พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4969/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการกู้ยืมเพื่อการศึกษา, การแบ่งความรับผิดเมื่อสมรสสิ้นสุด, และสิทธิเรียกร้องระหว่างลูกหนี้ร่วม
การเรียกค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่ายนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น" ซึ่งบทบัญญัติตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ให้ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายได้เฉพาะกรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) คือ กรณีที่สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือฉันสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ ดังนั้น การที่โจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ในกรณีนี้ นอกจากจำเลยที่ 1 จะอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาหรือเป็นชู้หรือร่วมประเวณีกันเป็นอาจิณอันเป็นเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุดังกล่าวด้วย เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ด้วย แต่เมื่อในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงหย่ากันโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 และขอให้ศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งการที่ศาลพิพากษาตามยอมให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากันนี้ไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะมีเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการหย่าตามมาตรา 1516 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง
แม้การกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานนี้เฉพาะจำเลยที่ 1 แต่เพียงลำพังที่เป็นผู้กู้ โดยที่โจทก์มิได้ผูกพันเป็นผู้กู้ร่วมหรือค้ำประกันในหนี้จำนวนนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน ผู้ให้กู้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์นำเงินดังกล่าวไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนบุตรคนแรก การกู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาใช้เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490 (1) ในจำนวนเงิน 1,566,600 บาท และต้องผูกพันชำระหนี้จนกว่าหนี้จะระงับและเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยที่ 1 แต่คนใดคนหนึ่งในฐานะลูกหนี้ร่วมให้ชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามมาตรา 291 ส่วนกรณีตามมาตรา 1535 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกันตามส่วนเท่ากัน ก็เป็นเรื่องการแบ่งความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้ที่ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ร่วมชำระหนี้ได้ แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่ได้เป็นสามีภริยากันแล้วก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้เงินกู้ยืมจำนวนดังกล่าวให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ในส่วนที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดแก่ตนได้ เพราะหากให้โจทก์ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ในจำนวนที่เป็นหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้จนสิ้นเชิง โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมก็ยังอาจถูกเจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้เงินกู้จำนวนดังกล่าวอีกได้จนกว่าหนี้จำนวนนี้จะระงับสิ้นไป
แม้การกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานนี้เฉพาะจำเลยที่ 1 แต่เพียงลำพังที่เป็นผู้กู้ โดยที่โจทก์มิได้ผูกพันเป็นผู้กู้ร่วมหรือค้ำประกันในหนี้จำนวนนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน ผู้ให้กู้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์นำเงินดังกล่าวไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนบุตรคนแรก การกู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาใช้เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490 (1) ในจำนวนเงิน 1,566,600 บาท และต้องผูกพันชำระหนี้จนกว่าหนี้จะระงับและเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยที่ 1 แต่คนใดคนหนึ่งในฐานะลูกหนี้ร่วมให้ชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามมาตรา 291 ส่วนกรณีตามมาตรา 1535 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกันตามส่วนเท่ากัน ก็เป็นเรื่องการแบ่งความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้ที่ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ร่วมชำระหนี้ได้ แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่ได้เป็นสามีภริยากันแล้วก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้เงินกู้ยืมจำนวนดังกล่าวให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ในส่วนที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดแก่ตนได้ เพราะหากให้โจทก์ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ในจำนวนที่เป็นหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้จนสิ้นเชิง โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมก็ยังอาจถูกเจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้เงินกู้จำนวนดังกล่าวอีกได้จนกว่าหนี้จำนวนนี้จะระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8943/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนจากการเป็นชู้: ต้องมีเหตุหย่าตามกฎหมาย และมีการแสดงตนเปิดเผย
ภริยามีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีได้โดยอาศัยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น" ดังนั้น การที่โจทก์จะได้รับค่าทดแทนจากจำเลยได้จึงต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์และ น. หย่ากันและเหตุที่ น. อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยฉันภริยา มีชู้ หรือร่วมประเวณีกับจำเลยเป็นอาจิณ เมื่อปรากฏว่าโจทก์กับ น. หย่ากันโดยทำสัญญาประนีประนอมต่อศาล แม้ศาลมีคำพิพากษาตามยอม การทำสัญญาประนีประนอมกันนั้นหาใช่การที่คู่ความยอมรับตามคำฟ้องและคำให้การกันไม่ จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะมีเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้และแม้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง จะให้สิทธิภริยาเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาว โดยไม่ต้องฟ้องหย่าสามีโดยอาศัยเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องของโจทก์หาได้บรรยายฟ้องโดยอ้างพฤติการณ์ว่าจำเลยแสดงตนโดยเปิดเผยว่าจำเลยมีความสัมพันธ์กับ น. สามีโจทก์ในทำนองชู้สาวไม่ จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่โจทก์จะนำสืบเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากชู้สาวและอำนาจปกครองบุตร การกำหนดค่าเลี้ยงดูและค่าทดแทน
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่เคยพาจำเลยที่ 2 ออกงานสังคม หรือแนะนำให้บุคคลอื่นรู้จักในฐานะภริยาแต่การที่จำเลยทั้งสองไปไหนมาไหนด้วยกันอย่างเปิดเผยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกสร้างในแหล่งชุมชนด้วยกันในเวลากลางคืน ขับรถรับส่งเมื่อไปทำกิจธุระหรือซื้ออาหารด้วยกัน ย่อมบ่งชี้ว่าจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวและเอื้ออาทรดูแลเอาใจใส่ต่อกัน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาอันเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) แล้ว และโจทก์ยังมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ที่แสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีโจทก์ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ได้อีกด้วย