คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ฐานันท์ วรรณโกวิท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4294/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การควบคุมตัวผู้ต้องหาและการหมดระยะฝากขังไม่ทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้อง หากฟ้องภายในอายุความ
การควบคุมตัวจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนจะต้องขออำนาจศาลฝากขังจำเลยที่ 1 หากพนักงานสอบสวนมิได้ขอฝากขังต่อศาลภายในกำหนด เมื่อพ้นอำนาจการควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไป หาใช่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค ต้องระบุหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า "ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ฯลฯ เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิด ฯลฯ" ตามบทบัญญัติดังกล่าวการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้น จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วย อันเป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดการที่โจทก์บรรยายฟ้องมีสาระสำคัญว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสองฉบับซึ่งจำเลยทั้งสองออกเพื่อชำระหนี้ค่าอะไหล่และอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นให้แก่โจทก์ เมื่อเช็คทั้งสองฉบับถึงกำหนดโจทก์ได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า "โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย" เป็นที่เห็นได้ว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับเพื่อชำระหนี้ค่าอะไหล่และอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกด้วยแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองว่าสมควรลงโทษจำเลยทั้งสองสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกหรือไม่ เพื่อให้การวินิจฉัยกำหนดโทษของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาล เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงเรื่องยาเสพติดและทรัพย์สิน: ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
ส. และสามีมิได้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และทางราชการมิได้ยึดทรัพย์สินของ ส. การที่ ส. มอบเงิน 305,000 บาท แก่จำเลยสืบเนื่องมาจากการหลอกลวงของจำเลยด้วยข้อความอันเป็นเท็จ มิใช่ ส. หรือสามีกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว ส. มอบเงินแก่จำเลยเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพื่อให้ ส. หรือสามีพ้นจากความผิด จึงถือไม่ได้ว่า ส. ได้ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ ส. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานฉ้อโกงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4054/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คเลิกกันเมื่อหนี้สิ้นสุดก่อนมีคำพิพากษา และการชำระหนี้ในคดีแพ่งทำให้คดีอาญาขาดอายุความ
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 บัญญัติว่า "ถ้าผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4 ได้ใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงเช็ค หรือแก่ธนาคารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือบอกกล่าวจากผู้ทรงเช็คว่า ธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น หรือหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นสุดผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ถือว่าคดีเลิกกันตาม ป.วิ.อ." แม้จำเลยทั้งสองจะได้ใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ร่วมไปครบถ้วนแล้วในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่ก็มิใช่การใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงเช็คภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือบอกกล่าวผู้ทรงเช็คว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น อันเป็นเหตุให้ถือว่าคดีเลิกกันตาม ป.วิ.อ. เหตุที่จะถือว่าคดีเลิกกันคงมีเพียงว่าหนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือไม่ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงว่า ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์จำเลยทั้งสองได้นำเงินตามเช็คพิพาทวางไว้ต่อศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทั้งสองชำระแต่ต้นเงินตามเช็คพิพาทเท่านั้น จำเลยทั้งสองยังไม่แสดงหลักฐานว่าได้ชำระดอกเบี้ยตามเช็คพิพาทด้วย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับ ระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมได้นำเช็คพิพาททั้งสามฉบับคดีนี้กับเช็คคดีอื่น ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลแพ่งธนบุรี คดีดังกล่าวโจทก์ได้บังคับคดีและได้รับเงินตามคำพิพากษาไปครบถ้วนแล้ว หนี้ตามเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลฎีกาได้นัดพร้อมสอบโจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสองแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์ร่วมได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งธนบุรีให้ชำระหนี้ตามเช็ค 5 ฉบับ ซึ่งรวมเช็คพิพาทคดีนี้ 3 ฉบับ โดยมูลหนี้เกิดจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าพื้นที่บริเวณที่เป็นผนังด้านนอกอาคาร บ. ของโจทก์ร่วมศาลแพ่งธนบุรีพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้ง 5 ฉบับ พร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียม ต่อมามีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ได้วางเงินชำระหนี้ตามหมายบังคับคดีจนครบถ้วนแล้ว โจทก์ร่วมก็มิได้คัดค้านว่ายังมีหนี้ดังกล่าวเหลืออยู่ ดังนั้น จึงถือได้ว่าหนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทคดีนี้เพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงถือว่าคดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องตามเช็คย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันทำร้ายร่างกายและพยายามฆ่า: การรับผิดชอบเฉพาะการกระทำของตน
ผู้เสียหายและ ว. ไปเที่ยวงานวัด แต่การจราจรติดขัด ว. จอดรถจักรยานยนต์รออยู่บนถนน ขณะเดียวกัน ณ. วิ่งมาต่อยหน้าผู้เสียหาย 1 ครั้ง ผู้เสียหายวิ่งหนีจำเลย น. และ ย. วิ่งไล่ตาม ณ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 1 นัด ผู้เสียหายวิ่งไปได้ 30 เมตรก็หมดแรงล้มลง จำเลย ณ. น. และ ย. เข้าไปรุมทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย โดยจำเลยใช้อาวุธมีดดาบฟันผู้เสียหาย ผู้เสียหายยกมือทั้งสองข้างกันไว้ จึงถูกคมมีด พวกจำเลยรุมเตะผู้เสียหาย แต่มีคนช่วยผู้เสียหายหลบหนีไปได้ ดังนั้น การที่ผู้เสียหายไปเที่ยวงานวัดแล้วพบ ณ. กับจำเลยและพวกนั้นน่าจะเป็นเหตุบังเอิญ และที่ ณ. เข้าไปชกทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทันทีและต่อมาก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายนั้นเป็นการกระทำและตัดสินใจของ ณ. โดยลำพัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สมคบกระทำการดังกล่าวกับ ณ. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในผลการกระทำดังกล่าวร่วมกับ ณ. แต่จำเลยต้องรับผิดเฉพาะผลการกระทำของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ที่ไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดงานและเจ้าของลิขสิทธิ์ ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องมีสาระสำคัญเพียงว่าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2547 เวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสามร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานแพร่เสียงแพร่ภาพของผู้เสียหายทั้งห้า ด้วยการส่งหรือรับภาพด้วยคลื่นความถี่ ด้วยวิธีการแพร่กระจายไปในตัวนำไฟฟ้า ในงานอันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายทั้งห้าเหตุเกิดที่ ต.หายยา อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงมีความชัดแจ้งเพียงเฉพาะข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ แต่เมื่อมิได้บรรยายให้ชัดเจนว่า งานแพร่เสียงแพร่ภาพอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายแต่ละรายที่ถูกละเมิดในช่วงเวลาและสถานที่ดังกล่าวคือรายการใดบ้าง และรายการใดเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายรายใด มีรายละเอียดของลักษณะงานพอสังเขปเช่นใด จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจทำให้จำเลยทั้งสามเข้าใจและต่อสู้ถึงการมีลิขสิทธิ์ในรายการแต่ละรายการและความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายแต่ละราย รวมทั้งลักษณะการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ต่องานแพร่เสียงแพร่ภาพส่วนที่มีลิขสิทธิ์ได้ ถือไม่ได้ว่าฟ้องของโจทก์บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำผิด และข้อเท็จจริงอีกทั้งรายละเอียดที่เกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพาอาวุธปืน: การลงโทษกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และการพิจารณาโทษ
ความผิดฐานพาอาวุธปืนทั้งสองกระบอกในคราวเดียวกันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง เพียงบทเดียว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานพาอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ และฐานพาอาวุธปืนมีทะเบียน เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพาอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากเด็กเพื่อกระทำชำเรา และการแยกความผิดฐานกระทำชำเราออกจากฐานพรากเด็กเพื่ออนาจาร
