คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ม. 15

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6904/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในคดียาเสพติด แม้ผู้พิการจะไม่ได้ลงมือเอง แต่สั่งการผู้อื่นได้
จำเลยที่ 2 พิการขาทั้งสองข้างอัมพาตอ่อนแรงไม่สามารถซื้อขายเมทแอมเฟตามีนหรือนำเมทแอมเฟตามีนไปซุกซ่อนในช่องลมใต้ที่ปัดน้ำฝนของรถยนต์กระบะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับโดยจำเลยที่ 2 โดยสารมาด้วย แต่จำเลยที่ 2 ก็ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยให้ผู้อื่นดำเนินการให้ตามคำสั่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในฟ้อง จำหน่ายยาเสพติดระหว่างผู้ต้องหา ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ล่อซื้อ ศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ให้แก่สายลับ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 2 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 14 เม็ด ให้แก่จำเลยที่ 1 อันเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนระหว่างจำเลยทั้งสองด้วยกันเอง ไม่เกี่ยวกับสายลับ ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9674/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โจทก์ไม่จำเป็นต้องระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ หากระบุน้ำหนักสุทธิแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีแมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 2 ถุง น้ำหนัก 0.52 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการกล่าวถึงน้ำหนักสุทธิ ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดอันหนึ่งอันใดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่ว่า "ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม..." แล้ว โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์เท่าใดอีกได้ คำฟ้องจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกไม่ถึงห้าปี ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามบทบัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษจำเลย
ทางพิจารณาปรากฏผลการตรวจพิสูจน์เมทแอมเฟตามีน 29 เม็ด ของกลางเฉพาะส่วนนี้ในรายงานการตรวจพิสูจน์ว่า คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.038 กรัม หรือ 1,038 มิลลิกรัม ซึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป อันต้องบทสันนิษฐานเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสาม (2) ว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
เมทแอมเฟตามีน 29 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1,038 มิลลิกรัม ที่จำเลยร่วมกับพวกมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 429 เม็ด ของกลาง ที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยไว้แล้วศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 เพราะไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9391/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – ขยายเวลาอุทธรณ์ไม่ชอบ – ศาลอุทธรณ์ไร้อำนาจ – อุทธรณ์จำเลยที่ 2 ชอบ
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จะไม่มีอำนาจรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แต่ก็มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ถูกต้องและไม่ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น จึงเป็นการชอบแล้ว เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6804/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษทางอาญาจากความช่วยเหลือในการปราบปรามยาเสพติด และการพิจารณาความผิดหลายกรรม
โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องว่า ภายหลังจากจำเลยถูกจับกุม จำเลยได้ให้ความร่วมมือต่อเจ้าพนักงานและพนักงานสอบสวน โดยให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และเป็นสายลับล่อซื้อให้แก่เจ้าพนักงาน จนสามารถจับกุม น. ซึ่งเป็นผู้ค้ายาเสพติดให้โทษรายใหญ่ อันเป็นประโยชน์แก่ทางราชการได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนอีก 109 เม็ด และระบุ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 100/2 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติว่า ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องดังกล่าวนับได้ว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ (ก) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2548 จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนรวม 4 เม็ด ให้แก่ผู้มีชื่อในราคา 800 บาท (ข) เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2548 จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายรวม 35 เม็ด (ค) เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2548 จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวในข้อ (ข) จำนวน 2 เม็ด ให้แก่ผู้มีชื่อในราคา 300 บาท (ง) เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2548 จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวในข้อ (ข) จำนวน 10 เม็ด ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา 2,000 บาท ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยกระทำความผิดสี่กรรมต่างวาระกัน และเป็นกรณีที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายความว่าจำเลยรับว่าได้กระทำความผิดสี่กรรมต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6034/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจำคุกเดิมของผู้ต้องหา และการใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ในการลงโทษ
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องหรือกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน เพื่อประกอบดุลพินิจในการลงโทษของศาล การที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 726/2541 จำคุก 1 เดือน และศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยที่ 1 ว่า เคยมีประวัติต้องโทษเมื่อปี 2541 เรื่องอาวุธปืนตามรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวหรือไม่ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วและจำเลยที่ 1 ได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ฟังว่าจำเลยที่ 1 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนจึงชอบด้วยกฎหมาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 และ 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และ 67 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ข้อความใหม่แทนโดยในบทความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ทั้งกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่ คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลยที่ 1 ในส่วนนี้ ส่วนบทกำหนดโทษนั้น มาตรา 67 กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสภาพที่จะลงได้ ส่วนโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานนำเข้ายาเสพติดเพื่อจำหน่าย: การพิจารณาความชัดเจนของคำฟ้องและการลงโทษ
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรจำนวน 22 เม็ด ตามคำฟ้องข้อ 1 ข แยกกับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกันไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามคำฟ้องข้อ 1 ค ก็ตาม แต่คำฟ้องข้อ 1 ค โจทก์ได้บรรยายไว้โดยแจ้งชัดแล้วว่าเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายดังกล่าวเป็นเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยนำมาจากประเทศกัมพูชาเข้ามาในราชอาณาจักรจึงเป็นเมทแอมเฟตามีนจำนวนเดียวกัน ซึ่งมีจำนวนหน่วยการใช้และปริมาณน้ำหนักสารบริสุทธิ์ที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายเท่ากัน ทั้งโจทก์ได้อ้างบทมาตราขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายแล้ว ถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยกระทำความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนของกลางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) (6) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองและจำหน่ายยาเสพติด: การรับฟังพยานหลักฐาน และการแก้ไขโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 2,680 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 29.705 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ปรากฏว่า เมทแอมเฟตามีน 180 เม็ด ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด แม้โจทก์จะนำสืบถึงรายงานการตรวจพิสูจน์ตามเอกสารหมาย จ. 1 ซึ่งระบุปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวไว้ แต่ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่ปรากฏในชั้นพิจารณามิใช่ส่วนหนึ่งของคำฟ้อง จึงนำมาประกอบคำฟ้องเพื่อเป็นองค์ประกอบความผิดในเหตุฉกรรจ์ที่จะทำให้จำเลยรับโทษหนักขึ้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7779/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษทางอาญาหลังมีกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลย แม้คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลมีอำนาจแก้ไขโทษได้ตาม ป.อ. มาตรา 3
แม้คดีนี้จะถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วก็ตาม แต่จำเลยกำลังรับโทษตามคำพิพากษาดังกล่าวอยู่ หากปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยแล้วก็ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้กำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังได้ ตามคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ภายหลังกระทำความผิดได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ ออกใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 8 มาตรา 19 และมาตรา 26 ของพ.ร.บ.ดังกล่าวให้ยกเลิกความในมาตรา 15 มาตรา 66 และมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ความใหม่แทนอันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย ดังนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษเสียใหม่ให้แก่จำเลยได้
of 21