พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองขาดตอนเมื่อผู้เยาว์ออกจากบ้านนาน ผู้กระทำไม่ผิดฐานพรากผู้เยาว์
การที่ ป.พ.พ. มาตรา 1566 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดานั้น เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร อันเป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ ที่จะมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของผู้เยาว์ รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินของผู้เยาว์ เนื่องจากผู้เยาว์เป็นผู้ที่ยังอ่อนในด้านสติปัญญา ความคิด และร่างกาย ขาดความรู้ ความชำนาญ จึงต้องมีผู้ใช้อำนาจปกครองคอยปกครองดูแลจนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ แต่ความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วยตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก นั้น แม้กฎหมายบัญญัติโดยมุ่งที่จะคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลของผู้เยาว์ เพื่อปกป้องมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการล่วงละเมิดต่ออำนาจปกครองก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวนอกจากคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาแล้ว ยังคุ้มครองอำนาจปกครองดูแลของผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้เยาว์ด้วย เห็นได้ว่าการล่วงละเมิดอำนาจปกครองที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก มีความหมายแตกต่างจากอำนาจปกครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 ประกอบกับการพรากผู้เยาว์เป็นความผิดทางอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไม่ได้ ดังนี้ การพรากผู้เยาว์ที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 319 วรรคแรกได้นั้น ผู้เยาว์ต้องอยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตามสภาพความเป็นจริงว่าผู้เยาว์อยู่ในความดูแลหรือไม่ หากผู้เยาว์ไปจากการดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเสียแล้ว อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลย่อมขาดตอนหรือสิ้นสุดลง แต่หากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลยังดูแลเอาใจใส่ผู้เยาว์อยู่ ผู้เยาว์ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตลอดเวลาโดยไม่ขาดตอนหรือสิ้นสุดลง
คดีนี้ ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์หนีออกจากบ้านพักที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาไปก่อนเกิดเหตุเกือบ 1 ปี และพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังว่า ผู้เสียหายที่ 1 ยังใส่ใจดูแลผู้เสียหายที่ 2 อยู่ ดังนี้ อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 จึงขาดตอนและสิ้นสุดลง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ไม่อยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 เป็นธุระจัดหาให้ผู้เสียหายที่ 2 ไปค้าประเวณีให้แก่สายลับ จึงไม่เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากมารดาเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย
คดีนี้ ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์หนีออกจากบ้านพักที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาไปก่อนเกิดเหตุเกือบ 1 ปี และพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักรับฟังว่า ผู้เสียหายที่ 1 ยังใส่ใจดูแลผู้เสียหายที่ 2 อยู่ ดังนี้ อำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 จึงขาดตอนและสิ้นสุดลง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ไม่อยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 เป็นธุระจัดหาให้ผู้เสียหายที่ 2 ไปค้าประเวณีให้แก่สายลับ จึงไม่เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากมารดาเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8420-8421/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราโทรมหญิง ร่วมกันพรากผู้เยาว์ และชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
แม้ผู้ร้องที่ 2 มิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องที่ 1 กรณีผู้ร้องที่ 2 จึงมิใช่ผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ เหมือนผู้ร้องที่ 3 ที่เป็นมารดาชอบด้วยกฎหมายอันเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องที่ 2 เป็นบิดาที่แท้จริงของผู้ร้องที่ 1 ต้องถือว่าผู้ร้องที่ 2 อยู่ในฐานะผู้ดูแลผู้ร้องที่ 1 และเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดาซึ่งเป็นผู้ดูแลตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรกด้วย ผู้ร้องที่ 2 ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11520-11521/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของผู้เยาว์ในการเดินทางไปต่างประเทศเป็นสำคัญในการพิจารณาความผิดฐานพรากผู้เยาว์