การกระทำอนาจาร คือ การกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศ เพียงแต่กอดจูบลูบคลำ แตะต้องเนื้อตัวร่างกายในทางไม่สมควรก็เป็นการอนาจารแล้ว ส่วนการกระทำชำเรานั้นเป็นการกระทำถึงขั้นใช้อวัยวะเพศของชายใส่ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของหญิง การกระทำชำเราจึงรวมถึงการกระทำอนาจารอยู่ในตัว เมื่อจำเลยพรากเด็กหญิง อ. ไปเพื่อกระทำชำเราเด็กหญิง อ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม และเป็นความผิดคนละกรรมกับความผิดฐานกระทำชำเรา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรมฯ แทนคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาด: การฟ้องกรมฯ เพื่อเพิกถอนคำวินิจฉัยถือว่าเป็นการฟ้องกรรมการและเลขานุการ
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ฯ ได้กำหนดให้กรมจำเลยมีอำนาจหน้าที่ดำเนินมาตรการป้องกันและตอบโต้ทางการค้าเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้า โดยให้มีสำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้าเป็นส่วนราชการในกรมจำเลย ดังนี้ จะเห็นได้ว่า การดำเนินการทั้งปวงเกี่ยวกับการปกป้องและตอบโต้การทุ่มตลาดและอุดหนุนตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของส่วนราชการในกรมจำเลย ทั้งตาม พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศฯ ได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของกรมจำเลยในส่วนที่ 2 การเริ่มต้นกระบวนพิจารณา และส่วนที่ 3 การไต่สวนการทุ่มตลาดและความเสียหายไว้ว่า ให้ผู้ยื่นคำขอให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดยื่นคำขอต่อกรมจำเลยและกำหนดให้กรมจำเลยเป็นผู้พิจารณาคำขอในเบื้องต้นว่ามีรายละเอียดหรือหลักฐานครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ จากนั้นให้กรมจำเลยเสนอคำขอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาและเมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยว่าคำขอมีมูลเกี่ยวกับการทุ่มตลาดและความเสียหายแล้ว ตามกฎหมายยังกำหนดให้กรมจำเลยเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการไต่สวนในประเด็นการทุ่มตลาดและความเสียหาย เสร็จแล้วให้กรมจำเลยสรุปผลการไต่สวนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป และแม้คณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งมี รมต. ว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการจะมีอำนาจหน้าที่เป็นอิสระ ไม่ได้อยู่ในการกำกับดูแลของกรมจำเลย แต่คณะกรรมการดังกล่าวก็มีอธิบดีกรมจำเลยเป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งยังมีข้าราชการจากกรมจำเลยเป็นผู้ช่วยเลขานุการ เมื่อพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของกรมจำเลยดังกล่าวข้างต้นแล้ว อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศซึ่งเป็นผู้แทนกรมจำเลยจึงเป็นกรรมการที่มีบทบาทสำคัญในเนื้อหางานของคณะกรรมการดังกล่าว ประกอบกับการฟ้องกรมจำเลยก็เท่ากับเป็นการฟ้องอธิบดีกรมจำเลยซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน จึงถือว่าเป็นการฟ้องคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนแล้วไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคนและการที่โจทก์ฟ้องเฉพาะกรมจำเลยดังกล่าว กรมจำเลยก็สามารถให้การต่อสู้คดีชี้แจงเหตุผลโต้แย้งคำฟ้องของโจทก์ได้แล้ว ไม่ทำให้คณะกรรมการดังกล่าวเสียเปรียบแต่อย่างใด ทั้งยังมีผลให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยชั้นที่สุดของคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุนที่เรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในการนำเข้าสินค้าบล็อกแก้วชนิดใส ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 7016.900.001 ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้ โดยไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคน การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงต้องเป็นไปตามกำหนดเวลา หากไม่ทันต้องผัดฟ้อง หรือขออนุญาตจากอัยการสูงสุด
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 7 วรรคแรก ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาที่ถูกจับพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้า และทำให้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น การที่จำเลยเข้ามอบตัวและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง ถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการต้องขอผัดฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
of 20