พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405-2407/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีประท้วงโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้อง และกระทำผิดอาญา
ข้อเท็จจริงยุติตามคำร้องและคำคัดค้านว่าการนัดหยุดงานกระทำไปโดยไม่มีการยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างของผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ใช่กรณีพนักงานซึ่งเป็นลูกจ้างแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อผู้ร้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง เมื่อยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องต่อผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้พนักงานนัดหยุดงานตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง (1) การนัดหยุดงานที่ฝ่าฝืนมาตรา 34 มีโทษตามมาตรา 139 เมื่อการนัดหยุดงานต้องห้ามตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง (1) และมีโทษตามมาตรา 139 การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ชักชวนให้พนักงานนัดหยุดงาน หรือช่วยเหลือ ชักชวนหรือสนับสนุนให้สมาชิกสหภาพแรงงานนัดหยุดงานจึงไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้องทางอาญาหรือทางแพ่งตามมาตรา 99 (2) อีกทั้งศาลแรงงานภาค 8 ฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่เข้าทำงาน ออกไปชุมนุมด้วย และมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่ามีการชักชวนพนักงานให้ออกไปชุมนุมประท้วงโดยการปิดถนนและนำรถยนต์ไปจอดขวางถนนภายในโรงแรมซึ่งเป็นถนนสาธารณะจนถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีข้อหาร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไปกระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองและผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ให้การรับสารภาพ อันเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 5 ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน มาตรา 215 วรรคแรก จึงเป็นกรณีมีเหตุผลอันสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิฟ้องได้ แม้จะมีการเจรจาซื้อขาย และการขอสวมสิทธิเรียกร้องหนี้
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์แล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะขอซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวคืนโดยอยู่ในระหว่างพิจารณาของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 และบริวารได้
ส่วนผู้ร้องเป็นเพียงผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงว่าผู้ร้องจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินคดีนี้ ผู้ร้องก็มิใช่ผู้ที่ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์
ส่วนผู้ร้องเป็นเพียงผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงว่าผู้ร้องจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินคดีนี้ ผู้ร้องก็มิใช่ผู้ที่ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมโนสาเร่: ศาลชั้นต้นไม่สั่งแก้ไขฟ้อง ถือยุติประเด็นฟ้องเคลือบคลุม จำเลยอุทธรณ์มิได้
คดีมโนสาเร่ กรณีคดีมีประเด็นว่า คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุม กรณีย่อมต้องด้วยบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 191 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องชัดเจนขึ้นก่อน หากโจทก์ไม่ทำการแก้ไขจึงจะถือว่ามีประเด็นเรื่องคำฟ้องเคลือบคลุมที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยต่อไป แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง ถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุจพินิจพิจารณาแล้วว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุมต้องถือว่าประเด็นเรื่องคำฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ เป็นอันยุติไปตามสภาพที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง จำเลยไม่อาจยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15201/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่ชัดเจนระบุผู้รับผลประโยชน์ไม่แน่นอน ทำให้ข้อกำหนดเป็นโมฆะ แต่ผู้จัดการมรดกยังคงมีอำนาจหน้าที่
ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่มิได้กำหนดให้บุคคลใดได้รับทรัพย์มรดก เพียงแต่ให้ผู้จัดการมรดกจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีชื่อตามความจำเป็น นับว่าเป็นการไม่กำหนดตัวบุคคลแน่นอนให้เป็นผู้รับพินัยกรรม ทั้งระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจที่จะทราบแน่นอนได้ว่าให้ทรัพย์สินแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดจำนวนมากน้อยเพียงใดตามแต่ใจของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดก จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) และ (3) และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 ยกขึ้นวินิจฉัยตามมาตรา 142 (5)
แม้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) และ (3) แต่พินัยกรรมในส่วนที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาตั้งผู้จัดการมรดกยังคงสมบูรณ์ หาตกเป็นโมฆะไปด้วยไม่
แม้ข้อกำหนดในพินัยกรรมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1706 (2) และ (3) แต่พินัยกรรมในส่วนที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาตั้งผู้จัดการมรดกยังคงสมบูรณ์ หาตกเป็นโมฆะไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14738/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่ออนุมัติสัญญาจ้าง ความผิดมาตรา 149 แก้ไขโทษ
พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 58/2 ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุบัญญัติว่า "ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่วันเลือกตั้ง..." เมื่อประกาศผลเลือกตั้งในวันที่ 15 กันยายน 2551 จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 59, 60 และ 65 มีอำนาจหน้าที่ควบคุม รับผิดชอบ ในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ ตลอดทั้งมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ เพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จำเลยจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามความหมายของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4
พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 58/5 วรรคสอง บัญญัติว่า "...หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้..." แสดงว่ากฎหมายกำหนดให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตั้งแต่วันได้รับเลือกตั้ง ส่วนการแถลงนโยบายก่อนเข้ารับหน้าที่เป็นเพียงเงื่อนไขในการเข้าปฏิบัติงานเท่านั้น ไม่ใช่จำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ หากยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ
พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 58/5 วรรคสอง บัญญัติว่า "...หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้..." แสดงว่ากฎหมายกำหนดให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตั้งแต่วันได้รับเลือกตั้ง ส่วนการแถลงนโยบายก่อนเข้ารับหน้าที่เป็นเพียงเงื่อนไขในการเข้าปฏิบัติงานเท่านั้น ไม่ใช่จำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ หากยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13361/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาและการจำหน่ายคดีแพ่งเมื่อจำเลยถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณา
คดีอาญา จำเลยถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ สำหรับคดีส่วนแพ่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 หากครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่จำเลยถึงแก่ความตาย ไม่มีบุคคลใดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน หรือเข้ามาตามหมายเรียกของศาลก็ให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13145/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการลาออก การจ่ายค่าคอมมิสชันเกิน และดอกเบี้ย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลแรงงานเท่านั้นเป็นผู้ซักถามพยานของฝ่ายโจทก์หรือของฝ่ายจำเลย หรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง โจทก์หรือจำเลยไม่มีสิทธิซักถามเว้นแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตเท่านั้น และการถามพยานที่ฝ่ายตนอ้างหรืออีกฝ่ายหนึ่งอ้างให้เป็นซักถามทั้งสิ้น การซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างจึงไม่เป็นการถามค้านไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 117 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่บัญญัติให้ฝ่ายที่อ้างพยานซักถามพยานที่ตนอ้างก่อนแล้วจึงให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยานนั้น และเป็นสิทธิของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะซักถามและถามค้านพยานได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน และไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 89 วรรคหนึ่ง (2) ที่บัญญัติให้ถามค้านพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างมาและนำพยานนั้นเข้าสืบก่อนถึงข้อความที่ตนจะนำสืบภายหลังมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการซักถามพยานในศาลแรงงานได้
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยแสดงเจตนาแก่นายจ้างและไม่อาจถอนหรือยกเลิกเจตนานั้นได้หมายถึงกรณีที่ลูกจ้างแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างเพียงฝ่ายเดียวแล้วลูกจ้างขอถอนหรือยกเลิกเจตนาเลิกสัญญาจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงการตกลงหรือยินยอมพร้อมใจของนายจ้างและลูกจ้างในการถอนหรือยกเลิกการแสดงเจตนาของลูกจ้างที่ขอเลิกสัญญาจ้างด้วย เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างและจำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงยกเลิกและยินยอมให้โจทก์ถอนการแสดงเจตนาลาออกของโจทก์ จึงทำให้การลาออกของโจทก์ถูกถอนไปแล้ว
การชำระหนี้ตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 หมายถึงการชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่ต้องชำระ การที่จำเลยชำระค่าคอมมิสชันให้โจทก์เกินจำนวนที่โจทก์มีสิทธิได้รับโดยผิดหลง ไม่แม่นยำในหลักการ หรือเกิดจากการคำนวณผิด ไม่ใช่การชำระหนี้ตามอำเภอใจ
