พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5037/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำเนาสัญญากู้ยืมเงินไม่ต้องปิดอากรแสตมป์หากไม่มีอัตราในบัญชีท้ายหมวด ป.รัษฎากร
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว..." โจทก์นำสืบสำเนาสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานต่อศาล ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้ระบุให้ปิดอากรแสตมป์ที่สำเนาเอกสาร และบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป.รัษฎากรไม่มีอัตราอากรแสตมป์สำหรับสำเนาตราสารกู้ยืมเงินเพื่อปิดอากรแสตมป์ ดังนั้น การรับฟังสำเนาสัญญากู้ยืมเงินแทนต้นฉบับสัญญากู้ยืมเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ที่สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12442/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหุ้น, การรับฟังพยานสำเนาต่างประเทศ, การเพิกถอนการแก้ไขรายชื่อผู้ถือหุ้น
จำเลยให้การรับว่าจำเลยดำเนินการเพิกถอนชื่อโจทก์กับพวกออกจากรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้วใส่ชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทชุดเดิมกลับเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหม่อีกครั้งโดยไม่ปรากฏว่าเป็นการทำแทนบริษัท จึงเป็นการทำโดยพลการ โจทก์ไม่จำต้องฟ้องบริษัทเข้าเป็นจำเลยด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์จะมิได้ระบุหนังสือแจ้งการแก้ไขการลงทุนเอกสารหมาย จ.15 ไว้ในบัญชีระบุพยาน แต่โจทก์ก็ได้นำเอกสารดังกล่าวมาประกอบการถามติงในการสืบตัวโจทก์อันเป็นการสืบพยานโจทก์ปากแรกซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 มีโอกาสอย่างเต็มที่ในการที่จะนำพยานมาสืบหักล้าง ประกอบกับจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 ก็อ้างมาตลอดว่าหุ้นเป็นของจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 มิใช่ของโจทก์และจำเลยไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัท ด. แต่อย่างใด เช่นนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ส่วนที่ว่าเอกสารหมาย จ.15 เป็นเพียงสำเนานั้น เห็นว่า เอกสารดังกล่าวได้มีการจัดทำในต่างประเทศทั้งต้นฉบับก็มิได้อยู่ในความครอบครองของโจทก์ พยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานสำคัญที่จะพิสูจน์ถึงผู้มีสิทธิในหุ้นของบริษัท ซ. กรณีจึงจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) นอกจากนี้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โจทก์ก็ดำเนินการขอให้บริษัท ด. จัดทำหนังสือรับรองความมีอยู่จริงของสำเนาเอกสารหมาย จ.15 มาประกอบการพิจารณาของศาลด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังเอกสารหมาย จ.15 มานั้น ชอบแล้ว
แม้โจทก์จะมิได้ระบุหนังสือแจ้งการแก้ไขการลงทุนเอกสารหมาย จ.15 ไว้ในบัญชีระบุพยาน แต่โจทก์ก็ได้นำเอกสารดังกล่าวมาประกอบการถามติงในการสืบตัวโจทก์อันเป็นการสืบพยานโจทก์ปากแรกซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 มีโอกาสอย่างเต็มที่ในการที่จะนำพยานมาสืบหักล้าง ประกอบกับจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 ก็อ้างมาตลอดว่าหุ้นเป็นของจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 มิใช่ของโจทก์และจำเลยไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัท ด. แต่อย่างใด เช่นนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ส่วนที่ว่าเอกสารหมาย จ.15 เป็นเพียงสำเนานั้น เห็นว่า เอกสารดังกล่าวได้มีการจัดทำในต่างประเทศทั้งต้นฉบับก็มิได้อยู่ในความครอบครองของโจทก์ พยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานสำคัญที่จะพิสูจน์ถึงผู้มีสิทธิในหุ้นของบริษัท ซ. กรณีจึงจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) นอกจากนี้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โจทก์ก็ดำเนินการขอให้บริษัท ด. จัดทำหนังสือรับรองความมีอยู่จริงของสำเนาเอกสารหมาย จ.15 มาประกอบการพิจารณาของศาลด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังเอกสารหมาย จ.15 มานั้น ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ถูกต้องตามวิธีพิจารณา ทำให้ฟ้องไม่ชอบ
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนเพราะลายมือชื่อของ จ. และ ศ. ผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม เท่ากับจำเลยโต้แย้งคัดค้านว่าหนังสือมอบอำนาจไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคหนึ่ง เมื่อต้นฉบับเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 122 แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์กลับนำสืบว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ. 3 ซึ่งเป็นหนังสือมอบอำนาจคนละฉบับกับหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 โดยหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ทำขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2538 มี จ. และ ศ. เป็นผู้ลงนามในฐานะกรรมการของโจทก์ แต่หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.3 ทำขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2536 มี จ. และ ป. เป็นผู้ลงนามในฐานะกรรมการของโจทก์ จึงมิใช่เอกสารฉบับเดียวกัน เมื่อโจทก์ไม่มีต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 มาแสดง โดยไม่ปรากฏว่าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้ เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น จึงรับฟังข้อความตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ฟ้องของโจทก์จึงถือว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก ถึงแม้จะฟังว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ. 3 ตามข้ออ้างของโจทก์ก็ตาม แต่เป็นหนังสือมอบอำนาจคนละฉบับกับที่โจทก์ใช้ยื่นฟ้องคดีนี้ และมิได้ส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการรับฟังพยานหลักฐานเอกสารการชำระเงินที่ไม่ใช่ต้นฉบับ
