คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 54

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4842/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบริการทางวิชาชีพและค่าพาหนะ: การพิจารณาความถูกต้องของรายจ่ายในการคำนวณภาษี
โจทก์และบริษัท อ.มิได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริการใด ๆ ต่อกันการว่าจ้างให้บริการทางวิชาชีพที่โจทก์ต้องจ่ายค่าบริการนี้มีการทำสัญญาระหว่างบริษัท อ.กับบริษัท อี โจทก์เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากการขยายผลของสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาที่ทั้งสองบริษัททำต่อกันเท่านั้น ทั้งนี้ ในฐานะที่โจทก์เป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ.และในการจ่ายเงินค่าบริการทางวิชาชีพ โจทก์ก็มิได้จ่ายให้แก่บริษัท อี ผู้ให้บริการโดยตรงแต่จ่ายผ่านบริษัท อ.โดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนกับยอดขายสินค้าของบริษัทในเครือที่ได้รับการขยายผลตามสัญญาดังกล่าวด้วยกันเช่นเดียวกับโจทก์ หากบริษัทในเครือบริษัทใดขายสินค้าได้มากก็ต้องจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพสูงกว่าบริษัทในเครือที่ขายสินค้าได้น้อยกว่า ส่วนบริษัท อ.คู่สัญญากับบริษัท อี กลับไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพหรือค่าป่วยการใด ๆให้แก่บริษัท อี การที่บริษัท อ.ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งให้บริษัทในเครือของตนเองจำหน่ายแก่ลูกค้ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าได้ว่าจ้างให้บริษัท อี ทำการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาในด้านการผลิตสินค้าปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ โดยบริษัท อ.ไม่ต้องจ่ายค่าบริการอันเป็นสินจ้าง แต่ผลักภาระการจ่ายค่าบริการดังกล่าวมาให้แก่บริษัทในเครือซึ่งมิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงแต่ผู้สั่งสินค้ามาจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้า โดยกำหนดให้บริษัทในเครือจ่ายค่าบริการมากน้อยตามสัดส่วนของรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากสัญญาจ้างดังกล่าวข้างต้นและสมควรมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าบริการหรือสินจ้างคือบริษัท อ.ซึ่งเป็นทั้งผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิตและคู่สัญญากับบริษัท อี หาใช่บริษัทในเครือที่เป็นเพียงผู้จำหน่ายสินค้าที่ผลิตไม่ เพราะคุณภาพหรือคุณลักษณะของสินค้าที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตที่ผู้ผลิตจักต้องแสดงให้ประจักษ์แก่ลูกค้าหรือผู้แทนจำหน่ายเพื่อประโยชน์ในการแข่งขันทางการค้าในตลาด โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ.มิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงผู้สั่งสินค้าที่บริษัท อ.ผลิตเข้ามาจำหน่าย แม้บางครั้งบริษัทผู้ผลิตจะได้แจ้งคุณลักษณะของสินค้าที่ได้จากรายงานการศึกษาค้นคว้ามาให้โจทก์ทราบเพื่อประโยชน์ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็จะนำส่วนเฉลี่ยของค่าบริการทางวิชาชีพที่บริษัท อ.ผู้ผลิตจะต้องจ่ายให้แก่บริษัท อี ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะหาได้ไม่ เพราะรายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของบริษัท อ.ค่าบริการทางวิชาชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ.จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ตามป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (14)
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42 (1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4842/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพและค่าพาหนะ: การพิจารณาเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้
โจทก์และบริษัท อ. มิได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริการใด ๆ ต่อกันการว่าจ้างให้บริการทางวิชาชีพที่โจทก์ต้องจ่ายค่าบริการนี้มีการทำสัญญาระหว่างบริษัท อ. กับบริษัท อี โจทก์เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากการขยายผลของสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาที่ทั้งสองบริษัททำต่อกันเท่านั้น ทั้งนี้ ในฐานะที่โจทก์เป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ. และในการจ่ายเงินค่าบริการทางวิชาชีพ โจทก์ก็มิได้จ่ายให้แก่บริษัท อี ผู้ให้บริการโดยตรงแต่จ่ายผ่านบริษัท อ. โดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนกับยอดขายสินค้าของบริษัทในเครือที่ได้รับการขยายผลตามสัญญาดังกล่าวด้วยกันเช่นเดียวกับโจทก์ หากบริษัทในเครือบริษัทใดขายสินค้าได้มากก็ต้องจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพสูงกว่าบริษัทในเครือที่ขายสินค้าได้น้อยกว่า ส่วนบริษัท อ. คู่สัญญากับบริษัท อี กลับไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพหรือค่าป่วยการใด ๆ ให้แก่บริษัท อี การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งให้บริษัทในเครือของตนเองจำหน่ายแก่ลูกค้ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าได้ว่าจ้างให้บริษัท อี ทำการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาในด้านการผลิตสินค้าปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ โดยบริษัท อ. ไม่ต้องจ่ายค่าบริการอันเป็นสินจ้าง แต่ผลักภาระการจ่ายค่าบริการดังกล่าวมาให้แก่บริษัทในเครือซึ่งมิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงแต่ผู้สั่งสินค้ามาจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้า โดยกำหนดให้บริษัทในเครือจ่ายค่าบริการมากน้อยตามสัดส่วนของรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากสัญญาจ้างดังกล่าวข้างต้นและสมควรมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าบริการหรือสินจ้างคือบริษัท อ. ซึ่งเป็นทั้งผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิตและคู่สัญญากับบริษัท อี หาใช่บริษัทในเครือที่เป็นเพียงผู้จำหน่ายสินค้าที่ผลิตไม่ เพราะคุณภาพหรือคุณลักษณะของสินค้าที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตที่ผู้ผลิตจักต้องแสดงให้ประจักษ์แก่ลูกค้า หรือผู้แทนจำหน่ายเพื่อประโยชน์ในการแข่งขันทางการค้าในตลาด โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ. มิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงผู้สั่งสินค้าที่บริษัท อ. ผลิตเข้ามาจำหน่าย แม้บางครั้งบริษัทผู้ผลิตจะได้แจ้งคุณลักษณะของสินค้าที่ได้จากรายงานการศึกษาค้นคว้ามาให้โจทก์ทราบเพื่อประโยชน์ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็จะนำส่วนเฉลี่ยของค่าบริการทางวิชาชีพที่บริษัท อ. ผู้ผลิตจะต้องจ่ายให้แก่บริษัท อี ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะหาได้ไม่ เพราะรายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของบริษัท อ. ค่าบริการทางวิชาชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ. จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14)
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4842/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบริการวิจัยและพัฒนา (R&D) และค่าพาหนะเหมาจ่าย ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีได้
โจทก์และบริษัท อ. มิได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริการใด ๆ ต่อกันการว่าจ้างให้บริการทางวิชาชีพที่โจทก์ต้องจ่ายค่าบริการนี้มีการทำสัญญาระหว่างบริษัท อ. กับบริษัท อี โจทก์เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากการขยายผลของสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาที่ทั้งสองบริษัททำต่อกันเท่านั้น ทั้งนี้ ในฐานะที่โจทก์เป็นบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ. และในการจ่ายเงินค่าบริการทางวิชาชีพ โจทก์ก็มิได้จ่ายให้แก่บริษัท อี ผู้ให้บริการโดยตรงแต่จ่ายผ่านบริษัท อ. โดยคิดค่าบริการเป็นสัดส่วนกับยอดขายสินค้าของบริษัทในเครือที่ได้รับการขยายผลตามสัญญาดังกล่าวด้วยกันเช่นเดียวกับโจทก์ หากบริษัทในเครือบริษัทใดขายสินค้าได้มากก็ต้องจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพสูงกว่าบริษัทในเครือที่ขายสินค้าได้น้อยกว่า ส่วนบริษัท อ. คู่สัญญากับบริษัท อี กลับไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าบริการทางวิชาชีพหรือค่าป่วยการใด ๆ ให้แก่บริษัท อี การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งให้บริษัทในเครือของตนเองจำหน่ายแก่ลูกค้ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าได้ว่าจ้างให้บริษัท อี ทำการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาในด้านการผลิตสินค้าปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ โดยบริษัท อ. ไม่ต้องจ่ายค่าบริการอันเป็นสินจ้าง แต่ผลักภาระการจ่ายค่าบริการดังกล่าวมาให้แก่บริษัทในเครือซึ่งมิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงแต่ผู้สั่งสินค้ามาจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้า โดยกำหนดให้บริษัทในเครือจ่ายค่าบริการมากน้อยตามสัดส่วนของรายได้จากการจำหน่ายสินค้าเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากสัญญาจ้างดังกล่าวข้างต้นและสมควรมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าบริการหรือสินจ้างคือบริษัท อ. ซึ่งเป็นทั้งผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิตและคู่สัญญากับบริษัท อี หาใช่บริษัทในเครือที่เป็นเพียงผู้จำหน่ายสินค้าที่ผลิตไม่ เพราะคุณภาพหรือคุณลักษณะของสินค้าที่จะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใดส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตที่ผู้ผลิตจักต้องแสดงให้ประจักษ์แก่ลูกค้า หรือผู้แทนจำหน่ายเพื่อประโยชน์ในการแข่งขันทางการค้าในตลาด โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ. มิใช่ผู้ผลิต เป็นเพียงผู้สั่งสินค้าที่บริษัท อ. ผลิตเข้ามาจำหน่าย แม้บางครั้งบริษัทผู้ผลิตจะได้แจ้งคุณลักษณะของสินค้าที่ได้จากรายงานการศึกษาค้นคว้ามาให้โจทก์ทราบเพื่อประโยชน์ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็จะนำส่วนเฉลี่ยของค่าบริการทางวิชาชีพที่บริษัท อ. ผู้ผลิตจะต้องจ่ายให้แก่บริษัท อี ดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะหาได้ไม่ เพราะรายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นรายจ่ายโดยเฉพาะของบริษัท อ. ค่าบริการทางวิชาชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ. จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14)
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ เมื่อค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงานคำนวณโดยโจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ ย่อมเป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโดยไม่ได้รับยกเว้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณแล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้กระทำจึงต้องร่วมรับผิดด้วยตามมาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9909/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล การผลิต การหักภาษี ณ ที่จ่าย และเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
ค่าพาหนะที่โจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฎิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ เป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ย่อมไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้ภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งจึงต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 54ทั้งเจ้าพนักงานของจำเลยก็ได้ยอมให้ใช้ค่าพาหนะเหมาจ่ายเฉพาะส่วนที่ไม่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 42(2)ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์และพนักงานของโจทก์อยู่แล้ว ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 กำหนดให้เบิกเงินชดเชยการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้กิโลเมตรละ 90 สตางค์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2526 เป็นต้นไป จึงต้องเป็นไปตามนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินยกเว้นให้หลังวันที่ 7 พฤศจิกายน2526 และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นด้วยกับการประเมินจึงมิชอบ การที่โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายส่งพนักงานของโจทก์ไปดูงานต่างประเทศก็ต่อเมื่อพนักงานผู้นั้นทำงานให้แก่โจทก์ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ และต้องทำงานอยู่กับโจทก์นานและมี ความประพฤติดีด้วย ซึ่งมิใช่การให้ไปศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการแต่อย่างใด จึงหาใช่รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42(11) ไม่ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการที่ตนเองทำงานให้แก่โจทก์ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่ง การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในเรื่องนี้ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น ปัญหาต่อไปมีว่า การจำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนวันที่ 1 มกราคม 2526 ไม่ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526)เพียงแต่ปฎิบัติตามที่มาตรา 65 ทวิ (9) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16)พ.ศ. 2502 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ก็ถือได้ว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้และโจทก์ได้ปฎิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับการชำระหนี้แล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้ การจำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีที่อยู่ในบังคับของมาตรา 65 ทวิ(9) ที่แก้ไขใหม่และกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่1 มกราคม 2526 ต้องมีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวโดยครบถ้วนถูกต้อง การที่บริษัท อ. ซื้อที่ดินให้โจทก์เช่ามาก็เพื่อผลประโยชน์ของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ใช้ตั้งสำนักงานทั้งตามสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลายาวนานถึง 30 ปี ยังบังคับให้บริษัทดังกล่าวต้องจำหน่ายจ่ายที่ดินให้แก่โจทก์หรือบุคคลภายนอกที่โจทก์ระบุอีกด้วย สัญญาเช่าดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาเช่าปกติธรรมดาทางธุรกิจโดยทั่วไปไม่ เมื่อโจทก์นำเงินจำนวนยี่สิบแปดล้านบาท มาให้บริษัท อ. นำไปชำระค่าที่ดินที่เช่าดังกล่าว แม้จะระบุในสัญญาเช่าว่าเป็นเงินประกันการเช่า ก็ถือได้ว่าโจทก์นำเงินจำนวนยี่สิบแปดล้านบาทมาให้บริษัทดังกล่าวกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย การที่เจ้าพนักงานประเมินรายได้จากดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นเป็นรายรับของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอันเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4) จึงชอบแล้ว เทปกาวม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามาตัดแบ่งนั้นไม่มีชื่อหรือเครื่องหมายการค้าปรากฎอยู่ เมื่อโจทก์นำมาตัดแบ่งกรอใส่แกนเป็นม้วนเล็กตามขนาดที่ต้องการโดยที่แกนปรากฎเครื่องหมายการค้าพิมพ์อยู่ แล้วใส่ลงถุงพลาสติกและบรรจุกล่องซึ่งมีคำว่า 3M พิมพ์ไว้ด้านข้างของกล่องนั้น เป็นการทำให้มีขึ้นซึ่งชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้า เข้าลักษณะเป็นการผลิตตามคำนิยามของคำว่า "ผลิต"ตามมาตรา 77 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2525 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้แม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเป็นของบริษัทแม่ของโจทก์ในต่างประเทศหรือโจทก์จะมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำดังกล่าวมิใช่การผลิตแต่อย่างใด กระดาษทรายม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามามีเครื่องหมายการค้า 3M ปรากฎอยู่ชัดด้านหลังของกระดาษทรายโจทก์นำกระดาษทรายม้วนใหญ่มาตัดแบ่งเป็นหน้าแคบ ๆ แต่ยาวตามขนาดที่ลูกค้าสั่ง และถ้าลูกค้าขอให้นำส่วนที่ตัดแบ่งแล้วมาเชื่อมต่อกัน โจทก์ก็จะนำปลายส่วนที่ตัดแบ่งแล้วนั้นมาประกบเชื่อมติดกันด้วยกาวในลักษณะสายพาน โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากลูกค้า หากลูกค้าไม่ได้สั่งให้นำกระดาษทรายแต่ละแผ่นมาเชื่อมต่อกัน โจทก์ก็จะนำกระดาษทรายที่ตัดแบ่งแล้วม้วนและห่อด้วยกระดาษนำบรรจุในกล่องกระดาษที่มีคำว่า 3M ปรากฎอยู่ด้านข้างตัวกล่องนั้นการกระทำดังกล่าวหาใช่เป็นการทำให้มีขึ้นซึ่งชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าไม่ เพราะเครื่องหมายการค้า3M นั้น มีปรากฏอยู่แล้วเดินในกระดาษทรายม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามา ทั้งการตัดแบ่งออกเป็นแผ่นยาวและบางครั้งมีการเชื่อมต่อระหว่างแผ่นตามคำสั่งของลูกค้าเพื่อประโยชน์ที่ลูกค้าจะนำไปใช้ได้ ก็เป็นกรณีที่โจทก์นำมาแบ่งขายในสภาพเช่นเดิมและได้ขายสินค้านี้ในรูปรอยตราเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 โจทก์จึงมิใช่ผู้ผลิตไม่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9909/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล: ค่าพาหนะ, ค่าใช้จ่ายในการดูงาน, การจำหน่ายหนี้สูญ, และการผลิตสินค้า
ค่าพาหนะที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (1) นั้น ต้องเป็นค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือพนักงานผู้นั้นได้จ่ายไปจริงโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าพาหนะที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวไม่ ดังนั้น ค่าพาหนะที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานของโจทก์ในการออกไปปฏิบัติงาน โดยคิดคำนวณเป็นกิโลเมตร หากพนักงานใช้รถยนต์เดือนใดไม่เกิน 1,200 กิโลเมตร โจทก์จะจ่ายให้กิโลเมตรละ 4.55 บาทถ้าใช้เกินกว่านั้น ส่วนที่เกินจะจ่ายให้กิโลเมตรละ 1.82 บาท จึงเป็นค่าพาหนะที่โจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ เป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ย่อมไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42 (1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงาน โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณที่จ่ายไว้และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้หักภาษีณ ที่จ่ายและนำส่งจึงต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 54 ทั้งเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยก็ได้ยอมให้ค่าพาหนะเหมาจ่ายเฉพาะส่วนที่ไม่เกินอัตราตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 42 (2) ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์ และพนักงานของโจทก์อยู่แล้ว
เมื่อระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ.2526 กำหนดให้เบิกเงินชดเชยการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้กิโลเมตรละ 90 สตางค์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2526 เป็นต้นไปจึงต้องเป็นไปตามนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินยกเว้นให้หลังวันที่ 7 พฤศจิกายน2526 และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นด้วยกับการประเมินจึงไม่ชอบ
โจทก์จะออกเงินค่าใช้จ่ายส่งพนักงานของโจทก์ไปดูงานต่างประเทศก็ต่อเมื่อพนักงานผู้นั้นทำงานให้แก่โจทก์ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ และต้องทำงานอยู่กับโจทก์นานและมีความประพฤติดีด้วย ทั้งการออกเงินค่าใช้จ่ายให้ไปดูงานต่างประเทศของโจทก์ก็มิใช่การให้ไปศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการแต่อย่างใดจึงหาใช่รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 42 (11) ไม่ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการที่ตนเองทำงานให้แก่โจทก์ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เพื่อนำส่ง
การจำหน่ายหนี้สูญของโจทก์นั้นเกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2524 ถึง 31 ตุลาคม 2525 และระหว่างวันที่ 1พฤศจิกายน 2525 ถึง 31 ตุลาคม 2526 ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 159 (พ.ศ.2526) ยังไม่มีผลบังคับในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวของโจทก์ ทั้งนี้เพราะข้อ 3 ของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวกำหนดว่า กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2526 ดังนั้น การจำหน่ายหนี้สูญของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจึงไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับนั้น เพียงแต่โจทก์ปฏิบัติตามที่มาตรา 65 ทวิ (9) บัญญัติไว้ก็ถือว่าชอบแล้ว กล่าวคือได้มีการติดตามทวงถามหนี้สินแล้วปรากฏว่าลูกหนี้ปิดกิจการหลบหนีไปไม่อาจทราบเบาะแสที่อยู่ใหม่ตลอดจนไม่ทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอยู่ที่ใดทั้ง ๆ ที่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสืบหาหลายครั้งการติดตามทวงถามและสืบหาต่อไปย่อมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและยุ่งยาก ไม่คุ้มกับจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ กรณีจึงถือได้ว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ และโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้ การที่โจทก์จำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว จึงเป็นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้โดยชอบตามมาตรา 65 ทวิ (9) แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
