คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิกร อังคณาวิศัลย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์ความสุจริตตามประกาศกองทุนฟื้นฟูเพื่อรับความช่วยเหลือทางการเงินก่อนฟ้องคดี
ตามประกาศกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินในข้อ 2 (4) ว่า ในกรณีที่โจทก์เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 โจทก์มีหน้าที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าตนเป็นเจ้าหนี้ที่สุจริตในการเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน แม้โจทก์จะอ้างว่าเหตุที่ฟ้องเพราะตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหนึ่งจะขาดอายุความก็ดี หรือขณะที่โจทก์รับโอนตั๋วสัญญาใช้เงินมา จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ประสบภาวะที่จะต้องถูกสั่งปิดกิจการ จึงแสดงว่ารับโอนโดยสุจริตก็ดีหรือเอกสารที่พิสูจน์ความสุจริตของโจทก์นั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 3 ก็ดี แต่เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติตามที่โจทก์และจำเลยที่ 3 นำสืบว่า ก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ยังไม่ได้พิสูจน์ให้ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ที่สุจริตในการเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินตามเงื่อนไขที่ประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าตนเป็นเจ้าหนี้ที่สุจริตในการเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับเช่นนี้ การฟ้องคดีของโจทก์ไม่เป็นไปตามขั้นตอนตามประกาศดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกการครอบครองที่ดินก่อนบังคับคดี และสิทธิในการกันส่วนที่ดิน
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนมีการบังคับคดี ข้อตกลงย่อมผูกพันจำเลยที่ 2 และผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิในที่ดินพิพาท ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้กันที่ดินพิพาทที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินทั้งแปลงออกขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้าย vs. พยายามฆ่า และการรอการลงโทษในคดีเยาวชน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80, 83 จำคุก 5 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกและอบรมมีกำหนด 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ส่งจำเลยไปฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี กรณีเป็นการแก้ไขเฉพาะระยะเวลาการฝึกอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 183 และมาตรา 6 ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
เจตนาฆ่าโดยเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ผู้กระทำต้องเล็งเห็นผลของการกระทำแล้วว่าจะทำให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตายได้ ซึ่งเป็นผลที่เห็นได้ชัดว่าจะเกิดขึ้น มิใช่เพียงแค่อาจจะเกิดขึ้นเท่านั้น การที่จำเลยกับพวกร่วมกันถีบรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายทั้งสองขับด้วยความเร็ว 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นความเร็วไม่มาก ทำให้ผู้เสียหายทั้งสองไถลไปตามไหล่ทางที่มีหญ้าขึ้นปกคลุม และได้รับบาดแผลถลอกเป็นส่วนใหญ่ คงมีแต่ผู้เสียหายที่ 2 ที่นิ้วมือขวาฉีกด้วยเท่านั้น จึงเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยเพียงเจตนาทำร้ายเท่านั้น
แม้จำเลยจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยหนักเกินไปย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดโดยรอการลงโทษให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่น แม้ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนโทษเป็นกักขัง ก็ยังสามารถทำได้ตามหลักเกณฑ์มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ป.อ.
บทบัญญัติมาตาม 22 วรรคหนึ่งแห่ง ป.อ. นั้น เป็นบทกำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกจำเลยว่าให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น ซึ่งการที่ศาลมีคำพิพากษาให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น โดยไม่ให้เริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้นนั่นเอง ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 891/2550 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้มีคำพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน ก็ไม่เป็นการต้องห้ามที่ศาลจะกำหนดเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้เป็นอย่างอื่นด้วยการให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาเปลี่ยนโทษเป็นกักขังก็ยังคงทำได้ตามหลักกฎหมาย
บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 22 เป็นบทกำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกว่า ให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาโดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น การที่ศาลมีคำพิพากษาให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น โดยไม่ให้เริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้น
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแม้จะพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน ก็ไม่เป็นการต้องห้ามที่ศาลจะกำหนดเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้เป็นอย่างอื่นด้วยการให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารโดยอาศัยความเชื่อถือของผู้เสียหาย และความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา
ก่อนจำเลยจะรดน้ำมนต์ให้ผู้เสียหายไม่ได้บอกว่าจะต้องถูกเนื้อตัวผู้เสียหายด้วย เมื่อจำเลยลูบไล้ใบหน้าและหน้าอก ผู้เสียหายจึงถามจำเลยว่าทำไมต้องทำเช่นนั้น แสดงว่าผู้เสียหายไม่ได้ยินยอมให้จำเลยกระทำเช่นนั้นได้ จำเลยอาศัยความเป็นพระภิกษุที่ผู้เสียหายให้ความนับถือและกระทำเพียงครั้งเดียวในลักษณะฉวยโอกาส ในขณะที่ผู้เสียหายไม่ทราบล่วงหน้ามาก่อนจึงไม่อาจปกป้องตัวเองได้ทัน การกระทำในลักษณะฉวยโอกาสดังกล่าวย่อมทำให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำอนาจารผู้เสียหายตาม ป.อ. มาตรา 278

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาต้องวินิจฉัยประเด็นตามฟ้องครบถ้วนและมีเหตุผลรองรับ หากไม่ทำถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาต้องมีข้อสำคัญเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ โดยวินิจฉัยตามประเด็นในคำฟ้องทุกข้อ กล่าวคือ ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม ตรวจสอบบัญชีรายชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ตรวจนับคะแนน รายงานผลการนับคะแนน และประกาศผลนับคะแนนตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ จำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อรับรองรายงานผลการเลือกตั้งอันเป็นความเท็จ และเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในส่วนวินิจฉัยคดีเพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่าจำเลยทั้งสองร่วมกับพวกนำบัตรเลือกตั้งที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรรมการตรวจคะแนน 312 ใบ มาทำเครื่องหมายแล้วใส่ลงในหีบ แล้วพิพากษายกฟ้อง โดยที่มิได้วินิจฉัยประเด็นตามฟ้องให้ครบถ้วนดังกล่าวข้างต้น ทั้งมิได้วินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ และเหตุผลในการตัดสินทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (5) และ (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15984/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าใหม่หลังข้อตกลงเดิมไม่เป็นผล และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต รวมถึงอำนาจฟ้องแย้ง
คดีก่อน โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะไปจดทะเบียนหย่ากันและต่างฝ่ายจะถอนฟ้องและถอนฟ้องแย้งซึ่งกันและกัน โดยศาลชั้นต้นจดข้อตกลงดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว และโจทก์จำเลยที่ 1 ได้ถอนฟ้องแล้วตามข้อตกลง แต่ต่อมาโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนหย่า ภายหลังกลับมาฟ้องหย่าเป็นคดีนี้ ไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องโดยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เพราะมีเหตุใหม่และเป็นคนละประเด็นกับคดีเดิม ปัญหาว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และ 249 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นบันทึกข้อเท็จจริงหรือการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการนั่งพิจารณาไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 48 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นบันทึกว่าโจทก์ตกลงหย่ากับจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่า รายงานกระบวนพิจารณาเป็นหนังสือหย่าโดยความยินยอม และผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาสมทบที่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็เป็นลงลายมือชื่อตามที่กฎหมายบัญญัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะพยาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1514 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15504/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการยิงต่อเนื่อง: ศาลฎีกายืนพยานหลักฐานน้ำหนักพอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยโดยมีเจตนาฆ่าใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 3 นัด จำเลยลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล เนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสำคัญของร่างกายและแพทย์รักษาบาดแผลผู้เสียหายได้ทันท่วงทีผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตายเพียงแต่ได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 13 ปี 4 เดือน จำคุก 33 ปี 4 เดือน หรือจำคุกตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำให้การรับสารภาพเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้อง และศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องจริง จึงจะลงโทษได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและพิพากษาลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องและจำเลยอุทธรณ์ทำนองว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย โดยอ้างว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายตามฟ้องเท่ากับอ้างว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้อง จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงชอบที่จะต้องวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้
จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานพาอาวุธปืนให้ถูกต้อง เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ส่วนความผิดฐานอื่นพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงความผิดไม่เกินห้าปีจำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15260/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของพินัยกรรม เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย
ในชั้นไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพินัยกรรมที่ผู้ตายทำสมบูรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งเท่ากับวินิจฉัยแล้วว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้จริงนั่นเอง เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอใหม่อ้างว่าพินัยกรรมปลอม แม้จะอ้างว่ามีการตรวจพิสูจน์โดยผู้เชี่ยวชาญในภายหลังก็ตาม แต่ข้ออ้างดังกล่าวของผู้ร้องสามารถให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์และนำสืบได้ตั้งแต่ในชั้นที่ผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในครั้งแรกได้อยู่แล้ว การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องโดยอ้างว่าพินัยกรรมปลอมอีก ดังนี้ประเด็นแห่งคดีทั้งสองเป็นประเด็นเดียวกันคือให้วินิจฉัยว่าผู้ตายทำพินัยกรรมหรือไม่ซ้ำอีก ซึ่งศาลชั้นต้นเคยวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีก่อนไปแล้ว คำร้องขอของผู้ร้องในชั้นนี้จึงต้องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นนั้นอีก อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
of 6