คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 149

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับเงินจากผู้เสียหายในคดีอาญา ถือเป็นความผิดรับทรัพย์สินมิชอบ
การที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนและติดตามจับกุมคนร้าย เรียกรับเงินจากผู้เสียหายในคดีที่สามีผู้เสียหายถูกคนร้ายฆ่าและชิงทรัพย์โดยไม่มีสิทธิจะเรียกรับ ถือได้ว่าเป็นการรับทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการในตำแหน่งหน้าที่ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ในคดีเรียกรับเงินจากเจ้าพนักงาน: การมอบเงินโดยสมัครใจ vs. การถูกเรียกรับเงิน
โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยเรียกร้องเงินจากโจทก์ครั้งแรกในวันที่6มิถุนายน2531โจทก์เองก็ได้ยอมรับว่าได้ต่อรองจำนวนเงินและตกลงให้เงินแก่จำเลยจำนวน15,000บาทถือได้ว่าโจทก์สมัครใจมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลยเพื่อไม่ต้องการให้จำเลยส่งเรื่องแบ่งแยกที่ดินไปกระทรวงดังจำเลยอ้างโจทก์จึงมีส่วนสนับสนุนไม่ให้จำเลยกระทำการตามหน้าที่ดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องแต่ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าในวันที่9มิถุนายน2532จำเลยได้เรียกร้องเงินจากโจทก์อีกเป็นครั้งที่สองจำนวน4,000บาทจำเลยจึงจะมอบน.ส.3ก.ที่แบ่งแยกให้โจทก์นั้นโจทก์ไม่ยินยอมมอบเงินแก่จำเลยแต่อย่างใดโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การสนับสนุนมิให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ vs. การถูกเรียกเงินภายหลัง
โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยเรียกร้องเงินจากโจทก์ครั้งแรกในวันที่ 6 มิถุนายน 2531 โจทก์เองก็ได้ยอมรับว่าได้ต่อรองจำนวนเงินและตกลงให้เงินแก่จำเลยจำนวน 15,000 บาท ถือได้ว่าโจทก์สมัครใจมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลยเพื่อไม่ต้องการให้จำเลยส่งเรื่องแบ่งแยกที่ดินไปกระทรวงดังจำเลยอ้าง โจทก์จึงมีส่วนสนับสนุนไม่ให้จำเลยกระทำการตามหน้าที่ดังกล่าว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ที่โจทก์กล่าวอ้างว่า ในวันที่ 9 มิถุนายน2532 จำเลยได้เรียกร้องเงินจากโจทก์อีกเป็นครั้งที่สองจำนวน 4,000 บาทจำเลยจึงจะมอบ น.ส.3 ก. ที่แบ่งแยกให้โจทก์นั้น โจทก์ไม่ยินยอมมอบเงินแก่จำเลยแต่อย่างใด โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5973/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับสินบนละเว้นการจับกุม ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดอาญา เมื่อได้พบและกล่าวหาว่าโจทก์ร่วมและนายสุเธียรมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอันมิใช่การแกล้งกล่าวหา การที่จำเลยที่ 1 ไม่จับกุมแต่กลับขู่เข็ญเรียกเงินแล้วละเว้นไม่จับกุมโจทก์ร่วมและนายสุเธียร จึงไม่ใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 แต่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 เนื่องจากโจทก์มิได้ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 อันเป็นบทเฉพาะมาด้วย ก็ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปและเป็นบทที่โจทก์ฟ้องมาได้ สำหรับจำเลยที่ 2 มิใช่เจ้าพนักงานแต่ร่วมกระทำผิดฐานนี้ด้วย จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจเรียกรับเงินจากผู้ต้องหาหลังตรวจค้นจับกุม มีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นข้าราชการตำรวจประจำอยู่ที่กองกำกับการตำรวจน้ำ ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำการตรวจค้นและจับกุม ฮ.กับห. ในข้อร่วมกันมียาเสพติดให้โทษชนิดเฮโรอีนไว้ในครอบครองและร่วมกันมีและพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วจำเลยที่ 2ได้พูดว่าถ้าไม่อยากติดคุกและไม่อยากถูกประหารชีวิตให้เอาเงินมาจ่าย 1,000,000 บาท หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองให้ ศ. ขับรถตระเวนพา ฮ.กับห. ไปที่ต่าง ๆ แล้วให้ขับรถไปที่สถานีตำรวจนครบาลสมเด็จเจ้าพระยา หากจำเลยทั้งสองต้องการตรวจค้นและจับกุมจริง เมื่อจำเลยทั้งสองค้นพบสิ่งผิดกฎหมายแล้ว ก็ชอบที่จะจับกุมและนำผู้ต้องหาไปมอบให้เจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่ที่พบการกระทำผิดเพื่อดำเนินการต่อไปในทันที ไม่ใช่พาตระเวนไปถึงสถานีตำรวจนครบาลสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อจำเลยที่ 1รับราชการเป็นตำรวจโดยได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมายจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าพนักงานแม้จะรับราชการประจำอยู่ที่กองกำกับการตำรวจน้ำ ทำหน้าที่ช่างเครื่องซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ของเรือที่ใช้ในราชการตำรวจน้ำก็เป็นเพียงหน้าที่เฉพาะตามคำสั่งแต่งตั้งของทางราชการแต่โดยทั่วไปจำเลยที่ 1 ยังมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 การที่จำเลยที่ 1ทำการตรวจค้นและจับกุม ฮ.กับห. จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจรับสินบนละเว้นการแจ้งข้อหาความผิดน้ำหนักบรรทุกเกินกฎหมาย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายจำเลยพบ อ. ขับรถยนต์บรรทุกเกินน้ำหนักที่กฎหมายกำหนด จำเลยได้จับกุม อ. ย่อมถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจตามตำแหน่งหน้าที่แล้ว เมื่อจำเลยรับเงินจากผู้เสียหายแล้ว จำเลยกลับละเว้นไม่กระทำการในตำแหน่งหน้าที่ที่จะต้องแจ้งข้อหาแก่ อ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับทรัพย์สิน: การกระทำนอกเหนือหน้าที่และขอบเขตอำนาจ
จำเลยรับราชการในตำแหน่งสหกรณ์อำเภอได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการสหกรณ์การเกษตร ส. ให้เป็นกรรมการออกข้อสอบและตรวจข้อสอบคัดเลือกพนักงานบัญชีเพื่อบรรจุเข้าทำงานในสหกรณ์การเกษตร ส.สหกรณ์การเกษตรส. เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากไม่ใช่หน่วยงานในกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบโดยตรงและมติของคณะกรรมการสหกรณ์ดังกล่าวก็ไม่มีระเบียบของทางราชการว่าให้ทำได้และจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม ทั้งการเป็นกรรมการสอบก็ไม่ใช่หน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานสหกรณ์อำเภอตามระเบียบที่วางไว้ แม้จำเลยจะได้เรียกเอาเงินเพื่อช่วยเหลือให้นางสาวอ.สอบได้และได้รับการบรรจุแต่งตั้ง ก็มิใช่เป็นเจ้าพนักงานกระทำการในตำแหน่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับทรัพย์สินโดยมิชอบเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับทรัพย์สิน: การกระทำนอกเหนือหน้าที่และอำนาจตามระเบียบราชการ
จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งสหกรณ์อำเภอ สังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์คณะกรรมการสหกรณ์การเกษตร ส. จำกัด แต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการออกข้อสอบและตรวจข้อสอบเพื่อรับบรรจุพนักงาน เมื่อสหกรณ์ดังกล่าวเป็นนิติบุคคลต่างหากไม่ใช่หน่วยงานในกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่จำเลยจะต้องรับผิดชอบโดยตรง ทั้งมติคณะกรรมการสหกรณ์ดังกล่าวก็ไม่มีระเบียบของทางราชการว่าให้ทำได้และจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม และการเป็นกรรมการสอบก็ไม่ใช่งานในหน้าที่รับผิดชอบของจำเลย การเป็นกรรมการของจำเลยจึงไม่ใช่เจ้าพนักงานกระทำการในตำแหน่งของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงาน เรียก รับทรัพย์สินโดยมิชอบหรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ การพิพากษาลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจพบว่าผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์โดยไม่มีใบอนุญาต อันเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับข่มขืนใจให้ผู้เสียหายมอบเงินเพื่อละเว้นการจับกุม อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต คำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าว เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 ในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการแกล้งจับโดยผู้เสียหายไม่มีความผิดแล้วเรียกรับเงิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 149 ดังนี้ ถือว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสมแล้วและการที่จะถือว่าเป็นเรื่องอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดหรือไม่ เป็นเรื่องพิจารณาจากฟ้อง คดีนี้ ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างบทมาตราความผิดตามบทเฉพาะมาตรา 148 แต่เมื่อปรากฏว่าตามคำบรรยายฟ้องและข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทเฉพาะมาตรา 149 จึงถือว่าโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ซึ่งเมื่อเป็นความผิดตามบทเฉพาะแล้วก็ไม่ต้องปรับบทมาตรา 157 ที่เป็นบททั่วไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินประกันตัวเพื่อชำระหนี้ส่วนตัวของลูกหนี้ ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และ 157 แต่สำหรับข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 นั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาความผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
of 15