พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น การที่จำเลยเข้ามอบตัวและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ จำเลยให้การปฏิเสธและได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวย่อมถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยโดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตามมาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานรับของโจรต้องอาศัยการสืบพยานให้ชัดเจน การรับสารภาพในคดีอื่นไม่อาจนำมาใช้ลงโทษในคดีนี้ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว เพราะความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดคนละฐานกันจะลงโทษจำเลยที่ 1 ทั้งสองฐานความผิดดังกล่าวย่อมไม่ได้ คำให้การของจำเลยที่ 1 ที่รับสารภาพตามฟ้องโจทก์นั้น ไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งของจำเลยที่ 1 แม้ในวันเดียวกับที่ฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเดียวกันอีก 2 ฐาน ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ 847/2545 และ 848/2545 ของศาลชั้นต้น และขอให้นับโทษจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ต่อจากโทษในทั้งสองคดีดังกล่าว ซึ่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยที่ 1 พร้อมกันทั้งสามคดี และจำเลยที่ 1 ได้ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรทั้งสามคดี ศาลชั้นต้นจึงบันทึกไว้เป็นหลักฐานในคำฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 848/2545 และพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดดังกล่าว โดยนับโทษจำเลยที่ 1 ติดต่อกันทั้งสามคดีก็ตาม แต่ตามบันทึกคำให้การของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ทั้งกรณีตามข้อที่อ้างของโจทก์ดังกล่าวไม่อาจนำมารับฟังเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรในคดีนี้ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดฐานรับของโจรของจำเลยที่ 1 จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจรไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจร จำเลยให้การรับสารภาพไม่ชัดเจน โจทก์ต้องสืบพยานให้ได้ความชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว เพราะความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจทก์เป็นความผิดคนละฐานกันจะลงโทษจำเลยทั้งสองฐานความผิดดังกล่าวย่อมไม่ได้ คำให้การของจำเลยที่ว่าขอสารภาพผิดตามฟ้องโจทก์นั้น ไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งของจำเลย
โจทก์จะอ้างว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคำให้การจำเลยแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร แต่เหตุที่ไม่ปรากฏข้อความดังกล่าวในบันทึกคำให้การของจำเลยและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นเพราะความผิดพลาดในการพิมพ์บันทึกข้อมูลไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกคำให้การของจำเลยและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่บันทึกไว้ไม่ชัดแจ้งหรือพิมพ์ตกหล่นผิดพลาดประการใด โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป และโจทก์จะอ้างว่าฟ้องจำเลยในความผิดอย่างเดียวกันอีก 2 คดี ของศาลชั้นต้น และขอให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อกับโทษทั้งสองคดีดังกล่าว ซึ่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกันทั้งสามคดี และจำเลยได้ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรทั้งสามคดี ศาลชั้นต้นจึงบันทึกไว้เป็นหลักฐานในคำฟ้องคดีนี้ และพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าว โดยนับโทษจำเลยต่อกันทั้งสามคดี และจำเลยคงอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบา ซึ่งเท่ากับยอมรับว่าตนกระทำความผิดฐานรับของโจรจริงไม่ได้ เพราะตามบันทึกคำให้การของจำเลยในคดีนี้ไม่ได้ระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรทั้งกรณีตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวไม่อาจนำมารับฟังเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรในคดีนี้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งของจำเลยดังกล่าวข้างต้น จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ และคดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การจำเลยใหม่
โจทก์จะอ้างว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคำให้การจำเลยแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร แต่เหตุที่ไม่ปรากฏข้อความดังกล่าวในบันทึกคำให้การของจำเลยและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นเพราะความผิดพลาดในการพิมพ์บันทึกข้อมูลไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกคำให้การของจำเลยและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่บันทึกไว้ไม่ชัดแจ้งหรือพิมพ์ตกหล่นผิดพลาดประการใด โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป และโจทก์จะอ้างว่าฟ้องจำเลยในความผิดอย่างเดียวกันอีก 2 คดี ของศาลชั้นต้น และขอให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อกับโทษทั้งสองคดีดังกล่าว ซึ่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกันทั้งสามคดี และจำเลยได้ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรทั้งสามคดี ศาลชั้นต้นจึงบันทึกไว้เป็นหลักฐานในคำฟ้องคดีนี้ และพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าว โดยนับโทษจำเลยต่อกันทั้งสามคดี และจำเลยคงอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบา ซึ่งเท่ากับยอมรับว่าตนกระทำความผิดฐานรับของโจรจริงไม่ได้ เพราะตามบันทึกคำให้การของจำเลยในคดีนี้ไม่ได้ระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรทั้งกรณีตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวไม่อาจนำมารับฟังเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรในคดีนี้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งของจำเลยดังกล่าวข้างต้น จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ และคดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงโทษจำคุกของผู้พิพากษาคนเดียว, อายุความคดีจราจร, และการแก้ไขปรับบทกฎหมาย
โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) นั้น หมายถึง โทษจำคุกสุทธิที่จะลงแก่จำเลย โดยไม่ต้องคำนึงว่าก่อนลดโทษจะกำหนดโทษจำคุกไว้สูงกว่า 6 เดือน หรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 8 เดือน เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 5 เดือน 10 วัน เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 6 เดือน จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง: การบอกกล่าวบังคับจำนองไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ การให้สัตยาบันถือว่าชอบแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติว่า "เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อน..." มิได้บัญญัติว่า การบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นการที่โจทก์มอบอำนาจให้ ว. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา 798 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้การตั้งตัวแทนต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อ ว. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องคดี แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ ว. เป็นการบอกกล่าวของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ถือว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต่อเนื่อง – กรรมเดียว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพันตำรวจตรี ม. ในฐานะพนักงานสอบสวน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2543 และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อร้อยตำรวจเอก ส. ในฐานะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 24ตุลาคม 2543 กรณี จ. ร้องขอความเป็นธรรมต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติว่า จ. เป็นผู้ขับรถบรรทุกสิบล้อเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ เป็นเหตุให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์ถึงแก่ความตายนั้น เป็นการกระทำต่อเนื่องกัน แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นการกระทำคนละวันและต่อเจ้าพนักงานตำรวจคนละคนกันก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยมีเจตนาเดียวกันคือเจตนาเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงตามที่เคยแจ้งข้อความไว้ต่อพนักงานสอบสวน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวแจ้งความเท็จต่อเนื่อง: เจตนาเดียวกันยืนยันข้อเท็จจริงเดิม
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวน และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นการกระทำคนละวันและต่อเจ้าพนักงานตำรวจคนละคนกันแต่จำเลยมีเจตนาเดียวกันเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงตามที่เคยแจ้งข้อความไว้ต่อพนักงานสอบสวน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นกรรมเดียว
โจทก์แยกบรรยายฟ้องเป็นลำดับไปว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1 แปลง อันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับภรรยาให้แก่ ส. และ ศ. ตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของภรรยาจำเลยและได้ยื่นฟ้องภรรยาจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ต่อศาลไว้แล้วบังคับชำระหนี้เอาจากสินสมรสดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน แต่กลับปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่ ส. ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว หาได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ศ. ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาด้วยไม่ ทั้งการที่จำเลยจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นเพื่อโกงเจ้าหนี้ของภรรยาจำเลยนั้น จำเลยย่อมสามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้เพียงครั้งเดียว ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ได้หลายครั้ง ดังนั้นจึงเชื่อว่าที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยจดทะเบียนโอนกรรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ ศ. ด้วยนั้นเป็นการบรรยายฟ้องไม่ถูกต้องและข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้แก่ ส. เท่านั้น ซึ่งการที่จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสินสมรสเพียงแปลงเดียวให้แก่ ส. โดยมีเจตนาเพื่อมิให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งแม้จะเป็นเจ้าหนี้ของภรรยาจำเลยต่างรายกันบังคับชำระหนี้เอาจากสินสมรสดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน การกระทำของจำเลยก็คงเป็นความผิดกรรมเดียว หาใช่เป็นความผิดต่างกรรมกันไม่
การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย มุ่งแต่จะรักษาประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบและไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนเสียหายของผู้เป็นเจ้าหนี้ ซึ่งหากปล่อยให้ผู้กระทำความผิดกระทำการตามอำเภอใจเช่นนี้ ย่อมทำให้บรรดาเจ้าหนี้เสื่อมศรัทธาต่อการใช้สิทธิทางศาลในการที่จะฟ้องบังคับชำระหนี้เอาแก่ลูกหนี้ของตน รวมทั้งขัดขวางการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมส่วนรวม แม้จำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้างแล้ว แต่ก็เป็นจำนวนเล็กน้อยยังคงค้างชำระหนี้อยู่เป็นจำนวนมาก พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย มุ่งแต่จะรักษาประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบและไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนเสียหายของผู้เป็นเจ้าหนี้ ซึ่งหากปล่อยให้ผู้กระทำความผิดกระทำการตามอำเภอใจเช่นนี้ ย่อมทำให้บรรดาเจ้าหนี้เสื่อมศรัทธาต่อการใช้สิทธิทางศาลในการที่จะฟ้องบังคับชำระหนี้เอาแก่ลูกหนี้ของตน รวมทั้งขัดขวางการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมส่วนรวม แม้จำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ไปบ้างแล้ว แต่ก็เป็นจำนวนเล็กน้อยยังคงค้างชำระหนี้อยู่เป็นจำนวนมาก พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีเลื่อยโซ่ยนต์โดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วง 90 วันแรกของ พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษทางอาญาและไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายศุลกากร
พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมี ผลิต หรือนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์" ส่วนมาตรา 14 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดมีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ถ้ามาขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับผู้นั้นไม่มีความผิดตามมาตรา 4 และให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ออกใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตนั้น เว้นแต่จะขาดคุณสมบัติที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ. นี้" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ให้ผู้ซึ่งปฏิบัติตามวรรคหนึ่งไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า" โดย พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2545 มีเจตนารมณ์ให้ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย นำมาขอรับใบอนุญาต เพื่อควบคุมการมีไว้ในครอบครองและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการเพิ่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า และในขณะเดียวกันไม่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพที่ต้องใช้เลื่อยโซ่ยนต์โดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 จำเลยที่ 1 มีเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ยังอยู่ในระยะเวลา 90 วัน นับแต่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ได้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง และไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ตามมาตรา 14 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท – วิทยุคมนาคม – การลงโทษฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
การที่จำเลยมีวิทยุคมนาคมไว้ก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้ และการที่จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่มีอยู่นั้นมาตั้งเป็นสถานีวิทยุคมนาคมขึ้นก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้เช่นกัน แล้วจำเลยก็ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมตามรายการเดียวกัน การกระทำของจำเลยในสองฐานความผิดที่กล่าว จึงเป็นเรื่องที่จำเลยมีเจตนาเดียว เพื่อที่จะสามารถติดต่อด้วยเครื่องวิทยุคมนาคม จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ละบทมีโทษเท่ากัน จึงต้องลงโทษจำเลยฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคม โดยไม่ได้รับอนุญาต กับความผิดฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคม โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดคนละกรรมกัน จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225