พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่คู่ความนำสู้กันเท่านั้น การวินิจฉัยเรื่องสิทธิอุทธรณ์นอกประเด็นเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
โจทก์ (ลูกจ้าง) ฟ้องขอให้บังคับจำเลย (นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ) จ่ายค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง และเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือนโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้เฉพาะผู้มาทำงาน โจทก์ไม่ได้ทำงานระหว่างพักงานเพื่อสอบสวน ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยง โจทก์กระทำความผิดจำเลยจึงลงโทษทางวินัยโจทก์ได้และไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานเพื่อสอบสวนตามข้อบังคับของจำเลย ประเด็นแห่งคดีมีว่า ระหว่างพักงานจำเลยมีสิทธิไม่จ่ายเบี้ยเลี้ยงและค่าจ้างแก่โจทก์ตามข้อบังคับของจำเลยหรือไม่ และโจทก์กระทำความผิดอันเป็นเหตุให้จำเลยลงโทษโจทก์ตามคำสั่งลงโทษทางวินัยได้หรือไม่ เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินโดยอาศัยสิทธิในทางแพ่ง คู่ความไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจในการนำคดีมาสู่ศาลของโจทก์หรืออำนาจในการออกคำสั่งของจำเลย
ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยยกเหตุที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบ และจำเลยไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์การอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบไว้ในคำสั่งลงโทษทางวินัยขึ้นอ้างแล้วพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยของจำเลย โดยให้จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิดังกล่าว จึงเป็นการนอกประเด็นและยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยยกเหตุที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบ และจำเลยไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์การอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบไว้ในคำสั่งลงโทษทางวินัยขึ้นอ้างแล้วพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยของจำเลย โดยให้จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิดังกล่าว จึงเป็นการนอกประเด็นและยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้างชอบธรรม แม้มีการมอบหมายงานชั่วคราวทดแทนพนักงานลาออก โดยไม่เพิ่มภาระเกินควร
แม้ขอบเขตการทำงานของโจทก์กับ อ. จะมีหน้าที่แตกต่างกันก็ตาม แต่ตามขอบเขตการทำงานของโจทก์ในข้อ 1 ระบุให้โจทก์ต้องดูแลงานส่วนของ อ. ด้วย หลักการทำงานหาก อ. ลาออก โจทก์ในฐานะผู้บังคับบัญชา ต้องเข้าไปดูแลงานของ อ. ก่อน เมื่อตามสัญญาจ้างแรงงานมีลักษณะสำคัญที่จำเลยในฐานะนายจ้างมีสิทธิที่จะใช้อำนาจบังคับบัญชาโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง และอำนาจที่นายจ้างใช้นั้นต้องเป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานแทน อ. ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ลาออกไปเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะหาพนักงานใหม่มาแทนได้ เนื่องจากตำแหน่งงานของ อ. มีความสำคัญที่จะต้องสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาแทน จึงเป็นการใช้อำนาจบังคับบัญชาอันจำเป็นและมีเหตุพอสมควรแก่กรณี คำสั่งดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม ซึ่งโจทก์ยินยอมทำงานแทน อ. และคำสั่งนั้นมิได้เพิ่มภาระแก่โจทก์เกินสมควร เมื่อโจทก์ทำงานแทน อ. ชั่วคราว โจทก์ยังคงใช้เวลาทำงานในแต่ละวันเท่าเดิมเหมือนกับที่โจทก์ใช้เวลาทำงานตามตำแหน่งของโจทก์ในแต่ละวัน การกระทำของจำเลยดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานที่ทำกับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการจ้างงานรับเหมาช่วงมีผลเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หากมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างโดยตรง
ข้อตกลงข้อที่ 5 ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ระบุว่าจำเลยมีนโนบายจ้างแรงงานจากบริษัทรับเหมาช่วงในอัตราไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนพนักงานจำเลยในหน่วยงานนั้น แต่ถ้ามีความจำเป็นจำเลยว่าจ้างเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของจำนวนพนักงานจำเลยในหน่วยงานนั้น เป็นเงื่อนไขการจ้างหรือประโยชน์อื่นของจำเลยหรือลูกจ้างตามความหมายของคำว่า "ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง" และ "สภาพการจ้าง" ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 เนื่องจากหากจำเลยจ้างแรงงานรับเหมาช่วงโดยไม่อยู่ในข้อตกลงข้อที่ 5 จำเลยจะจ้างแรงงานรับเหมาช่วงไปเรื่อย ทำให้สัดส่วนลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยน้อยลงไปเรื่อยโดยไม่มีข้อจำกัด ย่อมส่งผลกระทบต่อลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยในเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการให้หยุดอยู่กับที่ไม่มีการพัฒนาต่อไป ข้อตกลงข้อที่ 5 มีผลบังคับเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12235/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นกรณี ส.ส./ส.ว. ถูกออกจากตำแหน่งเนื่องจากเลือกตั้งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 44 (1) ประกอบมาตรา 90 และมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในเขตเลือกตั้งจังหวัดลพบุรีใหม่ มีผลทำให้สมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2544 ก่อนที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549 ข้อ 1 ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 และมีผลให้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวสิ้นผลบังคับในวันดังกล่าวก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2544 ก่อนรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกยกเลิก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งโดยไม่มีสิทธิได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 97 และโจทก์ในฐานะผู้มีสิทธิในเงินดังกล่าวย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากผู้ไม่มีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อจำเลยเป็นผู้ขอให้โจทก์แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานประจำตัวจำเลย ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภาและรองประธานรัฐสภา และเลขานุการประธานวุฒิสภาประจำตัวจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่ได้มาระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งและเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลที่จำเลยขอให้โจทก์แต่งตั้งจึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่ง จำเลยจึงต้องคืนแก่โจทก์ด้วย
เมื่อจำเลยเป็นผู้ขอให้โจทก์แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานประจำตัวจำเลย ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภาและรองประธานรัฐสภา และเลขานุการประธานวุฒิสภาประจำตัวจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่ได้มาระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งและเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลที่จำเลยขอให้โจทก์แต่งตั้งจึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่ง จำเลยจึงต้องคืนแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11100/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเงินบำเหน็จเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพและการสิ้นสุดสิทธิประโยชน์กรณีถูกลงโทษปลดออก
โรงงานยาสูบเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง (จำเลยที่ 1) ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง มีระเบียบการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานยาสูบ พ.ศ.2500 ต่อมาปี 2538 โรงงานยาสูบจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานยาสูบซึ่งจดทะเบียนแล้ว (จำเลยที่ 2) ขึ้น มีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ทำให้พนักงานยาสูบซึ่งเป็นพนักงานอยู่ก่อนการจัดตั้งจำเลยที่ 2 มีสิทธิเลือกรับเงินบำเหน็จตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานยาสูบ พ.ศ.2500 หรือสมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 แต่เมื่อสมัครเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 แล้วจะไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานยาสูบ พ.ศ.2500 ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ระบุให้มีการโอนเงินกองทุนบำเหน็จพนักงานยาสูบที่สมัครเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 นำมาเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนของจำเลยที่ 2
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงงานยาสูบก่อนการจัดตั้งจำเลยที่ 2 โจทก์สมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 เท่ากับโจทก์ยินยอมให้โรงงานยาสูบผู้เป็นนายจ้างโอนเงินกองทุนบำเหน็จของโจทก์ไปให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจและหน้าที่จัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีอำนาจออกข้อบังคับใช้ในการจัดการกองทุนของจำเลยที่ 2 ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยมีข้อบังคับในเรื่องนี้ใช้บังคับมาก่อน ไม่ใช่กรณีการออกข้อบังคับเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 29 วรรคสอง นั้นหมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องและตกลงกันได้ตามมาตรา 25 ถึงมาตรา 27 และต้องเป็นกรณีการทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเท่านั้น ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ไม่ได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องและตกลงกันได้จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 29 วรรคสอง ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันสมาชิกของจำเลยที่ 2
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงงานยาสูบก่อนการจัดตั้งจำเลยที่ 2 โจทก์สมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยที่ 2 เท่ากับโจทก์ยินยอมให้โรงงานยาสูบผู้เป็นนายจ้างโอนเงินกองทุนบำเหน็จของโจทก์ไปให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจและหน้าที่จัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีอำนาจออกข้อบังคับใช้ในการจัดการกองทุนของจำเลยที่ 2 ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยมีข้อบังคับในเรื่องนี้ใช้บังคับมาก่อน ไม่ใช่กรณีการออกข้อบังคับเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 29 วรรคสอง นั้นหมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องและตกลงกันได้ตามมาตรา 25 ถึงมาตรา 27 และต้องเป็นกรณีการทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเท่านั้น ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ไม่ได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องและตกลงกันได้จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 29 วรรคสอง ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จึงมีผลผูกพันสมาชิกของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11096/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีแข่งขันกับนายจ้างและละทิ้งหน้าที่ โดยมิชอบที่จะเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป มีหน้าที่ดูแลด้านการตลาด การขาย และลูกค้าสัมพันธ์ ในเวลาเดียวกันโจทก์ไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท อ. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันและมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการแข่งขันกับจำเลยที่ 1 บริษัท อ. ย่อมต้องดำเนินกิจการให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ย่อมมีผลกระทบต่อรายได้ของจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย โจทก์กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อทางการค้าของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้าง และจงใจทำให้นายจ้างเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ส่งเสริมการค้าขายของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) โจทก์กระทำการไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยทั้งสองเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยที่ 2 ให้การว่า กรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 (ค่าผ่อนบ้านและที่ดินกับค่าเช่าซื้อรถ) ไม่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้คัดค้าน จึงไม่มีปัญหาว่าคดีในส่วนนี้อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางหรือไม่ การที่โจทก์ยกปัญหานี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์จึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การว่า กรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 (ค่าผ่อนบ้านและที่ดินกับค่าเช่าซื้อรถ) ไม่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้คัดค้าน จึงไม่มีปัญหาว่าคดีในส่วนนี้อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางหรือไม่ การที่โจทก์ยกปัญหานี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์จึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10327/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิจารณาคดีเสร็จสิ้นก่อนศาลฎีกาตัดสินเรื่องการเข้าเป็นจำเลยร่วม
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสิบเอ็ด (คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์) ที่สั่งให้โจทก์รับผู้ร้องซึ่งเป็นลูกจ้างที่โจทก์เลิกจ้างกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าเสียหายให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ศาลแรงงานกลางยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา
ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสิบเอ็ดต่อไปโดยไม่รอว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาเกี่ยวกับคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้ร้องก่อน แล้วมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลแรงงานกลางต่อศาลฎีกา คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นจำเลยร่วมก็ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ทั้งหมดซึ่งจะทำให้คดีต้องล่าช้าออกไป ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องต่อไป จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลฎีกา
ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสิบเอ็ดต่อไปโดยไม่รอว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาเกี่ยวกับคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้ร้องก่อน แล้วมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลแรงงานกลางต่อศาลฎีกา คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นจำเลยร่วมก็ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ทั้งหมดซึ่งจะทำให้คดีต้องล่าช้าออกไป ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องต่อไป จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22722/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาคดีภาษียาสูบ: การบรรยายฟ้องต้องระบุองค์ประกอบความผิดชัดเจน การไม่มีหลักฐานสันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อขาย ไม่อาจลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมียาสูบซึ่งผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบหลายยี่ห้อ รวม 861 ซอง โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบดังกล่าว แม้ในฟ้องจะระบุฐานความผิดว่า ขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวก็ตาม ซึ่งก็มิใช่การบรรยายฟ้องในส่วนที่เป็นองค์ประกอบความผิดเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) อีกทั้งการที่จำเลยมียาสูบของกลางจำนวนมากไว้ในครอบครอง ก็ไม่มีกฎหมายสันนิษฐานว่ามีไว้ขายหรือเพื่อขาย แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานขายหรือมีไว้เพื่อขายตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 จึงไม่อาจริบบุหรี่ของกลางเป็นของกรมสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 44 ทั้งไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 32 และมาตรา 33 อีกทั้งคดีนี้ศาลไม่ได้ลงโทษจำเลย จึงไม่อาจพิพากษาให้จ่ายสินบนและรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7, 8 ตามที่โจทก์ขอ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 จึงไม่อาจริบบุหรี่ของกลางเป็นของกรมสรรพสามิตตาม พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ.2509 มาตรา 44 ทั้งไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่อาจริบของกลางดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 32 และมาตรา 33 อีกทั้งคดีนี้ศาลไม่ได้ลงโทษจำเลย จึงไม่อาจพิพากษาให้จ่ายสินบนและรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7, 8 ตามที่โจทก์ขอ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16070-16072/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ แม้คดีความยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350
ตาม ป.อ. มาตรา 350 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ผู้ใดเพียงแต่รู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แล้วย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริง ก็ถือว่าเป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดพอชำระหนี้แก่โจทก์ ขณะที่คดีแพ่งดังกล่าวอยู่ระหว่างบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดิน 3 แปลง ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา แม้คดีแพ่งดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องแย้ง และผลคดีอาจจะเปลี่ยนแปลงโดยศาลฎีกาอาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ซึ่งไม่แน่ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นที่สุดหรือไม่ก็ตาม ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว ไม่จำต้องถือเอาคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในทางแพ่งมาเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14482/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าหรือไม่? ศาลฎีกาตัดสินคดีใช้อาวุธปืนข่มขู่ ยิงไม่โดน ถือเป็นทำร้ายร่างกาย
วัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยมีและพาอาวุธปืนพกรีวอลเวอร์ขนาด .22 ไปบริเวณโรงงานเชียงใหม่สุขสวัสดิ์ค้าไม้ เนื่องมาจากจำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายเป็นชู้กับภริยาของจำเลย จำเลยจึงไปพบผู้เสียหายยังสถานที่เกิดเหตุและสอบถามจำเลยว่า ชอบเป็นชู้กับภริยาชาวบ้านใช่ไหม แล้วใช้แขนซ้ายล๊อกคอผู้เสียหายและใช้มือขวาล้วงอาวุธปืนออกมาจากเอวจ่อที่บริเวณศีรษะของผู้เสียหาย ช. ท. และ ส. ซึ่งเป็นประจักษ์พยานโจทก์และอยู่บริเวณที่เกิดเหตุเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า เห็นจำเลยกระทำดังกล่าว นอกจากนั้นผู้เสียหายยังเบิกความว่าผู้เสียหายได้สะบัดศีรษะเพื่อหลบและได้ยินเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด หลังจากนั้นจำเลยก็เดินออกไป การกระทำของจำเลยดังกล่าวจะเห็นได้ว่า จำเลยอยู่ห่างจากผู้เสียหายประมาณ 1 ฟุต โดยใช้มือล๊อกคอของผู้เสียหายไว้พร้อมใช้อาวุธปืนจ่อบริเวณศีรษะซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ชิดกับศีรษะมาก หากจำเลยประสงค์ต่อชีวิตของผู้เสียหายแล้ว ย่อมเป็นการยากที่กระสุนปืนจะพลาดจากเป้าหมาย และขณะที่กระสุนลั่นจากอาวุธปืนไม่ปรากฏว่าประจักษ์พยานโจทก์คนใด เห็นว่า ปากกระบอกปืนยังคงจ่อเล็งอยู่ที่บริเวณศีรษะของผู้เสียหายหรือไม่ และการที่ผู้เสียหายเพียงแต่สะบัดศีรษะเพื่อหลบ แต่ก็ไม่ได้ลุกขึ้นวิ่งหนี จึงไม่ทำให้เป้าหมายของวิถีกระสุนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จำเลยย่อมสามารถที่จะยิงผู้เสียหายซ้ำได้อีก อีกทั้งหลังจากปืนลั่น 1 นัดแล้ว ไม่มีผู้ใดเข้าห้ามปรามหรือขัดขวางการกระทำของจำเลย และหลังเกิดเหตุ ป. ติดตามจับกุมจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนของกลาง ยังปรากฏกระสุนปืนอยู่ภายในรังเพลิงอีกจำนวน 5 นัด แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีโอกาสใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายได้อีก แต่จำเลยก็หาได้กระทำไม่ เมื่อก่อเหตุแล้วจำเลยก็ได้ขับรถจักรยานยนต์กลับไปยังสถานที่ทำงานของตน มิได้หลบหนีไปไหนจนกระทั่ง ป. ไปจับกุมจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนของกลาง พฤติการณ์แห่งคดีเชื่อว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แต่เป็นการใช้อาวุธปืนยิงเพื่อข่มขู่ผู้เสียหายเท่านั้น และการที่จำเลยใช้แขนล๊อกคอผู้เสียหายเป็นการใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ อันเป็นความผิดตามที่พิจารณาได้ความซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย