พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4969/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการกู้ยืมเพื่อการศึกษา, การแบ่งความรับผิดเมื่อสมรสสิ้นสุด, และสิทธิเรียกร้องระหว่างลูกหนี้ร่วม
การเรียกค่าทดแทนจากคู่สมรสอีกฝ่ายนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น" ซึ่งบทบัญญัติตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ให้ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายได้เฉพาะกรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) คือ กรณีที่สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือฉันสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ ดังนั้น การที่โจทก์จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ในกรณีนี้ นอกจากจำเลยที่ 1 จะอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องจำเลยที่ 2 ฉันภริยาหรือเป็นชู้หรือร่วมประเวณีกันเป็นอาจิณอันเป็นเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากันเพราะเหตุดังกล่าวด้วย เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 และเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ด้วย แต่เมื่อในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงหย่ากันโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 และขอให้ศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งการที่ศาลพิพากษาตามยอมให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่ากันนี้ไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะมีเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (1) ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุแห่งการหย่าตามมาตรา 1516 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง
แม้การกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานนี้เฉพาะจำเลยที่ 1 แต่เพียงลำพังที่เป็นผู้กู้ โดยที่โจทก์มิได้ผูกพันเป็นผู้กู้ร่วมหรือค้ำประกันในหนี้จำนวนนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน ผู้ให้กู้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์นำเงินดังกล่าวไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนบุตรคนแรก การกู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาใช้เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490 (1) ในจำนวนเงิน 1,566,600 บาท และต้องผูกพันชำระหนี้จนกว่าหนี้จะระงับและเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยที่ 1 แต่คนใดคนหนึ่งในฐานะลูกหนี้ร่วมให้ชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามมาตรา 291 ส่วนกรณีตามมาตรา 1535 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกันตามส่วนเท่ากัน ก็เป็นเรื่องการแบ่งความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้ที่ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ร่วมชำระหนี้ได้ แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่ได้เป็นสามีภริยากันแล้วก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้เงินกู้ยืมจำนวนดังกล่าวให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ในส่วนที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดแก่ตนได้ เพราะหากให้โจทก์ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ในจำนวนที่เป็นหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้จนสิ้นเชิง โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมก็ยังอาจถูกเจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้เงินกู้จำนวนดังกล่าวอีกได้จนกว่าหนี้จำนวนนี้จะระงับสิ้นไป
แม้การกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานนี้เฉพาะจำเลยที่ 1 แต่เพียงลำพังที่เป็นผู้กู้ โดยที่โจทก์มิได้ผูกพันเป็นผู้กู้ร่วมหรือค้ำประกันในหนี้จำนวนนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน ผู้ให้กู้ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์นำเงินดังกล่าวไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนบุตรคนแรก การกู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาใช้เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490 (1) ในจำนวนเงิน 1,566,600 บาท และต้องผูกพันชำระหนี้จนกว่าหนี้จะระงับและเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยที่ 1 แต่คนใดคนหนึ่งในฐานะลูกหนี้ร่วมให้ชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามมาตรา 291 ส่วนกรณีตามมาตรา 1535 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกันตามส่วนเท่ากัน ก็เป็นเรื่องการแบ่งความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้ที่ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ร่วมชำระหนี้ได้ แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่ได้เป็นสามีภริยากันแล้วก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระหนี้เงินกู้ยืมจำนวนดังกล่าวให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ในส่วนที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดแก่ตนได้ เพราะหากให้โจทก์ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ในจำนวนที่เป็นหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้จนสิ้นเชิง โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมก็ยังอาจถูกเจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้เงินกู้จำนวนดังกล่าวอีกได้จนกว่าหนี้จำนวนนี้จะระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งสินสมรสด้วยวาจาหลังหย่า มีผลผูกพันได้หากมีพฤติการณ์สนับสนุน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอาจกระทำในขณะจดทะเบียนหย่า โดยให้นายทะเบียนบันทึกไว้หรือไม่ก็ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติใด ๆ กำหนดให้ความตกลงในการแบ่งสินสมรสต้องกระทำต่อหน้านายทะเบียนหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การจะฟังว่ามีข้อตกลงแบ่งสินสมรสด้วยวาจาหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาจากพยานทั้งสองฝ่ายประกอบกับพฤติการณ์ของแต่ละคดีไป พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยต่างครอบครองสินสมรสแต่ละรายการต่างหากจากกัน และมีภาระการผ่อนชำระหนี้ในทรัพย์สินที่ตนถือครองกรรมสิทธิ์อยู่ภายหลังการหย่าจนถึงเวลาที่โจทก์ฟ้องคดีเป็นเวลาเกือบ 5 ปี แม้ไม่มีหลักฐานข้อตกลงแบ่งสินสมรสในขณะจดทะเบียนหย่าแต่ฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงแบ่งสินสมรสด้วยวาจาโดยให้สินสมรสทั้งสองรายการรวมทั้งหนี้สินตกแก่จำเลย การที่โจทก์และจำเลยตกลงแบ่งสินสมรสระหว่างกัน มีผลให้แต่ละฝ่ายได้รับทรัพย์สินและมีภาระหนี้ต้องชำระหนี้สินซึ่งเป็นหนี้ร่วมมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งผิดแผกแตกต่างจาก ป.พ.พ. มาตรา 1533 และมาตรา 1535 บัญญัติไว้ แต่มิใช่บทบัญญัติอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลบังคับและไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมร้ายแรงของคู่สมรสและการแบ่งสินสมรส รวมถึงความรับผิดร่วมในหนี้สิน
การที่จำเลยเมาสุรากลับเข้าบ้านและด่า โจทก์ว่า "มึงเลว มึงมีชู้ ไม่สมควรอยู่กับกู แม่มึงไม่ดี ไม่เคยสั่งสอน" แล้วจำเลยยังได้ตบ ตีโจทก์ได้รับบาดเจ็บบริเวณขอบตาซ้าย จนโจทก์ต้องรับการรักษาจากแพทย์ในวันรุ่งขึ้น โจทก์ต้องออกจากบ้านไปอาศัยอยู่กับน้องสาวเพราะได้รับความคับแค้นใจจากการอยู่กินกับจำเลยนั้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง พร้อมทั้งเป็นการทำร้ายร่างกายโจทก์ จึงมีเหตุให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลยได้ จำเลยกู้เงินบุคคลภายนอกมาใช้จ่ายเกี่ยวกับที่ดินและบ้านซึ่งเป็นสินสมรสโดยโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการกู้เงินดังกล่าวโจทก์จึงต้องร่วมกับจำเลยในการชำระหนี้รายนี้ ฉะนั้นศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ศาลย่อมกำหนดให้โจทก์จำเลยร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้คนละครึ่งได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าอุปการะและค่าปลงศพกรณีบุตรนอกสมรส & การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของมารดาผู้ตาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีหน้าที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตายไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นนั้น เฉพาะแต่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เท่านั้นที่มีหน้าที่จัดการศพ โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย เพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่477/2514)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่มารดาผู้ตายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ถึงแม้จะบรรยายมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีความประสงค์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยถือเอาคำฟ้องและหลักฐานต่าง ๆ ของโจทก์เป็นของผู้ร้องก็ตาม เมื่อฟังว่าผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดทำให้บุตรของตนตายได้โดยตรงอยู่แล้ว ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงแปลได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) นั่นเองโดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องหาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาตามมาตรา 57(2) ไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องก็เข้ามาในคดีได้ (ข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2521)
จำเลยถือสิทธิครอบครองใช้แพที่เกิดเหตุซึ่งเดิมใช้สำหรับผู้โดยสารเรือเล็กที่รับส่งข้ามฟาก หรือไปมาในระยะใกล้เป็นครั้งคราวมาใช้สำหรับรับส่งคนโดยสาร-เรือด่วนของจำเลยเป็นประจำ วันเกิดเหตุผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น แพโป๊ะทานน้ำหนักไม่ได้เกิดแตกล่มจำเลยมีส่วนจะต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่มิได้ระมัดระวังป้องกัน ตรวจสภาพปรับปรุงซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้แข็งแรงคงทนเหมาะสมกับกิจการของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
การที่บุตรตายลง ย่อมทำให้ผู้เป็นมารดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงว่าผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูมารดาหรือไม่
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย และบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วยและต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นนั้น เฉพาะแต่บุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เท่านั้นที่มีหน้าที่จัดการศพ โจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย เพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเช่นเดียวกัน (อ้างฎีกาที่477/2514)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แต่มารดาผู้ตายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ถึงแม้จะบรรยายมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีความประสงค์ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยถือเอาคำฟ้องและหลักฐานต่าง ๆ ของโจทก์เป็นของผู้ร้องก็ตาม เมื่อฟังว่าผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดทำให้บุตรของตนตายได้โดยตรงอยู่แล้ว ดังนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงแปลได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) นั่นเองโดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องหาใช่เป็นการร้องสอดเข้ามาตามมาตรา 57(2) ไม่ ดังนั้น แม้ฟ้องเดิมโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง ผู้ร้องก็เข้ามาในคดีได้ (ข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2521)
จำเลยถือสิทธิครอบครองใช้แพที่เกิดเหตุซึ่งเดิมใช้สำหรับผู้โดยสารเรือเล็กที่รับส่งข้ามฟาก หรือไปมาในระยะใกล้เป็นครั้งคราวมาใช้สำหรับรับส่งคนโดยสาร-เรือด่วนของจำเลยเป็นประจำ วันเกิดเหตุผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น แพโป๊ะทานน้ำหนักไม่ได้เกิดแตกล่มจำเลยมีส่วนจะต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่มิได้ระมัดระวังป้องกัน ตรวจสภาพปรับปรุงซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้แข็งแรงคงทนเหมาะสมกับกิจการของจำเลย จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
การที่บุตรตายลง ย่อมทำให้ผู้เป็นมารดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย ทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงว่าผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูมารดาหรือไม่
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่น จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย และบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วยและต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องผิดพลาดเกี่ยวกับชื่อคนขับ และสิทธิค่าขาดไร้อุปการะของผู้เสียหาย
เดิมโจทก์บรรยายฟ้องว่า รถประจำทางของบริษัทจำเลยคันที่ชนบุตรโจทก์มี ด.เป็นคนขับ ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว โจทก์ขอแก้ฟ้องว่า คนขับรถของบริษัทจำเลยชื่อ จ. อ้างเหตุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจบอกชื่อสับกันไป เพราะมีรถชนกันสองสายในเวลาใกล้เคียงกันดังนี้ เมื่อตามคำให้การจำเลยมิได้ปฏิเสธว่า ด.มิใช่ลูกจ้างจำเลย คงอ้างแต่เพียงว่าคนขับรถของจำเลยมิได้เป็นฝ่ายประมาท การที่โจทก์ระบุชื่อคนขับรถของจำเลยผิดพลาดไปด้วยเหตุดังกล่าว แล้วมาแก้ไขให้ถูกต้องภายหลังเป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อย แม้จะเป็นภายหลังกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180ศาลก็มีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้องได้
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรค 3 ประกอบด้วยมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่ และในอนาคตผู้ตาย จะอุปการะโจทก์หรือไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1648/2509)
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรค 3 ประกอบด้วยมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่ และในอนาคตผู้ตาย จะอุปการะโจทก์หรือไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1648/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1943/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีแพ่งและการเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของผู้เป็นมารดา
เดิมโจทก์บรรยายฟ้องว่า รถประจำทางของบริษัทจำเลยคันที่ชนบุตรโจทก์มี ด. เป็นคนขับ ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งหลังจากวันชี้สองถานแล้ว โจทก์ขอแก้ฟ้องว่า คนขับรถของบริษัทจำเลยชื่อ จ. อ้างเหตุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจบอกชื่อสับกันไป เพราะมีรถชนกันสองสายในเวลาใกล้เคียงกัน ดังนี้ เมื่อตามคำให้การจำเลยมิได้ปฏิเสธว่า ด.มิใช่ลูกจ้างจำเลย คงอ้างแต่เพียงว่าคนขับรถของจำเลยมิได้เป็นฝ่ายประมาท การที่โจทก์ระบุชื่อคนขับรถของจำเลยผิดพลาดไปด้วยเหตุดังกล่าว แล้วมาแก้ไขให้ถูกต้องภายหลังเป็นเรื่องแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อย แม้จะเป็นภายหลังกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ศาลก็มีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้องได้
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรค 3 ประกอบด้วยมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ต้องพิจารณาขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่ และในอนาคตผู้ตายจะอุปการะโจทก์หรือไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1648/2509)
บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรค 3 ประกอบด้วยมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ต้องพิจารณาขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่ และในอนาคตผู้ตายจะอุปการะโจทก์หรือไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1648/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทในการวางสายไฟฟ้า ทำให้ผู้เยาว์เสียชีวิต ผู้ประกอบการและลูกจ้างต้องรับผิดค่าขาดไร้อุปการะ
เมื่อฟ้องบรรยายว่าโจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กระทำละเมิดอันเป็นบุตรโจทก์ถึงแก่กรรมโดยชัดแจ้ง ทำให้โจทก์ขาดไร้อุปการะ และได้เรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ย่อมถือว่าคำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่น ว่านั้นแล้ว จึงเป็นที่สมบูรณ์ ส่วนค่าสินไหมทดแทนควรจะเป็นเท่าใด หากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะได้อุปการะโจทก์อย่างไรบ้างนั้น เป็นเพียงรายละเอียดและอาจคาดหมายได้ ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งไม่จำต้องกล่าวไว้โดยละเอียดในฟ้อง
