พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16075/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.เลือกตั้ง: การแจ้งเท็จต่อ กกต. และการปรับบทความผิด
จำเลยร้องคัดค้านการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครพนม กล่าวหาโจทก์ทั้งสองกระทำความผิดต่อกฎหมายเลือกตั้งโดยให้ตัวแทนจ่ายเงินให้แก่ ว. และ บ. เป็นการตอบแทนที่ไปฟังโจทก์ทั้งสองปราศรัยหาเสียงเพื่อลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่โจทก์ทั้งสอง เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของโจทก์ทั้งสอง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ซึ่งเป็นการกระทำคราวเดียวกัน แม้ผลจะเกิดกับโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ซึ่งได้รับการเลือกตั้งคนละตำแหน่งกันก็เป็นความผิดกระทงเดียว
ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสาม แบ่งเป็นสี่วรรค วรรคหนึ่ง เป็นความผิดที่กระทำการอันเป็นเท็จ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ วรรคสอง ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกลั่นแกล้งให้ผู้สมัครนั้นถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ส่วนวรรคสาม ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการแจ้งหรือให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวกำหนดโทษและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่ผู้กระทำความผิดหนักเบาแตกต่างกัน สำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นตามมาตรา 4 ให้คำนิยามหมายความว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 หมวดที่ 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 6 คณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมีองค์ประกอบตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 229 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หมายถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งที่อยู่ในส่วนกลาง หรือกรุงเทพมหานคร ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมิได้อยู่ในความหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำของจำเลยต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสอง
ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสาม แบ่งเป็นสี่วรรค วรรคหนึ่ง เป็นความผิดที่กระทำการอันเป็นเท็จ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ วรรคสอง ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกลั่นแกล้งให้ผู้สมัครนั้นถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ส่วนวรรคสาม ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการแจ้งหรือให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวกำหนดโทษและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่ผู้กระทำความผิดหนักเบาแตกต่างกัน สำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นตามมาตรา 4 ให้คำนิยามหมายความว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 หมวดที่ 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 6 คณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมีองค์ประกอบตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 229 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หมายถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งที่อยู่ในส่วนกลาง หรือกรุงเทพมหานคร ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมิได้อยู่ในความหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำของจำเลยต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15496/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่: การเดินทางไปเบิกความถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่
จ่าสิบตำรวจ ว. เป็นข้าราชการตำรวจ ในสังกัดของจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ การที่จ่าสิบตำรวจ ว. เดินทางไปเบิกความเป็นพยานต่อศาลในการไต่สวนการตายตามหมายเรียกพยานบุคคลของศาล ย่อมเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่และเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เนื่องจากเห็นสมควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น เมื่ออุบัติเหตุจราจรที่เกิดขึ้นในระหว่างที่จ่าสิบตำรวจ ว. เดินทางไปเป็นพยานศาลเป็นการกระทำโดยประมาทธรรมดา จ่าสิบตำรวจ ว. จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัว โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9152/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อขายที่ดินขัดแย้งกฎหมายปฏิรูปที่ดินและมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย ถือเป็นโมฆะ
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาในคดีก่อน จำเลยซึ่งเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในคดีดังกล่าวทำบันทึกข้อตกลงกับจำเลยตามเอกสารหมาย จ.5 มีสาระสำคัญในข้อ 1 ว่า จำเลยจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือถอนฟ้องในคดีหมายเลขแดงที่ 573/2544 ของศาลชั้นต้น ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาในวันที่... จะทำกันที่ศาลฎีกา โดยโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ข้อ 2 ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือถอนฟ้อง โดยตกลงชำระเงินเป็นค่าซื้อขายที่ดินพิพาทจำนวน 40,000,000 บาท โดยชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่... ให้แก่ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินค่าที่ดิน และจำเลยสามารถตรวจสอบสถานะทางการเงินของผู้ซื้อก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ ข้อ 5 จำเลยและทายาทของ ห. ทุกคนจะต้องยินยอมให้ความร่วมมือในการที่ ก. จดทะเบียนรับ ส. เป็นบุตรบุญธรรม เพื่อเป็นวิธีการในการรับโอนที่ดินที่เป็นเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4 - 01 และทายาทของ ห. ทุกคนต้องสละสิทธิในที่ดินทุกแปลงที่ได้ทำการซื้อขายกันตามสัญญาโอนสิทธิฉบับลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 ที่ได้ออกหลักฐาน ส.ป.