โจทก์รับเงินค่าคอมมิสชันในเดือนสุดท้ายเท่ากับที่เคยรับ เชื่อได้ว่าโจทก์รับไว้โดยสุจริตโดยเชื่อว่ามีสิทธิรับไว้ได้ โจทก์จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้รับ แต่เมื่อโจทก์ทราบว่าจะต้องคืนเงินดังกล่าวเมื่อถูกจำเลยฟ้องแย้งแล้ว ถือว่าโจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องแย้ง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยแสดงเจตนาแก่นายจ้างและไม่อาจถอนหรือยกเลิกเจตนานั้นได้หมายถึงกรณีที่ลูกจ้างแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างเพียงฝ่ายเดียวแล้วลูกจ้างขอถอนหรือยกเลิกเจตนาเลิกสัญญาจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงการตกลงหรือยินยอมพร้อมใจของนายจ้างและลูกจ้างในการถอนหรือยกเลิกการแสดงเจตนาของลูกจ้างที่ขอเลิกสัญญาจ้างด้วย เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างและจำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงยกเลิกและยินยอมให้โจทก์ถอนการแสดงเจตนาลาออกของโจทก์ จึงทำให้การลาออกของโจทก์ถูกถอนไปแล้ว
การชำระหนี้ตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 หมายถึงการชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่ต้องชำระ การที่จำเลยชำระค่าคอมมิสชันให้โจทก์เกินจำนวนที่โจทก์มีสิทธิได้รับโดยผิดหลง ไม่แม่นยำในหลักการ หรือเกิดจากการคำนวณผิด ไม่ใช่การชำระหนี้ตามอำเภอใจ
โจทก์รับเงินค่าคอมมิสชันในเดือนสุดท้ายเท่ากับที่เคยรับ เชื่อได้ว่าโจทก์รับไว้โดยสุจริตโดยเชื่อว่ามีสิทธิรับไว้ได้ โจทก์จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้รับ แต่เมื่อโจทก์ทราบว่าจะต้องคืนเงินดังกล่าวเมื่อถูกจำเลยฟ้องแย้งแล้ว ถือว่าโจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10756/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับทรัพย์มรดก: สิทธิทายาทและอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์ยื่นคำร้องขอยึดที่ดินแปลงพิพาทอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ที่ตกทอดแก่ ธ. จำเลยและ ศ. จำเลยยื่นคำคัดค้านเพียงว่าจำเลยไม่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์ไม่มีอำนาจยึดที่ดินพิพาท จำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าทรัพย์พิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ท. จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (1) มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง ธ. เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. มีสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องทำการอันจำเป็นเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ท. แก่ทายาทตามมาตรา 1719 และต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 แม้ที่ดินพิพาท ธ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. จะจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นของ ธ. เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีสิทธิยึดมาบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6719/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุงานต่อเนื่องหลังศาลสั่งให้กลับเข้าทำงาน กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ศาลแรงงานภาค 4 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราจ้างไม่ต่ำกว่าเดิมเนื่องจากจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม แม้มิได้กำหนดให้นับอายุงานต่อเนื่องไว้แต่ตามผลรูปคดีย่อมแสดงว่าเป็นการสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปในฐานะเดิมก่อนการเลิกจ้าง เมื่ออายุงานเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้ลูกจ้างได้รับสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานบางประการ การไม่นับอายุงานต่อเนื่องเป็นการทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิที่จะพึงมีพึงได้อันเนื่องมาจากอายุงานเป็นการไม่คุ้มครองลูกจ้าง ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
การนับอายุงานต่อเนื่องเป็นเพียงการรักษาสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วไม่ให้เสียไปเพราะการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงต้องนับอายุงานต่อเนื่องจากอายุงานเดิมมิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่หลังจากที่จำเลยที่ 2 รับโจทก์กลับเข้าทำงาน แต่จะนับระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่จำเลยที่ 2 รับโจทก์กลับเข้าทำงานรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้เพราะระหว่างนั้นโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยที่ 2 คงนับอายุงานใหม่ต่อกับอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างได้เท่านั้น
การนับอายุงานต่อเนื่องเป็นเพียงการรักษาสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วไม่ให้เสียไปเพราะการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จึงต้องนับอายุงานต่อเนื่องจากอายุงานเดิมมิใช่เริ่มนับอายุงานใหม่หลังจากที่จำเลยที่ 2 รับโจทก์กลับเข้าทำงาน แต่จะนับระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่จำเลยที่ 2 รับโจทก์กลับเข้าทำงานรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้เพราะระหว่างนั้นโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยที่ 2 คงนับอายุงานใหม่ต่อกับอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4408/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะไม่มีผลทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นของภริยาโดยชอบ
โจทก์ฟ้องระบุว่า โจทก์จดทะเบียนสมรสและอยู่กินกับ ป. ผู้ตาย แต่เป็นการสมรสซ้อน ต้องห้ามตามมาตรา 1452 แห่ง ป.พ.พ. เป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ซึ่งมีผลตามมาตรา 1498 โดยมาตรา 1498 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา" ซึ่งมีความหมายว่า โจทก์ไม่อาจอ้างประโยชน์จากการอยู่กินฉันสามีภริยากับ ป. ผู้ตายเพื่อกำหนดประโยชน์หรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของ ป. ผู้ตายได้ เพราะการสมรสโมฆะไปแล้ว และในทางกลับกันการสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. ผู้ตายยังมีผลสมบูรณ์ ทำให้ทรัพย์สินของ ป. ผู้ตายต้องพิจารณาไปตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. บรรพ 5 ลักษณะ 1 หมวด 3 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ซึ่งต้องถือว่าทรัพย์สินของ ป. ผู้ตาย มีผลเป็นทรัพย์สินระหว่าง ป. ผู้ตาย สามีกับจำเลยภริยาเพียงใด ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าเป็นสินส่วนตัวของ ป. ผู้ตาย หรือสินส่วนตัวของจำเลยเพียงใด และเป็นสินสมรสระหว่าง ป. ผู้ตายกับจำเลยเพียงใด ซึ่งมาตรา 1474 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส" ส่วนโจทก์จะมีสิทธิในทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในระหว่างอยู่กินกับ ป. ผู้ตายเพียงใด ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของมาตรา 1498 วรรคสอง ที่ว่า "ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อนหรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง..." ตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่า โจทก์มีทรัพย์สินใดที่โจทก์มีหรือได้มาก่อนหรือหลังสมรส ให้เป็นของโจทก์ ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง
ทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าได้ประกอบธุรกิจตั้งบริษัท ส. กิจการขาดทุนและโจทก์ปิดบริษัทแล้ว ทรัพย์สินรายการอื่น ๆ เงินฝากตามสมุดคู่ฝาก ของ ป. หนังสือรับรองหักภาษี หรือตั๋วสัญญาใช้เงินหรือหน่วยลงทุนโฉนดที่ดิน รายการสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เป็นชื่อ ป. ผู้ตายทั้งสิ้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร ทรัพย์สินตามที่กล่าวมาจึงเป็นทรัพย์สินที่กฎหมายถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสของ ป. ผู้ตายกับจำเลยทั้งสิ้น ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้ในทรัพย์สินร่วมกับ ป. ผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวได้
ป. ผู้ตายแสดงออกต่อบุคคลภายนอก โดยระบุในสำเนาบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ป. ผู้ตายแจ้งว่า คู่สมรสคือจำเลย ป. ผู้ตายและจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยาโดยชอบ มีผลให้ทรัพย์สินที่ ป. ผู้ตายได้มาในระหว่างสมรสกับจำเลยเป็นสินสมรสตามผลของมาตรา 1474 (1) การที่ ป. ผู้ตายซื้อที่ดินมาขายได้เงิน จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส เป็นสินสมรสระหว่าง ป. ผู้ตายกับจำเลย การที่ ป. ผู้ตายแบ่งเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงหากระทำได้ไม่ เพราะเป็นการให้โดยเสน่หาที่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามมาตรา 1476 (5) โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินตามฟ้อง
ทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าได้ประกอบธุรกิจตั้งบริษัท ส. กิจการขาดทุนและโจทก์ปิดบริษัทแล้ว ทรัพย์สินรายการอื่น ๆ เงินฝากตามสมุดคู่ฝาก ของ ป. หนังสือรับรองหักภาษี หรือตั๋วสัญญาใช้เงินหรือหน่วยลงทุนโฉนดที่ดิน รายการสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เป็นชื่อ ป. ผู้ตายทั้งสิ้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร ทรัพย์สินตามที่กล่าวมาจึงเป็นทรัพย์สินที่กฎหมายถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสของ ป. ผู้ตายกับจำเลยทั้งสิ้น ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้ในทรัพย์สินร่วมกับ ป. ผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวได้
ป. ผู้ตายแสดงออกต่อบุคคลภายนอก โดยระบุในสำเนาบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ป. ผู้ตายแจ้งว่า คู่สมรสคือจำเลย ป. ผู้ตายและจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยาโดยชอบ มีผลให้ทรัพย์สินที่ ป. ผู้ตายได้มาในระหว่างสมรสกับจำเลยเป็นสินสมรสตามผลของมาตรา 1474 (1) การที่ ป. ผู้ตายซื้อที่ดินมาขายได้เงิน จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส เป็นสินสมรสระหว่าง ป. ผู้ตายกับจำเลย การที่ ป. ผู้ตายแบ่งเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงหากระทำได้ไม่ เพราะเป็นการให้โดยเสน่หาที่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามมาตรา 1476 (5) โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินตามฟ้อง