คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 54

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตภาษีการค้าคลังสินค้า vs. ค่าขนส่ง และหน้าที่หักภาษีเงินได้ของลูกจ้าง
ตามประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติว่ารายรับจากการค้าประเภทคลังสินค้าหมายถึงอะไรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา770และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา770,771นายคลังสินค้าคือผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเท่านั้นกฎหมายหาได้กำหนดให้นายคลังสินค้าต้องมีหน้าที่ขนสินค้ามาเข้าหรือออกจากคลังสินค้าของตนด้วยไม่ฉะนั้นรายรับจากการประกอบการคลังสินค้าก็คือค่าบำเหน็จในการเก็บรักษาสินค้าหรือค่ารับฝากสินค้าเท่านั้นหารวมถึงค่าขนส่งไม่การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าได้ออกทดรองจ่ายค่าจ้างขนสินค้าให้แก่ผู้รับขนแทนผู้ฝากสินค้าไปนั้นเงินทดรองจ่ายค่าขนสินค้าของผู้ฝากนี้เป็นรายรับของผู้รับขนซึ่งผู้ฝากสินค้ามีหน้าที่ต้องจ่ายตามสัญญาหาใช่รายรับของโจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าโจทก์จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเงินค่ารับขนที่ได้ทดรองจ่ายแทนผู้ฝากไป. โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ของลูกจ้างไว้จากเงินได้ของลูกจ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา50เมื่อโจทก์ไม่หักภาษีไว้โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา54.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมใช้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการประกอบกิจการในไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ประเภทค่าสิทธิ
บริษัท บ.ตั้งอยู่ต่างประเทศ มิได้เข้ามาตั้งสถานประกอบกิจการในประเทศไทยและไม่มีลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย การที่บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการทำสัญญายอมให้โจทก์ใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าแอสเบสโตลักซ์ เป็นชื่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องกระดาษของโจทก์ โดยมี อ.ผู้จัดการบริษัทเข้ามาเจรจาตกลงในประเทศไทยก่อนทำสัญญา ถือไม่ได้ว่าบริษัท บ.ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี อ.เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ดังนั้น เงินค่าตอบแทนที่โจทก์ชำระเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้เครื่องหมายการค้าแก่บริษัท บ. จำนวน 248.600 บาท จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นตามาตรา 40 (3) ซึ่งบริษัท บ.มีหน้าที่เสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนำส่งอำเภอท้องที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 70 (2), 54 กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 76 ทวิ และ 71 (1) อันจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีจากค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ไม่ถือว่ามีสถานประกอบการในไทย
บริษัท บ.ตั้งอยู่ต่างประเทศ มิได้เข้ามาตั้งสถานประกอบกิจการในประเทศไทยและไม่มีลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทย การที่บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการทำสัญญายอมให้โจทก์ใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าแอสเบสโตลักซ์เป็นชื่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องกระดาษของโจทก์โดยมี อ.ผู้จัดการบริษัทเข้ามาเจรจาตกลงในประเทศไทยก่อนทำสัญญา ถือไม่ได้ว่าบริษัท บ.ประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมี อ.เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ดังนั้นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ชำระเป็นค่าธรรมเนียมในการใช้เครื่องหมายการค้าแก่บริษัท บ. จำนวน 248,600 บาทจึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิอย่างอื่นตามมาตรา40(3) ซึ่งบริษัท บ.มีหน้าที่เสียภาษี โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนำส่งอำเภอท้องที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 70(2),54 กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา76 ทวิและ 71(1) อันจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย, อายุความภาษีอากร, การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 29,30 ได้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว กล่าวคือให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษีปฏิบัติได้เป็นขั้นตอนเมื่อผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินก็ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วผู้เสียภาษียังไม่เห็นด้วยก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ จำนำคดีมาฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามวิธีการดังกล่าวเสียก่อนหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลกฎรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนกังาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยผลแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ.2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์เด็ดขาด ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของนายจ้าง & อายุความเรียกร้องหนี้ภาษี กรณีล้มละลาย
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 29,30 ได้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน และการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว กล่าวคือให้โอกาสแก่ผู้เสียภาษีปฏิบัติได้เป็นขั้นตอนเมื่อผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินก็ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์แล้วผู้เสียภาษียังไม่เห็นด้วยก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ จะนำคดีมาฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีต่อศาลโดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ตามวิธีการดังกล่าวเสียก่อนหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ลูกจ้างของตนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 และต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่จะต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 54 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้มีเงินได้ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงาน จำเลยจึงต้องผูกพันเป็นลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานทำการประเมินโดยแห่งบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรไม่อาจยกขึ้นต่อสู้ได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินไม่ชอบ จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายเพราะลูกจ้างมีเงินรายได้พึงประเมินแต่ละปีไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี
ค่าภาษีอากรประจำปี พ.ศ. 2508 เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ภายในเดือนมีนาคม 2509 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2516 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้น เจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาลให้ลูกหนี้รับผิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2518 จึงเป็นการใช้สิทธิภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 และอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลจึงจำหน่ายคดีของเจ้าหนี้ อายุความจึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2519 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของบริษัท และความรับผิดร่วมกับลูกจ้างในการชำระภาษีที่ไม่ได้หัก
เมื่อบริษัทโจทก์จ่ายเงินค่าจ้างรายเดือนให้แก่คนงาน อันเป็นเงินได้ พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) บริษัทโจทก์จึงมีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายค่าจ้าง ตามวิธีการในบทบัญญัติของมาตรา 50(1) โดยคำนวณภาษีจากจำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี หาจำต้องรอให้ครบรอบปีภาษีเพื่อให้มีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี และผู้มีเงินได้ ต้องยินยอมให้หักภาษีเสียก่อนไม่
บริษัทโจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แต่มิได้หักและนำส่งเงินภาษีนั้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 52 จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206 ลงวันที่ 15 กันยายน 2515 ข้อ 10 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 52 เดิม เพิ่มความตอนท้ายว่า "ไม่ว่า ตนจะไดัหักภาษีไว้แล้วหรือไม่" ก็เพื่อให้ได้ความชัดเจนขึ้นเท่านั้น หาใช่มาตรา 52 เดิมมีความหมายว่า เมื่อบริษัทโจทก์ไม่ได้หักภาษีไว้ก็ไม่มีหน้าที่นำส่ง และเมื่อ ไม่ต้องนำส่งจึงไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 ไม่
บริษัทโจทก์เป็นผู้จ่ายเงินตามมาตรา 50 แต่มิได้หักภาษีและมิได้นำส่ง เงินภาษีนั้นตามมาตรา 52 บริษัทโจทก์จึงต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างผู้มีเงินได้ ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ไม่ได้หักและนำส่ง ตามมาตรา 54 วรรคแรก และภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นประเภทภาษีอากรประเมิน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินเกี่ยวกับภาษีในหมวดภาษีเงินได้นี้ ตามมาตรา 38 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีจาก โจทก์ได้ แม้จะยังไม่ได้ประเมินเรียกเก็บเอาแก่ลูกจ้างผู้มีเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีแทนบริษัทต่างประเทศไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
เงินค่าสิทธิในกรรมวิธีผลิตตามมาตรา 40 (3) และดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตาม (5)(ก) กฎหมายบัญญัติว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน ไม่ได้บัญญัติรวมถึงภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยที่ผู้จ่ายเงินออกชำระแทนให้ผู้มีเงินได้อันจะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน เช่นที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งในมาตรา 40 (1) และ (2) ฉะนั้น เงินที่โจทก์ชำระแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) และ (4)(ก)
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้ว กรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ ดังนี้ รังฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาทไม่ หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจกท์มิได้นำส่งภาษีเงินได้ทั้งมิได้ชำระภาษีเงินได้แทน โจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54 วรรคแรกเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากการจ่ายค่าสิทธิและดอกเบี้ย: การชำระภาษีแทนบริษัทต่างประเทศไม่ใช่เงินได้พึงประเมิน
เงินค่าสิทธิในกรรมวิธีผลิตตามมาตรา 40(3) และดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตาม (4)(ก) กฎหมายบัญญัติว่าเป็นเงินได้พึงประเมินไม่ได้บัญญัติรวมถึงภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยที่ผู้จ่ายเงินออกชำระแทนให้ผู้มีเงินได้อันจะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน เช่นที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งในมาตรา 40(1) และ (2) ฉะนั้นเงินที่โจทก์ชำระแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) และ (4)(ก)
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้วกรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ดังนี้ รับฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาท หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจทก์มิได้ชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีภาษี: ผู้จ่ายภาษีมีหน้าที่อุทธรณ์ก่อนฟ้อง หากไม่ทำ ไม่มีอำนาจฟ้อง
กรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ได้หักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างหรือหัก และนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในภาษีเงินได้ที่ไม่ได้หักหรือนำส่งตามจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 วรรคแรก จึงถือได้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และเงินเพิ่ม หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งตามมาตรา 30 เสียก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินเสียก่อนย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องมีการอุทธรณ์การประเมินก่อน หากมิได้อุทธรณ์ถือเป็นขาดอำนาจฟ้อง
กรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ได้หักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือหักและนำส่งเงินภาษีเงินได้ของลูกจ้างแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง โจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในภาษีเงินได้ที่ไม่ได้หักหรือนำส่งตามจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีตามประมวลรัษฎากร มาตรา54 วรรคแรก จึงถือได้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเช่นเดียวกับลูกจ้างของโจทก์ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งให้โจทก์เสียภาษีเงินได้และเงินเพิ่ม หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่งตามมาตรา 30 เสียก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินเสียก่อนย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 6