คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1496 เดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7367/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโมฆกะการสมรส: การสิ้นสุดของสมรสด้วยการตายและผลกระทบต่อสิทธิทายาท
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้มีการตั้งเป็นประเด็นแห่งคดีไว้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) บิดาโจทก์ถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้อง การสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยได้ขาดจากกันเพราะเหตุบิดาโจทก์ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 แล้ว การสมรสนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของบิดาคู่สมรสเดิมอันจะก่อให้เกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะ ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิในมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายหรือสิทธิอื่นใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ถือว่าตามฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6077/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ฝ่าฝืนกฎหมาย การฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ และสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย
ขณะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับ น. เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2522น. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์อยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นการสมรสระหว่างจำเลยกับ น. จึงฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1496 เดิมซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การตกเป็นโมฆะดังกล่าวมีผลเท่ากับว่าจำเลยและ น. มิได้ทำการสมรสกัน ดังนั้นการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์และ น. ในครั้งหลังจึงกระทำในขณะที่จำเลยไม่มีฐานะเป็นคู่สมรสของ น. การสมรสระหว่างโจทก์และ น. จึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 133 เดิม และมาตรา 1497 เดิม มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับ น. เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1496 เดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ และอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดก
จำเลยให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของ ส. กับ บ. จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียคดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเพราะส. ถึงแก่กรรมไปแล้วเป็นเหตุให้การสมรสสิ้นสุดลงตามที่จำเลยฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ การที่จำเลยขออายัดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2โดยอ้างว่าเป็นของ ส. เป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์มรดกของส. ซึ่งเป็นบิดาโจทก์ทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ส.จดทะเบียนสมรสกับบ.อยู่แล้วต่อมาส. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกโดยมิได้หย่าขาดจาก บ. การจดทะเบียนสมรสระหว่างส. กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1496 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแม้จำเลยจะอ้างว่าจดทะเบียนสมรสโดยสุจริตก็หาเป็นเหตุให้การสมรสที่เป็นโมฆะเสียเปล่ากลับสมบูรณ์ขึ้นมาแต่อย่างใดไม่