พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความแทนผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นไม่ผูกพันผู้เยาว์
ในการเจรจาเรื่องค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่ 2 เจรจาแทนฝ่ายผู้ต้องหา มีการตกลงใช้ค่าเสียหายแก่ญาติของผู้ตายเป็นเงิน 150,000 บาท หลังจากนั้นมีการจ่ายเงิน 100,000 บาท ที่บริษัทจำเลยที่ 1 บ.มารดาผู้ตาย และ จ.บิดาผู้ตายได้รับเงินชดใช้ค่าเสียหายที่บริษัทจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาทที่โจทก์ที่ 1 และ บ.แถลงในรายงานกระบวนพิจารณาคดีอาญาของศาลชั้นต้น ซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ โจทก์ที่ 1 เป็นโจทก์ร่วม และจำเลยที่ 3 เป็นจำเลยว่าร่วมกันได้รับชดใช้เงินจากจำเลยที่ 3 อีก 60,000 บาท ไม่ติดใจดำเนินคดีจำเลยที่ 3 ต่อไป ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3แล้ว แต่สำหรับโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์โดยโจทก์ที่ 1 ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ฟ้องคดีแทนนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 มิได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3 แทนโจทก์ที่ 2 การประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดซึ่งเป็นนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ ตามป.พ.พ.มาตรา 1574 (12) หากมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีอำนาจกระทำได้ การประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2
ปัญหาเรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นเรื่องกระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบกับมาตรา 246 และ 247
ปัญหาเรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นเรื่องกระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบกับมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา, สัญญาประนีประนอมยอมความ, การทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์, สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ขับรถโดยสาร-ประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ทำละเมิด จำเลยที่ 1 และที่ 2ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการทำละเมิด เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 จำนวนเงิน 90,000 บาท โจทก์ที่ 5และที่ 6 จำนวนเงินคนละ 60,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2ที่ 5 และที่ 6 แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ พ. ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ไม่ทราบไม่รับรอง ซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
หลังเกิดเหตุก่อนที่ พ.ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5ตกลงใช้เงินจำนวน 150,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไป โจทก์ที่ 1 จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่มีอยู่ระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จะมาฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ การที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 แทนผู้เยาว์ทั้งสาม ซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 1574 (8) เดิม (มาตรา 1574 (12) ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยที่ 4 และที่ 5
การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 และที่ 6 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 5 และที่ 6
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ พ. ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ไม่ทราบไม่รับรอง ซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ.หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
หลังเกิดเหตุก่อนที่ พ.ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5ตกลงใช้เงินจำนวน 150,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไป โจทก์ที่ 1 จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่มีอยู่ระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จะมาฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่
โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ การที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 แทนผู้เยาว์ทั้งสาม ซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 1574 (8) เดิม (มาตรา 1574 (12) ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยที่ 4 และที่ 5
การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 5 และที่ 6 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 5 และที่ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระงับสิ้นจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และขอบเขตการผูกพันสัญญาต่อผู้เยาว์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่3ไม่ได้ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ทำละเมิดจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิดโจทก์ที่2ที่5และที่6ฎีกาว่าจำเลยที่3ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการทำละเมิดเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่2จำนวนเงิน90,000บาทโจทก์ที่5และที่6จำนวนเงินคนละ60,000บาททุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่2ที่5และที่6แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง จำเลยที่4และที่5ฎีกาว่าโจทก์ที่3และที่4ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของพ. ปรากฏว่าจำเลยที่4และที่5ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่3และที่4เป็นบุตรของพ. หรือไม่ไม่ทราบไม่รับรองซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองคดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่3และที่4เป็นบุตรของพ. หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่4และที่5ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง หลังเกิดเหตุก่อนที่พ. ถึงแก่ความตายโจทก์ที่1กับจำเลยที่4และที่5ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่4และที่5ตกลงใช้เงินจำนวน150,000บาทและโจทก์ที่1ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไปโจทก์ที่1จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใดๆจากจำเลยที่4และที่5บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่4และที่5เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่4และที่5ที่มีอยู่ระงับสิ้นไปทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา852เมื่อจำเลยที่4และที่5ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่1ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วโจทก์ที่1จะมาฟ้องจำเลยที่4และที่5เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์ที่2ที่3และที่4ยังเป็นผู้เยาว์การที่โจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่4และที่5แทนผู้เยาว์ทั้งสามซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574(8)เดิม(มาตรา1574(12)ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่4และที่5จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่2ที่3และที่4ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไว้อุปการะจากจำเลยที่4และที่5 การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่5และที่6เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่5และที่6ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่1ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่4และที่5สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่5และที่6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสงวนสิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายหลังเกิดอุบัติเหตุ และผลของการทำสัญญาแทนผู้เยาว์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ทำละเมิด จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการทำละเมิด เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 จำนวนเงิน90,000 บาทโจทก์ที่ 5 และที่ 6 จำนวนเงินคนละ 60,000บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่6 แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 และที่ 4ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ พ. ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ. หรือไม่ไม่ทราบไม่รับรอง ซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ. หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 4 และที่5 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง หลังเกิดเหตุก่อนที่ พ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ตกลงใช้เงินจำนวน150,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไป โจทก์ที่ 1จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆจากจำเลยที่ 4 และที่ 5บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่มีอยู่ระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จะมาฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ การที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5แทนผู้เยาว์ทั้งสามซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1574(8) เดิม(มาตรา 1574(12) ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไว้อุปการะจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่5 และที่ 6 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 5 และที่ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้เยาว์: บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันมีมูลเหตุจากการละเมิดที่จำเลยขับรถยนต์ชนเด็กชาย ส. ผู้เยาว์ เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่แม้ผู้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็จะกระทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(12)โจทก์ฟ้องจำเลยในนามของตนเอง ทั้งโจทก์เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ส. จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะกระทำการแทนเด็กชาย ส. แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์: บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันมีมูลเหตุจากการละเมิดที่จำเลยขับรถยนต์ชนเด็กชาย ส. ผู้เยาว์ เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่แม้ผู้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็จะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตาม ป.พ.พ. มาตรา1574 (12) โจทก์ฟ้องจำเลยในนามของตนเอง ทั้งโจทก์เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ส. จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะกระทำการแทนเด็กชาย ส. แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมผูกพันคู่ความ แม้เป็นผู้เยาว์ หากไม่เคยอุทธรณ์คัดค้าน
โจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 448/2529 ของศาลชั้นต้นมี ม. เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทน คดีดังกล่าวถึงที่สุดด้วยการประนีประนอมยอมความในศาล แม้โจทก์จะเป็นผู้เยาว์และการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจะมิได้ขออนุญาตศาลก่อน คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ก็ย่อมผูกพันโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 หากโจทก์ไม่พอใจคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอย่างใดก็ชอบจะอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่