ก. 4 - 01 ในปัจจุบัน ข้อ 6 ในวันที่โจทก์ไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้ซื้อที่สำนักงานที่ดินนั้น จำเลยจะต้องได้รับเงินครบถ้วน 40,000,000 บาท หากโจทก์หรือผู้ซื้อผิดสัญญาให้ถือว่าสัญญาเป็นอันเลิกกัน และโจทก์ยินยอมรับผิดชดใช้เงินค่าที่ดินพร้อมค่าเสียหายแก่จำเลย ในทางกลับกันหากจำเลยผิดนัดไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินค่าปรับ 40,000,000 บาท นั้น บันทึกดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ คู่กรณีต้องดำเนินการทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือถอนฟ้องและชำระเงินกันก่อนศาลฎีกามีคำพิพากษา เพราะเมื่อศาลฎีกาพิพากษาแล้วคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ข้อตกลงนอกศาลที่ทั้งสองฝ่ายทำไว้ไม่อาจมีผลเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนคำพิพากษาได้ ส่วนตามบันทึกข้อตกลงตามเอกสาร จ.5 ข้อ 5 ที่ระบุว่าจำเลยและทายาทอื่นของ ห. ทุกคนต้องยินยอมและให้ความร่วมมือในการที่ ก. ภริยา ห. จดทะเบียนรับ ส. พี่ชายโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมเพื่อเป็นวิธีการในการรับโอนที่ดินที่มีหลักฐานเป็น ส.ป.ก. 4 - 01 ดังกล่าว เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เนื่องจาก พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 บัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ข้อตกลงดังกล่าวจึงทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามโดยชัดแจ้งของกฎหมาย หาใช่เป็นข้อตกลงที่เป็นการแก้ไขข้อขัดข้องที่กฎหมายเปิดช่องให้กระทำได้ตามที่โจทก์ฎีกา จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การที่โจทก์เบิกความว่าเงิน 40,000,000 บาท ที่จะจ่ายให้แก่จำเลยตามบันทึกข้อตกลงนั้น เป็นเงินรวมทั้งหมดไม่ได้แบ่งแยกเป็นหลายแปลง จึงฟังได้ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้จำเลยโอนที่ดินทั้งหมดทุกแปลงแก่โจทก์โดยโจทก์ตกลงจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินรวม 40,000,000 บาท จึงไม่สามารถแยกส่วนที่ไม่เป็นโมฆะออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8917/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสก่อนและหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 และสิทธิในมรดกของคู่สมรส
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ส. และ จ. หรือไม่ และหากเป็นสินสมรสแล้วโจทก์ทั้งสองและจำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงใด ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นสินสมรสและบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ส่วนแบ่งในสินสมรสว่าต้องแบ่งตามกฎหมายฉบับใดและควรจะเป็นเท่าใดตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้ได้
ส. และ จ. อยู่กินเป็นสามีภริยาก่อนปี 2478 จึงเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่จดทะเบียนสมรสเพราะอยู่กินกันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 การแบ่งสินสมรสของ ส. และ จ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 แม้ ส. จะได้ที่ดินพิพาทมาหลังจากใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 แล้ว คือ ส. ได้ 2 ใน 3 ส่วน จ. ได้ 1 ใน 3 ส่วน โดยทรัพย์ส่วนของ จ. เป็นมรดกตกได้แก่ทายาทของ จ. ซึ่งรวมโจทก์ทั้งสองด้วย
ส. และ จ. อยู่กินเป็นสามีภริยาก่อนปี 2478 จึงเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่จดทะเบียนสมรสเพราะอยู่กินกันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 การแบ่งสินสมรสของ ส. และ จ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 แม้ ส. จะได้ที่ดินพิพาทมาหลังจากใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 แล้ว คือ ส. ได้ 2 ใน 3 ส่วน จ. ได้ 1 ใน 3 ส่วน โดยทรัพย์ส่วนของ จ. เป็นมรดกตกได้แก่ทายาทของ จ. ซึ่งรวมโจทก์ทั้งสองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7933-7934/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ศาลต้องวินิจฉัยประเด็นความแท้จริงของพินัยกรรมก่อนพิจารณาผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องที่ 1 ขอจัดการมรดกตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านอ้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอม จึงเป็นข้อโต้เถียงกันอยู่ รับฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลชั้นต้นต้องวินิจฉัย เพราะหากฟังได้ว่าเป็นพินัยกรรมปลอม ผู้ร้องที่ 1 ก็มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ร้องที่ 1 มีหน้าที่นำสืบ ส่วนผู้คัดค้านย่อมนำสืบหักล้างความมีอยู่ของพินัยกรรม การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านสืบพยาน จึงเป็นการมิชอบ เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการโต้แย้งคำสั่งรับอุทธรณ์: จำเลยต้องใช้สิทธิผ่านคำแก้อุทธรณ์ ไม่ใช่คำร้องต่อศาลชั้นต้น
ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง ได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับเพื่อส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ หากเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้มีคำสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อรวมสำนวนส่งขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ก็ได้บัญญัติถึงสิทธิของผู้อุทธรณ์ที่จะคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นโดยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อันเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติถึงหน้าที่ของศาลชั้นต้นและสิทธิของผู้อุทธรณ์ไว้เป็นการเฉพาะ
เมื่อศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์อันมีผลเท่ากับได้วินิจฉัยแล้วว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งต้องดำเนินการขั้นตอนต่อไปจนกว่าคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 หากจำเลยเห็นว่าอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดก็มีสิทธิที่จะทำคำแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยไปเสียทีเดียวว่าเป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้หรือไม่ การที่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์จึงเป็นการใช้สิทธินอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดและไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.
เมื่อศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์อันมีผลเท่ากับได้วินิจฉัยแล้วว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งต้องดำเนินการขั้นตอนต่อไปจนกว่าคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 หากจำเลยเห็นว่าอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดก็มีสิทธิที่จะทำคำแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยไปเสียทีเดียวว่าเป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้หรือไม่ การที่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์จึงเป็นการใช้สิทธินอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดและไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมยอมดำเนินคดีอาญาโดยไม่สุจริต ไม่ระงับสิทธิฟ้องของโจทก์
การสมยอมกันดำเนินคดีโดยไม่สุจริตเพื่อให้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้อง ไม่มีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ: การพิสูจน์ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า จำเลยทั้งสองกระทำการโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้สูญหายไปบางส่วนระหว่างการขนส่งสินค้า จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตน ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทสูญหายจากการกระทำโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองสามารถยกข้อตกลงจำกัดความรับผิดด้านหลังใบรับขนของทางอากาศขึ้นอ้างเป็นประโยชน์แก่ตนได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลภายใต้เงื่อนไข CFS/CY: ความรับผิดสิ้นสุดเมื่อส่งสินค้าเข้าโรงพัก
จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งรับขนส่งสินค้าพิพาทในเงื่อนไขการขนส่งแบบ CFS/CFS ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นรับการว่าจ้างหรือมอบหมายให้ขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลในเงื่อนไขการขนส่งแบบ CY/CFS ซึ่งเงื่อนไขการขนส่งแบบ CFS เมื่อตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทาง ผู้ขนส่งมีหน้าที่ขนย้ายแพลเล็ตสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์นำเข้าเก็บไว้ในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประไทย หน้าที่ของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้ขนส่งนำสินค้าเข้าเก็บในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแล้ว เมื่อสินค้าพิพาทสูญหายไปหลังจากจำเลยที่ 3 ขนถ่ายออกจากตู้คอนเทนเนอร์ไปเก็บไว้ในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแล้ว สินค้าพิพาทที่สูญหายจึงไม่อยู่ในระหว่างความดูแลรับผิดชอบของผู้ขนส่ง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสิ้นสุดเมื่อส่งสินค้าเข้าโรงพักสินค้า การสูญหายภายหลังเป็นความรับผิดของการท่าเรือ
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 39 บัญญัติ "...ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเป็นผลจากการที่ของซึ่งได้รับมอบจากผู้ส่งของสูญหาย... ถ้าเหตุแห่งการสูญหายนั้นได้เกิดขึ้นในระหว่างที่ของดังกล่าวอยู่ในความดูแลของตนเพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้ถือว่าของอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งนับตั้งแต่เวลาที่ผู้ขนส่งได้รับของนั้นไว้จากผู้ส่งของหรือตัวแทนของผู้ส่งของ... จนถึงเวลาที่ผู้ขนส่งส่งมอบของนั้น ณ ท่าปลายทางหรือที่หมายปลายทางตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 40" และมาตรา 40 บัญญัติว่า "ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งตนได้รับไว้แล้ว... (3) ผู้ขนส่งได้มอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดๆ ซึ่งกฎหมายหรือข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว" ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวสินค้าอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งนับตั้งแต่ผู้ขนส่งได้รับมอบสินค้าจนถึงเวลาส่งมอบไว้กับเจ้าหน้าที่ ณ ท่าเรือปลายทาง หากสินค้าสูญหายในระหว่างเวลาดังกล่าวผู้ขนส่งก็ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายของสินค้านั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งรับขนส่งสินค้าพิพาทในเงื่อนไขการส่งแบบ CFS/CFS ตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7 ต่อมาจำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งอื่นได้รับการว่าจ้างหรือมอบหมายให้ขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลในเงื่อนไขการขนส่ง CY/CFS ซึ่งการขนส่งในเงื่อนไขการขนส่งแบบ CFSปลายทางตามสำเนาใบตราส่งเอกสารหมาย จ.7 และ ล.5 เมื่อตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทาง ผู้ขนส่งมีหน้าที่ขนย้ายแพลเล็ตสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์นำเข้าเก็บไว้ในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย หน้าที่ของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้ขนส่งนำสินค้าเข้าเก็บในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแล้ว ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าขณะเปิดตู้คอนเทนเนอร์นำสินค้าพิพาทเข้าเก็บในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย หีบห่อของสินค้าพิพาทไม่มีความเสียหายชำรุดฉีกขาด เมื่อสิ่งห่อหุ้มหีบห่อของสินค้าพิพาทฉีกขาดเพิ่งมาพบเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547 ตามรายการสำรวจสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (survey note) เอกสารหมาย จ.8 และสินค้าพิพาทได้สูญหายไปบางส่วน ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าสินค้าพิพาทสูญหายไปหลังจากจำเลยที่ 3 ขนถ่ายออกจากตู้คอนเทนเนอร์ไปเก็บไว้ในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแล้วสินค้าพิพาทที่สูญหายจึงไม่อยู่ในระหว่างความดูแลรับผิดชอบของผู้ขนส่ง จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้าดังกล่าว