พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การในการถามค้านพยานโจทก์: การใช้สิทธิและการไม่โต้แย้งถือเป็นการสละสิทธิ
ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การที่จะถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ในระหว่างสืบพยานได้ โดยจำเลยจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก โจทก์นำพยานเข้าสืบ 1 ปาก ไม่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยซึ่งมาศาลขอใช้สิทธิถามค้าน กระทั่งในวันสืบพยานโจทก์ปากสุดท้าย จำเลยมาศาล แต่ไม่ใช้สิทธิถามค้าน เพราะในบันทึกคำพยานโจทก์ดังกล่าว มีข้อความว่า "ตอบจำเลยถามค้าน (ไม่ถาม)" ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า หมดพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษา จำเลยก็ไม่โต้แย้งกลับลงชื่อรับทราบ ถือว่าจำเลยไม่ใช้สิทธิถามค้านแล้ว จึงเอาเหตุที่มิได้ถามค้านดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างในภายหลังว่า เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบเพื่อให้ศาลยกเลิกกระบวนพิจารณานั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2310/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานทำไม้ผิดกฎหมาย, มีเลื่อยโซ่ยนต์ผิดกฎหมาย และการริบของกลาง
การคัดสำเนา พ.ร.ฎ.กำหนดไม้หวงห้ามฯ ประกาศไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 5 นั้นไม่ใช่องค์ประกอบความผิดข้อหาใดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ หากแต่เป็นเพียงวิธีการให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำเพื่อมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดโต้แย้งว่ายังไม่ทราบ พ.ร.ฎ. ดังกล่าวเท่านั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายเรื่องการคัดสำเนา พ.ร.ฎ. ดังกล่าวมาในฟ้องด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายเรื่องการคัดสำเนา พ.ร.ฎ. ดังกล่าวมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ไม้สักไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชอาณาจักรเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 7 วรรคหนึ่ง การตัดฟันจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 11 หากฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง (1) ส่วนการมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขาย ก็มีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง (1) เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานทำไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม้ของกลางจึงเป็นไม้อันได้มาจากการกระทำความผิดต้องริบตามมาตรา 74
ความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับความผิดฐานรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร เนื่องจากการรับไว้โดยประการใด ๆ และการมีไว้ในครอบครองซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางมีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องเป็นการกระทำเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 5 ในสองฐานความผิดดังกล่าว จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 90 เมื่อความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีเท่ากันแต่คดีนี้ราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเป็นเงิน 6,259 บาท หากมีการลงโทษปรับสูงสุดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ จะลงโทษปรับได้เป็นเงิน 25,036 บาท แต่ตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง ลงโทษปรับได้สูงสุดหนึ่งแสนบาท จึงถือว่าโทษปรับตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง เป็นบทที่มีโทษหนักกว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ไม้สักไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชอาณาจักรเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 7 วรรคหนึ่ง การตัดฟันจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 11 หากฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง (1) ส่วนการมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขาย ก็มีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง (1) เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานทำไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีไม้สักอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม้ของกลางจึงเป็นไม้อันได้มาจากการกระทำความผิดต้องริบตามมาตรา 74
ความผิดฐานมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับความผิดฐานรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร เนื่องจากการรับไว้โดยประการใด ๆ และการมีไว้ในครอบครองซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางมีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องเป็นการกระทำเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 5 ในสองฐานความผิดดังกล่าว จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 90 เมื่อความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีเท่ากันแต่คดีนี้ราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเป็นเงิน 6,259 บาท หากมีการลงโทษปรับสูงสุดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ จะลงโทษปรับได้เป็นเงิน 25,036 บาท แต่ตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง ลงโทษปรับได้สูงสุดหนึ่งแสนบาท จึงถือว่าโทษปรับตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง เป็นบทที่มีโทษหนักกว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมสินสมรสหลังหย่า: การซื้อขายโดยไม่ยินยอมและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ร่วมกับจำเลยขณะเป็นสามีภรรยากันได้ซื้อที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทระหว่างผ่อนชำระหนี้จำนองทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์ร่วมกับจำเลยจดทะเบียนหย่ากันต่อมาโจทก์ร่วมขายทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นพี่สาวของโจทก์ร่วมอ้างว่า มีการตกลงตามสัญญาหย่าว่าทรัพย์ดังกล่าวขณะยังผ่อนชำระไม่หมดเป็นของโจทก์ร่วมเมื่อผ่อนชำระหมดแล้วจึงจะยกให้จำเลย แต่ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าข้อ 2 มีว่า "เรื่องทรัพย์สินที่ดิน 21 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 161/899 ถนนจรัญสนิทวงค์ แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ระหว่างผ่อนส่งกับบริษัท ค. ซึ่งหากผ่อนส่งชำระเสร็จสิ้นแล้วจะยกกรรมสิทธิ์ให้ฝ่ายหญิง" ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าจำเลยยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้โจทก์ร่วมทั้งหมดเพียงแต่หากโจทก์ร่วมผ่อนชำระหมดแล้ว โจทก์ร่วมจะยกกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ร่วมให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อตกลงแบ่งแยกสินสมรสกันไว้ การแบ่งสินสมรสต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติว่า ให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน กล่าวคือ คนละกึ่งหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ผู้รับโอนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินพิพาทเท่าที่โจทก์ร่วมผู้โอนมีอยู่กึ่งหนึ่งเท่านั้น มิใช่ทั้งหมดดังโจทก์ฎีกา แม้โจทก์จะรับซื้อมาโดยสุจริตก็ตาม และตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ และวรรคสองบัญญัติว่า แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่โดยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ร่วมนำทรัพย์พิพาทไปขายโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมจึงผูกพันแต่เฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ผลตามกฎหมายจึงมีว่าโจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์พิพาทคนละเท่าๆ กันในทุกส่วนของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาทและจำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายทรัพย์สินพิพาทระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม สินสมรส การซื้อขายโดยไม่ยินยอม และสิทธิในการเพิกถอนสัญญา
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยาที่ว่าเรื่องทรัพย์สินที่ดิน 21 ตารางวา พร้อมบ้านอันเป็นทรัพย์พิพาท ซึ่งอยู่ระหว่างผ่อนส่งกับบริษัท หากผ่อนส่งชำระเสร็จสิ้นแล้วจะยกกรรมสิทธิ์ให้ฝ่ายหญิง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าจำเลยยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ร่วมทั้งหมด เพียงแต่ถ้าหากโจทก์ร่วมผ่อนชำระหมดแล้ว โจทก์ร่วมจะยกกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ร่วมให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อตกลงแบ่งแยกสินสมรสกันไว้ การแบ่งสินสมรสต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533
โจทก์ร่วมนำทรัพย์พิพาทไปขายให้โจทก์โดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมจึงผูกพันแต่เฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ผลตามกฎหมายจึงมีว่าโจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์พิพาทคนละเท่าๆ กันในทุกส่วนของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาท และจำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้ ในกรณีที่ไม่อาจโอนส่วนกรรมสิทธิ์ของจำเลย โจทก์และโจทก์ร่วมต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ราคาในส่วนนี้แทน
โจทก์ร่วมนำทรัพย์พิพาทไปขายให้โจทก์โดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมจึงผูกพันแต่เฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ผลตามกฎหมายจึงมีว่าโจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์พิพาทคนละเท่าๆ กันในทุกส่วนของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาท และจำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้ ในกรณีที่ไม่อาจโอนส่วนกรรมสิทธิ์ของจำเลย โจทก์และโจทก์ร่วมต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ราคาในส่วนนี้แทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของเจ้าหน้าที่ควบคุม/ตรวจรับงานก่อสร้างที่ประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหาย
เหตุละเมิดเกิดขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ.ความทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มีผลใช้บังคับ แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ในวันที่ 18 มกราคม 2544 ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้ว แต่เมื่อ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มิได้มีบทบัญญัติให้ใช้บังคับแก่คดีละเมิดที่เกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ความรับผิดทางละเมิดของผู้ทำละเมิดที่เกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับจึงต้องอยู่ภายในบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมงานจ้างก่อสร้างถนน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง แต่ผู้รับจ้างก่อสร้างถนนไม่ถูกต้องตามแบบทำให้ถนนชำรุด การที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างถนน ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มิได้ไปตรวจรับงานจ้างพร้อมกันไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ถือว่าจำเลยทั้งหกประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอสรรคบุรีเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งหกจึงต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 432 วรรคแรก
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ควบคุมงานจ้างก่อสร้างถนน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง แต่ผู้รับจ้างก่อสร้างถนนไม่ถูกต้องตามแบบทำให้ถนนชำรุด การที่จำเลยที่ 1 ไม่ทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างถนน ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มิได้ไปตรวจรับงานจ้างพร้อมกันไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ถือว่าจำเลยทั้งหกประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอสรรคบุรีเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งหกจึงต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 432 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล และการประเมินค่าเสียหายกรณีสูญเสียการมองเห็น
เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อผู้เยาว์อันมีผลให้ผู้เยาว์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนนั้น เป็นการที่ผู้เยาว์จะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีการประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมก็ชอบที่จะต้องขอนุญาตศาลเสียก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ตามที่บังคับไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1574(12) เมื่อ ช.บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์กับจำเลยได้ทำข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลของโจทก์กับของ ช. โดยไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาจากจำเลยอีก เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ ช.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยตามลำพัง โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันโจทก์แต่ประการใด สิทธินำคดีมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนของโจทก์จึงไม่ระงับไป
เมื่อโจทก์ต้องเสียความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากโจทก์เสียตาข้างซ้ายทำให้ไม่สามารถมองภาพได้ละเอียดและกว้างเท่าคนปกติถือว่าเป็นค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 446 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.ผู้ทำละเมิดจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว หาใช่ต้องกำหนดเป็นค่ารักษาพยาบาลไม่ และค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสื่อมสุขภาพอนามัย ต้องเสียโฉม ได้รับความเจ็บปวดทรมานเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 446 วรรคหนึ่ง
เมื่อโจทก์ต้องเสียความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากโจทก์เสียตาข้างซ้ายทำให้ไม่สามารถมองภาพได้ละเอียดและกว้างเท่าคนปกติถือว่าเป็นค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 446 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.ผู้ทำละเมิดจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว หาใช่ต้องกำหนดเป็นค่ารักษาพยาบาลไม่ และค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสื่อมสุขภาพอนามัย ต้องเสียโฉม ได้รับความเจ็บปวดทรมานเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 446 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่า การพิสูจน์สิทธิครอบครอง และการฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
คำว่า ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) หมายถึง ที่ดินที่เอกชนไม่เคยมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายมาก่อนข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินพิพาทเดิมทางราชการเคยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ให้โดยชอบ ที่ดินพิพาทจึงหาใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่
จำเลยให้การว่า จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินรกร้างว่างเปล่าตั้งแต่ปี 2506 จนปัจจุบันที่ดินดังกล่าวจึงเป็นของจำเลย แสดงว่าจำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ต้นมิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. 1375 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 243 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
จำเลยให้การว่า จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินรกร้างว่างเปล่าตั้งแต่ปี 2506 จนปัจจุบันที่ดินดังกล่าวจึงเป็นของจำเลย แสดงว่าจำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ต้นมิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. 1375 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 243 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเพียงพอของฟ้องอาญา: รายละเอียดการกระทำความผิดและพยานแวดล้อมเพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ รวมทั้งมูลเหตุจูงใจที่ทำให้จำเลยทั้งสองกระทำความผิด โดยได้ระบุด้วยว่ามีผู้เห็นเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าขณะที่เกิดเหตุการฆ่ามีจำเลยทั้งสองเท่านั้นที่อยู่ในที่เกิดเหตุ คนร้ายไม่มีทางที่จะเป็นผู้อื่น แม้ไม่มีรายละเอียดโดยชัดแจ้งเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองว่าร่วมยิงอย่างไร ใครเป็นผู้ยิง และผู้ตายถูกยิงที่ส่วนใดของร่างกาย ด้วยอาวุธปืนชนิดใดทั้งไม่มีข้อยืนยันว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยิงผู้ตายก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ที่ประสงค์แต่เพียงให้มีรายละเอียดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็พอแล้ว ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันในชั้นสืบพยาน เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอด จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืนยิงและไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายละเอียดฟ้องอาญา: เพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาหรือไม่? ศาลฎีกาชี้ ป.วิ.อ.ม.158(5) เน้นให้จำเลยเข้าใจข้อหา ไม่ต้องลงรายละเอียดทุกขั้นตอน
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประสงค์แต่เพียงให้คำฟ้องมีรายละเอียดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาดีก็พอ เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดจำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืนยิงและไตร่ตรองไว้ก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยิงผู้ตายอย่างไร ใครเป็นผู้ยิงและผู้ตายถูกยิงที่ส่วนใดของร่างกายด้วยอาวุธชนิดใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการส่วนท้องถิ่น: 'ท้องที่' คืออำเภอ/กิ่งอำเภอ ไม่รวมจังหวัด การมีบ้านพักอาศัยเดิมไม่ตัดสิทธิ
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าเช่าบ้านของข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2528 ข้อ 4 คำว่า "ท้องที่" จำกัดเฉพาะอำเภอ กิ่งอำเภอหรือท้องที่ของอำเภอและหรือกิ่งอำเภอที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันเท่านั้น ไม่รวมถึงจังหวัดเดียวกัน การย้ายไปประจำสำนักงานต่างสำนักงาน แม้อยู่ในจังหวัดเดียวกัน ก็มิใช่ท้องที่เดียวกัน