คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 58 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินช่วงมีข้อห้ามโอนเป็นโมฆะ การครอบครองเปลี่ยนมือ และอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันเมื่อปี 2530 ซึ่งขณะนั้นที่ดินพิพาทอยู่ในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายภายในกำหนด 10 ปี การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 (เดิม) เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการจัดให้ราษฎรทำกินจึงปกป้องราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ ยังไม่ปล่อยเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นกำหนดระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน ดังนั้น โจทก์จะสละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ศาลจึงยกบทบัญญัติมาตรา 411 แห่ง ป.พ.พ. ขึ้นปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
นับแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินพิพาทกันตั้งแต่ปี 2530 จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนปัจจุบัน แม้จะถือว่าในระหว่างระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ก็ตามแต่ในปี 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาพ้นกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องต่อศาลขอให้บังคับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่าจะไม่ยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์นับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2539 จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เอาคืนซึ่งการครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้จะมิได้อุทธรณ์ด้วยแต่เนื่องจากกรณีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินช่วงมีข้อจำกัดตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อการครอบครองและสิทธิเรียกร้อง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม)
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการจัดให้ราษฎรทำกินจึงปกป้อง ราษฎรให้มีที่ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี ภายในกำหนดระยะเวลา ดังกล่าวซึ่งทางราชการได้ควบคุมที่ดินนั้นอยู่ยังไม่ปล่อยเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ผู้ครอบครองจนกว่าจะพ้นกำหนดระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน ดังนั้น โจทก์จะสละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้ ให้แก่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ศาลจึงยกบทบัญญัติมาตรา 411 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
นับแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อขายที่ดินพิพาทกันตั้งแต่ปี 2530จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนปัจจุบัน แม้จะถือว่าในระหว่างระยะเวลาที่มีข้อกำหนดห้ามโอน จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ก็ตาม แต่ในปี 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาพ้นกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องต่อศาลขอให้บังคับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่า จะไม่ยึดถือที่ดินพิพาทแทน โจทก์อีกต่อไปอันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์นับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2539 จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เอาคืนซึ่งการครอบครอง ส่วนจำเลยที่ 2และที่ 3 แม้จะมิได้อุทธรณ์ด้วยแต่เนื่องจากกรณีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2และที่ 3 ด้วย จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4542/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังพ้นระยะห้ามโอน: การครอบครองต่อเนื่องโดยเจตนาเพื่อตนทำให้ได้สิทธิครอบครองตามกฎหมาย
บ.ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาก่อนแล้วต่อมาทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ โจทก์ผู้รับโอนที่ดินจาก บ.ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนจะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่เพียงใดเมื่อครบกำหนดห้ามโอนแล้วนั้น ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยึดถือที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่
โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่ซื้อจาก บ.ตลอดมาแม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนโจทก์จะยังไม่ได้สิทธิครอบครอง เนื่องจากถูกจำกัดโดยบทบัญญัติ มาตรา 58 ทวิ แห่ง ป.ที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษและเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของโจทก์ตลอดมา โดยไม่มีผู้อื่นเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครอง การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์จึงเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน โจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4542/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังพ้นระยะห้ามโอน แม้การซื้อขายเดิมเป็นโมฆะ แต่การครอบครองต่อเนื่องแสดงเจตนาที่จะครอบครองเพื่อตน
บิดาจำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาก่อนแล้ว ต่อมาทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ เพียงแต่มีข้อกำหนดห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ เท่านั้น แต่เมื่อครบกำหนดห้ามโอนแล้ว โจทก์ผู้รับโอนที่ดินจากบิดาจำเลยจะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ เพียงใด ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยึดถือที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่
โจทก์ซื้อและเข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่ซื้อที่ดินพิพาทจาก บ. ตลอดมา แม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนโจทก์จะยังไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากถูกจำกัดโดยบทบัญญัติมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของโจทก์ ตลอดมาโดยไม่มีผู้อื่นเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครอง การครอบครอง ที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน โจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่ขัดต่อกฎหมายห้ามโอน และผลกระทบต่อสิทธิครอบครองของผู้รับโอน
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ ย.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า ย.เป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ผู้มรณะ และจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้วจริง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งตั้ง ย.เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะต่อไป
