พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและขยายเวลาการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายสำหรับเจ้าหนี้ต่างประเทศ
ผู้ร้องเป็นชาวต่างประเทศมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ไม่มีตัวแทนในประเทศไทย ช่วงเวลาที่กำหนดให้เจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องไม่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ ทั้งเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลาย ผู้ร้องก็ได้รีบดำเนินการมอบอำนาจให้ อ. ยื่นคำขอรับชำระหนี้ทันที กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จะให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการมรดกที่มีผู้จัดการมรดกจำนวนมากและขาดเสียงข้างมากในการตัดสินใจ
เมื่อผู้คัดค้านที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกคนหนึ่งของเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทำให้ผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่ 6 คน ไม่อาจจัดการมรดกต่อไปได้ โดยที่ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่ทั้ง 6 คน เป็นผู้จัดการมรดก เพราะจะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลที่ให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งหกร่วมกันจัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งกรณีไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 1715 วรรคสอง ที่กำหนดให้ผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่จัดการมรดกต่อไปได้ แต่ไม่อาจจัดการมรดกโดยลำพังมาใช้บังคับกับกรณีการตั้งผู้จัดการมรดกในคดีนี้ได้ เพราะคดีนี้ไม่ใช่การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม การที่ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตายย่อมทำให้อำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกที่ถึงแก่ความตายสิ้นสุดลง โดยไม่จำต้องมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ถึงแก่ความตายออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก แต่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับอำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่ต่อไป
การที่ผู้คัดค้านที่ 5 ถึงแก่ความตาย ทำให้คงเหลือผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจในการจัดการมรดกเพียง 6 คน ซึ่งมิอาจหาเสียงชี้ขาดได้หากเกิดกรณีที่มีความเห็นแบ่งเป็นสองฝ่าย และแต่ละฝ่ายมีคะแนนเสียงเท่ากันดังนั้น จึงต้องใช้กระบวนการทางกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1726 โดยจะต้องให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้เป็นผู้ชี้ขาดต่อไป ทั้งเมื่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง กำหนดให้การตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร ซึ่งกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน การทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องถือตามเสียงข้างมากตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1726 เมื่อคำนึงถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก การตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยย่อมทำให้การจัดการมรดกมีเสียงข้างมากซึ่งน่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อกองมรดกของผู้ตาย
การที่ผู้คัดค้านที่ 5 ถึงแก่ความตาย ทำให้คงเหลือผู้จัดการมรดกที่มีอำนาจในการจัดการมรดกเพียง 6 คน ซึ่งมิอาจหาเสียงชี้ขาดได้หากเกิดกรณีที่มีความเห็นแบ่งเป็นสองฝ่าย และแต่ละฝ่ายมีคะแนนเสียงเท่ากันดังนั้น จึงต้องใช้กระบวนการทางกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1726 โดยจะต้องให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้เป็นผู้ชี้ขาดต่อไป ทั้งเมื่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง กำหนดให้การตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร ซึ่งกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน การทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องถือตามเสียงข้างมากตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1726 เมื่อคำนึงถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก การตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยย่อมทำให้การจัดการมรดกมีเสียงข้างมากซึ่งน่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อกองมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4569/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเงินผิดพลาดของหน่วยงานรัฐ และสิทธิในการติดตามทรัพย์สินคืน
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน โจทก์โดยสำนักงบประมาณได้โอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ถึงปี 2558 เป็นเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้แก่สำนักงานจังหวัดโดยตรง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล จากนั้นจังหวัดขอนแก่นเห็นชอบหลักเกณฑ์ ขั้นตอน แนวทางและคู่มือการดำเนินงานมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบลตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ จึงมอบอำนาจให้นายอำเภอพระยืนเป็นผู้มีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นในการสั่งซื้อสั่งจ้างและดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุทุกขั้นตอนในวงเงินสั่งซื้อสั่งจ้างไม่เกิน 5,000,000 บาท โจทก์โดยนายอำเภอพระยืนในฐานะผู้รับมอบอำนาจได้ตกลงทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ให้ดำเนินการปรับปรุงผิวจราจรลูกรังวงเงิน 439,000 บาท ตามสัญญาจ้างเลขที่ 15/2559 ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างเลขที่ 15/2559 จำนวนเงินค่าจ้าง 439,000 บาท ให้แก่ ก. โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. มีหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้โจทก์ทราบแล้ว แต่โจทก์กลับโอนเงินตามสัญญาจ้างดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยคลาดเคลื่อนซึ่งเป็นการโอนเงินให้ผู้รับผิดคนและเป็นการผิดหลง ซึ่งจำเลยให้การและนำสืบรับว่าจำเลยได้รับเงินดังกล่าวจากโจทก์จริง เช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าเงินที่โจทก์โอนให้แก่จำเลยเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินอันเป็นทรัพย์ของแผ่นดินโดยผิดหลง โจทก์จึงมีหน้าที่และสิทธิติดตามนำเงินงบประมาณแผ่นดินดังกล่าวคืนกลับมาเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิรับเงินงบประมาณแผ่นดิน แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเข้าใจว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่จำเลยจะต้องได้รับจากโจทก์ และได้ใช้เงินจำนวนดังกล่าวไปแล้วก่อนที่โจทก์จะทวงถามให้จำเลยคืนก็ตาม จำเลยก็ต้องส่งเงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องคืนให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของงบประมาณที่มีสิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าหนี้ฟ้องให้จำเลยคืนทรัพย์ในฐานะลาภมิควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมงผิดกฎหมาย: ริบเรือและเครื่องมือเนื่องจากทำการประมงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตและใช้เครื่องมือต้องห้าม
จำเลยทั้งสามร่วมกันทำการประมงโดยใช้อวนลากคานถ่างซึ่งถือเป็นประมงพาณิชย์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 36 จึงเป็นการทำการประมงโดยฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรงตามมาตรา 114 (2) เรือยนต์ประมงหางยาวพร้อมเครื่องยนต์ของกลางซึ่งจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ในการกระทำความผิดจึงต้องริบเสียทั้งสิ้นตามมาตรา 169 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2413/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมบนที่ดิน แม้ระงับตามกฎหมาย แต่เจ้าของที่ดินห้ามยกข้อต่อสู้หากไม่ได้จดทะเบียนระงับสิทธิ
ขณะโจทก์ทั้งสองซื้อโฉนดที่ดินพิพาท ตามสารบัญการจดทะเบียนปรากฏทรัพยสิทธิ คือ ภาระจำยอมบนที่ดินของจำเลย โดยจำเลยมิได้ใช้สิทธิโต้แย้งทรัพยสิทธิดังกล่าว โจทก์ทั้งสองย่อมเข้าใจโดยสุจริตว่าภาระจำยอมยังคงอยู่ แม้ทางภาระจำยอมพิพาทจะไม่มีการใช้ประโยชน์เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ย่อมระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1399 แต่เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ยังมิได้จดทะเบียนระงับภาระจำยอมนั้น จำเลยจะยกเอาการระงับแห่งภาระจำยอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับโอนสามยทรัพย์มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาแผ่นดินมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม จึงตกเป็นโมฆะ
ป.พ.พ. มาตรา 850 บัญญัติว่า "อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือ สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน" เมื่อพิจารณาคำร้องขอถอนฟ้องซึ่งเป็นข้อตกลงในการถอนฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6070/2560 ปรากฏข้อความว่าให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ 200,000 บาท แล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6070/2560 นอกจากนั้นยังให้จำเลยชำระเงิน 200,000 บาท ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1967/2561 และชำระเงิน 400,000 บาท ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.6137/2560 และยังมีข้อตกลงในส่วนคดีของศาลแรงงานกลางที่ทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้เลิกแล้วต่อกัน รวมถึงจำเลยจะไม่ไปดำเนินการร้องเรียนใด ๆ เกี่ยวกับการประมูลงานของโจทก์ ส่วนที่ร้องเรียนไปแล้วก็จะไปถอนคำร้อง ซึ่งเห็นได้ว่า ข้อความตามคำร้องขอถอนฟ้องเป็นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทด้วยการให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาหมายดำที่ 6070/2560 โดยมีข้อตกลงอื่นด้วยว่าจำเลยต้องชำระเงินให้โจทก์อีก 600,000 บาท ข้อตกลงตามคำร้องขอถอนฟ้องจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายตกลงผ่อนผันให้แก่กันเพื่อระงับข้อพิพาท เมื่อปรากฏว่าข้อตกลงประนีประนอมยอมตามคำร้องขอถอนฟ้อง โจทก์ตกลงถอนฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6070/2560 ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264, 268 อันเป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดิน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเรียกค่าเสียหายส่วนที่เหลือตามสัญญาที่เป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการต้องแสดงช่องทางที่ชัดเจนและมีเหตุผล หากไม่มี ศาลยกคำร้องได้
คำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการต้องแสดงโดยชัดแจ้งถึง "ช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ" ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/6 (3) ประกอบมาตรา 90/3
กิจการของลูกหนี้ไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ ศาลล้มละลายกลางมีอำนาจยกคำร้องขอของผู้ร้องขอทั้งสองตั้งแต่ในชั้นตรวจคำร้องขอได้ โดยหาจำต้องมีคำสั่งรับคำร้องขอของผู้ร้องทั้งสองไว้ก่อนไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
กิจการของลูกหนี้ไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ ศาลล้มละลายกลางมีอำนาจยกคำร้องขอของผู้ร้องขอทั้งสองตั้งแต่ในชั้นตรวจคำร้องขอได้ โดยหาจำต้องมีคำสั่งรับคำร้องขอของผู้ร้องทั้งสองไว้ก่อนไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายศุลกากรที่แก้ไขใหม่ และการพิจารณาโทษที่เหมาะสมสำหรับความผิดเกี่ยวกับการส่งออกไม้แปรรูป
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิด เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2560 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 บัญญัติให้การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองตามฟ้องเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวบังคับใช้แก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคแรก แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดแล้วได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และให้ใช้ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 แทน โดยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติให้การนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียอากร โดยเจตนาจะฉ้ออากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ เป็นความผิดตามมาตรา 243 และบัญญัติให้การนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งของดังกล่าวออกนอกราชอาณาจักรหรือนำของเข้าเพื่อการผ่านแดน หรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 244 การที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 บัญญัติโดยแยกการกระทำซึ่งเดิมเป็นความผิดตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ออกเป็นมาตรา 243 และมาตรา 244 แสดงให้เห็นว่ากฎหมายประสงค์จะแยกการกระทำความผิดตามมาตรา 244 ออกต่างหากจากความผิดตามมาตรา 243 ดังนั้นเมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติว่า การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไม้ประดู่แปรรูปของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และจะต้องริบไม้ประดู่แปรรูปของกลางดังกล่าวเสียทั้งสิ้นตามมาตรา 74 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ไม้ประดู่แปรรูปของกลางจึงไม่ใช่ของที่เสียภาษีได้อันจะเป็นผลให้การหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 แต่ถือเป็นของที่ต้องจำกัดหรือต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งไม้ประดู่แปรรูปของกลางซึ่งเป็นของต้องจำกัดหรือต้องห้ามออกไปนอกราชอาณาจักรโดยซุกซ่อนในตู้สินค้าหมายเลข HALA 5615694 แล้วร่วมกันยื่นใบขนส่งสินค้าออกเลขที่ A 0081-6004-03946 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยสำแดงชนิดของสินค้าว่าเป็นเก้าอี้สนามทำด้วยไม้ประดู่เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรนั้นเป็นการหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามเกี่ยวกับของนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 เพียงบทเดียว มิใช่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 243 ด้วย และตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 บัญญัติให้การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองตามฟ้องฐานร่วมกันพยายามส่งไม้ประดู่แปรรูปออกนอกราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับแตกต่างกับโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งบัญญัติให้ลงโทษสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ โดยความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จ พ.รบ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 กำหนดโทษไว้เท่ากันเช่นเดียวกัน เมื่อโทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 และ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีเท่ากัน แต่คดีนี้เมื่อคำนวณโทษปรับสี่เท่าราคาของซึ่งรวมอากรเข้าด้วยแล้วเป็นเงิน 4,371,199 บาท โทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 ซึ่งปรับไม่เกินห้าแสนบาท จึงเป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลยมากกว่าโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด แต่การกำหนดความรับผิดในค่าปรับตามบทบัญญัติมาตรา 244 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 จะต้องกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดในลักษณะรวมกันตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5093/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความหลังสิ้นสุดสัญญาเช่า จำเลยผิดสัญญา ศาลมีคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย
หลังจากโจทก์ร่วมโอนที่ดินพร้อมอาคารให้บุตรสาวแล้วได้มีหนังสือแจ้งจําเลยว่า โจทก์ร่วมได้รับมอบอำนาจจากบุตรสาวให้เป็นตัวแทนทำสัญญาเช่ากับจําเลย เป็นการแสดงให้เห็นว่า โจทก์ร่วมและผู้รับโอนที่ดินพร้อมอาคารยังมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความอยู่ การที่จําเลยมีหนังสือขอหลักฐานการรับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมพร้อมกับขอลดค่าเช่าจากเดิมที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความแสดงให้เห็นว่า จําเลยมิได้ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้ แต่ยื่นข้อเสนอใหม่ที่แตกต่างจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หลังจากนั้นจําเลยก็ไม่ได้ทำสัญญาเช่ากับบุตรสาวของโจทก์ร่วม ทั้งหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ออกหลังจากสัญญาเช่าที่ดินพร้อมอาคารพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมกับจําเลยสิ้นสุดไปแล้ว จึงเชื่อได้ว่า ขณะศาลชั้นต้นมีคำสั่งออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี จําเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ คำสั่งของศาลที่หมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีไม่มีเหตุให้เพิกถอนหมายบังคับคดี หรือยกเลิกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและงดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141-4142/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำซ้อน - ลดโทษ - รอการลงโทษ - กฎหมายใหม่ใช้บังคับ - ความผิดเสพยาเสพติด
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันทั้งสองสำนวน และเมทแอมเฟตามีนของกลางตามฟ้องทั้งสองสำนวนก็เป็นจำนวนเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนของกลางตามฟ้องสำนวนหลังเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องในสำนวนแรก แม้ในสำนวนหลังโจทก์ฟ้องข้อหาสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเข้ามาด้วยแต่ก็เป็นการกระทำกรรมเดียวกับข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางทั้งหมดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้นเอง ซึ่งโจทก์สามารถขอแก้ฟ้องด้วยการเพิ่มเติมข้อหาดังกล่าวในสำนวนแรกได้อยู่แล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นสำนวนหลังว่าสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดด้วยการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นยาเสพติดจำนวนเดียวกับสำนวนแรกย่อมเป็นการใช้สิทธิฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองครั้งในการกระทำความผิดกรรมเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์สำนวนหลัง จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3