การที่ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยที่ 4 มิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ในการวางสายไฟฟ้านั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะไปว่ากล่าวกันเอง เมื่อได้ความว่าเหตุที่บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายนั้น เนื่องจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ตัดสารโทรเลขตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เช่นกัน และเป็นไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ทำให้เสาโทรเลขล้มลง สายโทรเลขช่วงถัดไปหย่อนไปแตะกับสายไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าไหลตามสายโทรเลขต้นที่ล้มลงไปในคูน้ำและเป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้านั้นช๊อตบุตรโจทก์ตาย จำเลยที่ 1 จะปัดความรับผิดไม่ได้
แม้ตามฐานะโจทก์ไม่จำต้องพึ่งผู้ตายก็ตาม แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายทั้งสองเป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในระหว่างที่โจทก์ให้อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา และโจทก์ก็หวังผู้ตายเป็นที่พึ่งของโจทก์ในภายหน้า ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บัญญัติว่า บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้น มิได้หมายความว่าเมื่อบิดามารดามีรายได้เลี้ยงชีพของตนเองแล้ว หน้าที่ของบุตรที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาจะหมดสิ้นไปเมื่อบุตรโจทก์ถึงแก่กรรมเพราะการละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะ
การที่ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยที่ 4 มิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ในการวางสายไฟฟ้านั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะไปว่ากล่าวกันเอง เมื่อได้ความว่าเหตุที่บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายนั้น เนื่องจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ตัดสารโทรเลขตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เช่นกัน และเป็นไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ทำให้เสาโทรเลขล้มลง สายโทรเลขช่วงถัดไปหย่อนไปแตะกับสายไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าไหลตามสายโทรเลขต้นที่ล้มลงไปในคูน้ำและเป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้านั้นช๊อตบุตรโจทก์ตาย จำเลยที่ 1 จะปัดความรับผิดไม่ได้
แม้ตามฐานะโจทก์ไม่จำต้องพึ่งผู้ตายก็ตาม แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายทั้งสองเป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในระหว่างที่โจทก์ให้อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา และโจทก์ก็หวังผู้ตายเป็นที่พึ่งของโจทก์ในภายหน้า ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บัญญัติว่า บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้น มิได้หมายความว่าเมื่อบิดามารดามีรายได้เลี้ยงชีพของตนเองแล้ว หน้าที่ของบุตรที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาจะหมดสิ้นไปเมื่อบุตรโจทก์ถึงแก่กรรมเพราะการละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างในทางการที่จ้าง และค่าเสียหายจากการเสียชีวิต
โจทก์บรรยายฟ้อง ก.ลูกจ้างของจำเลย ได้ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยไปในทางการที่จ้าง โดยความประมาทปราศจากความระมัดระวังและขับเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เป็นเหตุให้ชน ส.บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปลงศพเป็นเงิน 10,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งขออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว ไม่จำเป็นต้องบรรยายรายละเอียดในเรื่องค่าเสียหายเกี่ยวกับการปลงศพ ซึ่งโจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้อยู่แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่ฟ้องเคลือบคลุม
ก.ลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ขับรถขุดดิน แต่ไม่มีหน้าที่ขับรถบรรทุกดินคันเกิดเหตุซึ่งอยู่ในแผนกเดียวกันกับตน วันเกิดเหตุ ก.ได้เบิกรถบรรทุกดินคันเกิดเหตุไปเพื่อขับบรรทุกดินในกิจการของจำเลยแทน ม. โดยประสงค์จะได้เงินค่าล่วงเวลา ท.เจ้าหน้าที่ควบคุมและปล่อยรถจำเลยได้ปล่อยให้ ก.นำรถดังกล่าวไปได้ ศ.เจ้าหน้าที่ของจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของ ก.เห็นว่า ก.ไม่มีหน้าที่ขับรถคันนั้น และนำรถออกมาไม่ถูกระเบียบจึงไม่ให้ขับ และให้ก.ไปขับรถขุดดินแทน แต่เมื่อเลิกงาน ศ. กลับปล่อยให้ ก.ขับรถคันเกิดเหตุกลับไปเก็บ ระหว่างทาง ก.ขับรถยนต์ชนบุตรโจทก์ถึงแก่ความตายโดยความประมาท การกระทำของ ก. เป็นไปในทางการที่จ้างของจำเลยโดยตรง การที่รถคันเกิดเหตุถูกนำออกโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลย จะนำมาใช้ยันบุคคลภายนอกเพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิดหาได้ไม่
การที่บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายโดยการละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนที่ต้องขาดไร้อุปการะ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์จะต้องเป็นผู้ที่ดำรงชีพด้วยการอุปการะของผู้ตายจริง
ก.ลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ขับรถขุดดิน แต่ไม่มีหน้าที่ขับรถบรรทุกดินคันเกิดเหตุซึ่งอยู่ในแผนกเดียวกันกับตน วันเกิดเหตุ ก.ได้เบิกรถบรรทุกดินคันเกิดเหตุไปเพื่อขับบรรทุกดินในกิจการของจำเลยแทน ม. โดยประสงค์จะได้เงินค่าล่วงเวลา ท.เจ้าหน้าที่ควบคุมและปล่อยรถจำเลยได้ปล่อยให้ ก.นำรถดังกล่าวไปได้ ศ.เจ้าหน้าที่ของจำเลยซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของ ก.เห็นว่า ก.ไม่มีหน้าที่ขับรถคันนั้น และนำรถออกมาไม่ถูกระเบียบจึงไม่ให้ขับ และให้ก.ไปขับรถขุดดินแทน แต่เมื่อเลิกงาน ศ. กลับปล่อยให้ ก.ขับรถคันเกิดเหตุกลับไปเก็บ ระหว่างทาง ก.ขับรถยนต์ชนบุตรโจทก์ถึงแก่ความตายโดยความประมาท การกระทำของ ก. เป็นไปในทางการที่จ้างของจำเลยโดยตรง การที่รถคันเกิดเหตุถูกนำออกโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลย จะนำมาใช้ยันบุคคลภายนอกเพื่อให้จำเลยพ้นความรับผิดหาได้ไม่
การที่บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายโดยการละเมิด โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนที่ต้องขาดไร้อุปการะ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์จะต้องเป็นผู้ที่ดำรงชีพด้วยการอุปการะของผู้ตายจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435-2437/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะจากละเมิด, ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้าง, การแก้ไขค่าเสียหาย, และหนี้ร่วม
บทบัญญัติมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่าบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ของบุตรไว้ มิใช่เป็นเพียงหน้าที่ในทางศีลธรรมที่บุตรจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น เมื่อบุตรถูกทำละเมิดถึงแก่ความตายบิดามารดาย่อมขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตามมาตรา 443
กรณีที่ลูกจ้างถูกผู้อื่นทำละเมิดและนายจ้างได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึ่งต่างหากนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลเกี่ยวข้องถึงความรับผิดของบุคคลในการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
จำนวนเงินค่าเสียหายในอนาคตที่ศาลกำหนดให้ โจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยไว้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้ในเงินจำนวนนี้ ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งจำเลยบางคนฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยรับผิดน้อยลง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
กรณีที่ลูกจ้างถูกผู้อื่นทำละเมิดและนายจ้างได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึ่งต่างหากนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลเกี่ยวข้องถึงความรับผิดของบุคคลในการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
จำนวนเงินค่าเสียหายในอนาคตที่ศาลกำหนดให้ โจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยไว้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้ในเงินจำนวนนี้ ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งจำเลยบางคนฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยรับผิดน้อยลง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435-2437/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด, ค่าขาดไร้อุปการะ, การจ่ายค่าทดแทนจากนายจ้าง, และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ย
บทบัญญัติมาตรา 1535 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ว่าบุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ของบุตรไว้ มิใช่เป็นเพียงหน้าที่ในทางศีลธรรมที่บุตรจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น เมื่อบุตรถูกทำละเมิดถึงแก่ความตายบิดามารดาย่อมขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตามมาตรา 443
กรณีที่ลูกจ้างถูกผู้อื่นทำละเมิดและนายจ้างได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึ่งต่างหากนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลเกี่ยวข้องถึงความรับผิดของบุคคลในการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
จำนวนเงินค่าเสียหายในอนาคตที่ศาลกำหนดให้ โจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยไว้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้ในเงินจำนวนนี้ ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งจำเลยบางคนฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยรับผิดน้อยลง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
กรณีที่ลูกจ้างถูกผู้อื่นทำละเมิดและนายจ้างได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ลูกจ้างอันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึ่งต่างหากนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้มีผลเกี่ยวข้องถึงความรับผิดของบุคคลในการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
จำนวนเงินค่าเสียหายในอนาคตที่ศาลกำหนดให้ โจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยไว้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้ในเงินจำนวนนี้ ย่อมขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
กรณีที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ซึ่งจำเลยบางคนฎีกาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยรับผิดน้อยลง ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย