คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ม. 59

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองและจำหน่ายอีเฟดรีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 มีความผิดตามกฎหมาย
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่86(พ.ศ.2536)เรื่องเปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ได้ประกาศกำหนดให้อีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ประกาศฉบับดังกล่าวนี้ได้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่51และฉบับที่71ที่เกี่ยวกับ อีเฟดรีนแล้วหลังจากที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่86มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่27พฤษภาคม2536แล้วดังนั้นไม่ว่า อีเฟดรีนจะมีโครงสร้างทางเคมีอยู่ในรูปใดหรือวัตถุตำรับใดหากมี อีเฟดรีนผสมอยู่แล้วให้ถือว่าวัตถุตำรับนั้นเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ตามมาตรา59แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 จำเลยที่1มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ในครอบครองเป็นจำนวนมากรวมทั้งมีถุงพลาสติกขนาดเล็กเพื่อไว้บรรจุแบ่งขายเป็นจำนวนมากเช่นกันแสดงว่าจำเลยที่1มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ในครอบครองเพื่อขายอันเป็นการขายตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด และความผิดฐานมีไว้เพื่อขาย ศาลฎีกาแก้ไขโทษ
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ได้ให้บทนิยามคำว่า"วัตถุตำรับ"หมายความว่าสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วยทั้งนี้รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรมซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้นอกจากนั้นในมาตรา59ยังได้บัญญัติว่า"ให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วย"จึงเป็นที่เห็นได้ว่าวัตถุออกฤทธิ์ในความหมายดังกล่าวนั้นนอกจากหมายถึงวัตถุออกฤทธิ์โดยเฉพาะแล้วยังหมายรวมถึงสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปร่างลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์ปรุงผสมอยู่ด้วย ในระหว่างพิจารณารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)ซึ่งบังคับใช้อยู่ขณะเกิดเหตุและกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับ เมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500กรัมเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าวัตถุออกฤทธิ์ของกลางน้ำหนักรวม105.10กรัมคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิเพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เป็นคุณแก่จำเลยทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106วรรคหนึ่งเท่านั้น ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ไม่มีผลถึงความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา13ทวิวรรคหนึ่ง,89เพราะความผิดฐานนี้ไม่ได้กำหนดปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์อันจะเป็นความผิดไว้ เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา89ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา106วรรคหนึ่งซึ่งเป็นบททั่วไปอีกปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้รวมทั้งกำหนดโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา89ซึ่งศาลล่างทั้งสองมิได้กำหนดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8226/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับปริมาณวัตถุออกฤทธิ์และการใช้บังคับกฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย
ในขณะที่จำเลยกระทำผิดประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85พ.ศ.2536เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ลงวันที่19มกราคม2536ได้กำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2โดยสำหรับเมทแอมเฟตามีนกำหนดว่าต้องไม่เกิน0.500กรัมแต่ไม่ได้กำหนดให้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์และตามพระราชบัญญัติที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา59บัญญัติให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทนั้นด้วยและมาตรา4บัญญัติว่า"วัตถุตำรับหมายความว่าสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วยฯลฯ"ดังนี้ปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์จึงต้องรวมถึงวัตถุตำรับที่ปรุงผสมอยู่ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าวถือว่าของกลางเป็นวัตถุออกฤทธิ์ทั้งหมดเมื่อของกลางมีปริมาณเกิน0.500กรัมจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่เมื่อต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีการัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ลงวันที่3เมษายน2538ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)ดังกล่าวและกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2โดยเมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500กรัมเมื่อเป็นดังนี้และปรากฏว่าของกลางตรวจพบเมทแอมเฟตามีนวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2อันถือเป็นสารบริสุทธิ์หนัก0.217กรัมซึ่งไม่เกินตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิคงมีความผิดตามมาตรา62วรรคหนึ่งและมาตรา106วรรคหนึ่งเท่านั้นซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้บังคับในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8226/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับปริมาณวัตถุออกฤทธิ์และการมีผลต่อความผิดทางอาญา
ในขณะที่จำเลยกระทำผิด ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่85 พ.ศ.2536 เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ลงวันที่ 19 มกราคม 2536 ได้กำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 โดยสำหรับเมทแอมเฟตามีนกำหนดว่าต้องไม่เกิน 0.500 กรัม แต่ไม่ได้กำหนดให้คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์และตาม พ.ร.บ.ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 59 บัญญัติให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทนั้นด้วย และมาตรา 4 บัญญัติว่า "วัตถุตำรับ หมายความว่า สิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วย ฯลฯ" ดังนี้ ปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์จึงต้องรวมถึงวัตถุตำรับที่ปรุงผสมอยู่ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าวถือว่าของกลางเป็นวัตถุออกฤทธิ์ทั้งหมด เมื่อของกลางมีปริมาณเกิน 0.500 กรัม จึงเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เรื่อง กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ลงวันที่ 3เมษายน 2538 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ.2536)ดังกล่าว และกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 โดยเมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน 0.500 กรัม เมื่อเป็นดังนี้และปรากฏว่าของกลางตรวจพบเมทแอมเฟตามีนวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อันถือเป็นสารบริสุทธิ์หนัก0.217 กรัม ซึ่งไม่เกินตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ คงมีความผิดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่งและมาตรา 106 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85พ.ศ.2536ได้กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ว่า(1)แอมเฟตามีน0.500กรัมและ(5)เมทแอมเฟตามีน0.500กรัมประกอบกับพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518บัญญัติว่าให้ถือว่าวัตถุตำรับรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วยเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์จึงเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท2ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85พ.ศ.2536การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ไว้ในครอบครองปริมาณเกิน0.500กรัมจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา62วรรคหนึ่ง,106ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85พ.ศ.2536ได้กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ว่า(1)แอมเฟตามีน0.500กรัมและ(5)เมทแอมเฟตรามีน0.500กรัมประกอบกับพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518บัญญัติว่าให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วยเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์จึงเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท2ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85พ.ศ.2536การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ไว้ในครอบครองปริมาณเกิน0.500กรัมจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา62วรรคหนึ่ง,106ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 พ.ศ. 2536 ได้กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ว่า (1) แอมเฟตามีน 0.500 กรัมและ (5) เมทแอมเฟตามีน 0.500 กรัม ประกอบกับพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 บัญญัติว่าให้ถือว่าวัตถุตำรับรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่ เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วยเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์จึงเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 พ.ศ. 2536 การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ไว้ในครอบครองปริมาณเกิน0.500 กรัมจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง,106 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์
ประกาศกระทรวงสาธาธารณสุข ฉบับที่ 85 พ.ศ.2536 ได้กำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ไว้ว่า (1) แอมเฟตามีน 0.500 กรัม และ (5) เมทแอมเฟตามีน 0.500 กรัมประกอบกับพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 บัญญัติว่าให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่ เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วย เมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรค์จึงเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 พ.ศ.2536 การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรค์ไว้ในครอบครองปริมาณเกิน 0.500 กรัมจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