พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คและค้ำประกัน การขาดอายุความเป็นความผิดจำเลย
เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็ค จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ และรับมอบเช็คจากโจทก์ไปใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้สั่งจ่ายในฐานะที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้สลักหลังเช็คและได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสองก็หาได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์การที่เช็คขาดอายุความลงจึงเป็นความผิดของจำเลยทั้งสองเอง
จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นว่า สัญญาขายลดเช็คเป็นสัญญาซื้อขายหรือเป็นสัญญากู้ยืม จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าเอกสารดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคแรกไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน เพราะวรรคสองของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า ถ้าผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลา ผู้ค้ำประกันหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ ดังนั้น คู่สัญญาจึงอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์ฟ้องขอให้ชำระดอกเบี้ยก่อนฟ้องมาด้วย แต่คำพิพากษาศาล-ชั้นต้นมิได้กำหนดว่าดอกเบี้ยก่อนฟ้องมิให้เกินกว่าที่โจทก์ขอ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้
จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นว่า สัญญาขายลดเช็คเป็นสัญญาซื้อขายหรือเป็นสัญญากู้ยืม จึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าเอกสารดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคแรกไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน เพราะวรรคสองของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า ถ้าผู้ค้ำประกันตกลงด้วยในการผ่อนเวลา ผู้ค้ำประกันหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ ดังนั้น คู่สัญญาจึงอาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์ฟ้องขอให้ชำระดอกเบี้ยก่อนฟ้องมาด้วย แต่คำพิพากษาศาล-ชั้นต้นมิได้กำหนดว่าดอกเบี้ยก่อนฟ้องมิให้เกินกว่าที่โจทก์ขอ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้