปันผลที่โจทก์จ่ายจากกำไรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2524 ที่โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้องจึงต้องเสียเงินเพิ่มว่าไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างไรจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5634/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตอบแทนจากการใช้สูตร/กรรมวิธีผลิตกาแฟผงเป็นค่าสิทธิ ไม่ใช่ค่าวิชาชีพวิศวกรรม
การผลิตกาแฟผงของโจทก์อยู่ภายใต้เงื่อนไขและการควบคุมดูแลของบริษัทเนสท์เทคโดยโจทก์ต้องชำระเงินค่าตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อโจทก์จะได้ผลิตกาแฟผงในประเทศไทยตามสูตรและกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับจากบริษัทเนสท์เทคอันเป็นสิทธิที่โจทก์ได้จากบริษัทเนสท์เทคที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย เงินค่าตอบแทนที่บริษัทเนสท์เทคได้รับจึงหาใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระคือวิศวกรรมตามความหมายของมาตรา 40(6)แห่ง ประมวลรัษฎากรไม่ หากแต่เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้สิทธิผลิตกาแฟผงตามสูตรและความรู้ที่ได้รับตามข้อแนะนำเกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตของบริษัทเนสท์เทคตลอดเวลาของอายุสัญญาที่ได้ทำกันไว้ ซึ่งโจทก์ต้องรักษาไว้เป็นความลับและส่งคืนบรรดาเอกสารทั้งปวงที่เกี่ยวกับสูตรและความรู้ดังกล่าวแก่บริษัทเนสท์เทคเมื่อสิ้นอายุสัญญาหรือสัญญาเลิก กรณีจึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิตาม มาตรา 40(3) แห่ง ประมวลรัษฎากร ซึ่งโจทก์ต้องหักภาษีณ ที่จ่ายและนำส่งต่อเจ้าพนักงานของจำเลยตามมาตรา 70(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีของบริษัทผู้ประกอบการป่าไม้ และข้อจำกัดในการอุทธรณ์
โจทก์เป็นผู้ทำไม้ตาม ที่ได้รับสัมปทานเอง ลูกช่วงของโจทก์คือผู้รับจ้างตัด ฟันไม้จากโจทก์ การทำป่าไม้สัมปทานคือกิจการของโจทก์ตรง ตาม วัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงต้อง คำนวณจากรายได้ในการขายไม้ทั้งหมดซึ่งรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่ด้วย จะคิดจากรายได้ของโจทก์ที่หักเงินส่วนที่จ่ายให้ลูกช่วงแล้วโดย อ้างว่าเงินเหล่านั้นเป็นค่าใช้จ่ายของลูกช่วง และโจทก์คงได้ รายได้เฉพาะ ค่าใบอนุญาตทำไม้ตาม สัมปทานเท่านั้นไม่ได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) และ (8) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่เกี่ยวกับเงินได้ของนิติบุคคลซึ่ง ต้องเป็นไปตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีอำนาจให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เพราะจำเลยเปลี่ยนรายได้ของโจทก์และประเมินใหม่แล้วจะเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้ แต่ โจทก์มิได้อุทธรณ์ความข้อนี้ไว้ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อายุความตาม คำฟ้องโจทก์แตกต่าง กับอายุความตาม ที่โจทก์อุทธรณ์ปัญหาตาม อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า: การคำนวณรายได้จากธุรกิจทำไม้ และอายุความทางภาษี
โจทก์เป็นผู้ทำไม้ตามที่ได้รับสัมปทานเอง ลูกช่วงของโจทก์คือผู้รับจ้างตัดฟันไม้จากโจทก์ การทำป่าไม้สัมปทานคือกิจการของโจทก์ตรงตามวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงต้องคำนวณจากรายได้ในการขายไม้ทั้งหมดซึ่งรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่ด้วย จะคิดจากรายได้ของโจทก์ที่หักเงินส่วนที่จ่ายให้ลูกช่วงแล้ว โดยอ้างว่าเงินเหล่านั้นเป็นค่าใช้จ่ายของลูกช่วง และโจทก์คงได้รายได้เฉพาะค่าใบอนุญาตทำไม้ตามสัมปทานเท่านั้นไม่ได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) และ (8) เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่เกี่ยวกับเงินได้ของนิติบุคคลซึ่งต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่มีอำนาจให้โจทก์เสียเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 เพราะจำเลยเปลี่ยนรายได้ของโจทก์และประเมินใหม่แล้วจะเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ความข้อนี้ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อายุความตามคำฟ้องโจทก์แตกต่างกับอายุความตามที่โจทก์อุทธรณ์ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตอบแทนการให้คำปรึกษาทางเทคนิคที่ไม่ใช่ค่าแห่งสิทธิ การประเมินภาษีที่ไม่ชอบ
ค่าตอบแทนข้อตกลงให้คำปรึกษาทางเทคนิคและบริการทางวิศวกรรมเป็นการตอบแทนการให้คำแนะนำให้การปรึกษาในกิจการต่างๆซึ่งตามสัญญามีหลายประเภทบางประเภทเช่น การเงิน การบัญชีและการตลาด เห็นได้ชัดว่าไม่ใช่ประเภทค่าแห่งสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น แม้จะฟังว่าค่าตอบแทนตามสัญญานั้นมีค่าแห่งสิทธิรวมอยู่ด้วย แต่เมื่อไม่อาจจะแยกได้ว่าเงินได้ประเภทค่าแห่งสิทธิมีเป็นจำนวนเท่าใดการที่กรมสรรพากรจำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษี โดยถือว่าค่าตอบแทนทั้งหมดตามสัญญาเป็นค่าแห่งสิทธิ จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบริการวิศวกรรมมิใช่ค่าสิทธิทางภาษี เงินเพิ่มต้องฟ้องได้แม้ไม่อ้างเหตุชัดเจน
เงินค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้บริษัท ด. นิติบุคคลต่างประเทศเป็นค่าบริการในการที่บริษัท ด. เป็นผู้ดำเนินการออกแบบแปลนและแผนผังในการสร้างโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกให้โจทก์ รวมทั้งการติดตั้งเครื่องจักรด้วยโดยไม่ปรากฏว่าบริษัท ด.ได้ให้เทคโนโลยี่อย่างใดแก่โจทก์ มิใช่เป็นเงินค่าสิทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) แต่ถือได้ว่าเป็นเงินค่าบริการทางด้านวิศวกรรม อันเป็นวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6) ซึ่งหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ตามมาตรา 70 (4)
ในชั้นโจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้โจทก์จะขอให้เพิกถอนการเสียเงินเพิ่มโดยขอมาลอย ๆ มิได้อ้างเหตุอย่างใด ก็ถือว่าโจทก์ได้กล่าวเป็นการอุทธรณ์ในประเด็นเรื่องเงินเพิ่มไว้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในประเด็นเรื่องเงินเพิ่มต่อศาลได้
of 4