คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ม. 39 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดคุณสมบัติ การกระบวนการพิจารณาคดีเป็นโมฆะ
น. เป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความชั้นหนึ่งอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528ใช้บังคับดังนั้นใบอนุญาตดังกล่าวจึงมีอายุใช้ได้จนถึงวันที่31ธันวาคม2528ตามที่พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มาตรา84วรรคหนึ่งบัญญัติไว้หากน.ประสงค์จะทำการเป็นทนายความต่อไปจะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันก่อนวันที่ใบอนุญาตฉบับเดิมสิ้นอายุแต่น. มิได้ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นการขาดต่อใบอนุญาตตามมาตรา39วรรคสอง การที่น. ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามมาตรา40(3)ทำการเป็นทนายความของจำเลยในศาลชั้นต้นต่อแต่นั้นมาย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มาตรา33กระบวนพิจารณาที่น. ดำเนินการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้น. จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและนายทะเบียนสภาทนายความได้รับใบคำขอดังกล่าวไว้ในภายหลังก็ไม่อาจทำให้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของน. ดังกล่าวแล้วกลับเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ ตราบใดที่น. ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความและจำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งน.เป็นทนายความของจำเลยเข้ามาใหม่กระบวนพิจารณาที่น.เป็นผู้ดำเนินการย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดคุณสมบัติทนายความและการเพิกถอนกระบวนการพิจารณา
น. เป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความชั้นหนึ่งอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ใช้บังคับ ดังนั้นใบอนุญาตดังกล่าวจึงมีอายุใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2528 ตามที่พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 84 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ หาก น. ประสงค์จะทำการเป็นทนายความต่อไป จะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันก่อนวันที่ใบอนุญาตฉบับเดิมสิ้นอายุ แต่ น. มิได้ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นการขาดต่อใบอนุญาตตามมาตรา 39 วรรคสอง
การที่ น. ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามมาตรา 40 (3) ทำการเป็นทนายความของจำเลยในศาลชั้นต้นต่อแต่นั้นมา ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33กระบวนพิจารณาที่ น.ดำเนินการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ น. จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ และนายทะเบียนสภาทนายความได้รับใบคำขอดังกล่าวไว้ในภายหลัง ก็ไม่อาจทำให้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของน. ดังกล่าวแล้วกลับเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
ตราบใดที่ น. ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความ และจำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้ง น. เป็นทนายความของจำเลยเข้ามาใหม่ กระบวนพิจารณาที่ น. เป็นผู้ดำเนินการย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียทั้งหมด