พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6751/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีล้มละลาย: การฟ้องคดีระหว่างการพิจารณาคดีทำให้สิทธิเรียกร้องไม่ขาดอายุความ & สิทธิชำระหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คดีที่เสร็จไปโดยการที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ (เจ้าหนี้) ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 202 นั้น เป็นผลจากการที่โจทก์ละทิ้งหรือทอดทิ้งคดีของตน ทำนองเดียวกับคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่ถอนฟ้องและทิ้งฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง ซึ่งให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการฟ้องคดีที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2)
คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 202 มีผลอย่างเดียวกับคำพิพากษาของศาลที่ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เมื่ออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ครบไปแล้วในระหว่างการพิจารณาคดี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งจำหน่ายคดีถึงที่สุด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2561)
คำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 202 มีผลอย่างเดียวกับคำพิพากษาของศาลที่ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เมื่ออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ครบไปแล้วในระหว่างการพิจารณาคดี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งจำหน่ายคดีถึงที่สุด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2561)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนการใช้ความถี่วิทยุเพิ่ม-เบี้ยปรับ: ศาลมีอำนาจลดลงได้หากสูงเกินส่วน
ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง กำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ และกรณีที่ผู้ใช้ความถี่วิทยุไม่ชำระหรือชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเกินกำหนดเวลาที่กำหนด ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่ม เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงตามหนังสืออนุญาตให้จัดตั้งข่ายสื่อสารในกิจการเพื่อสื่อมวลชน ซึ่งการเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มดังกล่าว เป็นการกำหนดค่าเสียหายในกรณีจำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรไว้ล่วงหน้าในลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เมื่อเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น เมื่อศาลชั้นต้นยกคำขอในส่วนนี้ โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น เมื่อศาลชั้นต้นยกคำขอในส่วนนี้ โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความดอกเบี้ย, การหักชำระหนี้, และสิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
แม้เจ้าหนี้จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2536 เป็นต้นเงินจำนวน 1,294,931.51 บาท และตามสัญญาเงินกู้ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2536 เป็นต้นเงินจำนวน 750,000 บาท ตามที่ขอรับชำระหนี้ แต่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้เกินกว่า 5 ปี เพราะอายุความในการเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระเพียง 5 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ย้อนหลังไปเท่านั้น แต่จากวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (วันที่ 22 มีนาคม 2549) ถึงวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ (วันที่ 9 สิงหาคม 2549) เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระในส่วนนี้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2544 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2549 แม้อายุความในเรื่องดอกเบี้ยจะไม่มีประเด็นโต้เถียงกันในชั้นนี้ แต่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8685/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการขายทอดตลาดจากคดีล้มละลาย: ผู้ซื้อสำคัญผิดในสภาพทรัพย์สินเนื่องจากข้อมูลไม่ถูกต้อง
ผู้ร้องทั้งสองซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2557 และยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดต่อศาลจังหวัดระยองซึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทนเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 ในประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดระยองเรื่องขายทอดตลาดที่ดินระบุว่า เป็นการขายทอดตลาดในคดีของศาลจังหวัดสงขลาหมายเลขแดงที่ 3221/2541 ระหว่าง ธนาคาร น. โจทก์ และจำเลยทั้งสองมิได้ระบุว่าเป็นการดำเนินการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย การที่ผู้ร้องทั้งสองเข้าใจว่าเป็นการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดในคดีแพ่งทั่วไปมิใช่คดีล้มละลายก็เนื่องมาจากประกาศขายทอดตลาดระบุว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 2 และเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายโดยมิได้แจ้งให้ผู้เข้าสู้ราคาทราบว่าเป็นการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต่อมาเมื่อผู้ร้องทั้งสองทราบจากรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันนัดไต่สวนคำร้องของศาลจังหวัดระยองเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 ว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องทั้งสองรีบดำเนินการยื่นคำร้องขอถอนคำร้องต่อศาลจังหวัดระยองและยื่นคำร้องในคดีนี้เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 อันเป็นระยะเวลาห่างกันเพียง 9 วัน แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองมิได้เพิกเฉยปล่อยปละละเลยที่จะไม่ยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลายื่นคำร้องให้แก่ผู้ร้องทั้งสองและรับคำร้องของผู้ร้องทั้งสองไว้วินิจฉัยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8683/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของแผนฟื้นฟูกิจการและการผูกพันตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้หลังการยกเลิกการฟื้นฟู
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าลูกหนี้เป็นหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินกับเจ้าหนี้ แต่ต่อมาเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.30/2543 ของศาลล้มละลายกลาง เจ้าหนี้ได้นำหนี้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมายื่นคำขอรับชำระหนี้ และเจ้าหนี้ได้ร่วมกับเจ้าหนี้รายอื่นทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้โดยถือเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ โดยระบุยอดหนี้ของเจ้าหนี้เป็นเงินจำนวน 45,136,004 บาท สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ดังนั้น แม้ต่อมาคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ดังกล่าวจะสิ้นสุดลงตามคำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ก็ตาม แต่ความผูกพันในข้อตกลงต่างๆ ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มิได้สิ้นสุดลง ลูกหนี้และเจ้าหนี้ยังคงผูกพันตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลได้ให้ความเห็นชอบต่อไป
ส่วนหนี้เดิมของเจ้าหนี้นั้น เมื่อตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/75 บัญญัติว่า "คำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ เว้นแต่หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการจะได้ขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว..." ดังนั้น แม้ลูกหนี้จะผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ แต่ความรับผิดของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้ยังคงมีอยู่ต่อกันตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้จึงไม่อาจกลับไปใช้มูลหนี้เดิมเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่เจ้าหนี้ได้อีกต่อไป เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากยอดหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เท่านั้น
ส่วนหนี้เดิมของเจ้าหนี้นั้น เมื่อตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/75 บัญญัติว่า "คำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ เว้นแต่หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการจะได้ขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว..." ดังนั้น แม้ลูกหนี้จะผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ แต่ความรับผิดของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้ยังคงมีอยู่ต่อกันตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้จึงไม่อาจกลับไปใช้มูลหนี้เดิมเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่เจ้าหนี้ได้อีกต่อไป เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากยอดหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4567/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินจัดสรรสาธารณูปโภค: ห้ามบังคับคดีเด็ดขาดหากไม่ได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
แม้ศาลในคดีแพ่งจะมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้กับพวกชำระหนี้ หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดที่ดินรวม 12 แปลง ออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามสัญญาจำนองก็ตาม แต่ตามสารบัญจดทะเบียนที่ดินดังกล่าวจำนวน 4 แปลง ระบุว่า ที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าวอยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดินและเป็นพื้นที่ส่วนที่กันไว้เป็นสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะประเภทถนน สวนหย่อมและบ่อบำบัดน้ำเสีย ตามใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ซึ่งตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มีบทบัญญัติตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง และมาตรา 43 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะต้องบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้คงสภาพเดิม รวมทั้งจำกัดการใช้สิทธิในการทำนิติกรรมของผู้จัดสรรที่ดินในลักษณะที่จะก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค และที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะในโครงการจัดสรรที่ดินในอันที่จะได้ใช้บริการจากที่ดินส่วนที่เป็นสาธารณูปโภคตามที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้มาตรา 30 วรรคสอง ยังบัญญัติให้ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะปลอดจากบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และภาระการจำนอง ดังนั้น การขอรับชำระหนี้เพื่อบังคับแก่ที่ดินส่วนที่เป็นสาธารณูปโภคซึ่งต้องมีการนำที่ดินส่วนที่เป็นสาธารณูปโภคออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ และในที่สุดก็ต้องมีการทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ประมูลได้ การบังคับแก่ที่ดินส่วนที่เป็นสาธารณูปโภคดังกล่าวถือว่าเป็นการก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวด้วย เมื่อไม่ปรากฏว่าการบังคับชำระหนี้เอากับที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าวเจ้าหนี้ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง การบังคับชำระหนี้เอากับที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าวจึงต้องห้ามตามกฎหมาย ทั้งกรณีนี้ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 41 วรรคท้าย ที่เป็นการขอบังคับเอากับที่ดินจัดสรรทั้งโครงการ ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจากการขายทอดตลาดต้องรับโอนใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินรวมทั้งรับโอนสิทธิและหน้าที่ที่ผู้จัดสรรที่ดินมีต่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรร เจ้าหนี้จึงไม่อาจบังคับชำระหนี้เอากับที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักประกันในคดีอาญาและผลกระทบต่อเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลายตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6 เจ้าหนี้มีประกัน หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิบังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ และ ป.พ.พ. มาตรา 241 บัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ก็ได้..." การที่ลูกหนี้นำโฉนดที่ดินซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์มาเป็นทรัพย์หลักประกันในการขอปล่อยตัวจำเลยในคดีอาญานั้น เจ้าหนี้หรือศาลอาญาธนบุรี เพียงแต่ยึดถือโฉนดดังกล่าวไว้เท่านั้น หาได้เป็นผู้เข้าครอบครองที่ดินตามโฉนดอันเป็นหลักประกันดังกล่าวไม่ แม้ว่าศาลอาญาธนบุรีจะมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินดังกล่าวก็เพื่อประโยชน์มิให้ลูกหนี้โอนทรัพย์ต่อไปเท่านั้น หาทำให้เจ้าหนี้หรือศาลอาญาธนบุรีมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนการที่ลูกหนี้ส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าหนี้ไว้นั้น ก็มีผลเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่จะให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดถือหนังสือกรรมสิทธิ์ดังกล่าวไว้จนกว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาหรือสัญญาประกันสิ้นสุดลง เจ้าหนี้จึงไม่ได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ดังนั้น เจ้าหนี้จะขอบังคับหรือใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 หาได้ไม่
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 ซึ่งบัญญัติว่า "เงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นที่นำมาวางต่อศาลเพื่อเป็นหลักประกันตามมาตรา 114 ไม่อยู่ในข่ายที่จะถูกยึดหรืออายัดเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อื่นจนกว่าความรับผิดตามสัญญาประกันจะระงับสิ้นไป เว้นแต่ศาลเห็นว่าหนี้ของเจ้าหนี้นั้นมิได้เกิดจากการฉ้อฉลและมีคำสั่งให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว" โดยมีผลใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 30 ธันวาคม 2558) เป็นต้นไป ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 มาตรา 2 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแก่คดีทั้งหมดรวมถึงคดีนี้ด้วย เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้ในฐานะผู้ประกันนำมาวางเป็นหลักประกันต่อศาลในการร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในคดีอาญา และลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลจนศาลมีคำสั่งปรับตามสัญญาประกัน กรณีต้องด้วย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 ที่ดินที่ลูกหนี้นำมาวางเป็นประกันต่อศาลอาญาธนบุรีจึงไม่อาจถูกยึดหรืออายัดเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อื่นได้ เว้นแต่ศาลในคดีอาญาจะได้สั่งปล่อยทรัพย์นั้น ในชั้นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยได้ให้ดำเนินการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสองก่อน
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 ซึ่งบัญญัติว่า "เงินสดหรือหลักทรัพย์อื่นที่นำมาวางต่อศาลเพื่อเป็นหลักประกันตามมาตรา 114 ไม่อยู่ในข่ายที่จะถูกยึดหรืออายัดเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อื่นจนกว่าความรับผิดตามสัญญาประกันจะระงับสิ้นไป เว้นแต่ศาลเห็นว่าหนี้ของเจ้าหนี้นั้นมิได้เกิดจากการฉ้อฉลและมีคำสั่งให้ปล่อยทรัพย์ดังกล่าว" โดยมีผลใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 30 ธันวาคม 2558) เป็นต้นไป ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 มาตรา 2 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแก่คดีทั้งหมดรวมถึงคดีนี้ด้วย เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้ในฐานะผู้ประกันนำมาวางเป็นหลักประกันต่อศาลในการร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในคดีอาญา และลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลจนศาลมีคำสั่งปรับตามสัญญาประกัน กรณีต้องด้วย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 ที่ดินที่ลูกหนี้นำมาวางเป็นประกันต่อศาลอาญาธนบุรีจึงไม่อาจถูกยึดหรืออายัดเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อื่นได้ เว้นแต่ศาลในคดีอาญาจะได้สั่งปล่อยทรัพย์นั้น ในชั้นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจรวบรวมเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยได้ให้ดำเนินการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสองก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3990/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของผู้คัดค้านในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการบังคับบุริมสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่ดำเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (เดิม) แต่ศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว กรณีมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ (เดิม) จึงให้รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้พิจารณา
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินการ คือ ทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 ซึ่งรวมถึงทรัพย์ทุกประเภทของลูกหนี้ที่มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายตามมาตรา 109 (1) ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้รายใดหรือไม่ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวของลูกหนี้เข้ากองทรัพย์สินเพื่อจัดการได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 110 วรรคสาม หรือผู้คัดค้านได้สละสิทธิทรัพย์สินดังกล่าว การที่ผู้คัดค้านจะสละสิทธิทรัพย์สินใดของลูกหนี้ต้องปรากฏว่าผู้คัดค้านได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 145 (3) แล้ว และกรณีที่ลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลายตามมาตรา 81/1 เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ผู้คัดค้านก็ยังคงมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนที่จะได้รับการปลดจากล้มละลายเพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายต่อไปได้ ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทรัพย์หลักประกันเป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้มีมาก่อนล้มละลาย และไม่ปรากฏว่ากรรมการเจ้าหนี้มีมติเห็นชอบให้ผู้คัดค้านสละสิทธิในที่ดินดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (3) ผู้คัดค้านจึงยังคงต้องมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมจัดการทรัพย์สินดังกล่าว เมื่อผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเลือกที่จะใช้สิทธิมายื่นคำร้องให้ผู้คัดค้านดำเนินการบังคับบุริมสิทธิของผู้ร้องกับที่ดินดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องรับคำร้องเพื่อดำเนินการสอบสวนสิทธิของผู้ร้อง และยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดต่อไป
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีอำนาจดำเนินการ คือ ทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 ซึ่งรวมถึงทรัพย์ทุกประเภทของลูกหนี้ที่มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายตามมาตรา 109 (1) ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้รายใดหรือไม่ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวของลูกหนี้เข้ากองทรัพย์สินเพื่อจัดการได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีตามมาตรา 110 วรรคสาม หรือผู้คัดค้านได้สละสิทธิทรัพย์สินดังกล่าว การที่ผู้คัดค้านจะสละสิทธิทรัพย์สินใดของลูกหนี้ต้องปรากฏว่าผู้คัดค้านได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 145 (3) แล้ว และกรณีที่ลูกหนี้ได้รับการปลดจากล้มละลายตามมาตรา 81/1 เมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ผู้คัดค้านก็ยังคงมีอำนาจในการรวบรวมและจัดการทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนที่จะได้รับการปลดจากล้มละลายเพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายต่อไปได้ ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทรัพย์หลักประกันเป็นทรัพย์ที่ลูกหนี้มีมาก่อนล้มละลาย และไม่ปรากฏว่ากรรมการเจ้าหนี้มีมติเห็นชอบให้ผู้คัดค้านสละสิทธิในที่ดินดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (3) ผู้คัดค้านจึงยังคงต้องมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมจัดการทรัพย์สินดังกล่าว เมื่อผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเลือกที่จะใช้สิทธิมายื่นคำร้องให้ผู้คัดค้านดำเนินการบังคับบุริมสิทธิของผู้ร้องกับที่ดินดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องรับคำร้องเพื่อดำเนินการสอบสวนสิทธิของผู้ร้อง และยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนต่างด้าวประกอบธุรกิจค้าที่ดินที่ต้องห้าม ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญา
โจทก์เป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย จึงเป็นคนต่างด้าวตามความหมายใน พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มาตรา 4 แม้โจทก์ถือหุ้นไม่ถึงกึ่งหนึ่งตามบัญชีผู้ถือหุ้นของบริษัท พ. แต่เงินทุนในบริษัท พ. ที่แท้จริงเป็นของโจทก์เกินกึ่งหนึ่งของเงินลงทุน ซึ่งไม่เป็นไปตามทุนที่จดทะเบียน ถือว่าบริษัท พ. และโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าที่ดิน ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษตามบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยในความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 353 เพราะข้อหาความผิดดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการประกอบธุรกิจที่ต้องห้ามของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง ต้องพิสูจน์การหลอกลวงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายมอบทรัพย์สิน
แม้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามฟ้องว่า จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 แต่เหตุที่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 มอบเงินสดให้แก่จำเลย เนื่องจากโจทก์ร่วมที่ 1 เป็นฝ่ายติดต่อขอให้จำเลยช่วยเหลือ และจำเลยแจ้งว่าในการเสนอโครงการติดตั้งป้ายโฆษณาจะต้องมีค่าใช้จ่าย การที่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 จ่ายเงินให้แก่จำเลย จึงมิใช่เป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 ด้วยการยืนยันข้อเท็จจริงใดอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยทำงานเป็นคณะกรรมาธิการอยู่ที่อาคารรัฐสภา และสามารถติดต่อช่วยเหลือให้โจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 ได้รับงานการทำป้ายโฆษณา การกระทำของจำเลยไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225