เอกสารการรับชำระเงิน เป็นสำเนาที่ถ่ายมาจากต้นฉบับที่เก็บไว้ที่สาขาของโจทก์ อันแสดงให้เห็นว่าต้นฉบับเอกสารยังมีอยู่ที่สาขาของโจทก์ เมื่อจำเลยแถลงว่าเอกสารดังกล่าวที่โจทก์อ้างส่งเป็นสำเนาที่ถ่ายมาจากสำเนาอีกครั้งหนึ่ง ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ดังนี้ โจทก์จะต้องนำต้นฉบับเอกสารมาอ้าง การที่โจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสาร โดยที่ยังสามารถนำต้นฉบับเอกสารมาอ้างได้ เช่นนี้ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามที่ปรากฏในเอกสารการรับชำระเงินดังกล่าว กรณียังไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ที่จะรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดและการใช้ชื่อร่วมในห้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจทก์ตามสำเนาใบสั่งของชั่วคราว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยทั้งสี่มิได้ร่วมกันสั่งซื้อสินค้าและ รับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจทก์ตามสำเนาใบสั่งของชั่วคราวและสำเนา ใบสั่งของชั่วคราวดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม เท่ากับว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่รับว่าต้นฉบับสำเนาใบสั่งของชั่วคราว ดังกล่าวอยู่ที่จำเลยทั้งสี่ จึงเป็นกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาโดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลย่อมมีอำนาจที่จะรับฟังสำเนาเอกสารใบส่งของชั่วคราวแทนต้นฉบับเอกสารดังกล่าวได้ โดยโจทก์ไม่ต้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารก่อน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นสามีภริยา และเป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คนในห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด จำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 2 นำชื่อของตนไประคนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 แต่แรกเริ่มจัดตั้งห้างจำเลยที่ 1 และได้ร่วมกันกู้เงินธนาคารมาก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันและเป็นทุนดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 มาแต่ต้น จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1082
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025 ห้างหุ้นส่วนสามัญคือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด ดังนั้นบุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1054 จึงบัญญัติให้รับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญเสมือนเป็นหุ้นส่วน คือต้องรับผิดโดยไม่มีจำกัดจำนวนหนี้ ส่วนห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองประเภทคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดและพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งมีความผิดไม่เท่ากัน จึงไม่อาจนำมาตรา 1054 มาใช้บังคับกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ เพราะไม่อาจกำหนดได้ว่าจะต้องรับผิดเสมือนเป็นหุ้นส่วนประเภทใด จึงได้บัญญัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อบังคับใช้กับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไว้โดยเฉพาะในมาตรา 1082 โดยให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่ยินยอมโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็น ชื่อห้างรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
จำเลยที่ 4 ไม่ใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 แม้จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 ก็หาต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080 จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นสามีภริยา และเป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คนในห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด จำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 2 นำชื่อของตนไประคนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 แต่แรกเริ่มจัดตั้งห้างจำเลยที่ 1 และได้ร่วมกันกู้เงินธนาคารมาก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันและเป็นทุนดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 มาแต่ต้น จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1082
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025 ห้างหุ้นส่วนสามัญคือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด ดังนั้นบุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1054 จึงบัญญัติให้รับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญเสมือนเป็นหุ้นส่วน คือต้องรับผิดโดยไม่มีจำกัดจำนวนหนี้ ส่วนห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองประเภทคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดและพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งมีความผิดไม่เท่ากัน จึงไม่อาจนำมาตรา 1054 มาใช้บังคับกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ เพราะไม่อาจกำหนดได้ว่าจะต้องรับผิดเสมือนเป็นหุ้นส่วนประเภทใด จึงได้บัญญัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อบังคับใช้กับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไว้โดยเฉพาะในมาตรา 1082 โดยให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่ยินยอมโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็น ชื่อห้างรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
จำเลยที่ 4 ไม่ใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 แม้จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 ก็หาต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080 จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าจากการส่งมอบสินค้าผิดพลาดและไม่ถูกต้องตามสัญญา
เมื่อจำเลยที่ 2 ตกลงรับจ้างขนส่งสินค้า จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ท่าอากาศยานปลายทาง จำเลยที่ 2 ได้ออกใบตราส่งอันถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาขนส่งของให้แก่ผู้ส่งตามใบตราส่ง โดยระบุในใบตราส่งว่าผู้รับตราส่งคือธนาคารซิตี้แบงก์ มี ซ. เป็นผู้ที่จะต้องแจ้งให้ทราบ จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ ซ. ที่ท่าอากาศยานเมืองไมอามีซึ่งเป็นท่าอากาศยานปลายทาง โดยการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งซึ่งธนาคารซิตี้แบงก์ได้สลักหลังให้ เมื่อสินค้าถึงท่าอากาศยานเมืองไมอามี ตัวแทนของจำเลยที่ 2 กลับปล่อยสินค้าให้แก่บุคคลอื่นโดยมิได้มีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งทางอากาศ ถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งมอบสินค้าโดยชอบ
เอกสารที่โจทก์อ้างแม้จะเป็นสำเนาเอกสาร แต่ก็เป็นเอกสารที่ผู้ส่งได้ส่งให้แก่โจทก์โดยวิธีโทรสารซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ตามปกติผู้ส่งจะนำต้นฉบับเอกสารไปลงในเครื่องโทรสารแล้วส่งโดยวิธีโทรสารไปยังเครื่องโทรสารของผู้รับ และผู้ส่งเป็นผู้เก็บต้นฉบับไว้ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์อ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานยันตนก็มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นแล้วเสร็จ และไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านต่อศาลในภายหลัง จำเลยที่ 2 เพียงแต่โต้แย้งคัดค้านไว้ในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงและความเห็นของพยานจำเลยที่ 2 กับยื่นคำแถลงคัดค้านไว้ภายหลังการสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้วินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) แล้ว สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
สินค้าที่ขนส่งเป็นเพียงพรม ซึ่งเป็นสิ่งของธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินทองตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า และอัญมณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง
เอกสารที่โจทก์อ้างแม้จะเป็นสำเนาเอกสาร แต่ก็เป็นเอกสารที่ผู้ส่งได้ส่งให้แก่โจทก์โดยวิธีโทรสารซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ตามปกติผู้ส่งจะนำต้นฉบับเอกสารไปลงในเครื่องโทรสารแล้วส่งโดยวิธีโทรสารไปยังเครื่องโทรสารของผู้รับ และผู้ส่งเป็นผู้เก็บต้นฉบับไว้ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์อ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานยันตนก็มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นแล้วเสร็จ และไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านต่อศาลในภายหลัง จำเลยที่ 2 เพียงแต่โต้แย้งคัดค้านไว้ในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงและความเห็นของพยานจำเลยที่ 2 กับยื่นคำแถลงคัดค้านไว้ภายหลังการสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้วินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) แล้ว สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
สินค้าที่ขนส่งเป็นเพียงพรม ซึ่งเป็นสิ่งของธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินทองตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า และอัญมณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5841/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารสำเนา และความรับผิดในหนี้จากการสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างโดยบุคคลอื่น
การที่โจทก์นำสืบแสดงสำเนาเอกสารต่อศาล จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าโจทก์มิได้ส่งต้นฉบับเอกสารแต่อย่างใด การที่ศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7908/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาพยานหลักฐาน การรับฟังเอกสารที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้ และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยนอกประเด็น
ปัญหาเกี่ยวกับการพิจารณาพยานหลักฐานของศาลว่าได้ปฏิบัติเป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246
ตามบัญชีระบุพยานโจทก์ระบุว่า ต้นฉบับเอกสารหมาย จ.9 อยู่ที่ธนาคาร ก. การที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับ มาได้โดยประการอื่น ทั้งจำเลยไม่โต้แย้งคัดค้านว่าต้นฉบับไม่มีหรือสำเนาไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นจึงรับฟังเอกสารหมาย จ.9 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
ตามบัญชีระบุพยานโจทก์ระบุว่า ต้นฉบับเอกสารหมาย จ.9 อยู่ที่ธนาคาร ก. การที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับ มาได้โดยประการอื่น ทั้งจำเลยไม่โต้แย้งคัดค้านว่าต้นฉบับไม่มีหรือสำเนาไม่ถูกต้อง ศาลชั้นต้นจึงรับฟังเอกสารหมาย จ.9 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องคดีล้มละลาย และการรับรองความถูกต้องของเอกสารสำเนา
ในกรณีเจ้าหนี้มีลูกหนี้หลายคน เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้คนใดและจะฟ้องอย่างไร ย่อมเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเลือกกระทำได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องลูกหนี้คนอื่น ๆ เป็นคดีล้มละลายโดยไม่จำต้องฟ้องจำเลยด้วย ทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลายดังกล่าว ย่อมเป็นคุณแก่จำเลยในอันที่จะไม่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลาย และแม้ต่อมาลูกหนี้คนอื่น ๆ จะตกเป็นบุคคลล้มละลายก็ตาม จำเลยก็หาได้หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ และจะเสียสิทธิในการไล่เบี้ยหรือไม่ เพราะการไล่เบี้ยเป็นเรื่องระหว่างลูกหนี้ด้วยกันเอง กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2)
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นควรให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี แทนที่จะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2)
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นควรให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี แทนที่จะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องลูกหนี้หลายคน และการรับฟังพยานสำเนาเอกสาร
โจทก์ได้ทำหนังสือค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเพื่อเป็นการค้ำประกันสัญญาซื้อขายหัวกระเทียมแห้งระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. กับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร หากห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ปฏิบัติผิดสัญญา โจทก์ยินยอมใช้เงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรในวงเงินฉบับละ 1,000,000 บาท รวม 3 ฉบับ เป็นเงิน 3,000,000 บาท การที่โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันดังกล่าว น. และ ว. กับจำเลยต่างทำสัญญายอมรับผิดชอบชำระเงินรวมทั้งดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในกรณีที่โจทก์ต้องจ่ายเงินแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ไปตามหนังสือค้ำประกัน ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ผิดสัญญาต่อองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรแล้วฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. น. และ ว. เป็นคดีล้มละลาย และศาลได้พิพากษาให้บุคคลทั้งสามเป็นบุคคลล้มละลายแล้วโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย ในกรณีเจ้าหนี้มีลูกหนี้หลายคนนั้นเจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้คนใด และหากฟ้อง จะฟ้องอย่างไรย่อมเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเลือกกระทำได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องลูกหนี้คนอื่น ๆ คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. น. และ ว. เป็นคดีล้มละลายโดยไม่จำต้องฟ้องจำเลยด้วย ทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลายดังกล่าว ย่อมเป็นคุณแก่จำเลยในอันที่จะไม่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลาย และแม้ต่อมาลูกหนี้คนอื่น ๆ จะตกเป็นบุคคลล้มละลายก็ตาม จำเลยก็หาได้หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ และจะเสียสิทธิในการไล่เบี้ยเอาจากบุคคลทั้งสามดังกล่าวหรือไม่ เพราะการไล่เบี้ยเป็นเรื่องระหว่างลูกหนี้ด้วยกันเอง กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
โจทก์ชำระเงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์ได้เป็นต้นไป หาใช่ เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ถูกองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเรียกร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ไม่ เมื่อนับจากวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นจะให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีหรือจะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
โจทก์ชำระเงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์ได้เป็นต้นไป หาใช่ เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ถูกองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเรียกร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ไม่ เมื่อนับจากวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นจะให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีหรือจะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข