พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7120/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การจ่ายค่าชดเชย และสิทธิในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โจทก์เป็นวิศวกรมีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ได้จ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. ดำเนินการก่อสร้าง การที่โจทก์รับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวจ่ายเงินให้โจทก์เป็นค่าตอบแทนในการจ้างโจทก์ออกแบบงานระบบประปา ไฟฟ้า สุขาภิบาล ทำช็อปดรออิ้งขยายรายละเอียดในการก่อสร้าง และควบคุมงานก่อสร้างบ้านของเรืออากาศ อ. ซึ่งเป็นการรับเงินตามปกติของการว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. และแม้โจทก์มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่จ้างให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. ดำเนินการก่อสร้าง แต่ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์เบียดบังเวลาการทำงานของจำเลยไปใช้ทำงานก่อสร้างบ้านของเรืออากาศ อ. ตามที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. จ้างให้โจทก์ทำงาน ดังนั้น การที่โจทก์ได้รับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. ด้วยเหตุข้างต้นจึงไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ถือไม่ได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่
ตามประกาศเรื่องการจ่ายเงินรางวัลพิเศษเพิ่มเติมระบุว่าจำเลยจะจ่ายเงินรางวัลพิเศษประจำปี 2548 ให้แก่ลูกจ้างจำเลย จึงแปลว่า จำเลยมีเจตนาจ่ายเงินรางวัลพิเศษและเงินรางวัลพิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้มีสถานะเป็นลูกจ้างของจำเลยเท่านั้น
การที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปก่อนจำเลยจ่ายเงินรางวัลพิเศษประจำปี 2548 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษประจำปี 2548
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 คณะกรรมการกองทุนหรือผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่จ่ายเงินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง หากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนตามมาตรา 23 จำเลยไม่มีอำนาจจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อให้จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามประกาศเรื่องการจ่ายเงินรางวัลพิเศษเพิ่มเติมระบุว่าจำเลยจะจ่ายเงินรางวัลพิเศษประจำปี 2548 ให้แก่ลูกจ้างจำเลย จึงแปลว่า จำเลยมีเจตนาจ่ายเงินรางวัลพิเศษและเงินรางวัลพิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้มีสถานะเป็นลูกจ้างของจำเลยเท่านั้น
การที่โจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปก่อนจำเลยจ่ายเงินรางวัลพิเศษประจำปี 2548 โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษประจำปี 2548
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยซึ่งจดทะเบียนแล้ว เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 คณะกรรมการกองทุนหรือผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่จ่ายเงินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง หากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนตามมาตรา 23 จำเลยไม่มีอำนาจจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อให้จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231-6250/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ไม่ถือเป็นการละเมิดสัญญาจ้าง หรือเลือกปฏิบัติ
การส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) มาตรา 211 จะต้องเป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 21 เป็นกรณีที่เห็นว่าคำสั่งของจำเลยทั้งสามขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์แต่ละคนฟ้องว่าจำเลยทั้งสามปฏิบัติต่อโจทก์แต่ละคนโดยนำเอาความแตกต่างในเรื่องรูปร่าง น้ำหนักมาใช้ให้แตกต่างจากพนักงานอื่น ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาว่าคำสั่งและการปฏิบัติของจำเลยทั้งสามเป็นการเลือกปฏิบัติต่อโจทก์ดังกล่าวโดยผิดกฎหมายให้แตกต่างจากพนักงานอื่นหรือไม่ มิได้เป็นการพิพากษาเกินอำนาจแต่อย่างใด