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร การที่จะพิจารณาว่าผู้เยาว์เต็มใจหรือไม่เต็มใจนั้น ต้องพิจารณาเจตนาภายในใจของผู้เยาว์ คดีนี้ผู้เสียหายที่ 1 มีเจตนาไปเที่ยวที่ประเทศมาเลเซียตามคำชักชวนของจำเลยที่ 1 โดยผู้เสียหายที่ 1 เดินทางไปเองตามลำพัง จำเลยที่ 1 มิได้บังคับผู้เสียหายที่ 1 ดังนี้จะถือว่าผู้เสียหายที่ 1 ไม่เต็มใจไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษเมื่อข้อเท็จจริงพยานหลักฐานเปลี่ยนแปลง ศาลสามารถลงโทษตามบทที่มีโทษเบากว่าได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสี่พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดพรากผู้เสียหายที่ 1 โดยเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายที่ 1 อายุกว่าสิบห้าปี อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก ศาลย่อมปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก ซึ่งมีการกระทำอันเป็นความผิดรวมอยู่ในความผิดตามที่โจทก์ฟ้องและมีโทษเบากว่าตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้ายได้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษดังที่จำเลยทั้งสี่ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7841/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้เสียหายสำคัญต่อความผิดฐานข่มขืน/กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์ การยินยอมมีผลต่อความผิด
มาตรา 16 ป.พ.พ. บัญญัติว่า การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ผู้เสียหายที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2532 จึงต้องนับอายุตั้งแต่วันเกิด คือนับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2532 เป็นหนึ่งวันเต็ม ผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 193/5 คดีได้ความว่าเหตุเกิดวันที่ 5 มีนาคม 2547 เวลาประมาณ 2 นาฬิกา ดังนั้น ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 จึงมีอายุเกินกว่า 15 ปีบริบูรณ์แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 227 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีความผิดตามบทบัญญัติมาตรานี้และแม้จะมีบทบัญญัติความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในมาตรา 276 แต่เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 276 เช่นกัน ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้นไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 แต่ก็เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ตาม ป.อ. มาตรา 319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเรา-พรากผู้เยาว์: ศาลฎีกาพิพากษา ยกประโยชน์แห่งความสงสัยและแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ที่ยืนยันว่าถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรามีพิรุธไม่น่าเชื่อถือ เพราะเมื่อแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวบรรยายฟ้องไว้ ย่อมแสดงว่าคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ต่อศาลในชั้นพิจารณาแตกต่างกับคำให้การชั้นสอบสวนที่ผู้เสียหายที่ 1 เคยให้การไว้ซึ่งพนักงานอัยการใช้เป็นข้อมูลในการบรรยายการกระทำของจำเลยในคำฟ้อง แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายที่ 1 ให้การต่อพนักงานสอบสวนและเบิกความต่อศาลแตกต่างขัดแย้งกันไม่อยู่กับร่องกับรอย ทำให้คำเบิกความของพนักงานสอบสวนและเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 เป็นพิรุธไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้น คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ที่กล่าวอ้างว่า ถูกจำเลยบังคับให้ดื่มสุราสาโทประมาณ 2 แก้ว จนผู้เสียหายที่ 1 หมดสติไม่รู้สึกตัว เมื่อรู้สึกตัวก็รู้ตัวว่าถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้เพราะเมาสุราหมดสติ เป็นการขัดต่อเหตุผล จึงยังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 จริงตามฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
หลักเกณฑ์การบรรยายฟ้องความผิดหลายกระทงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การที่โจทก์บรรยายฟ้องในฟ้องข้อ 1 ก. รวมการกระทำความผิดฐานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร และพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารอยู่ในฟ้องข้อเดียวกัน แยกออกจากฟ้องข้อ 1 ข. ฐานข่มขืนกระทำชำเรานั้น โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจารและพรากผู้เยาว์เพียงกรรมเดียว หาใช่มุ่งประสงค์ให้ลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 เหมือนเช่นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ตามฟ้องข้อ 1 ข. อีกกระทงหนึ่งไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยฐานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก กระทงหนึ่ง และฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรา 319 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและนอกความประสงค์ของโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่
หลักเกณฑ์การบรรยายฟ้องความผิดหลายกระทงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า การที่โจทก์บรรยายฟ้องในฟ้องข้อ 1 ก. รวมการกระทำความผิดฐานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร และพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารอยู่ในฟ้องข้อเดียวกัน แยกออกจากฟ้องข้อ 1 ข. ฐานข่มขืนกระทำชำเรานั้น โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจารและพรากผู้เยาว์เพียงกรรมเดียว หาใช่มุ่งประสงค์ให้ลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 เหมือนเช่นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ตามฟ้องข้อ 1 ข. อีกกระทงหนึ่งไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยฐานพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก กระทงหนึ่ง และฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรา 319 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและนอกความประสงค์ของโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืน กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์ พร้อมประเด็นอายุความสามารถของโจทก์ร่วม
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม ตามฟ้องก็ดี ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยตามมาตรา 319 วรรคแรก ที่พิจารณาได้ความก็ดีมีองค์ประกอบความผิดร่วมกันประการหนึ่งว่า "ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล..." ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งการกระทำความผิดกฎหมายทั้งสองมาตรานี้ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองคืออำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลนั่นเอง มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ดังนั้น ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดทั้งสองมาตรานี้ตามมาตรา 2 (4) แห่ง ป.วิ.อ. จึงได้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เยาว์ทั้งสองในขณะที่จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันกระทำความผิด หาใช่ตัวผู้เยาว์คือโจทก์ร่วมทั้งสองไม่
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เยาว์ยินยอม แต่ขาดการยินยอมจากผู้ปกครอง ถือความผิดอาญา
จำเลยรับ ศ. ผู้เยาว์มาจากในตัวเมืองเพชรบุรีแล้วพาไปที่ห้องพักของจำเลย จากนั้นจำเลยไดร่วมประเวณีกับ ศ. แม้ว่า ศ. ออกจากบ้านเองโดยจำเลยไม่ได้เป็นผู้ชักนำ แต่เมื่อจำเลยพบ ศ. ในบริเวณตลาดอำเภอเมืองเพชรบุรีแล้วพาไปค้างคืนที่ห้องพักของจำเลยโดย ศ. ยินยอมแต่ผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง ศ. ไม่ได้ยินยอมอนุญาต ย่อมเป็นการพราก ศ. ไปจากอำนาจปกครองของผู้เสียหาย จำเลยร่วมประเวณีกับ ศ. โดยไม่ได้ประสงค์รับเป็นภริยา พฤติกรรมของจำเลยเป็นพฤติกรรมที่ไม่สมควรในทางเพศตามครรลองครองธรรม ถือเป็นการกระทำเพื่อการอนาจาร การกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก เป็นความผิดอาญาฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6419/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่ออนาจาร แม้เด็กมีรูปร่างโตเกินวัย จำเลยสำคัญผิดถือเป็นเหตุบรรเทาโทษได้
การที่เด็กหญิง ข. หลบหนีออกจากบ้านเพียงไปดูภาพยนตร์ซึ่งไม่ห่างไกลจากบ้านที่อยู่ เมื่อภาพยนต์ เลิกแล้วก็คงกลับบ้านหากไม่ถูกจำเลยพาไป อำนาจในการปกครองดูแลของ จ. หาได้สิ้นสุดลงไม่การที่จำเลยพาเด็กหญิง ข. ไปอยู่ที่อื่นหลายวันถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กหญิง ข. ออกจาก จ. โดยปราศจากเหตุอันสมควร ระหว่างที่พาเด็กหญิง ข. ไปพักในที่ต่าง ๆ จำเลยได้กระทำชำเราเด็กหญิง ข. อันเป็นการกระทำอนาจารด้วย แม้ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ข. จะมีอายุ 13 ปี แต่เด็กหญิง ข. มีรูปร่างสมบูรณ์กว่าเด็กปกติทั่วไปจนจำเลยสำคัญผิดว่ามีอายุ 17 ปี จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่ออนาจารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6419/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้สำคัญผิดในอายุ แต่ยังถือว่าเป็นการพราก
เด็กหญิงข.หลบหนีออกจากบ้านเพียงไปดูภาพยนตร์ซึ่งไม่ห่างไกลจากบ้านที่อยู่ เมื่อภาพยนตร์เลิกแล้วก็คงกลับบ้านหากไม่ถูกจำเลยพาไป อำนาจในการปกครองดูแลของ จ. ผู้ปกครองดูแลจึงหาได้สิ้นสุดลงไม่ จำเลยพาเด็กหญิงข.ไปอยู่ที่อื่นหลายวันและได้กระทำชำเราเด็กหญิง ข. หลายครั้ง ถือว่าเป็นการพรากเด็กหญิงข. ออกจากจ. โดยปราศจากเหตุอันสมควรและเป็นการกระทำอนาจารด้วยแม้ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ข. อายุ 13 ปี แต่มีรูปร่างสมบูรณ์กว่าเด็กปกติทั่วไปตามสายตาของบุคคลภายนอกจะประมาณว่ามีอายุประมาณ17 ถึง 18 ปี ซึ่งจำเลยก็สำคัญผิดเช่นนั้น จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319