พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ใช้ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มีการฎีกาในประเด็นนี้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,7,8,15,66,67,97,102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,83,32,33 และมีคำขอให้ ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจ ผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่า จะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการ ล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐาน จำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษ สถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน ของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติด: ศาลมีอำนาจริบได้ แม้ไม่ใช่โทษจำคุก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 67, 97, 102 ป.อ.มาตรา 91,83, 32, 33 และมีคำขอให้ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ ป.อ.มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษสถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย
ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ ป.อ.มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษสถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ใช้ในความผิดยาเสพติด: ศาลฎีกายกประเด็นริบทรัพย์แม้ไม่ได้รับการฎีกา ชี้เป็นเรื่องความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,7,8,15,66,67,97,102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,83,32,33 และมีคำขอให้ ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจ ผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่า จะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการ ล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐาน จำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษ สถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน ของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท – การระงับสิทธิฟ้องคดีซ้ำ – การริบของกลาง
บทบัญญัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษไม่
เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีนที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีนโดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิต ดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ.มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข
เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33 (1)
เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีนที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีนโดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิต ดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ.มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข
เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตาม ป.อ.มาตรา 32, 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท-ระงับสิทธิฟ้อง: คดีผลิตและครอบครองยาเสพติด
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดอันหนึ่ง ๆ ในคราวเดียวกัน หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษไม่ เฮโรอีนจำนวนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับเฮโรอีน ที่จำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองตามคดีอาญาเรื่องก่อน เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในคราวเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งโจทก์บรรยาย ฟ้องคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตเฮโรอีน โดยแบ่งเฮโรอีนจากหลอดพลาสติกขนาดใหญ่จำนวน 3 หลอด บรรจุในหลอดกาแฟที่ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ จำนวน 5 หลอด และที่โจทก์ บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายก็เป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกับที่ฟ้องว่าจำเลยผลิตดังนี้ เมื่อเฮโรอีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตกับเฮโรอีนที่ จำเลยทั้งสามมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาเป็นความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งไม่เมื่อการกระทำของ จำเลยที่ 2 ในคดีนี้กับการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนเป็นการกระทำกรรมเดียวในวาระเดียวกันและศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ไปแล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิด ที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้วินิจฉัยสั่งในเรื่องของกลางย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข เฮโรอีนของกลางเป็นทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิดส่วนของกลางอื่นก็เป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีนจึงเป็นทรัพย์ที่พึงริบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32,33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปรับบทความผิดจากกฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ หลังมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนแปลงสถานะยา
ภายหลังจำเลยกระทำผิดแล้วได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2539 กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1แม้จะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3 เนื่องจากมีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ ก็ตาม การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายอันเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต กับความผิดฐานมีเมทแอมเฟ-ตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นความผิดคนละบทมาตรากัน หามีบทใดเป็นบทเฉพาะแก่กันไม่ เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย และที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ.มาตรา 90 ซึ่งต้องปรับบทความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย และเมื่อปรากฏว่าภายหลังที่จำเลยกระทำความผิด ได้มีประกาศกระทรวง-สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 อันมีผลทำให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ในคดีนี้ไม่เกิน 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ซึ่งมีอัตราโทษที่เบากว่าฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ จึงเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3 กรณีจึงต้องปรับบทความผิดตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ด้วย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อโทษอาญาจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 10
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การผลิตและครอบครองเพื่อขาย, การเรียงกระทง, และการใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ พวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีน โดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิต และมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำ เจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้าน จำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุงจำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน 150 ถุง ได้จำหน่าย ไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาว หลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสอง จะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน ทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิด ก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกัน มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทง ลงโทษตามกฎหมาย ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีน เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิตและการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัมอีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับ ตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตาม มาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตดังนั้น พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พระราชบัญญัติวัตถุ ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงต้องนำ พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่ เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของยาเสพติด ศาลยืนตามโทษเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติด ให้โทษในประเภท 1 จำนวน 3 หลอด น้ำหนัก 2.98 กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและได้จำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวให้แก่ผู้มีชื่อเป็นเงิน 1,800 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายจำเลยให้การรับสารภาพ แม้โจทก์มิได้ระบุน้ำหนักเฮโรอีนของกลางว่ามีสารบริสุทธิ์หนักเท่าไร แต่ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158(5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว สำหรับน้ำหนักเฮโรอีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดนั้น เป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยเองก็ฎีกายอมรับว่าเป็นเรื่องประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้นคำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องคดีจำหน่ายยาเสพติด: การระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ไม่จำเป็นต้องระบุในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 3 หลอด น้ำหนัก 2.98 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและได้จำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวให้แก่ผู้มีชื่อเป็นเงิน 1,800 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยให้การรับสารภาพ แม้โจทก์มิได้ระบุน้ำหนักเฮโรอีนของกลางว่ามีสารบริสุทธิ์หนักเท่าไร แต่ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158 (5) แห่ง ป.วิ.อ. ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว สำหรับน้ำหนักเฮโรอีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดนั้นเป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ จำเลยเองก็ฎีกายอมรับว่าเป็นเรื่องประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม