พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7506/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าน้ำประปา-สมาชิกสหกรณ์: ไม่ถือเป็นการค้า อายุความ 10 ปี
ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของโจทก์ต่อมาจำเลยใช้สิทธิในฐานะสมาชิกทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์ พร้อมอาคารพาณิชย์ ซึ่งมีข้อตกลงในสัญญาว่าจำเลยจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายของค่าบริการ และจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้เข้าครองครองตั้งแต่รับมอบจากโจทก์เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จำเลยจึงต้องมีหน้าที่ชำระค่าน้ำ ค่าบริการ และค่าหุ้นแก่โจทก์ ต่อมาจำเลยค้างชำระค่าน้ำประปาตั้งแต่เดือนมกราคม 2532 ถึงเดือนพฤษภาคม 2534จำนวน 27 เดือน เป็นเงิน 25,969 บาท ค้างชำระค่าบริการถึงวันฟ้องรวม 1 เดือน เป็นเงิน 100 บาท และค้างชำระค่าหุ้นรวม 11 หุ้น หุ้นละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 550 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 26,646 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์นั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ส่วนจำเลยจะค้างชำระค่าน้ำประปาเดือนใดบ้าง คิดเป็นเงินเดือนละเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์จากสหกรณ์บริการโจทก์ได้ก็เนื่องมาจากจำเลยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของโจทก์ก่อนและตามข้อบังคับของโจทก์ก็ระบุไว้มีใจความว่าโจทก์ให้บริการต่าง ๆ เฉพาะแก่สมาชิกและครอบครัวเท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ให้บริการน้ำประปาในหมู่บ้านของโจทก์ จึงเป็นการให้บริการเฉพาะกลุ่มคนที่เป็นสมาชิก มิได้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปการประกอบกิจการของโจทก์ในด้านต่าง ๆ รวมถึงการผลิตจำหน่ายน้ำประปาแก่สมาชิกจึงไม่มีลักษณะเป็นการค้า ดังนั้น การที่โจทก์เรียกค่าน้ำประปาที่ค้างชำระจากจำเลย จึงมิใช่กรณีที่โจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(7) เดิม อันมีอายุความ 2 ปี เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นก็ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามมาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5667/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยอมรับหนี้ค่าบริการโทรศัพท์ ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มีอายุความ 2 ปี
เอกสารมีใจความว่า จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์และยินยอมผ่อนชำระเป็น 3 งวด หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยินยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หากจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์-ทรัพย์หรือจำเลยถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดหรืออายัดทรัพย์ให้ถือว่าสัญญาสิ้นสุดจำเลยยินยอมชำระเงินที่ค้าง แต่หนี้ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยเป็นมูลหนี้อันเนื่องมาจากค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ เมื่อ ท. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยมาทำเอกสารดังกล่าวยอมใช้หนี้แก่โจทก์ เอกสารฉบับนี้จึงเป็นเพียงหนังสือที่ฝ่ายจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ยอมรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องหาใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความไม่
โจทก์เป็นผู้จัดให้มีบริการพูดโทรศัพท์ถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกร้องเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) เดิม หรือ 193/37 (7) ใหม่ สิทธิเรียกร้องค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศของโจทก์มีอายุความ 2 ปี
โจทก์เป็นผู้จัดให้มีบริการพูดโทรศัพท์ถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกร้องเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) เดิม หรือ 193/37 (7) ใหม่ สิทธิเรียกร้องค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศของโจทก์มีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเสียซึ่งอายุความจากการตอบรับหนี้บางส่วน และผลกระทบต่อการยกอายุความขึ้นต่อสู้
โจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานสิทธิของโจทก์ในการเรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นคือค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศระหว่างวันที่ 12 เมษายน 2528 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2528 จากจำเลยมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(7) เดิมโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความแต่การที่จำเลยมีหนังสือตอบหนังสือทวงถามของโจทก์เพื่อให้จำเลยชำระเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศภายหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วโดยในตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวมีข้อความทำนองว่าจำเลยยอมรับผิดชอบชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่โจทก์ทวงถามและยินดีผ่อนชำระให้โจทก์เดือนละ 