คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 183

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจดทะเบียนหย่ามีเงื่อนไขบังคับก่อน หากยังไม่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาจดทะเบียนหย่ายังไม่มีผล
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะไปจดทะเบียนหย่าในวันที่ระบุ หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยไว้ก่อนแล้ว ถือว่าข้อตกลงนี้มีเงื่อนไขบังคับก่อน ดังนั้นเมื่อยังมิได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันที่ศาลซึ่งมิใช่เป็นเพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ข้อตกลงเรื่องจดทะเบียนการหย่าจึงยังไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่ากับโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจดทะเบียนหย่ามีผลเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลแล้ว การบังคับสัญญาจึงยังไม่เกิดขึ้น
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะไปจดทะเบียนหย่าในวันที่ระบุหลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยไว้ก่อนแล้วถือว่าข้อตกลงนี้มีเงื่อนไขบังคับก่อนดังนั้นเมื่อยังมิได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันที่ศาลซึ่งมิใช่เป็นเพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องจดทะเบียนการหย่าจึงยังไม่มีผลใช้บังคับโจทก์จะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่ากับโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีผลเมื่อธนาคารจ่ายเช็คค่าวางมัดจำ การออกเช็คโดยที่สัญญายังไม่สมบูรณ์ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นค่าวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินจากโจทก์สัญญาดังกล่าวมีข้อความข้อหนึ่งว่าสัญญาจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเงินค่าวางมัดจำตามเช็คที่ผู้จะซื้อได้สั่งจ่ายให้แก่ผู้จะขายและธนาคารได้ชำระเงินเรียกเก็บตามเช็คที่ได้สั่งจ่ายเป็นที่เรียบร้อยให้แก่ผู้จะขายแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงให้ถือเอาการที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คพิพาทหรือไม่เป็นเงื่อนไขของการที่จะมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาจะซื้อจะขายตราบใดที่ธนาคารยังไม่จ่ายเงินตามเช็คพิพาทสัญญาจะซื้อจะขายย่อมไม่มีผลบังคับดังนั้นขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงยังไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายมีผลเมื่อธนาคารจ่ายเช็คค่าวางมัดจำ การออกเช็คก่อนเงื่อนไขไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เป็นค่าวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้จะซื้อที่ดินจากโจทก์สัญญาดังกล่าวมีข้อความข้อหนึ่งว่าสัญญาจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเงินค่าวางมัดจำตามเช็คที่ผู้จะซื้อได้สั่งจ่ายให้แก่ผู้จะขายและธนาคารได้ชำระเงินเรียกเก็บตามเช็คที่ได้สั่งจ่ายเป็นที่เรียบร้อยให้แก่ผู้จะขายแสดงว่าโจทก์และจำเลยตกลงให้ถือเอาการที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คพิพาทหรือไม่เป็นเงื่อนไขของการที่จะมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาจะซื้อจะขายตราบใดที่ธนาคารยังไม่จ่ายเงินตามเช็คพิพาทสัญญาจะซื้อจะขายย่อมไม่มีผลบังคับดังนั้นขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงยังไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยแม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกและผลของการไม่ตกลงเงื่อนไขผ่อนชำระ
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์มีข้อความที่สำคัญว่าตามที่ทางราชการได้ทวงหนี้ค่าใช้จ่ายในการรับตัวลูกเรือจำนวน13คนซึ่งพ้นโทษจำคุกที่ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนามกลับประเทศไทยนั้นจำเลยยินดีชดใช้แต่เนื่องจากเรือของจำเลยถูกประเทศดังกล่าวจับทำให้มีฐานะยากจนมีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงขอผ่อนชำระเดือนละ1,000บาทเป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์แม้จะไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เพราะไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของลูกเรือทั้ง13คนระงับไปแต่ก็เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่กระทำด้วยความสมัครใจเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ โจทก์ฟ้องโดยอาศัยหนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์เป็นหลักศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดตามหนังสือดังกล่าวส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยผ่อนชำระตามหนังสือดังกล่าวเท่ากับข้อเสนอของจำเลยตกไปโจทก์ฎีกาว่าข้อเสนอของจำเลยหาตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้ ข้อความเฉพาะส่วนที่ขอผ่อนชำระในหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอขึ้นใหม่ของจำเลยดังข้อความในเอกสารที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุเคราะห์ตามควรแก่กรณีต่อไปด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงจึงมิใช่เงื่อนไขอันบังคับไว้ในสัญญาที่จำเลยยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แก่โจทก์เป็นผลเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอนเมื่อโจทก์ไม่ตกลงในส่วนที่จำเลยขอผ่อนชำระดังกล่าวจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเสนอผ่อนชำระหนี้และการผูกพันตามสัญญา แม้เจ้าหนี้ไม่ตกลง
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์มีข้อความที่สำคัญว่า ตามที่ทางราชการได้ทวงหนี้ค่าใช้จ่ายในการรับตัวลูกเรือจำนวน 13 คน ซึ่งพ้นโทษจำคุกที่ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามกลับประเทศไทยนั้น จำเลยยินดีชดใช้แต่เนื่องจากเรือของจำเลยถูกประเทศดังกล่าวจับทำให้มีฐานะยากจนมีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงขอผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จะไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เพราะไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของลูกเรือทั้ง 13 คน ระงับไป แต่ก็เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่กระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยหนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์เป็นหลักศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดตามหนังสือดังกล่าว ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยผ่อนชำระตามหนังสือดังกล่าวเท่ากับข้อเสนอของจำเลยตกไปโจทก์ฎีกาว่าข้อเสนอของจำเลยหาตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้
ข้อความเฉพาะส่วนที่ขอผ่อนชำระในหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอขึ้นใหม่ของจำเลยดังข้อความในเอกสารที่ว่า จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุเคราะห์ตามควรแก่กรณีต่อไปด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง จึงมิใช่เงื่อนไขอันบังคับไว้ในสัญญาที่จำเลยยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แก่โจทก์เป็นผลเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน เมื่อโจทก์ไม่ตกลงในส่วนที่จำเลยขอผ่อนชำระดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เงื่อนเวลาไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน, สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญา
ข้อสัญญาว่าจำเลยจะทำการหักโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เมื่อออกโฉนดแล้วภายใน180วันมิใช่ข้อตกลงอันบังคับไว้ให้นิติกรรมมีผลจึงมิใช่เงื่อนไขบังคับก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา145(เดิม)เป็นแต่เพียงข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ของจำเลยจะต้องดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินที่จะขายให้สำเร็จก่อนที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ข้อตกลงหน้าที่จำเลย vs. เงื่อนไขที่ทำให้สัญญาสิ้นผล
จำเลยให้การว่า จำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์จริงแต่มีข้อกำหนดในสัญญาเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนว่า สัญญาจะมีผลเป็นการซื้อขายต่อเมื่อจำเลยทำการออกโฉนดที่ดินให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด แต่เงื่อนไขดังกล่าวไม่สำเร็จลงภายในกำหนดสัญญา สัญญาเป็นอันยกเลิก คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย และดอกเบี้ย ดังนี้เท่ากับจำเลยยกข้อสัญญาขึ้นปฏิเสธความรับผิดว่า โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญานั่นเอง ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวได้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่จำเลยทำกับโจทก์เป็นสัญญาที่สมบูรณ์สามารถบังคับกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง ข้อสัญญาที่ว่าจำเลยจะทำการหักโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ เมื่อออกโฉนดแล้วภายใน 180 วัน นั้นมิใช่ข้อตกลงอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผล จึงมิใช่เงื่อนไขบังคับก่อนตาม มาตรา145 เดิม หากแต่เป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ของจำเลยจะต้องดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินที่จะขายให้สำเร็จ ก่อนที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์เท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับเพิ่มขึ้นโดยข้อสัญญาเป็นการกำหนดหน้าที่จำเลยเพิ่มขึ้นโดยข้อสัญญา เมื่อโจทก์สละประโยชน์ที่จะพึงได้รับตามข้อสัญญาดังกล่าวเสีย ขอบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามสัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นสิทธิตามกฎหมายที่โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม มาตรา 456 วรรคสอง กำหนดเวลา180 วัน ที่จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินที่จะขายอย่างที่ดินมีโฉนดแล้วจึงเป็นอันสิ้นผลไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การเสนอชำระหนี้เพื่อผ่อนผันอายุความต้องมีเงื่อนไขสำเร็จก่อน
ข้อความในเอกสารระบุว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเคยเป็นลูกจ้างโจทก์ขอเสนอตัวเองกลับเข้าทำงานกับโจทก์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อผ่อนใช้หนี้โดยขอทำงานแค่เพียง 2 ปีเท่านั้น และขอรับเงินเดือนตามที่เคยได้รับครั้งสุดท้ายกับเสนอเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินให้โจทก์ว่าจะผ่อนเท่าใด ข้อความเช่นนี้เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนว่าหากโจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงาน จำเลยที่ 1 ก็จะผ่อนชำระเงินตามฟ้องให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับจำเลยที่ 1 เข้าทำงานเงื่อนไขบังคับก่อนจึงยังไม่สำเร็จ ความยินยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ยังไม่เกิดขึ้น จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดก: ทายาทผู้รับโอนสิทธิยกอายุความได้
โจทก์ฟ้องว่า มารดาโจทก์กับ ม. ซึ่ง เป็นมารดาของเจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำสัญญาแบ่งมรดก จึงขอเรียกทรัพย์มรดกส่วนที่ ม. รับไปคืนจากจำเลยทั้งสี่ซึ่ง เป็นผู้รับโอนเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคืนจากทายาท ต้อง ฟ้องภายในกำหนดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของเจ้ามรดกนั้นโจทก์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ถือได้ว่าโจทก์โดย มารดารู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่ วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมเป็นบุคคลซึ่ง ชอบที่จะใช้ สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755.
of 5