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่พิพาทให้แก่ ค.ในระยะเวลาห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามกฎหมาย แม้ตามสัญญาซื้อขายจะมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในเมื่อผู้ซื้อเรียกร้องได้ทุกเวลา และมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็ตามแต่ก็เห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1 ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะโอนสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้น (น.ส.3 ก.) ให้แก่กัน ข้อความดังกล่าวระบุไว้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน นิติกรรมการซื้อขายที่ดินตามคำฟ้องระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ.มาตรา 150 ย่อมไม่มีผลบังคับ จึงต้องถือว่า ค.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดเวลา แม้ ค.จะครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานเพียงใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ดังนั้น แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจาก ค.และรับโอนการครอบครองที่ดินดังกล่าวมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี ที่กฎหมายห้ามโอนแล้วก็ตาม แต่เมื่อค.ผู้โอนไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น โจทก์ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่าสิทธิที่ ค.ผู้โอนมีอยู่ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามคำฟ้อง และต้องฟังว่าโจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาและโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินก่อนโฉนด: ข้อจำกัดการโอนตาม ป.ที่ดิน ไม่ห้ามการแบ่งแยกที่ดินให้เจ้าของสิทธิเดิม
สัญญาแบ่งมรดกที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทำขึ้นก่อนมีโฉนดที่ดิน ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสิทธิของโจทก์ก่อนมีโฉนดที่ดิน แม้ที่ดินโฉนดที่พิพาทมีข้อความระบุว่าห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ ก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เพราะไม่ใช่กรณีที่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่น แต่เป็นการฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินแก่เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่แท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนที่ดินขัดต่อข้อห้ามโอนและผลกระทบต่อการออกโฉนด
ขณะที่ ก.บิดาของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโอนที่ดินตามฟ้องให้แก่ ก.นั้น ที่ดินตามฟ้องยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนซึ่งมีกำหนด 10 ปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113(เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญา แม้ศาลจะพิพากษาตามยอม คำพิพากษานั้นก็หาผูกพันคู่ความไม่
ที่ดินตามฟ้องเป็นของ ก.บิดาโจทก์ เมื่อ ก.ถึงแก่กรรม ที่ดินตามฟ้องจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์และทายาทอื่นของ ก. การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมิได้รับความยินยอมจาก ก.และโจทก์ ตลอดทั้งทายาทอื่นของ ก.จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ และแม้โจทก์มิได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาด้วย แต่ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกโฉนดที่ดินโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายคำฟ้องเกี่ยวพันไปถึงเรื่องจำเลยที่ 1 และที่ 2นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ด้วย ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ ผู้ครอบครองไม่สละสิทธิ เจ้าของเดิมยังคงสิทธิ
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมีข้อกำหนดห้ามโอนสิบปีนับแต่วันที่25สิงหาคม2520สัญญาขายฝากทำกันเมื่อวันที่14มีนาคม2523จึงอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นการที่จำเลยทำสัญญาและมอบให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโจทก์ก็หาได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายไม่เพราะอยู่ในกำหนดห้ามโอนหลังจากนั้นต่อมาเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วแม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้สละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใดกลับได้ความว่าโจทก์ได้ให้เงินจำเลยทั้งสองไปชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ทุกปีและมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือไม่ได้ว่าภายหลังพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วจำเลยทั้งสองสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์จึงไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นเจตนายึดถือเพื่อตนยังไม่ครบ1ปีขึ้นวินิจฉัยเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นนั้นกรณีของโจทก์นี้จะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อเมื่อได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาจากจำเลยทั้งสองโดยการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแต่เมื่อโจทก์ฎีกาว่าไม่มีประเด็นนี้เสียแล้วโจทก์ก็ไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดังนั้นแม้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นก็ตามแต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทำให้โจทก์ชนะคดีแต่ประการใดฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้มีการส่งมอบการครอบครองก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิ
ขณะที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นยังอยู่ในระยะเวลาการห้ามโอนตามกฎหมายนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนต่อกฎหมายและในกำหนดเวลาห้ามโอนนี้ย่อมไม่อาจส่งมอบการครอบครองแก่กันได้การส่งมอบการครอบครองในระยะเวลาการห้ามโอนตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวก็ถือเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเช่นกันดังนี้แม้จะฟังว่าจำเลยส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ก็ไม่ได้ครอบครองในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินช่วงเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้ส่งมอบการครอบครองก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครอง
ขณะที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นยังอยู่ในระยะเวลาการห้ามโอนตามกฎหมายนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืนต่อกฎหมายและในกำหนดเวลาห้ามโอนนี้ย่อมไม่อาจส่งมอบการครอบครองแก่กันได้การส่งมอบการครอบครองในระยะเวลาการห้ามโอนตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวก็ถือเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเช่นกันดังนี้แม้จะฟังว่าจำเลยส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ก็ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด
of 4