พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียกรรมสัญญาเช่าที่ดินเนื่องจากสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน และผลของการบอกล้างสัญญา
ในขณะทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาท ตามสัญญาเช่าที่ดินต่างตอบแทนพิเศษ โจทก์ไม่รู้อย่างแท้จริงว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวไม่ติดกับถนนเทอดไท โดยมีที่ราชพัสดุคั่นอยู่ การที่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินที่เช่าซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ ซึ่งหากโจทก์ไม่ได้มีความสำคัญผิดดังกล่าวคงจะไม่ทำสัญญาเช่าที่ดินกับจำเลยทั้งสาม ดังนั้น การแสดงเจตนาทำสัญญาเช่าที่ดินของโจทก์จึงเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. 157 แม้โจทก์จะขอเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ที่มีที่ดินคั่นอยู่ก่อนติดถนนเทอดไทก็ตาม เมื่อตีความสัญญาเช่าที่ดินพิพาทดังกล่าวโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตแล้ว ต้องถือว่าไม่อยู่ในความประสงค์ของโจทก์ที่จะต้องการเข้าทำสัญญาดังกล่าว เพราะโจทก์ต้องการเช่าที่ดินพิพาทที่ติดกับถนนเทอดไทเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องทางเข้าออกในการดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันในภายหลัง มิฉะนั้นโจทก์จะไม่ยอมเสียค่าตอบแทนสิทธิการเช่าเป็นเงินมากถึง 16,000,000 บาท และยังต้องเสียค่าเช่าเป็นรายเดือนอีก ทั้งกรณีไม่ใช่เรื่องความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินที่เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 549 และมาตรา 551 อันจำเลยทั้งสามจะยกขึ้นอ้างได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยทั้งสามและจำเลยทั้งสามได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับเป็นการบอกล้างโมฆียกรรมและต้องถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก และมีผลเท่ากับการเช่าที่ดินพิพาทมิได้เกิดมีขึ้น จึงไม่ก่อสิทธิใดๆ แก่จำเลยทั้งสามที่จะยึดเอาเงินของโจทก์ไว้ได้ โจทก์และจำเลยทั้งสามก็ต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 จำเลยทั้งสามต้องคืนเงินที่ได้รับแก่โจทก์ ทั้งโจทก์ก็ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทในสภาพเรียบร้อยคืนแก่จำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยกรณีโต้แย้งเจตนาฆ่า แม้ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษฐานพาอาวุธ แต่พิพากษายกฟ้องความผิดพยายามฆ่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาฆ่า แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 295 โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษฐานพยายามฆ่า ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาฆ่าเช่นกัน และเนื่องจากศาลชั้นต้นวางโทษปรับฐานพาอาวุธมีดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้แก้ไขให้ถูกต้องย่อมมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ซึ่งต้องห้ามทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานพยายามฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 คดีโจทก์ไม่อาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาและถือไม่ได้ว่าโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นในข้อหาฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 295 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษายกฎีกาโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมข่มขืนกระทำชำเรา: การกระทำที่แสดงเจตนาแม้ไม่ได้ลงมือโดยตรง
แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ได้ความว่าจำเลยร่วมลงมือข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยยืนถอดเสื้อออกเปลือยกายล้อมรอบผู้เสียหายและนั่งคุกเข่าข้างตัวผู้เสียหาย ซึ่งหากจำเลยไม่ใช่พวกคนร้ายและไม่มีเจตนาจะร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในขณะนั้นแล้ว จำเลยไม่น่าจะเข้าไปเปลือยกายอยู่ข้างตัวผู้เสียหายในลักษณะที่พร้อมจะกระทำความผิดได้ การที่จำเลยเปลือยกายอยู่ข้างตัวผู้เสียหายในลักษณะที่พร้อมที่จะร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายด้วยนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับพวกฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงด้วยแล้วตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด เนื่องจากกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในภายหลังไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมข่มขืนโทรมหญิง แม้ไม่ได้ลงมือเอง พฤติการณ์พร้อมร่วมกระทำความผิดถือเป็นตัวการ
ระหว่างที่คนร้ายหลายคนร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในลักษณะที่เป็นการโทรมหญิง แม้จะไม่ได้ความว่าจำเลยได้ร่วมลงมือข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่การที่จำเลยเปลือยกายคุกเข่าข้างตัวผู้เสียหายในลักษณะพร้อมที่จะร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายด้วยนั้น ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีที่รอการลงโทษ: จำเลยปฏิเสธคำขอ ศาลต้องตรวจสอบอัตลักษณ์จำเลยก่อน
ศาลชั้นต้นสอบคำให้การ จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้ตามฟ้องโจทก์จริง ต่อมาภายหลังจากจำเลยมีทนายความแล้ว จำเลยยื่นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้นต่อศาลชั้นต้น ซึ่งรวมถึงปฏิเสธในเรื่องที่โจทก์ขอให้บวกโทษ ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบและความไม่ปรากฏต่อศาลว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ การที่ศาลชั้นต้นบวกโทษจำคุก 6 เดือน ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การยกเหตุใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยกล่าวอ้างในชั้นศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย จำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย พิพากษาลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่น จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าจำเลยมิใช่คนร้าย ศาลอุทธรณ์ฟังตามศาลชั้นต้นว่า จำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายเช่นกัน แต่จำเลยฎีกากลับอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ว่า จำเลยได้ฆ่าผู้ตายจริงเพราะจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดไปโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินเกิน 10 แปลง ก่อให้เกิดภาระจำยอมตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 แม้เจ้าของเดิมไม่ได้ขออนุญาต
ปัญหาว่าทางพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรหรือไม่ เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ทั้งสองไม่ได้บรรยายฟ้องมา โจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 1 บัญญัติว่า การจัดสรรที่ดินหมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเป็นค่าตอบแทน และมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงให้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบการพาณิชย์... การที่ ด. จดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 3227 ออกเป็น 8 แปลง โดยที่ดินโฉนดเลขที่ 23161, 23167 ขายให้ ม. มารดาจำเลย ที่ดินโฉนดเลขที่ 23162 ขายให้โจทก์ทั้งสอง ที่ดินโฉนดเลขที่ 23163 ขายให้ ส. ที่ดินโฉนดเลขที่ 23165, 23166 ขายให้ พ. สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 23168 ด. เจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้ ม. มารดาจำเลยเข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตน 26 ส่วน ใน 69 ส่วน โดยมีค่าตอบแทน 234,000 บาท ต่อมายินยอมให้ ม. มารดาจำเลยเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วนของ ด. 13 ส่วน ใน 43 ส่วน โดยมีค่าตอบแทน 117,000 บาท หลังจากนั้น ด. และ ม. มารดาจำเลยได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 23168 ออกเป็น 3 แปลง ระบุชื่อ ม. มารดาจำเลยเป็นเจ้าของส่วนที่ดินคงเหลือของโฉนดเลขที่ 23168 ด. ได้ขายให้ ม. มารดาจำเลยอีกการที่ ด. ยินยอมให้ ม. มารดาจำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโดยมีค่าตอบแทนและต่อมาได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเป็นโฉนดที่ดิน 3 แปลง ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่า ด. จำหน่ายที่ดินทั้ง 3 แปลง ให้ ม. มารดาจำเลยทางอ้อมโดยมีค่าตอบแทนรวมเป็นที่ดินที่ ด. ได้แบ่งแยกและขายแก่บุคคลภายนอก 10 แปลง จึงเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 เมื่อฟังได้ว่า ด. จัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยจำนวนตั้งแต่ 10 แปลง และได้มีการให้คำมั่นว่าจะจัดให้ทางพิพาทเป็นทั้งทางเดินและทางรถยนต์สำหรับเข้าออกสู่ทางสาธารณะด้วย ตรงตามความหมายของการจัดสรรที่ดิน ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมโดยผลของกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่การจัดสรรที่ดินตามข้อ 30 วรรคหนึ่ง ของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 จำเลยในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จะกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหาได้ไม่ การที่จำเลยยินยอมให้ผู้อื่นสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในทางพิพาทของจำเลยจึงฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยต้องรื้อรั้วและทำให้ที่ดินพิพาทอยู่ในสภาพเดิม
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 1 บัญญัติว่า การจัดสรรที่ดินหมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเป็นค่าตอบแทน และมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือปรับปรุงให้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบการพาณิชย์... การที่ ด. จดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 3227 ออกเป็น 8 แปลง โดยที่ดินโฉนดเลขที่ 23161, 23167 ขายให้ ม. มารดาจำเลย ที่ดินโฉนดเลขที่ 23162 ขายให้โจทก์ทั้งสอง ที่ดินโฉนดเลขที่ 23163 ขายให้ ส. ที่ดินโฉนดเลขที่ 23165, 23166 ขายให้ พ. สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 23168 ด. เจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้ ม. มารดาจำเลยเข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตน 26 ส่วน ใน 69 ส่วน โดยมีค่าตอบแทน 234,000 บาท ต่อมายินยอมให้ ม. มารดาจำเลยเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วนของ ด. 13 ส่วน ใน 43 ส่วน โดยมีค่าตอบแทน 117,000 บาท หลังจากนั้น ด. และ ม. มารดาจำเลยได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 23168 ออกเป็น 3 แปลง ระบุชื่อ ม. มารดาจำเลยเป็นเจ้าของส่วนที่ดินคงเหลือของโฉนดเลขที่ 23168 ด. ได้ขายให้ ม. มารดาจำเลยอีกการที่ ด. ยินยอมให้ ม. มารดาจำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโดยมีค่าตอบแทนและต่อมาได้ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเป็นโฉนดที่ดิน 3 แปลง ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่า ด. จำหน่ายที่ดินทั้ง 3 แปลง ให้ ม. มารดาจำเลยทางอ้อมโดยมีค่าตอบแทนรวมเป็นที่ดินที่ ด. ได้แบ่งแยกและขายแก่บุคคลภายนอก 10 แปลง จึงเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 เมื่อฟังได้ว่า ด. จัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยจำนวนตั้งแต่ 10 แปลง และได้มีการให้คำมั่นว่าจะจัดให้ทางพิพาทเป็นทั้งทางเดินและทางรถยนต์สำหรับเข้าออกสู่ทางสาธารณะด้วย ตรงตามความหมายของการจัดสรรที่ดิน ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมโดยผลของกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่การจัดสรรที่ดินตามข้อ 30 วรรคหนึ่ง ของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 จำเลยในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จะกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหาได้ไม่ การที่จำเลยยินยอมให้ผู้อื่นสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในทางพิพาทของจำเลยจึงฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยต้องรื้อรั้วและทำให้ที่ดินพิพาทอยู่ในสภาพเดิม