คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 93 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6061/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย: การแจ้งคำสั่ง, การนำสืบหลักฐาน, และการบังคับคดีโดยคำขอฝ่ายเดียว
การที่ผู้ร้องนำสืบแสดงสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ต่อศาลผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบโต้แย้งว่าผู้ร้องมิได้ส่งต้นฉบับคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 เมื่อศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา93 (2) แล้ว โดยผู้ร้องไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน และการที่ ส. หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตมาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมายร.1 จากผู้ร้อง ก็เป็นอันเพียงพอให้รับฟังได้ว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตหรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนตามสำเนาคำสั่งเอกสารหมาย ร.1 ผู้อำนวยการเขตจึงมีอำนาจปฏิบัติราชการแทนผู้ร้องตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
ผู้ร้องจัดให้มีการส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของผู้คัดค้านตามสำเนาทะเบียนบ้าน โดยปรากฏว่าเป็นการส่งให้แก่บุคคลที่มีชื่อกับที่อยู่ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับ และมีผู้รับแทนเป็นพี่ของผู้คัดค้านกับคนในบ้านของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้นำสืบโต้เถียงความถูกต้องแท้จริงแห่งสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเพียงพอรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านทราบคำสั่งของผู้ร้องแล้ว ตามวิธีการแจ้งคำสั่งที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 47 ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม
เมื่อผู้ร้องได้ออกคำสั่งถูกต้องตามขั้นตอนชอบด้วยกฎหมายและผู้คัดค้านทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว เพิกเฉยไม่รื้อถอนอาคารพิพาทภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่ง ผู้ร้องชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขอให้จับกุมและกักขังผู้คัดค้านซึ่งมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนดังกล่าวได้ โดยให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยผู้ร้องไม่จำต้องทำเป็นคำฟ้องและไม่จำต้องร้องขอออกคำบังคับแก่ผู้คัดค้าน กับไม่ต้องคำนึงว่าผู้ร้องมีอำนาจรื้อถอนอาคารพิพาทอยู่แล้ว หรือผู้คัดค้านขัดขวางการรื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 43 (1) แห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เช่าต้องรับผิดต่อความเสียหายจากสิ่งของตกหล่นจากอาคารที่ตนครอบครอง ตามหลักความรับผิดในโรงเรือน
แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย.กับจำเลยที่ 1 ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการด้านความปลอดภัย ซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินส่วนกลางตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน ชั้นที่ 1ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7 ภายในอาคารดังกล่าว และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่าบริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดังกล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ จำเลยที่ 1ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคล ผู้อยู่ในโรงเรือน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิว ไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กาย เป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่ 1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิด ในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทน จากบริษัทประกันภัย จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถ นำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้ สำเนาเอกสาร ดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามที่บัญญัติว่า ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้ แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไรดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากทรัพย์สินอาคาร และการใช้สำเนาเอกสารต่างประเทศเป็นหลักฐาน
แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย. กับจำเลยที่ 1ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการด้านความปลอดภัย ซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินส่วนกลางตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน ชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7 ภายในอาคารดังกล่าว และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่า บริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดังกล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ จำเลยที่ 1 ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิวไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กายเป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่ 1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว
ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้ สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้ แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไร ดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1789/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับฟังพยานสัญญาซื้อขายสำเนาได้ หากต้นฉบับสูญหาย และมีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
แม้สัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างเป็นพยานต่อศาลจะเป็นเพียง สำเนาเอกสารแต่เมื่อเป็นกรณีต้นฉบับเอกสารสูญหาย ศาลก็ สามารถรับฟังสำเนาสัญญาซื้อขายดังกล่าวประกอบพยานหลักฐาน อื่นของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นเองไม่ชอบ และการนำสืบพยานหลักฐานเมื่อโจทก์ไม่ส่งเอกสาร
แม้จำเลยที่ได้ให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แต่เมื่อคดีนี้มีการชี้สองสถานและศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทโดยโจทก์และจำเลยต่างไม่โต้แย้งคัดค้านเช่นนี้จึงถือได้ว่าคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้ระหว่างคู่ความการที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาและประเด็นข้อพิพาทข้อนี้เป็นคนละประเด็นกับที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยต้องชำระหนี้ให้โจทก์หรือไม่เพียงใด โจทก์ได้แจ้งต่อศาลตลอดมาว่าเอกสารต่างๆตามที่จำเลยอ้างมานั้นมีจำนวนมากยังค้นไม่พบต่อมาโจทก์ได้ส่งเอกสารตามคำสั่งเรียกมาให้เป็นบางส่วนแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยังค้นหาเอกสารไม่พบจริงไม่มีเจตนาจะบิดพลิ้วไม่ส่งเอกสารแต่อย่างใดกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมสามารถนำสืบสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(2)กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา123ที่จะถือว่าโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงตามเอกสารนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทที่มิได้กำหนด & การนำสืบพยานหลักฐาน - การวินิจฉัยเกินกรอบคดี
แม้จำเลยจะได้ให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ไม่เคยบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ แต่เมื่อคดีนี้มีการชี้สองสถานและศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท โดยโจทก์และจำเลยต่างไม่โต้แย้งคัดค้านเช่นนี้ จึงถือได้ว่าคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้ระหว่างคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา และประเด็นข้อพิพาทข้อนี้เป็นคนละประเด็นกับที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยต้องชำระหนี้ให้โจทก์หรือไม่เพียงใด
โจทก์ได้แจ้งต่อศาลตลอดมาว่าเอกสารต่าง ๆ ตามที่จำเลยอ้างมานั้นมีจำนวนมากยังค้นหาไม่พบ ต่อมาโจทก์ได้ส่งเอกสารตามคำสั่งเรียกมาให้เป็นบางส่วน แสดงให้เห็นว่า โจทก์ยังค้นหาเอกสารไม่พบจริง ไม่มีเจตนาจะบิดพลิ้วไม่ส่งเอกสารแต่อย่างใด กรณีเช่นนี้จำเลยย่อมสามารถนำสืบสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 123 ที่จะถือว่าโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงตามเอกสารนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ กรณีจำเลยโต้แย้งเอกสารปลอมแต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรหรือใบบันทึกค่าสินค้าและบริการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข8และ9เป็นเอกสารปลอมจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้คัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบโดยเหตุที่ว่าต้นฉบับปลอมทั้งฉบับก่อนวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา125วรรคสองแล้วและมีสิทธิคัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นได้ เมื่อจำเลยที่1ใช้บัตรอเมริกันเอ็กซ์เพรสของโจทก์แทนเงินสดในการชำระค่าสินค้าและบริการแต่ละครั้งจะมีการทำเอกสารชุดละ3แผ่นร้านค้าเก็บไว้1แผ่นมอบให้จำเลยที่1เก็บไว้1แผ่นและส่งมาเรียกเก็บเงินจากโจทก์1แผ่นซึ่งโจทก์จะนำไปถ่ายเป็นไมโครฟิล์มไว้แล้วส่งหลักฐานที่ร้านค้าส่งมาให้โจทก์ไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่1พร้อมใบแจ้งหนี้จึงไม่มีต้นฉบับหรือสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรดังกล่าวอยู่ที่โจทก์เมื่อโจทก์อ้างว่าต้นฉบับใบบันทึกการใช้บัตรอยู่ที่จำเลยทั้งสองแต่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรหรือใบบันทึกค่าสินค้าและบริการเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข9ซึ่งตรงกับสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรเอกสารหมายจ.8เป็นเอกสารปลอมจึงเท่ากับจำเลยทั้งสองไม่รับว่าต้นฉบับใบบันทึกการใช้บัตรหรือใบบันทึกค่าสินค้าและบริการดังกล่าวอยู่ที่จำเลยทั้งสองถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารใบบันทึกค่าสินค้าและบริการมาได้เมื่อเอกสารหมายจ.8เป็นสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรเป็นค่าสินค้าและบริการซึ่งเป็นภาพถ่ายจากไมโครฟิล์มที่โจทก์ถ่ายจากสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรเป็นค่าสินค้าและบริการของจำเลยที่1ที่ร้านค้าส่งไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์เอกสารหมายจ.8จึงเป็นสำเนาที่ถูกต้องของต้นฉบับเอกสารศาลมีอำนาจรับฟังเอกสารหมายจ.8ซึ่งเป็นสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(2) จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาใบบันทึกการใช้บัตรเป็นค่าสินค้าและบริการของจำเลยที่2และสำเนาใบบันทึกการเบิกเงินสดของจำเลยที่2พร้อมกับฟ้องแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำเอกสารมาสืบก่อนวันสืบพยานโดยเหตุว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับและไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้นรวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นตรงกับต้นฉบับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา125แล้วศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อจากการเลี้ยวรถตัดหน้าและการรับฟังพยานหลักฐานค่ารักษาพยาบาล
เมื่อช่องว่างระหว่างเกาะกลางถนนมีรูปเป็นส่วนโค้งและส่วนเว้าที่แสดงว่าเป็นช่องกลับรถของรถที่สวนทางมาแต่ไม่ใช่ช่องกลับรถของรถจำเลยที่สวนทางไปและยังมีป้ายเครื่องหมายจราจรห้ามกลับรถปักไว้ตรงหัวเกาะการที่ ว. ขับรถบรรทุกของจำเลยเคลื่อนออกจากไหล่ทางแล้วเลี้ยวขวาตัดหน้ารถทางตรงที่แล่นตามมาเพื่อจะกลับรถข้ามไปยังอีกถนนหนึ่งนั้นโดยปกติวิสัยจะต้องใช้ความระมัดระวังดูแลให้รถที่แล่นตามมาได้ผ่านพ้นไปให้ปลอดภัยเสียก่อน ว.ขับรถบรรทุกเลี้ยวขวาตัดหน้ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ในระยะกระชั้นชิดโดยไม่ระมัดระวังดูแลดังกล่าวเป็นเหตุให้รถเฉี่ยวชนกันจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของ ว. แต่ฝ่ายเดียว การที่ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลหายไปหาอยู่2-3วันก็ไม่พบกรณีจึงถือได้ว่าต้นฉบับเอกสารสูญหายเมื่อศาลยอมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวก็เท่ากับศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบแทนต้นฉบับศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(2)และมีอำนาจกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ตามเอกสารดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการขับรถตัดหน้าและอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารทางการแพทย์
เมื่อช่องว่างระหว่างเกาะกลางถนนมีรูปเป็นส่วนโค้งและส่วนเว้าที่แสดงว่าเป็นช่องกลับรถของรถที่สวนทางมา แต่ไม่ใช่ช่องกลับรถของรถจำเลยที่สวนทางไป และยังมีป้ายเครื่องหมายจราจรห้ามกลับรถปักไว้ตรงหัวเกาะ การที่ ว.ขับรถบรรทุกของจำเลยเคลื่อนออกจากไหล่ทาง แล้วเลี้ยวขวาตัดหน้ารถทางตรงที่แล่นตามมาเพื่อจะกลับรถข้ามไปยังอีกถนนหนึ่งนั้น โดยปกติวิสัยจะต้องใช้ความระมัดระวังดูแลให้รถที่แล่นตามมาได้ผ่านพ้นไปให้ปลอดภัยเสียก่อน ว. ขับรถบรรทุกเลี้ยวขวาตัดหน้ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ในระยะกระชั้นชิดโดยไม่ระมัดระวังดูแลดังกล่าวเป็นเหตุให้รถเฉี่ยวชนกัน จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของ ว. แต่ฝ่ายเดียว
การที่ต้นฉบับใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลหายไป หาอยู่2 - 3 วัน ก็ไม่พบ กรณีจึงถือได้ว่าต้นฉบับเอกสารสูญหาย เมื่อศาลยอมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวก็เท่ากับศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบแทนต้นฉบับ ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93(2) และมีอำนาจกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่ารักษพยาบาลแก่โจทก์ตามเอกสารดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหลักฐานการกู้ยืมที่สูญหาย และการอนุญาตให้สืบพยานบุคคล
การนำสืบว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือสูญหายไปนั้นโจทก์นำสืบด้วยพยานบุคคลได้ เพราะเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ส่วนการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สูญหายไปต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบได้ตลอดทั้งเรื่อง ถือว่าได้อนุญาตโดยปริยาย การสืบพยานของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
of 8