พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6012/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดต่อผู้รับประโยชน์แม้ไม่ได้ระบุชื่อโดยตรง หากความเสียหายอยู่ในวงเงินคุ้มครอง
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก การประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นการประกันภัยค้ำจุน ดังนี้แม้โจทก์จะไม่ได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 3 และตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่ได้ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ก็ตาม แต่เมื่อการประกันภัยดังกล่าวเป็นการประกันภัยค้ำจุนและความเสียหายนั้นมีจำนวนไม่เกินวงเงินที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันกันย่อมต้องรับผิดในนามของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บริษัท ซ. ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ทั้งบริษัทดังกล่าวบุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตรควรจะได้นั้นจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยโดยตรง ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่ามีข้อตกลงพิเศษว่ากรมธรรม์นี้จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น กรณีทรัพย์สินที่บรรทุกนั้นมีกรมธรรม์ประกันภัยชนิดอื่นหรือประเภทอื่นรับผิดชอบอยู่แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นมาวินิจฉัย ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งนั้น แม้จำเลยที่ 3 จะได้บรรยายไว้ในคำให้การ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 3 ข้อโต้แย้งเรื่องนี้ย่อมตกไป เมื่อศาลดังกล่าวดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยที่ 3 ก็มิได้ยกเรื่องนี้ข้อโต้แย้งอีก แสดงว่ายอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลอีกต่อไป ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยได้
ส่วนที่จำเลยที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งนั้น แม้จำเลยที่ 3 จะได้บรรยายไว้ในคำให้การ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 3 ข้อโต้แย้งเรื่องนี้ย่อมตกไป เมื่อศาลดังกล่าวดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยที่ 3 ก็มิได้ยกเรื่องนี้ข้อโต้แย้งอีก แสดงว่ายอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลอีกต่อไป ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6011/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง, สินค้าสูญหาย, การประกันภัย, ข้อตกลงชัดแจ้ง, น้ำหนักและมูลค่าสินค้า
ผู้ส่งสินค้าได้ส่งมอบกล่องสินค้าให้พนักงานของจำเลยผู้ขนส่งพร้อมใบกำกับสินค้าและใบรับขนทางอากาศ ซึ่งจำเลยส่งมาให้ผู้ส่งสินค้ากรอกข้อความ โดยได้กรอกประเภทของสินค้าว่าสินค้าจำพวกเครื่องเพชร พลอย ทอง 18 เค แสดงว่าจำเลยผู้ขนส่งได้รับบอกสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่ตนแล้ว
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าสินค้าสูญหายไปเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย นั้น เป็นอุทธรณ์ที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่รับวินิจฉัย ทั้งข้อตกลงจำกัดความรับผิดของจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงใช้บังคับได้
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าสินค้าสูญหายไปเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย นั้น เป็นอุทธรณ์ที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่รับวินิจฉัย ทั้งข้อตกลงจำกัดความรับผิดของจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซ่อนเร้นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 184
การที่ ช. ขับรถจักรยานยนต์ไปและใช้อาวุธปืนยิง ส. ถึงแก่ความตายแล้วขับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวหลบหนีไปนั้น นอกจากอาวุธปืนซึ่งเป็นทรัพย์ที่ ช. ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงและถือเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีแล้วรถจักรยานยนต์ของกลางที่ ช. ใช้เป็นยานพาหนะขับไปยิง ส. และหลบหนีก็เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงเช่นกัน และเป็นพยานหลักฐานสำคัญอีกส่วนหนึ่งซึ่งสามารถใช้พิสูจน์การกระทำความผิดของ ช. ได้หากมีพยานบุคคลมาพบเห็นการกระทำความผิดดังกล่าว และจดจำลักษณะของรถจักรยานยนต์ของกลางที่ ช. ขับได้ ซึ่งต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจก็ได้ใช้เป็นพยานหลักฐานในการสืบสวนสอบสวนนำไปสู่การติดตามจับกุมตัว ช. มาลงโทษได้ ดังนั้น การที่จำเลยช่วยซ่อนเร้นรถจักรยานยนต์ของกลางไว้จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 184
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตามมาตรา 184 ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานฆ่าคน
จำเลยรับฝากรถจักรยานยนต์ไว้จาก ช. โดยทราบดีว่า ช. ใช้รถคันดังกล่าวเป็นพาหนะไปยิงผู้ตายและหลบหนี แล้วจำเลยซ่อนเร้นรถจักรยานยนต์ไว้ เพื่อจะช่วย ช. มิให้ต้องรับโทษตามที่ ช. ขอร้องให้ช่วยเหลือ จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 184
การที่ ช. ขับรถจักรยานยนต์ไปและใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์จึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง และเป็นพยานหลักฐานสำคัญซึ่งสามารถใช้พิสูจน์การกระทำความผิดได้ การที่จำเลยช่วยซ่อนเร้นรถจักรยานยนต์จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 184
การที่ ช. ขับรถจักรยานยนต์ไปและใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์จึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง และเป็นพยานหลักฐานสำคัญซึ่งสามารถใช้พิสูจน์การกระทำความผิดได้ การที่จำเลยช่วยซ่อนเร้นรถจักรยานยนต์จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 184
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5804/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้หวงห้าม: การจำแนกประเภทไม้และการพิพากษาคดีทำไม้ในเขตป่าสงวน
พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 มิได้กำหนดให้ไม้มะกอกทุกชนิดในป่าเป็นไม้หวงห้าม คงมีลำดับที่ 110 ที่กำหนดให้มะเกิ้ม มะเหลี่ยม มะกอกเหลี่ยม มะจิ้น มะกอกเลือด มะกอกเกลื้อน มะเลื่อมและมะกอกเลื่อม ซึ่งเป็นพรรณไม้สกุล Canarium เท่านั้น เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้มะกอกทั่วไปซึ่งมิใช่พรรณไม้ในสกุลดังกล่าว จึงมิใช่ไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกรับเงินเพื่อวิ่งเต้นคดีในศาลและการคืนเงิน ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
แม้การเรียกเงินค่าวิ่งเต้นคดีจะมิได้เกิดขึ้นในบริเวณศาลเพราะมีการติดต่อทางโทรศัพท์และรับเงินกันที่บ้านของผู้กล่าวหา แต่หลังจากนั้นได้มีการติดต่อทวงถามคืนเงินดังกล่าวในบริเวณศาลหลายครั้งและในที่สุดก็มีการมอบเงินคืนให้แก่กันที่บริเวณโรงรถของศาล ถือได้ว่าพฤติการณ์ดังกล่าวมีผลเกี่ยวเนื่องต่อกันมาจากเรื่องการวิ่งเต้นคดีของศาลอุทธรณ์ แม้ระยะเวลาการคืนเงินดังกล่าวให้แก่กันจะมีระยะเวลาห่างจากตอนที่รับเงินมาเป็นเวลาถึง 3 ปีเศษ แต่การดำเนินการวิ่งเต้นคดียังไม่สิ้นสุด จนกระทั่งต้องมีการคืนเงินกัน กระบวนการเรียกร้องคืนเงินค่าวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินในบริเวณศาล ถือเป็นประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
หลังจากที่ผู้กล่าวหาได้ตกลงว่าจ้างผู้ถูกกล่าวหาเป็นทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาบอกว่าจะติดต่อวิ่งเต้นคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ให้และได้ติดต่อแล้วจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้เบื้องบน 200,000 บาท ผู้กล่าวหาตกลงและนัดให้ไปรับมอบเงินที่บ้านของผู้กล่าวหา เมื่อผู้ถูกกล่าวหารับเงินดังกล่าวไปแล้ว ผลปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ผู้กล่าวหาจึงทวงเงินคืนหลายครั้งเคยมาติดตามทวงคืนในบริเวณศาล 3 ครั้ง แม้การเรียกเงินค่าวิ่งเต้นคดีจะมิได้เกิดขึ้นในบริเวณศาล แต่ได้มีการติดต่อทวงถามคืนเงินในบริเวณศาลและมีการมอบเงินคืนที่บริเวณโรงรถของศาลกระบวนการเรียกร้องคืนเงินค่าวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินถือเป็นส่วนหนึ่งของการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลแล้ว การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงเป็นการละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5734/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องในคดีเช็ค – การพิสูจน์หนี้และเหตุผลในการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า ความผิดตามฟ้องเกิดที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต และแขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เกี่ยวพันกันจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่า พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดุสิตมีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 แล้ว จำเลยจะฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นอีกมิได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลดุสิตได้ทำการสอบสวนแล้ว ก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนแล้วว่า จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้เงินยืม อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ที่ว่า ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าหนี้เงินยืมดังกล่าวได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนแล้วว่า จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้เงินยืม อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ที่ว่า ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าหนี้เงินยืมดังกล่าวได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5404/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน ตัดโค่นไม้-ครอบครองของป่าหวงห้าม ศาลฎีกาแก้ไขโทษ
ความผิดฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและฐานร่วมกันเก็บหาของป่าหวงห้ามเป็นการกระทำที่สามารถแยกเจตนาของจำเลยทั้งหกออกจากความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เพราะเมื่อจำเลยทั้งหกร่วมกันตัด โค่น ทำลายต้นไม้และเก็บหาของป่าหวงห้ามแล้วย่อมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองทันทีโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยทั้งหกจะได้ครอบครองของป่าหวงห้ามหรือไม่ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ส่วนที่จำเลยทั้งหกฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ฐานร่วมกันเก็บหาของป่าหวงห้าม ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกคนละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ จำคุกคนละ 3 ปี และฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด จำคุกคนละ 1 ปี รวมจำคุกคนละ 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยทั้งหก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นคดีที่จำเลยทั้งหกฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำเลยทั้งหกหนักเกินไป ก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
ส่วนที่จำเลยทั้งหกฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ฐานร่วมกันเก็บหาของป่าหวงห้าม ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกคนละ 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษฐานร่วมกันตัด โค่นหรือทำลายต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ จำคุกคนละ 3 ปี และฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งของป่าหวงห้ามเกินปริมาณที่กำหนด จำคุกคนละ 1 ปี รวมจำคุกคนละ 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยทั้งหก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นคดีที่จำเลยทั้งหกฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำเลยทั้งหกหนักเกินไป ก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งหกให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5136/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งทางอากาศ: การไม่แจ้งราคาสินค้าถือเป็นการยอมรับเงื่อนไขจำกัดความรับผิด
การรับขนของทางอากาศเป็นการขนส่งประเภทหนึ่ง จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 625 มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา 625 บัญญัติว่า "ใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นก็ดี ซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้น ถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใด ท่านว่าความนั้นเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น" ดังนั้น ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งจะต้องรับผิดเพียงใด จึงต้องวินิจฉัยตามบทกฎหมายดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของบริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ทำการขนส่งสินค้าตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 ดังนั้น บริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพัน ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน ส่วนผู้รับตราส่งแม้ไม่ได้แสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 แต่เมื่อสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นตกไปได้แก่ผู้รับตราส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 627 ดังนั้น ข้อตกลงการจำกัดความรับผิดดังกล่าวนอกจากใช้ยัน บริษัท ฮ. ผู้ส่งได้แล้วยังใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งได้ด้วย
จำเลยทั้งสองต่างเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศและต่างยอมผูกพันตนตามข้อกำหนดของสมาคมดังกล่าวเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิด กล่าวคือ ในเรื่องความรับผิดต่อความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าหรือทรัพย์สินที่ขนส่งจะมีข้อกำหนดให้บรรดาสมาชิกปฏิบัติไปในทางเดียวกัน คือ หากไม่แจ้งราคาสินค้าและไม่ชำระค่าระวางตามราคาสินค้าที่แจ้งแล้วเกิดความสูญหายหรือเสียหายต่อสินค้าดังกล่าวซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบ ความรับผิดชอบจะถูกจำกัดไว้เพียงไม่เกิน 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม โดยคำนวณจากน้ำหนักสุทธิของสินค้าที่สูญหาย การขนส่งที่จำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.4 นั้น จึงอยู่ภายใต้การจำกัดความรับผิดดังกล่าว เมื่อผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งราคาสินค้าเพื่อการขนส่ง ทำให้ผู้ส่งสินค้าไม่ต้องเสียค่าระวางพาหนะเพิ่มเท่ากับเป็นการเลือกที่จะยอมรับการจำกัดความรับผิดที่ระบุอยู่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศนั้นเอง จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง เป็นเงิน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม การจัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองยอมรับกันรับฟังเป็นยุติได้ว่าเลนส์แว่นตาพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างที่เลนส์แว่นตาพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเลนส์แว่นตาพิพาทไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเพื่อการสูญหายของเลนส์แว่นตาพิพาทเท่านั้น โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบเลนส์แว่นตาพิพาทคืนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของบริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ทำการขนส่งสินค้าตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 ดังนั้น บริษัท ฮ. ผู้ส่งสินค้าซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพัน ต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน ส่วนผู้รับตราส่งแม้ไม่ได้แสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดตามใบรับขนทางอากาศ เอกสารหมาย จ.4 แต่เมื่อสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นตกไปได้แก่ผู้รับตราส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 627 ดังนั้น ข้อตกลงการจำกัดความรับผิดดังกล่าวนอกจากใช้ยัน บริษัท ฮ. ผู้ส่งได้แล้วยังใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งได้ด้วย
จำเลยทั้งสองต่างเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศและต่างยอมผูกพันตนตามข้อกำหนดของสมาคมดังกล่าวเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิด กล่าวคือ ในเรื่องความรับผิดต่อความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าหรือทรัพย์สินที่ขนส่งจะมีข้อกำหนดให้บรรดาสมาชิกปฏิบัติไปในทางเดียวกัน คือ หากไม่แจ้งราคาสินค้าและไม่ชำระค่าระวางตามราคาสินค้าที่แจ้งแล้วเกิดความสูญหายหรือเสียหายต่อสินค้าดังกล่าวซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบ ความรับผิดชอบจะถูกจำกัดไว้เพียงไม่เกิน 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม โดยคำนวณจากน้ำหนักสุทธิของสินค้าที่สูญหาย การขนส่งที่จำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ตามเอกสารหมาย จ.4 นั้น จึงอยู่ภายใต้การจำกัดความรับผิดดังกล่าว เมื่อผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งราคาสินค้าเพื่อการขนส่ง ทำให้ผู้ส่งสินค้าไม่ต้องเสียค่าระวางพาหนะเพิ่มเท่ากับเป็นการเลือกที่จะยอมรับการจำกัดความรับผิดที่ระบุอยู่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศนั้นเอง จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง เป็นเงิน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม การจัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองยอมรับกันรับฟังเป็นยุติได้ว่าเลนส์แว่นตาพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างที่เลนส์แว่นตาพิพาทอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำเลนส์แว่นตาพิพาทไป จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเพื่อการสูญหายของเลนส์แว่นตาพิพาทเท่านั้น โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบเลนส์แว่นตาพิพาทคืนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)