พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8056/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ คืนเงินมัดจำ
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทโดยเข้าใจว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 แต่ไม่ทราบมาก่อนว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 615 แม้จำเลยจะสามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ของอาคารพิพาทพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 ให้โจทก์ได้หรือไม่ก็ตาม แต่โดยที่อาคารดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 615 ตามกฎหมายด้วย เมื่อตีความสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวของโจทก์และจำเลยโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตแล้ว ต้องถือว่าไม่อยู่ในความประสงค์ของโจทก์ที่จะเข้าทำสัญญาดังกล่าวโดยไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อทั้งหมดได้ ต้องถือว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทกับจำเลยโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับเป็นการบอกเลิกโมฆียะกรรมและต้องถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปพร้อมดอกเบี้ย แต่ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดระหว่างกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8056/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ คืนเงินมัดจำ
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทโดยเข้าใจว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 แต่ไม่ทราบมาก่อนว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 615 แม้จำเลยจะสามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ของอาคารพิพาทพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 ให้โจทก์ได้หรือไม่ก็ตาม แต่โดยที่อาคารดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 615 ตามกฎหมายด้วย เมื่อตีความสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวของโจทก์และจำเลยโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตแล้ว ต้องถือว่าไม่อยู่ในความประสงค์ของโจทก์ที่จะเข้าทำสัญญาดังกล่าวโดยไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อทั้งหมดได้ ต้องถือว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทกับจำเลยโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับเป็นการบอกเลิกโมฆียะกรรมและต้องถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปพร้อมดอกเบี้ย แต่ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดระหว่างกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5407/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตไม่ตกเป็นโมฆะ แม้ผู้เอาประกันเคยมีอาการชัก แต่ไม่ได้แจ้งข้อมูล เพราะอาการไม่ร้ายแรงและไม่ได้มีผลต่อการรับประกัน
แพทย์ผู้เคยตรวจรักษาผู้ตายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเห็นว่าผู้ตายมีอาการชักซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ อาการชักนี้อาจจะมิใช่เกิดจากโรคลมชักหรือลมบ้าหมูเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ ต้องพิสูจน์ด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ซึ่งโรงพยาบาลที่แพทย์ประจำอยู่ไม่มีดังนี้ แพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้ตายก็ยังวินิจฉัยไม่ได้ว่าอาการชักของผู้ตายเกิดจากโรคลมชักหรือลมบ้าหมูหรือไม่และไม่ได้ยืนยันว่าอาการชักดังกล่าวเป็นโรคที่ร้ายแรง นอกจากนั้นยังปรากฏว่าผู้ตายเคยมีอาการชักมาเมื่อ 10 ปีที่แล้วก่อนที่จะให้แพทย์ดังกล่าวตรวจรักษาในครั้งนี้ ไม่ปรากฏว่าผู้ตายทำงานไม่ได้เช่นคนปกติทั่วไปทั้งเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายก็เป็นเพราะผู้ตายขับรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำ จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ตายมีโรคประจำตัวที่ร้ายแรง การที่ผู้ตายมิได้แจ้งให้จำเลยผู้รับประกันภัยทราบในขณะทำสัญญาประกันชีวิตถึงอาการชักดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจะได้จูงใจจำเลยผู้รับประกันภัยให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา อันจะทำให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรกเมื่อสัญญาดังกล่าวมิได้ตกเป็นโมฆียะ จำเลยย่อมไม่อาจบอกล้างสัญญานั้น สัญญาประกันชีวิตตามฟ้องจึงหาตกเป็นโมฆะไม่