พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคารและการกำหนดโทษปรับรายวันภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร รวมถึงประเด็นอายุความ
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร4 ชั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตหรือสำคัญผิดว่าได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นก็ตาม อาคารที่จำเลยก่อสร้างก็ยังเป็นอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร, การปรับบทกฎหมาย และการกำหนดโทษปรับรายวัน
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร4 ชั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตหรือสำคัญผิดว่าได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นก็ตาม อาคารที่จำเลยก่อสร้างก็ยังเป็นอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7496/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลย 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายจากความล่าช้าการอนุญาตก่อสร้าง แม้มีเหตุผลด้านนโยบาย แต่ไม่สามารถอ้างได้
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 26 และมาตรา 27 กำหนดเวลาไว้เป็นการเด็ดขาด กล่าวคือเมื่อผู้ขอใบอนุญาตเสนอแบบแปลน แผนผังบริเวณ รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 และข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องออกใบอนุญาตหรือมีคำสั่ง ไม่อนุญาตและแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบโดยตรง ไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 26 และมิอาจอ้างเหตุอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 มาเป็นเหตุไม่มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำขอได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์ที่ขอรับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารจนพ้นกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 26 เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้ข้ออ้างในการที่ไม่มีคำสั่งตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้จะเป็นเรื่องของการรักษาผลประโยชน์สาธารณะตามอำนาจหน้าที่อย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ก็ไม่อาจอ้างมาทำให้โจทก์ต้องรับภาระนั้นแต่ผู้เดียวได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ความเสียหายจากการที่โจทก์มิได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของตนตามบทกฎหมายและกฎข้อบังคับที่ชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 ในฐานะดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ในการสั่งการวินิจฉัย ที่จำเลยที่ 2 มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำขอของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่จนพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายก็เพราะจำเลยที่ 2 คำนึงถึงนโยบายของจำเลยที่ 1 และรัฐมนตรี ที่จะอนุรักษ์บริเวณที่โจทก์ขอใบอนุญาตก่อสร้างไว้เป็น บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2มีเจตนาไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การสั่งการวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ในพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมอยู่ภายในขอบเขตของอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงได้รับยกเว้นตามกฎหมายไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ค่ามัดจำที่ดินที่โจทก์จะซื้อเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคาร เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโจทก์จึงไม่ได้ซื้อที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงถูกริบมัดจำไปเป็นค่าเสียหายพิเศษที่โจทก์ได้รับ กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1ย่อมไม่เคยทราบความเสียหายที่จะเกิดนี้มาก่อน ทั้งโจทก์ก็ไม่เคยแจ้งเตือนจำเลยที่ 1 จึงเป็นค่าเสียหายไกลกว่าเหตุโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลย ค่าออกแบบ ค่าคำนวณการก่อสร้างของสถาปนิกและวิศวกรนั้น เมื่อโจทก์จะก่อสร้างอาคารตามที่ขออนุญาต โจทก์ต้องยื่น แบบแปลนรายการคำนวณและผังแบบแปลนตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ ไม่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าเสียหายส่วนนี้ โจทก์ได้จ่ายค่าจ้างศึกษาโครงการแล้ว แต่โจทก์จะตัดสินใจดำเนินการหรือไม่อยู่ที่ว่าโครงการนั้นคุ้มค่าลงทุนหรือไม่ หากไม่คุ้มค่าลงทุนโจทก์ก็ต้องงดโครงการ และย่อมต้องเสียค่าศึกษาโครงการอยู่ดี ค่าศึกษาโครงการจึงเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ ค่าเสียโอกาสและเวลานั้น หากโครงการของโจทก์ได้รับอนุญาต แล้วกิจการของโจทก์อาจไม่ประสบความสำเร็จและประสบการขาดทุน ก็ได้ ไม่มีความแน่นอน การที่โจทก์ไม่ได้ก่อสร้างอาคาร ตามโครงการจะถือว่าเป็นการเสียโอกาสและเวลาที่จำเลย ต้องรับผิดชดใช้ให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต, การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย, และการแก้ไขโทษตามกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 การที่พนักงานสอบสวนได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบในฐานะเป็นหุ้นส่วนกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 ว่าได้กระทำความผิด แสดงว่าได้แจ้งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำผิด เพราะการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้น จะต้องสอบสวนดำเนินคดีผ่านทางกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 134 แล้ว
จำเลยทำการดัดแปลงอาคารพิพาทหลังจากใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว เป็นการดัดแปลงอาคารพิพาทโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22 มิใช่เป็นความผิดฐานดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณแบบแปลน ฯ ตามมาตรา 31
กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2528) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 2 ของกฎกระทรวงดังกล่าว ให้กำหนดแบบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบท้ายกฎกระทรวง ในกรณีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ใช้แบบคำสั่งแบบ ค.3ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยดัดแปลงอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวโดยใช้แบบคำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งมีข้อความครบถ้วนทุกรายการตามคำสั่งแบบค.3 รวมทั้งส่วนราชการที่ออกคำสั่ง จึงชอบแล้ว เพียงแต่คำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ไม่มีตราส่วนราชการอยู่ส่วนบนสุดของคำสั่งไม่ถึงกับทำให้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบ
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับ ให้ยกเลิกความในมาตรา65 มาตรา 66 มาตรา 67 มาตรา 70 และมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งมีระวางโทษแตกต่างจากเดิมทั้งหนักขึ้นและเบาลง อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายซึ่งใช้ในภายหลังกระทำผิดอันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดไม่ว่าในทางใด ๆจึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่อันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิมมาใช้บังคับ และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม และมาตรา 67 เดิมซึ่งเป็นคุณยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขใหม่และมาตรา 67 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง สำหรับจำเลยที่ 2 ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 โดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลัก โดยกำหนดไว้ว่าผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม มาตรา67 เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุกมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยที่ 2 ต้องลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก
จำเลยทำการดัดแปลงอาคารพิพาทหลังจากใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว เป็นการดัดแปลงอาคารพิพาทโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22 มิใช่เป็นความผิดฐานดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณแบบแปลน ฯ ตามมาตรา 31
กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2528) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 2 ของกฎกระทรวงดังกล่าว ให้กำหนดแบบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบท้ายกฎกระทรวง ในกรณีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ใช้แบบคำสั่งแบบ ค.3ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยดัดแปลงอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวโดยใช้แบบคำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งมีข้อความครบถ้วนทุกรายการตามคำสั่งแบบค.3 รวมทั้งส่วนราชการที่ออกคำสั่ง จึงชอบแล้ว เพียงแต่คำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ไม่มีตราส่วนราชการอยู่ส่วนบนสุดของคำสั่งไม่ถึงกับทำให้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบ
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับ ให้ยกเลิกความในมาตรา65 มาตรา 66 มาตรา 67 มาตรา 70 และมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งมีระวางโทษแตกต่างจากเดิมทั้งหนักขึ้นและเบาลง อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายซึ่งใช้ในภายหลังกระทำผิดอันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดไม่ว่าในทางใด ๆจึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่อันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิมมาใช้บังคับ และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม และมาตรา 67 เดิมซึ่งเป็นคุณยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขใหม่และมาตรา 67 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง สำหรับจำเลยที่ 2 ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 โดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลัก โดยกำหนดไว้ว่าผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม มาตรา67 เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุกมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยที่ 2 ต้องลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก