คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ฐานันท์ วรรณโกวิท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการส่วนท้องถิ่น: 'ท้องที่' คืออำเภอ/กิ่งอำเภอ ไม่รวมจังหวัด การมีบ้านพักอาศัยเดิมไม่ตัดสิทธิ
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าเช่าบ้านของข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2528 ข้อ 4 คำว่า "ท้องที่" จำกัดเฉพาะอำเภอ กิ่งอำเภอหรือท้องที่ของอำเภอและหรือกิ่งอำเภอที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้เป็นท้องที่เดียวกันเท่านั้น ไม่รวมถึงจังหวัดเดียวกัน การย้ายไปประจำสำนักงานต่างสำนักงาน แม้อยู่ในจังหวัดเดียวกัน ก็มิใช่ท้องที่เดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10458/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจาก พ.ร.บ.เทป/วีดีโอ เป็น พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ และการใช้บทกฎหมายเดิมบังคับใช้
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯ ออกใช้บังคับให้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ ทั้งฉบับ แต่การที่จำเลยให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอซีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาตยังคงเข้าลักษณะเป็นการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯ กรณีไม่อาจถือได้ว่ามีการยกเลิกการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลย ส่วนแผ่นวิดีโอซีดีเพลง แผ่นซีดีเพลงเอ็มพีสาม และแผ่นวิดีโอซีดีนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องในส่วนนี้โดยไม่ปรากฏว่าเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องอันเป็นภาพยนตร์ หรือเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพหรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นเกมการเล่น คาราโอเกะที่มีภาพประกอบ หรือลักษณะอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวงอันเป็นวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนต์และวีดิทัศน์ฯ จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง และไม่เป็นความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่งกฎหมายเดียวกัน ดังนั้นการกระทำของจำเลยในส่วนนี้ ซึ่งเดิมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ จึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง โทษปรับตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯ มาตรา 79 มีระวางโทษหนักกว่าจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องใช้โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 34 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดมาบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ปรับจำเลย 6,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงปรับ 3,000 บาท จึงเป็นกรณีที่จำเลยต้องคำพิพากษาให้ปรับไม่เกินห้าพันบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 39(4) จำเลยอุทธรณ์เรื่องดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9061/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด ทำให้สิทธิฟ้องระงับ
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ก็เป็นการถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสั่ง และสั่งว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8286/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี: กรณีฐานความผิดละเมิดลิขสิทธิ์และประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 3 (4) ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 แต่มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ดังนั้น การที่จำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายดีวีดีที่บันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์เรื่องต่างๆ ซึ่งตรงกับบทนิยามศัพท์คำว่า ภาพยนตร์ ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังแล้ว จึงไม่อาจถือว่ากฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลย
ในส่วนโทษที่จะลงแก่จำเลยนั้น ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดมาบังคับแก่คดีตาม ป.อ. มาตรา 3 เมื่อมาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำความผิด ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่ ในขณะที่มาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิด ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องใช้กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังในส่วนที่ไม่มีระวางโทษจำคุกซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ามาใช้บังคับ เมื่อมีแต่ระวางโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจรอการกำหนดโทษแก่จำเลยในความผิดฐานนี้ได้ สำหรับอัตราระวางโทษปรับนั้น ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดมากกว่า จึงต้องใช้อัตราระวางโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8160/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยไม่จดทะเบียน & สิทธิในการเพิกถอนการจำนองที่ดินจากการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยชอบ
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือ แต่ไม่ได้นำไปจดทะเบียนโอนสิทธิกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ แต่จำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์และโจทก์เข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายแล้วดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง และโจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา เมื่อจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาทอีกต่อไป จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นของตนและไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 เพราะผู้ที่จะจำนองทรัพย์สินได้ต้องเป็นเจ้าของในขณะนั้น การจำนองจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน โดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นั้นต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิที่เกิดจากโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบดังกล่าวหาได้ไม่ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ ส่วนคำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่ 1 จดเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากจำเลยที่ 1 มาเป็นชื่อโจทก์นั้น เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดโดยไม่ชอบดังที่ได้วินิจฉัยแล้วข้างต้น โจทก์จะขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ใน ป. ที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8014/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินอุทิศให้เป็นสาธารณสมบัติ แม้สระน้ำตื้นเขินและมีการถมที่ดิน ก็ยังคงเป็นที่สาธารณะ
บิดาโจทก์ทั้งห้าอุทิศที่ดินพิพาทให้ขุดเป็นสระน้ำประจำหมู่บ้านเพื่อให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) โดยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่แสดงเจตนาอุทิศให้ก็ใช้ได้ แม้ต่อมาสระน้ำจะตื้นเขินจนไม่ได้ใช้ประโยชน์และมีการถมสระน้ำปลูกสร้างร้านค้าชนบทกับทำสนามเด็กเล่นที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ตามเดิม โดยหาได้เปลี่ยนสภาพไปเป็นอย่างอื่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7640/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาพิจารณาคำถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัว และผลของการถอนฟ้อง
ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องถอนคำร้องทุกข์ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา โดยที่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ย่อมเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง แต่เมื่อสำนวนคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง
ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ความผิดข้อหานี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้อง ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้เมื่อโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7431/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินสงเคราะห์การทำสวนยาง การผิดสัญญาไม่ใช่ละเมิด
การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่ได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยางจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางโจทก์ให้แก่ ว. โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากโจทก์เป็นการผิดคำรับรองข้อ 6 ถือว่าเป็นการทำผิดสัญญาต่อโจทก์ ไม่เป็นการทำละเมิด จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินสงเคราะห์และบรรดาวัสดุสงเคราะห์ที่ได้รับไปแล้ว โดยคิดเป็นตัวเงินตามราคาที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ไปให้แก่โจทก์ทั้งหมดตามคำรับรองข้อ 10 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากผู้ที่ไม่มีอำนาจยึดถือครอบครอง สามารถเรียกคืนได้ตลอดเวลาไม่มีกำหนดอายุความ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5895/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหลักประกันค้ำประกันความเสียหายหลังคดีถึงที่สุด แม้มีคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายอื่น
คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ให้ผู้ค้ำประกันที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาประกันความเสียหายแก่จำเลย และนำโฉนดที่ดินมาเป็นหลักประกัน เป็นคำสั่งกำหนดให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โดยให้จำเลยชนะคดีและมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และคดีถึงที่สุดแล้ว ทั้งจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 263 จึงเป็นอันยกเลิกไปตามมาตรา 260 (1) ผู้ค้ำประกันที่ 1 ที่ 2 มีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาลต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินที่เป็นหลักประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์งานศิลปประยุกต์หมดอายุเมื่อใด: คดีโดราเอมอน
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานที่นำภาพการ์ตูนโดราเอมอนมาดัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ในทางการค้าลักษณะงานตามฟ้องจึงเข้าลักษณะเป็นงานศิลปประยุกต์ กล่าวคือ เป็นงานที่นำเอางานภาพการ์ตูนไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าว โดยนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าตามนิยามคำว่า "งานศิลปประยุกต์" ในมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งมาตรา 22 บัญญัติไว้ว่าลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก งานของผู้เสียหายมีการโฆษณางานเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2512 งานดังกล่าวจึงมีอายุการคุ้มครองอยู่ถึงเพียงวันที่ 1 ธันวาคม 2537 ขณะเกิดเหตุในคดีนี้ งานที่นำภาพตัวการ์ตูนโดราเอมอนมาดัดแปลงเป็นงานศิลปะ ใช้ประยุกต์กับวัสดุสิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มและนำมาใช้ประโยชน์ทางการค้าตามฟ้องจึงไม่มีลิขสิทธิ์อีกต่อไป
of 20