คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1535

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขับรถโดยประมาททำให้ผู้โดยสารเสียชีวิต แม้ผู้โดยสารมีส่วนประมาท แต่จำเลยยังต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ผู้ตายห้อยโหนที่บันไดท้ายรถเพราะคนโดยสารแน่นคนขับทราบว่ามีผู้โดยสารเกาะห้อยโหนอยู่ แต่ได้ขับแซงรถคันที่จอดอยู่ข้างหน้าจนท้ายรถเบียดชิด เป็นเหตุให้ผู้ตายฟาดกับรถที่จอดอยู่พลัดตกลงมาถึงแก่ความตาย ดังนี้เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทของคนขับ แม้ผู้ตายจะมีส่วนผิดอยู่ด้วย ในการที่ไปเกาะห้อยโหนอยู่ที่บันไดรถก็ไม่ทำให้คนขับพ้นความรับผิดจากความประมาทเลินเล่อดังกล่าวได้
ผู้ตายมีสร้อยคอทองคำ พระเครื่องและเงินสดติดตัวได้สูญหายไปเพราะเหตุที่เกิดขึ้น เช่นนี้ จำเลยในฐานะผู้ขนส่งและนายจ้างจึงต้องรับผิด
การที่บุตรตายลงไป ย่อมทำให้บิดามารดาต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าในปัจจุบันผู้ตายจะได้อุปการะบิดามารดาอยู่หรือไม่ บิดามารดาชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในการที่ต้องขาดไร้อุปการะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขับรถเมล์ต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิตของผู้โดยสารที่เกาะห้อยโหน รวมถึงค่าสินไหมทดแทน
ผู้ตายห้อยโหนที่บันไดท้ายรถเพราะคนโดยสารแน่น คนขับทราบว่ามีผู้โดยสารเกาะห้อยโหนอยู่ แต่ได้ขับแซงรถคันที่จอดอยู่ข้างหน้าจนท้ายรถเบียดชิด เป็นเหตุให้ผู้ตายฟาดกับรถที่จอดอยู่พลัดตกลงมาถึงแก่ความตาย ดังนี้เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทของคนขับ แม้ผู้ตายจะมีส่วนผิดอยู่ด้วย ในการที่ไปเกาะห้อยโหนอยู่ที่บันไดรถ ก็ไม่ทำให้คนขับพ้นความรับผิดจากความประมาทเลินเล่อดังกล่าวได้
ผู้ตายมีสร้อยคอทองคำ พระเครื่องและเงินสดติดตัว ไดสูญหายไปเพราะเหตุที่เกิดขึ้น เช่นนี้ จำเลยในฐานะผู้ขนส่งและนายจ้างจึงต้องรับผิด
การที่บุตรตายลงไป ย่อมทำให้บิดามารดาต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายทั้งนี้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าในปัจจุบันผู้ตายจะได้อุปการะบิดามารดาอยู่หรือไม่ บิดามารดาชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในการที่ต้องขาดไร้อุปการะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิด-ขาดไร้อุปการะ: ฟ้องเพิ่มเติมไม่ขาดอายุความ บิดามีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทนเมื่อบุตรเสียชีวิต
การที่บุตรตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบิดาต้องขาดไร้อุปการะโจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะโดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์มีฐานะดีหรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดภายใน 1 ปีแล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่น แม้โจทก์จะยื่นฟ้องเพิ่มเติมเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันละเมิด แต่ก่อนวันศาลชี้สองสถาน และเป็นฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ย่อมทำได้ฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, ค่าขาดไร้อุปการะ, อายุความฟ้องเพิ่มเติม
การที่บุตรตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบิดาต้องขาดไร้อุปการะโจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะโดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์มีฐานะดีหรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดภายใน 1 ปีแล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุด หรือเสร็จไปโดยประการอื่น แม้โจทก์จะยื่นฟ้องเพิ่มเติมเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันละเมิด แต่ก่อนวันศาลชี้สองสถาน และเป็นฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ย่อมทำได้ฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412-413/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย: บิดามารดามีสิทธิได้รับ แม้บุตรจะยังมิได้อุปการะ
บุตรผู้เยาว์ของโจทก์ถึงแก่ความตายโดยการละเมิดของจำเลยโจทก์ชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย ไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย, ค่าปลงศพ, ละเมิด, ความรับผิดนายจ้าง
กรณีละเมิดที่เป็นเหตุให้เศร้าโศกเสียใจและผิดหวังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้ให้เรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้จะเป็นบิดาตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม(อ้างฎีกาที่ 789/2512)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรนั้นหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2508 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีไม่ ฉะนั้น ในขณะฟ้องผู้ตายจึงยังเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลที่กระทำละเมิดต่อบุตรนอกสมรสของตน(อ้างฎีกาที่ 1285/2508)
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกจากเด็กชาย ธ. ผู้ตายแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอยด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วอำนาจฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีคำร้องของ ค. มารดาของเด็กชาย ธ. ที่ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงเป็นอันตกไป (ปัญหาข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2514)
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้นมิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไปเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)
โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้
สำหรับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ซึ่งแม้มิได้ฎีกาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างซึ่งต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ฉะนั้น อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากละเมิดและการเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมาย การฟ้องคดีไม่สมบูรณ์มีผลต่อสิทธิของโจทก์ร่วม
กรณีละเมิดที่เป็นเหตุให้เศร้าโศกเสียใจและผิดหวังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้ให้เรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้จะเป็นบิดาตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 789/2512)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บุตรนั้นหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2508 หาใช่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2507 ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีไม่ ฉะนั้น ในขณะฟ้องผู้ตายจึงยังเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบุคคลที่กระทำละเมิดต่อบุตรนอกสมรสของตน (อ้างฎีกาที่ 1285/2508)
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเป็นทายาทผู้รับมรดกจากเด็กชาย ธ. ผู้ตายแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแล้วอำนาจฟ้องของโจทก์ก็ไม่มีคำร้องของ ค. มารดาของเด็กชาย ธ. ที่ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงเป็นอันตกไป (ปัญหาข้อนี้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2514)
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้น มิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไป เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)
โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้
สำหรับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง ซึ่งแม้มิได้ฎีกาก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างซึ่งต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ฉะนั้น อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) และมาตรา 247 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะจากบุตรเสียชีวิต: สิทธิบิดาแม้มีฐานะดี ไม่จำกัดเฉพาะผู้ยากไร้
ในกรณีบุตรถูกทำละเมิดถึงตาย บิดาย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าขาดไร้อุปการะได้ ทั้งนี้มิพักต้องคำนึงถึงฐานะทางการเงินว่าเป็นอยู่อย่างไรและได้รับอุปการะอยู่ขณะบุตรตายหรือไม่ เพราะค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้หมายรวมถึงการสูญสิ้นซึ่งความคาดหวังในอุปการะจากบุตรหากตนมีอันต้องยากไร้ลงในเวลาภายหน้าด้วย ฉะนั้นจะนำหลักเกณฑ์การเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างผู้มีความสัมพันธ์ทางครอบครัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาใช้มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะจากบุตรเสียชีวิต: สิทธิบิดาแม้ฐานะดี ไม่ต้องพิสูจน์ความยากไร้
ในกรณีบุตรถูกทำละเมิดถึงตาย บิดาย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าขาดไร้อุปการะได้ ทั้งนี้มิพักต้องคำนึงถึงฐานะทางการเงินว่าเป็นอยู่อย่างไรและได้รับอุปการะอยู่ขณะบุตรตายหรือไม่ เพราะค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้หมายรวมถึงการสูญสิ้นซึ่งความคาดหวังในอุปการะจากบุตรหากตนมีอันต้องยากไร้ลงในเวลาภายหน้าด้วย ฉะนั้นจะนำหลักเกณฑ์การเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างผู้มีความสัมพันธ์ทางครอบครัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาใช้มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิของโจทก์แม้จะยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม
เมื่อลูกจ้างของจำเลยยอมให้ผู้ตายโดยสารไปในรถ. จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างจำเลยกระทำไปตามทางการที่จ้าง. จำเลยจะอ้างว่าผู้ตายไม่ได้เสียค่าโดยสาร. ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะขนส่ง. หาได้ไม่.
บุตรบุญธรรมยังคงมีสิทธิหน้าที่ต่อบิดามารดา. รวมทั้งหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1535. ฉะนั้น แม้โจทก์จะยกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรให้ จ.ผู้ตายยังคงมีความผูกพันต่อโจทก์. เมื่อลูกจ้างจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายในทางการที่จ้าง. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
of 4