เมื่อศาลแรงงานกลางได้พิจารณาพยานหลักฐานทุกฝ่ายและวินิจฉัยแล้วว่า คำสั่งของจำเลยทั้งสามที่กำหนดให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินต้องมีค่า Body Mass Index และค่าวัดรอบเอวไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ กำหนดระยะเวลาให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มีค่าเกินกำหนดปรับปรุงบุคลิกภาพ และมาตรการที่มอบหมายให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ไม่สามารถปรับปรุงบุคลิกภาพได้ตามเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนดปฏิบัติงานบินในเส้นทางในประเทศหรือเส้นทางที่ไปและกลับภายในวันเดียวกัน หรือปฏิบัติงานภาคพื้นดินจนกว่าจะมีค่า Body Mass Index และค่าวัดรอบเอวตามเกณฑ์ที่กำหนด เป็นคำสั่งที่ชอบด้วย ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 6 จ้างแรงาน ไม่เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงาน คำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงการประกาศปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์และมาตรการบางส่วนที่จำเลยเคยใช้บังคับแก่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ไม่ขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และมาตรการที่กำหนดก็มิได้เป็นโทษแก่โจทก์แต่ละคนเมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์เดิมหากโจทก์แต่ละคนสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพได้ตามเกณฑ์ ทั้งยังเป็นสิทธิในการบริหารจัดการที่จำเลยในฐานะนายจ้างมีอำนาจกระทำได้ตามสัญญาจ้างแรงงานและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน คำสั่งดังกล่าวแม้จะใช้บังคับเฉพาะแก่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินแต่ก็ใช้บังคับเป็นการทั่วไปทุกคน มิใช่ใช้บังคับแก่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเฉพาะบุคคลหรือเป็นรายๆไป จึงไม่ใช่การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและมิได้ไม่ชอบด้วยกฎหมายอื่น แม้คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจะมิได้กล่าวโดยตรงว่าคำสั่งของจำเลยทั้งสามเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของโจทก์ทั้งหมดหรือไม่ แต่ถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยโดยรวมแล้วว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของโจทก์ทั้งหมดนั่นเอง คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและแสดงคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้นโดยชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่งแล้ว
เมื่อศาลแรงงานกลางได้พิจารณาพยานหลักฐานทุกฝ่ายและวินิจฉัยแล้วว่า คำสั่งของจำเลยทั้งสามที่กำหนดให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินต้องมีค่า Body Mass Index และค่าวัดรอบเอวไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ กำหนดระยะเวลาให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่มีค่าเกินกำหนดปรับปรุงบุคลิกภาพ และมาตรการที่มอบหมายให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ไม่สามารถปรับปรุงบุคลิกภาพได้ตามเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนดปฏิบัติงานบินในเส้นทางในประเทศหรือเส้นทางที่ไปและกลับภายในวันเดียวกัน หรือปฏิบัติงานภาคพื้นดินจนกว่าจะมีค่า Body Mass Index และค่าวัดรอบเอวตามเกณฑ์ที่กำหนด เป็นคำสั่งที่ชอบด้วย ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 6 จ้างแรงาน ไม่เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงาน คำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงการประกาศปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์และมาตรการบางส่วนที่จำเลยเคยใช้บังคับแก่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ไม่ขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และมาตรการที่กำหนดก็มิได้เป็นโทษแก่โจทก์แต่ละคนเมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์เดิมหากโจทก์แต่ละคนสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพได้ตามเกณฑ์ ทั้งยังเป็นสิทธิในการบริหารจัดการที่จำเลยในฐานะนายจ้างมีอำนาจกระทำได้ตามสัญญาจ้างแรงงานและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน คำสั่งดังกล่าวแม้จะใช้บังคับเฉพาะแก่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินแต่ก็ใช้บังคับเป็นการทั่วไปทุกคน มิใช่ใช้บังคับแก่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเฉพาะบุคคลหรือเป็นรายๆไป จึงไม่ใช่การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและมิได้ไม่ชอบด้วยกฎหมายอื่น แม้คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจะมิได้กล่าวโดยตรงว่าคำสั่งของจำเลยทั้งสามเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของโจทก์ทั้งหมดหรือไม่ แต่ถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยโดยรวมแล้วว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยชอบด้วยกฎหมายจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของโจทก์ทั้งหมดนั่นเอง คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและแสดงคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยนั้นโดยชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6228/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่ และการซื้อที่ดินโดยใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์วันอื่นที่มิใช่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 โดยไม่ได้ส่งหนังสือเลิกจ้างให้โจทก์ เท่ากับเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ได้แจ้งเหตุเลิกจ้างแก่โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นเป็นอุทธรณ์ที่หยิบยกข้อเท็จจริงใหม่กล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตเหมืองและมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกระบวนการผลิตแร่ที่เหมืองแร่ของจำเลยที่ได้รับสัมปทานจากทางราชการ ได้จัดทำบันทึกในนามของจำเลยว่าจำเลยซื้อที่ดินจากชาวบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยทำเหมืองแร่รุกล้ำที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย ซึ่งแม้โจทก์จะใช้เงินส่วนตัวซื้อที่ดิน ก็เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตเหมืองของจำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินที่จำเลยได้สัมปทานทำเหมืองแร่หลังจากหมดอายุประทานบัตรซึ่งโจทก์รู้ว่าจะหมดอายุในเวลาอีกไม่นาน และต่อมาอีกประมาณ 1 ปี โจทก์ก็เข้าครอบครองที่ดินทันทีที่หมดอายุประทานบัตรของจำเลยและครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตเหมืองและมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกระบวนการผลิตแร่ที่เหมืองแร่ของจำเลยที่ได้รับสัมปทานจากทางราชการ ได้จัดทำบันทึกในนามของจำเลยว่าจำเลยซื้อที่ดินจากชาวบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยทำเหมืองแร่รุกล้ำที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย ซึ่งแม้โจทก์จะใช้เงินส่วนตัวซื้อที่ดิน ก็เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตเหมืองของจำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินที่จำเลยได้สัมปทานทำเหมืองแร่หลังจากหมดอายุประทานบัตรซึ่งโจทก์รู้ว่าจะหมดอายุในเวลาอีกไม่นาน และต่อมาอีกประมาณ 1 ปี โจทก์ก็เข้าครอบครองที่ดินทันทีที่หมดอายุประทานบัตรของจำเลยและครอบครองที่ดินดังกล่าวตลอดมา จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4280/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิต ต้องด้วยความยินยอมของทุกฝ่าย หรือตกลงร่วมกัน หากไม่มีความตกลง การจ่ายเป็นรายเดือนตามกฎหมายจึงชอบ
พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20..." และมาตรา 24 บัญญัติว่า "การจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 18 หรือมาตรา 19 นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี จะตกลงกันจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นก็ได้" จากบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวมุ่งประสงค์ให้ผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ได้รับค่าทดแทนเป็นรายเดือน เพื่อให้มีเงินช่วยเหลือในการดำรงชีวิตในระยะยาว การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นนั้น จะทำได้ต้องเกิดจากการตกลงกันระหว่างนายจ้างหรือสำนักงานประกันสังคมกับลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พิจารณาตกลงอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองคราวเดียว แต่กลับปรากฏว่าจำเลยโดยสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 11 และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีคำวินิจฉัยให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองเป็นรายเดือน ตามมาตรา 18 (4) จึงเท่ากับว่าจำเลยไม่ประสงค์จะตกลงกับโจทก์ทั้งสองในการจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่สามารถขอให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนได้ตามมาตรา 24 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวบางส่วนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการวินิจฉัยการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการใช้ดุลพินิจในการสั่งชดใช้ค่าเสียหาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 44 มิได้บัญญัติบังคับไว้เด็ดขาดให้ต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงความเห็นในทุกกรณี จึงเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะพิจารณาว่าเรื่องประเภทใดที่สมควรจะเชิญหรือไม่ ส่วนมาตรา 41 (4) เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้นายจ้างกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการ คือ สั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานก็ได้ หรือสั่งให้จ่ายค่าเสียหายก็ได้ หรือสั่งให้ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งที่เห็นสมควรก็ได้ หรืออาจจะสั่งพร้อมกันหลายประการก็ย่อมได้
เมื่อขณะเป็นลูกจ้างโจทก์ได้ดำเนินคดีอาญาแก่นายจ้างและผู้บังคับบัญชา และร้องเรียนนายจ้างต่อหน่วยงานของรัฐและองค์กรต่าง ๆ รวมแล้วหลายสิบเรื่อง อันเป็นการก้าวก่ายการใช้สิทธิปกติในทางการบริหารของนายจ้าง จากพฤติการณ์ของโจทก์จะเห็นได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 12 ซึ่งเป็นนายจ้างมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าหากให้โจทก์ทำงานร่วมกับจำเลยที่ 12 อีกต่อไปรังแต่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งที่นับวันมีแต่จะรุนแรงมากขึ้น จึงมิได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 12 รับโจทก์กลับเข้าทำงาน เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่กรณี มิได้คำนึงแต่การคุ้มครองสิทธิหรือประโยชน์ของลูกจ้างแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ยังคำนึงถึงการคุ้มครองฝ่ายนายจ้างเพื่อให้ประกอบกิจการไปโดยราบรื่น อันจะเป็นผลดีแก่ลูกจ้างโดยรวมอีกด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 กลั่นแกล้งโจทก์ ประกอบกับจำนวนคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 37 ซึ่งมีตัวแทนของฝ่ายลูกจ้างที่คอยถ่วงดุลในการพิจารณาของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ นอกจากเพื่อปกป้องมิให้ลูกจ้างถูกเอาเปรียบแล้วยังให้การพิจารณาของคณะกรรมการเป็นไปโดยเหมาะสมแก่กรณีและเป็นธรรมแก่ลูกจ้างด้วย คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ที่ให้จำเลยที่ 12 จ่ายเฉพาะค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลง
เมื่อขณะเป็นลูกจ้างโจทก์ได้ดำเนินคดีอาญาแก่นายจ้างและผู้บังคับบัญชา และร้องเรียนนายจ้างต่อหน่วยงานของรัฐและองค์กรต่าง ๆ รวมแล้วหลายสิบเรื่อง อันเป็นการก้าวก่ายการใช้สิทธิปกติในทางการบริหารของนายจ้าง จากพฤติการณ์ของโจทก์จะเห็นได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 12 ซึ่งเป็นนายจ้างมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าหากให้โจทก์ทำงานร่วมกับจำเลยที่ 12 อีกต่อไปรังแต่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งที่นับวันมีแต่จะรุนแรงมากขึ้น จึงมิได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 12 รับโจทก์กลับเข้าทำงาน เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่กรณี มิได้คำนึงแต่การคุ้มครองสิทธิหรือประโยชน์ของลูกจ้างแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ยังคำนึงถึงการคุ้มครองฝ่ายนายจ้างเพื่อให้ประกอบกิจการไปโดยราบรื่น อันจะเป็นผลดีแก่ลูกจ้างโดยรวมอีกด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 กลั่นแกล้งโจทก์ ประกอบกับจำนวนคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 37 ซึ่งมีตัวแทนของฝ่ายลูกจ้างที่คอยถ่วงดุลในการพิจารณาของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ นอกจากเพื่อปกป้องมิให้ลูกจ้างถูกเอาเปรียบแล้วยังให้การพิจารณาของคณะกรรมการเป็นไปโดยเหมาะสมแก่กรณีและเป็นธรรมแก่ลูกจ้างด้วย คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ที่ให้จำเลยที่ 12 จ่ายเฉพาะค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และการแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามสิทธิ
ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยของต้นเงินค่าชดเชยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แก่โจทก์ โดยให้เหตุผลว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 จึงกำหนดให้จำเลยรับผิดเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 นั้น เป็นกรณีที่ศาลแรงงานภาค 2 เห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความที่สมควรได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมาย จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 แล้ว
ศาลแรงงานภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่าการกระทำของโจทก์นั้นจำเลยไม่ได้รับความเสียหายและจำเลยมิได้มีส่วนได้เสียในผลกำไรขาดทุนในการขนส่งสินค้าระหว่าง ม. กับ บ. ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีพฤติกรรมเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินงานไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับ ม. อันเป็นลักษณะการกระทำความผิดวินัยร้ายแรง จากพฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่จำเลย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง (1)
เมื่อศาลแรงงานภาค 2 วินิจฉัยให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ของค่าจ้างอัตราเดือนละ 39,912 บาท คิดเป็นค่าชดเชย 239,472 บาท ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (3) แต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย 239,432 บาท แก่โจทก์ ซึ่งไม่ตรงกับส่วนวินิจฉัยและไม่ถูกต้องตรงตามสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) , 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่าการกระทำของโจทก์นั้นจำเลยไม่ได้รับความเสียหายและจำเลยมิได้มีส่วนได้เสียในผลกำไรขาดทุนในการขนส่งสินค้าระหว่าง ม. กับ บ. ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีพฤติกรรมเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินงานไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับ ม. อันเป็นลักษณะการกระทำความผิดวินัยร้ายแรง จากพฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงอันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่จำเลย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง (1)
เมื่อศาลแรงงานภาค 2 วินิจฉัยให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ของค่าจ้างอัตราเดือนละ 39,912 บาท คิดเป็นค่าชดเชย 239,472 บาท ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (3) แต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย 239,432 บาท แก่โจทก์ ซึ่งไม่ตรงกับส่วนวินิจฉัยและไม่ถูกต้องตรงตามสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) , 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15347/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนัดหยุดงานของลูกจ้าง แม้ลงลายมือชื่อข้อเรียกร้องไม่พร้อมกัน การปฏิเสธของนายจ้างไม่กระทบสิทธิ
แม้ผู้กล่าวหาซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จะมิได้ร่วมลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อภายหลังจากฝ่ายลูกจ้างแจ้งข้อเรียกร้อง ฝ่ายโจทก์กับฝ่ายลูกจ้างมีการเจรจากันตามกฎหมายแล้วแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนกระทั่งพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้ามาดำเนินการไกล่เกลี่ย แสดงว่ากระบวนการเจรจาต่อรองตามบทบัญญัติของกฎหมายยังไม่เสร็จสิ้น ทั้งเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องเพิ่มเติม การที่ผู้กล่าวหาลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องเพิ่มเติมในระหว่างกระบวนการใช้สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวนั้น จึงถือว่าผู้กล่าวหาเป็นผู้ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องด้วยแล้ว การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับ ไม่มีผลทำให้ผู้กล่าวหาไม่อาจใช้สิทธิของตนตามกฎหมายได้ เมื่อผู้กล่าวหา เป็นผู้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจึงร่วมนัดหยุดงานตามสิทธิที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ได้ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการผละงานหรือละทิ้งหน้าที่ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15114/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และการชำระเงินสมทบที่ล่าช้า ศาลฎีกาตัดสินว่าการชำระเงินสมทบก่อนหนังสือแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ยังคงสิทธิความเป็นผู้ประกันตน
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มีเจตนารมณ์เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างผู้ประกันตนและบุคคลอื่น บทบัญญัติมาตราใดที่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นจะต้องสิ้นสิทธิจึงต้องตีความอย่างเคร่งครัด ตามมาตรา 41 (5) บัญญัติให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลงเมื่อภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 9 เดือนนั้น หมายถึงกรณีที่ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบไม่ครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างแท้จริง
ในกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 39 วรรคสี่ ให้สิทธิผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบได้โดยต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ เมื่อโจทก์นำเงินสมทบและเงินเพิ่มของเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน 2550 ไปชำระแก่จำเลยในวันที่ 8 มิถุนายน 2550 ซึ่งจำเลยได้รับไว้ก่อนที่จำเลยมีหนังสือแจ้งการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ของโจทก์จึงเป็นกรณีที่จำเลยผ่อนผันให้โจทก์นำส่งเงินสมทบของเดือนดังกล่าวล่าช้าโดยไม่ตัดสิทธิความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์นำส่งเงินสมทบภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
ภายในระยะเวลา 12 เดือนนับแต่เดือนพฤษภาคม 2549 ถึงเดือนเมษายน 2550 โจทก์เพียงแต่ขาดส่งเงินสมทบของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม 2549 โจทก์จึงส่งเงินสมทบมาแล้วเป็นเวลา 10 เดือน เกินกว่า 9 เดือน ตามที่มาตรา 41 (5) กำหนดไว้แล้ว โจทก์ยังไม่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนและยังคงเป็นผู้ประกันตนตลอดมา ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2550 เป็นต้นไป จึงไม่ถูกต้องและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ในกรณีที่ผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 39 วรรคสี่ ให้สิทธิผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบได้โดยต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ เมื่อโจทก์นำเงินสมทบและเงินเพิ่มของเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน 2550 ไปชำระแก่จำเลยในวันที่ 8 มิถุนายน 2550 ซึ่งจำเลยได้รับไว้ก่อนที่จำเลยมีหนังสือแจ้งการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ของโจทก์จึงเป็นกรณีที่จำเลยผ่อนผันให้โจทก์นำส่งเงินสมทบของเดือนดังกล่าวล่าช้าโดยไม่ตัดสิทธิความเป็นผู้ประกันตนของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์นำส่งเงินสมทบภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
ภายในระยะเวลา 12 เดือนนับแต่เดือนพฤษภาคม 2549 ถึงเดือนเมษายน 2550 โจทก์เพียงแต่ขาดส่งเงินสมทบของเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม 2549 โจทก์จึงส่งเงินสมทบมาแล้วเป็นเวลา 10 เดือน เกินกว่า 9 เดือน ตามที่มาตรา 41 (5) กำหนดไว้แล้ว โจทก์ยังไม่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนและยังคงเป็นผู้ประกันตนตลอดมา ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2550 เป็นต้นไป จึงไม่ถูกต้องและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15031/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างทำให้ทรัพย์สินนายจ้างสูญหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวหรือจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์ได้รับมอบหมายให้เข้าไปดำเนินการปลดธงชาติและธงเฉลิมพระเกียรติซึ่งต้องมีการปฏิบัติงานภายในห้องประธานกรรมการบริหารของจำเลย การที่โจทก์ใช้กุญแจอาคารเปิดเข้าห้องประธานกรรมการบริหารของจำเลยเพื่อปฏิบัติงานตามคำสั่งนั้น หน้าที่ของโจทก์นอกจากดำเนินการปลดธงลงแล้วโจทก์ยังมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เกิดความเรียบร้อยและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถานที่ที่โจทก์เข้าไปดำเนินงานด้วย เมื่อสถานที่ดังกล่าวเป็นห้องประธานกรรมการบริหารของจำเลยซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าภายในห้องดังกล่าวอาจมีทรัพย์สินมีค่า หรือเอกสารสำคัญ โจทก์ยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่สถานที่นั้นเป็นอย่างดี เมื่อโจทก์มิได้ใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลทำให้พระทองคำ ฮก ลก ซิ่ว ซึ่งมีมูลค่าถึง 75,000 บาท ที่อยู่ในห้องดังกล่าวสูญหายไป จึงเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างก่อนครบระยะเวลาตามสัญญาจ้างแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14923/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงสำนักงานใหญ่ของนายจ้าง ถือเป็นการแจ้งที่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 143 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ส่งคำสั่งหรือหนังสือของพนักงานตรวจแรงงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือพนักงานตรวจแรงงานจะนำไปส่งเองหรือให้เจ้าหน้าที่นำไปส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของนายจ้างในเวลาทำการของนายจ้าง ถ้าไม่พบนายจ้างหรือพบแต่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมรับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของนายจ้างนั้นก็ได้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้วให้ถือว่านายจ้างได้รับคำสั่งหรือหนังสือนั้นแล้ว จำเลยส่งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานให้แก่โจทก์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ สำนักงานแห่งใหญ่อันเป็นภูมิลำเนาที่โจทก์ได้แจ้งจดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรอง และมีพนักงานของโจทก์ลงลายมือชื่อรับไว้เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ถือว่าโจทก์ได้รับทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตั้งแต่วันดังกล่าว