สำหรับการจำหน่ายหนี้สูญของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีที่อยู่ในบังคับของมาตรา 65 ทวิ (9) ที่แก้ไขใหม่และกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ.2526) คือระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2526 ถึง 31 ตุลาคม 2527เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 504,826.75 บาท โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าได้มีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวโดยครบถ้วนถูกต้อง ทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการฟ้องคดีแพ่งเพื่อบังคับชำระหนี้หรือบางรายที่มีการฟ้องคดีแพ่งแล้วคือ ลูกหนี้รายบริษัท ส. เมื่อลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ ไม่ปรากฏว่าศาลได้ออกคำบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้วแต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 159 (พ.ศ.2526) ข้อ 3 (ค)ฉะนั้นการจำหน่ายหนี้สูญของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีข้างต้นจึงไม่อาจกระทำได้
ค่าใช้จ่ายจำนวน 580,835 บาท ที่โจทก์จ่ายให้เจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปดูงานในต่างประเทศสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2526 ถึง 31 ตุลาคม 2527 โจทก์นำสืบว่าโจทก์จ่ายไปเพื่อให้เจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้มีโอกาสเรียนรู้สินค้าใหม่ ๆและจะได้สั่งซื้อสินค้าใหม่ ๆ นั้นจากโจทก์ และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยก็ได้สั่งซื้อสินค้าใหม่ ๆ นั้นจากโจทก์นั้น การที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ หาใช่เป็นผลมาจากการที่โจทก์ออกค่าใช้จ่ายให้พนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปดูงานในต่างประเทศในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไม่ เพราะเป็นการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ก่อนจะถึงรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์ และที่โจทก์อ้างว่า แม้หากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะไม่ตัดสินใจติดต่อสั่งซื้อสินค้าหรือจัดจ้างโจทก์ก็ตาม ค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็ควรนำมาหักได้ไม่ต้องห้าม เพราะเป็นเรื่องปกติทางธุรกิจที่อาจประสบความสำเร็จตามมุ่งหวังหรือไม่ก็ได้นั้น เป็นการโต้เถียงฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ด้วยเหตุที่ค่าใช้จ่ายอันจะนำมาหักได้ในการคำนวณกำไรสุทธินั้นจักต้องมิใช่ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 65 ตรี และในกรณีนี้มีประเด็นว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่าย ซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไร หรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะตามมาตรา69 ตรี (9) หรือไม่ ซึ่งโจทก์มีภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบว่าค่าใช้จ่ายนั้นเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบได้ก็ต้องฟังว่ามิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะซึ่งจะนำมาหักมิได้แม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริงเพื่อมุ่งหวังให้องค์การ-โทรศัพท์แห่งประเทศไทยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ก็ตาม
โจทก์เป็นบริษัทต่างด้าวตามกฎหมายไทยไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ โจทก์จึงร่วมกับคนไทยและบริษัท ม.ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของโจทก์ในต่างประเทศก่อตั้งบริษัท อ.ขึ้น โดยให้มีคนไทยถือหุ้นร้อยละ 51 เพื่อมิให้เป็นบริษัทต่างด้าวและมีคุณสมบัติในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ บริษัท อ.จดทะเบียนบริษัทเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2526 ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ต่อมาวันที่ 9 เดือนเดียวกันได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 36543 จากบริษัท ส.ในราคา 38 ล้านบาทโดยไม่ปรากฏว่าได้ยืมเงินจากบุคคลใดมาซื้อ และในวันที่ 10 เดือนเดียวกันได้นำที่ดินดังกล่าวมาให้โจทก์เช่าเพื่อสร้างอาคารสำนักงานบริษัทโจทก์เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานที่ดิน และระบุให้โจทก์ผู้เช่าวางเงินประกันการเช่าไว้จำนวน 28 ล้านบาท เงินจำนวนดังกล่าวโจทก์ได้ทำสัญญากู้ยืมมาจากบริษัท ก.และบริษัท ง.เมื่อวันที่ 7 เดือนเดียวกันนั้นเอง จึงน่าเชื่อว่าบริษัท อ.ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระค่าที่ดินที่นำมาให้โจทก์เช่า ทำให้บริษัทดังกล่าวไม่ต้องไปกู้ยืมเงินโดยจ่ายดอกเบี้ยจากแหล่งเงินกู้อื่น ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าการที่บริษัท อ.ซื้อที่ดินที่เช่ามาก็เพื่อผลประโยชน์ของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ใช้ตั้งสำนักงาน ทั้งตามสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลายาวนานถึง 30 ปี ยังบังคับให้บริษัทดังกล่าวต้องจำหน่ายจ่ายที่ดินให้แก่โจทก์หรือบุคคลภายนอกที่โจทก์ระบุอีกด้วยสัญญาเช่าเช่นนี้จึงหาใช่สัญญาเช่าปกติธรรมดาทางธุรกิจโดยทั่วไปไม่ เมื่อโจทก์นำเงินจำนวน 28 ล้านบาท มาให้บริษัท อ.นำไปชำระค่าที่ดินที่เช่าดังกล่าวแม้จะระบุในสัญญาเช่าว่าเป็นเงินประกันการเช่า ก็ถือได้ว่าโจทก์นำเงินจำนวน 28ล้านบาท มาให้บริษัทดังกล่าวกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินรายได้จากดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นเป็นรายรับของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอันเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4)จึงชอบแล้ว
เทปกาวม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามาตัดแบ่งนั้นไม่มีชื่อหรือเครื่องหมายการค้าปรากฏอยู่ เมื่อโจทก์นำมาตัดแบ่งกรอใส่แกนเป็นม้วนเล็กตามขนาดที่ต้องการ โดยที่แกนปรากฏเครื่องหมายการค้า Scotch, Highland,Rocket, Crystal Bay, หรือ 3M พิมพ์อยู่ แล้วใส่ลงในถุงพลาสติกและบรรจุกล่องซึ่งมีคำว่า 3M พิมพ์ไว้ด้านข้างของกล่อง จึงเป็นการทำให้มีขึ้นซึ่งชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้า เข้าลักษณะเป็นการผลิตตามคำนิยามของคำว่า "ผลิต" ตามมาตรา 77 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2525 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้แม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเป็นของบริษัท ม.ที่เป็นบริษัทแม่ของโจทก์ในต่างประเทศ หรือโจทก์จะมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำดังกล่าวมิใช่การผลิตแต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ผลิตจึงต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นสำหรับการขายสินค้าเทปกาวดังกล่าว
กระดาษทรายม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามานั้นมีเครื่องหมายการค้า3M ปรากฏอยู่ชัดด้านหลังของกระดาษทราย โจทก์นำกระดาษทรายม้วนใหญ่มาตัดแบ่งเป็นหน้าแคบ ๆ แต่ยาวตามขนาดที่ลูกค้าสั่ง และถ้าลูกค้าขอให้นำส่วนที่ตัดแบ่งแล้วมาเชื่อมต่อกัน โจทก์ก็จะนำปลายส่วนที่ตัดแบ่งแล้วนั้นมาประกบเชื่อมติดกันด้วยกาวในลักษณะสายพาน โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากลูกค้า หากลูกค้าไม่ได้สั่งให้นำกระดาษทรายแต่ละแผ่นมาเชื่อมต่อกัน โจทก์ก็จะนำกระดาษทรายที่ตัดแบ่งแล้วม้วนและห่อด้วยกระดาษนำบรรจุในกล่องกระดาษที่มีคำว่า 3M ปรากฏอยู่ด้านข้างตัวกล่อง ดังนี้การกระทำดังกล่าวหาใช่เป็นการทำให้มีขึ้นซึ่งชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าไม่ เพราะเครื่องหมายการค้า 3M นั้น มีปรากฏอยู่แล้วเดิมในกระดาษทรายม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามา ทั้งการตัดแบ่งออกเป็นแผ่นยาวและบางครั้งมีการเชื่อมต่อระหว่างแผ่นตามคำสั่งของลูกค้าเพื่อประโยชน์ที่ลูกค้าจะนำไปใช้ได้ก็เป็นกรณีที่โจทก์นำมาแบ่งขายในสภาพเช่นเดิมและได้ขายสินค้านี้ในรูปรอยตราเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 โจทก์จึงมิใช่ผู้ผลิต ไม่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5330/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยพาหนะส่วนตัวของพนักงาน: การพิจารณาว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายภาษีอากร
พนักงานของโจทก์ได้นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จ่ายเงินชดเชยให้ ซึ่งคำนวณมาจากข้อมูลค่าเสื่อมราคารถยนต์ ค่าดอกเบี้ยเช่าซื้อ ค่าภาษีประจำปี ค่าประกันภัยค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้ การจ่ายเงินของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายแก่พนักงานของโจทก์ หาใช่จำนวนเงินที่พนักงานของโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าพาหนะไปในการปฏิบัติการตามหน้าที่แล้วเบิกคืนจากโจทก์โดยไม่เหลือเป็นประโยชน์แก่ตน ฉะนั้นเงินได้ดังกล่าวที่พนักงานโจทก์ได้รับไปจึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42(1) จำนวนเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายที่เกินอัตรากิโลเมตรละ90 สตางค์ ซึ่งจำเลยนำเอาระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526มาเทียบเคียงนั้น ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) เมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50และนำส่งตามมาตรา 52 จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5330/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินชดเชยค่าพาหนะส่วนตัวของพนักงานไม่ได้รับยกเว้นภาษี หากไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปโดยสุจริตและเบิกคืนทั้งหมด
เงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายแก่พนักงานที่นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้แก่โจทก์ ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1) เพราะมิใช่จำนวนเงินที่พนักงานได้จ่ายเป็นค่าพาหนะไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นตามความเป็นจริงแล้วเบิกคืนจากโจทก์ตามจำนวนที่ถูกต้องตรงกันไม่เหลือเป็นประโยชน์แก่พนักงาน อย่างไรก็ดี เงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกิโลเมตรละ 90 สตางค์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(2) โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 และ 52เฉพาะเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายส่วนที่เกินกิโลเมตรละ 90 สตางค์เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ โจทก์จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5330/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยพาหนะพนักงานไม่ได้รับการยกเว้นภาษี, เงินเกินอัตราเป็นเงินได้พึงประเมิน
พนักงานของโจทก์ได้นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จ่ายเงินชดเชยให้ ซึ่งคำนวณมาจากข้อมูลค่าเสื่อมราคารถยนต์ ค่าดอกเบี้ยเช่าซื้อ ค่าภาษีประจำปี ค่าประกันภัย ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆดังนี้ การจ่ายเงินของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายแก่พนักงานของโจทก์ หาใช่จำนวนเงินที่พนักงานของโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าพาหนะไปในการปฏิบัติการตามหน้าที่แล้วเบิกคืนจากโจทก์โดยไม่เหลือเป็นประโยชน์แก่ตน ฉะนั้นเงินได้ดังกล่าวที่พนักงานโจทก์ได้รับไปจึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (1)
จำนวนเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายที่เกินอัตรากิโลเมตรละ90 สตางค์ ซึ่งจำเลยนำเอาระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 มาเทียบเคียงนั้น ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) เมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 และนำส่งตามมาตรา 52 จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นภาษีอากร: การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล, ค่าใช้จ่ายต้องห้าม, เงินเพิ่ม, และการพิสูจน์หลักฐานทางบัญชี
ในกรณีที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นชอบด้วยนั้น อาจถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ กรมสรรพากรมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรที่กล่าวมาแล้วก็จะไร้ผล คดีนี้โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล และคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลซึ่งยังไม่ถึงที่สุด กรมสรรพากรจำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ที่กำหนดให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการมิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี ในการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบภายในกำหนดเวลาเท่าใด และสิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ดังนั้น แม้จะแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบเกิน 5 ปี นับแต่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินก็ไม่ทำให้การประเมินที่ผ่านมาแล้วเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ ในการจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ได้แบ่งจ่ายให้แก่ผู้อื่นตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอก ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าผู้มีเงินได้ค่าลิขสิทธิ์จริงคือผู้ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนผู้ที่มารับเงินเพียงแต่เป็นบุคคลที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอกให้โจทก์จ่ายจึงถือได้ว่าเป็นเงินได้ที่โจทก์จ่ายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว โจทก์ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายเหมือนเช่นจ่ายเงินได้ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว ไม่ชอบที่โจทก์จะคำนวณหักภาษีณ ที่จ่ายหลังจากแบ่งค่าลิขสิทธิ์ให้แก่บุคคลต่าง ๆ ที่เจ้าของลิขสิทธิ์บอกให้โจทก์จ่ายแล้วซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งไม่ครบถ้วน ทั้งนี้เพราะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นถ้ามีเงินได้มากขึ้นก็จะต้องเสียภาษีในอัตราเพิ่มมากขึ้น แม้โจทก์จะไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากการหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่กฎหมายกำหนดให้โจทก์ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีณ ที่จ่าย และนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วน เมื่อโจทก์หักและนำส่งไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์ก็ต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ขาดตามมาตรา 54 ค่าซื้อเครื่องถ่ายเอกสารตามหลักฐานปรากฏว่าโรงพิมพ์ ก.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์เป็นผู้ซื้อ จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (13) ค่ากระเช้าดอกไม้ ค่าช่วยงานแต่งงาน ค่าช่วยงานบวชนาค และค่าช่วยงานศพ ล้วนมีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หา และเป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ในทางการงานหรือสังคมของตนเอง และมิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจการค้าของโจทก์โดยตรงจึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (3) รายจ่ายค่าซ่อมรถซึ่งโจทก์ไม่มีหลักฐานว่าเป็นค่าซ่อมรถของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (13) ค่ารับรองและค่าพาหนะซึ่งล้วนแต่เป็นรายจ่ายที่เป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินยิ่งกว่าประโยชน์ทางการค้าของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (3) ค่าขนส่ง ค่านายหน้า และค่าจ้างทำของ และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (18) ค่าซ่อมแซมพื้นห้องที่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าโจทก์ได้ซ่อมแซมพื้นห้องของโจทก์จริง จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม มาตรา 65 ตรี (13) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์หลีกเลี่ยงภาษีและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ผ่อนผันลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์แล้ว คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเงินเพิ่มตามกฎหมายจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะงดเงินเพิ่มให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5519/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการประเมินภาษี เจ้าพนักงานมีสิทธิพิจารณาค่าใช้จ่ายโดยอ้างอิงข้อมูลจากหน่วยงานอื่น และการไม่อยู่ร่วมตรวจสอบภาษีไม่สมเหตุผล
การที่มีการแบ่งส่วนราชการตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมสรรพากรกระทรวงการคลัง พ.ศ.2515 ให้สำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 7รับผิดชอบเขตพื้นที่บางกอกน้อย ซึ่งเป็นภูมิลำเนาและสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์นั้นเป็นเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินภายในของจำเลยเพื่อให้เกิดความคล่องตัวมีประสิทธิภาพ เมื่องานตรวจสอบภาษีรายของโจทก์เป็นงานที่ดำเนินการค้างมาจากงานกองภาษีการค้าและยังไม่เสร็จสิ้น กองภาษีการค้าถูกยุบเลิกไป ว.เจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีรายของโจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 6 ฝ่ายตรวจสอบ สำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 ย่อมมีอำนาจดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะเสร็จงาน ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.164/2525 โจทก์จึงไม่อาจอ้างว่าสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 ไม่มีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีรายของโจทก์ แม้หลักฐานเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าหัก ณ ที่จ่ายสำหรับปี 2519 และปี 2520 ที่โจทก์ถูกทางราชการหักภาษีไว้เป็นภาพถ่ายมาจากต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขา หรือในความควบคุมของทางราชการ การอ้างภาพถ่ายเอกสารลักษณะเช่นนี้เท่ากับเป็นการอ้างสำเนาเอกสารจะต้องมีบุคคลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 93(3) แห่ง ป.วิ.พ. รับรองความถูกต้องแล้วจึงจะรับฟังได้ก็ตาม แต่ตาม มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามมาตรา 125 แห่ง ป.วิ.พ. บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตน จะต้องคัดค้านการอ้างเอกสารหรือความถูกต้องของสำเนาเอกสารก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษาแล้วแต่กรณีแต่โจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารไม่มีหรือเอกสารนั้นปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ดังนั้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาพยานเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับได้ เมื่อโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีรายได้จากการประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์ย่อมมีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65,65 ทวิ และ65 ตรี เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานใดมาแสดงว่าเป็นรายจ่าย จึงต้องถือว่าโจทก์มีเงินกำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษีตามจำนวนที่เป็นรายรับการที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์โดยยินยอมให้มีการหักค่าใช้จ่ายด้วยการนำเอาข้อมูลจากกรมโยธาธิการที่เป็นหน่วยงานที่ควบคุมงานก่อสร้างสถานที่ราชการที่โจทก์ดำเนินการซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าแรงก่อสร้างมาเป็นแนวทางตรวจสอบกิจการก่อสร้างของโจทก์ แล้วคำนวณกำไรสุทธิด้วยการหักค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์เป็นค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงก่อสร้างรวมจำนวนถึงร้อยละ 80 นับว่าเป็นการกระทำโดยมีเหตุสมควรและเป็นธรรมแก่โจทก์ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะกระทำได้ ในการตรวจสอบภาษีรายของโจทก์ โจทก์มอบอำนาจให้ ส. มาให้การต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีจำเลยเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือถึงโจทก์สามครั้ง ให้โจทก์ไปพบพร้อมกับส่งเอกสารให้แก่เจ้าพนักงานประเมิน โจทก์ก็เพิกเฉยไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีของจำเลย เมื่อโจทก์ถูกประเมินภาษีก็ไม่ยอมมารับทราบผลการประเมิน กรณีเช่นนี้ย่อมไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้โจทก์ได้.
of 6