500 บาท จนกว่าจะหมดนั้นถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 เดิม แล้ว การที่จำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความมิใช่เป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความตามมูลหนี้เดิมขึ้นใหม่ดังนั้นแม้โจทก์จะนำคดีนี้มาฟ้องเมื่อเลยกำหนดเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่จำเลยมีหนังสือตอบหนังสือทวงถามของโจทก์จำเลยก็หาอาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ไม่ จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความปัญหาว่าจำเลยได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่จึงรวมอยู่ในประเด็นพิพาทว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ด้วยและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยประเด็นพิพาทว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความโดยได้วินิจฉัยด้วยว่าการที่จำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์ไม่เป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความดังนั้นปัญหาว่าจำเลยได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเสียอายุความ: แม้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้ว การยอมรับชำระหนี้ภายหลัง ถือเป็นการละเสียอายุความได้
โจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงาน สิทธิของโจทก์ในการเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นคือค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากจำเลย มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (7)เดิม โจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องนั้นภายใน 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้ สิทธิเรียกร้องดังกล่าวของโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว แต่ที่จำเลยมีถึงโจทก์ตอบที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้แก่โจทก์ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของโจทก์ได้ขาดอายุความแล้ว ปรากฏว่าแม้ข้อความในหนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่จำเลยต่อว่าโจทก์ถึงข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานของพนักงานของโจทก์และแจ้งให้โจทก์แก้ไขปรับปรุงการทำงานของพนักงานของโจทก์ แต่ตอนท้ายของหนังสือดังกล่าวก็มีข้อความในทำนองว่าจำเลยยอมรับผิดชอบชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่โจทก์ทวงถามและยินดีผ่อนชำระให้โจทก์เดือนละ 500 บาท จนกว่าจะหมด การที่จำเลยมีถึงโจทก์เช่นนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 192 เดิมแล้ว
การที่จำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความนั้นมิใช่เป็นการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172 เดิม อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความตามมูลหนี้เดิมขึ้นใหม่ ดังนั้นแม้โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อเลยกำหนดเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แล้ว จำเลยก็หาอาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ไม่
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความ ปัญหาว่าจำเลยได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่รวมอยู่ในประเด็นพิพาทว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ด้วย และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยประเด็นพิพาทว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความ โดยได้วินิจฉัยด้วยว่าการที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย จ.13 ไปถึงโจทก์ไม่เป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ดังนั้นปัญหาว่าจำเลยได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่ จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์นั้น เป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
การที่จำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความนั้นมิใช่เป็นการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172 เดิม อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความตามมูลหนี้เดิมขึ้นใหม่ ดังนั้นแม้โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อเลยกำหนดเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แล้ว จำเลยก็หาอาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ไม่
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความ ปัญหาว่าจำเลยได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่รวมอยู่ในประเด็นพิพาทว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ด้วย และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยประเด็นพิพาทว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความ โดยได้วินิจฉัยด้วยว่าการที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย จ.13 ไปถึงโจทก์ไม่เป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ดังนั้นปัญหาว่าจำเลยได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่ จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์นั้น เป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความหรือไม่ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหลักทรัพย์ ตัวแทนชำระหนี้ และอายุความคดีตัวการตัวแทน
พยานบุคคลของโจทก์ได้เบิกความรับรองพยานเอกสารว่ามีอยู่จริงและถูกต้อง แม้พยานโจทก์ที่เบิกความมาจะมิได้รู้เห็นขณะทำพยานเอกสาร แต่พยานเหล่านั้นเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพยานเอกสาร และเมื่อได้ตรวจสอบเอกสารต่าง ๆแล้ว ก็สามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังพยานบุคคลของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95(2) ข้อตกลงในหนังสือแต่งตั้งตัวแทนมีสาระสำคัญว่าเมื่อโจทก์ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่งของจำเลยและออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยภายใน 4 วัน นับแต่วันซื้อจำเลยจะต้องชำระเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายจนครบพร้อมค่าใช้จ่ายและบำเหน็จ มี ส. เบิกความยืนยันว่า จำเลยเป็นผู้ลงชื่อออกตั๋วสัญญาใช้เงินชำระหนี้ให้โจทก์ แม้ ส. จะมิได้รู้เห็นขณะจำเลยลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ ส. เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและปฏิบัติการของโจทก์ และได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ ทั้งยังปรากฏว่าจำเลยเคยออกตั๋วสัญญาใช้เงินแลกเปลี่ยนกับฉบับเดิมที่ไม่ได้มีการชำระมาหลายครั้ง ลายมือชื่อของจำเลยในตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมอยู่ในความรู้เห็นของ ส.ดังนั้นส. จึงอยู่ในฐานะที่จะรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวได้คำเบิกความของพยานจึงไม่ใช่พยานบอกเล่าที่จะต้องห้ามมิให้รับฟัง การที่ ก. พยานโจทก์เบิกความว่าตามหลักฐานที่โจทก์ส่งศาลในวันเบิกความไม่มีฉบับใดยืนยันว่าโจทก์ซื้อหุ้นบริษัท ส.และบริษัทฟ. แต่เมื่อ ก. ได้เบิกความไว้ด้วยว่า เอกสารที่ศาลขอหมายเรียกไปก่อนมาเบิกความนั้นได้จัดส่งมาให้แล้ว แต่ส่งผิดไปที่ศาลอื่น จึงไม่มีเอกสารดังกล่าวให้พยานตรวจดู จะฟังว่าโจทก์มิได้ซื้อหลักทรัพย์ของ 2 บริษัทดังกล่าวและมิได้ออกเงินทดรองแทนจำเลยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ที่ค้าง โจทก์จึงนำหุ้นของจำเลย5 รายการ ออกขายในตลาดหลักทรัพย์นำเงินมาหักชำระหนี้ที่ค้าง และจำเลยยอมรับว่ามีการขายหุ้นของจำเลยไปจริงดังนี้ เมื่อปรากฏตามหนังสือตั้งตัวแทนซึ่งมีข้อความว่าหากจำเลยผิดนัดในการชำระเงิน ยอมให้โจทก์เลือกปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง และยอมให้โอนขายหลักทรัพย์ดังกล่าวแก่บุคคลใด ๆ ในราคาที่เห็นสมควร ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวนี้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมนำหุ้นที่ซื้อแทนจำเลยไว้ออกขายได้โดยไม่จำต้องมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แม้ในคำฟ้องจะใช้คำว่า ขอเรียกค่านายหน้า แต่กรณีนี้ความจริงเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยในกิจการที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยเข้าลักษณะตัวการตัวแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด10 ปี มิใช่ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินจากบัตรเครดิต: ผู้ค้าเรียกค่าทดรองจ่าย - สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องพ้น 2 ปี
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการสินเชื่อในรูปของบัตรเครดิตโดยโจทก์ออกบัตรให้แก่สมาชิกแล้วสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรไปใช้บริการซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ตกลงรับบัตรของโจทก์โดยสมาชิกไม่ต้องชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดโจทก์เป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังและสมาชิกสามารถนำบัตรไปถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ธนาคารโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติการให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆให้แก่สมาชิกและการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไปดังนั้นที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานต่างๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(7)เดิมที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเมื่อวันที่23มีนาคม2530อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่19ตุลาคม2532พ้นกำหนด2ปีแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วมมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้จำเลยที่1เป็นสมาชิกบัตรเครดิตจำเลยที่2เป็นสมาชิกบัตรเสริมของโจทก์สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยทั้งสองเป็นอย่างเดียวกันการที่จำเลยที่2ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือได้ว่าจำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกันแม้จำเลยที่1มิได้ฎีกาแต่เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่1ได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247