พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลแทนเอกสารกู้ยืมที่สูญหาย ศาลอนุญาตโดยปริยาย ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
การนำสืบว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือสูญหายไปนั้นโจทก์นำสืบด้วยพยานบุคคลได้เพราะเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงส่วนการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สูญหายไปต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนเมื่อศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบได้ตลอดทั้งเรื่องถือได้อนุญาตโดยปริยายการสืบพยานของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารใบแจ้งรายการบัตรเครดิตเป็นพยานหลักฐาน แม้ไม่ได้นำหลักฐานการใช้บัตรครบถ้วน
เอกสารใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตซึ่งตามใบคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตได้กำหนดเงื่อนไขของผู้ถือบัตรไว้ในข้อ 6 ว่า ผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องตรวจสอบรายการที่ธนาคารได้หักบัญชีไปแล้วนั้นทุกครั้งที่ได้รับใบแจ้งรายการหักบัญชี ถ้ามีรายการใดผิดพลาดผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องรีบแจ้งให้ธนาคารทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการหักบัญชี โจทก์ได้ส่งต้นฉบับใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามที่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขกันไว้นี้แล้วตามประเพณีที่ธนาคารปฏิบัติต่อลูกค้าทั่ว ๆ ไปซึ่งตามเอกสารดังกล่าวมีข้อความปรากฏถึง วัน เดือน ปี รหัสประเภทการใช้บัตรสถานที่ใช้บัตรซึ่งมีรายละเอียดเพียงพอที่จำเลยจะตรวจสอบและคัดค้านได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใด ส่วนรายการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยอันเนื่องมาจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยในบัญชีเดินสะพัดก็เป็นสมุดบัญชีของธนาคารซึ่งจำเลยสามารถตรวจสอบได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งหนี้ได้ แม้โจทก์ไม่ได้นำหลักฐานการใช้บัตรเครดิตของจำเลยมานำสืบให้ได้ครบจำนวนหนี้ตามฟ้องก็ตาม และเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 6 หาได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดไม่
โจทก์ได้ส่งต้นฉบับเอกสารหมาย จ.6 ให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามเงื่อนไขที่กำไนดไว้ในคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตก่อนแล้ว จึงเป็นการอ้างอิงเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 90 (2) เดิม และถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตามมาตรา 93 (2) ซึ่งศาลจะอนุญาตให้นำสำเนามาส่งก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานในคดีจึงชอบแล้ว
การที่โจทก์มิได้ทำคำแปลเอกสารหมาย จ.6 ส่วนที่สำคัญขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศไว้นั้น เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปล ตามป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่ง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลและศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ได้ส่งต้นฉบับเอกสารหมาย จ.6 ให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามเงื่อนไขที่กำไนดไว้ในคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตก่อนแล้ว จึงเป็นการอ้างอิงเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 90 (2) เดิม และถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตามมาตรา 93 (2) ซึ่งศาลจะอนุญาตให้นำสำเนามาส่งก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานในคดีจึงชอบแล้ว
การที่โจทก์มิได้ทำคำแปลเอกสารหมาย จ.6 ส่วนที่สำคัญขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศไว้นั้น เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปล ตามป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่ง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลและศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักเกณฑ์การรับฟังเอกสารทางแพ่ง, หนี้บัตรเครดิต, และการตรวจสอบรายการใช้จ่ายโดยผู้ถือบัตร
เอกสารใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตซึ่งตามใบคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตได้กำหนดเงื่อนไขของผู้ถือบัตรไว้ในข้อ 6 ว่าผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องตรวจสอบรายการที่ธนาคารได้หักบัญชีไปแล้วนั้นทุกครั้งที่ได้รับใบแจ้งรายการหักบัญชี ถ้ามีรายการใดผิดพลาดผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องรีบแจ้งให้ธนาคารทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการหักบัญชี โจทก์ได้ส่งต้นฉบับใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามที่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขกันไว้นี้แล้วตามประเพณีที่ธนาคารปฏิบัติต่อลูกค้าทั่ว ๆ ไป ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวมีข้อความปรากฎถึง วัน เดือน ปี รหัส ประเภทการใช้บัตรสถานที่ใช้บัตรซึ่งมีรายละเอียดเพียงพอที่จำเลยจะตรวจสอบและคัดค้านได้ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใดส่วนรายการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยอันเนื่องมาจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยในบัญชีเดินสะพัดก็เป็นสมุดบัญชีของธนาคารซึ่งจำเลยสามารถตรวจสอบได้ ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งหนี้ได้ แม้โจทก์ไม่ได้นำหลักฐานการใช้บัตรเครดิตของจำเลยมานำสืบให้ได้ครบจำนวนหนี้ตามฟ้องก็ตาม และเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 6 หาได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดไม่ โจทก์ได้ส่งต้นฉบับเอกสารหมาย จ.6 ให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตก่อนแล้ว จึงเป็นการอ้างอิงเอกสารที่อยู่ในครอบครองของจำเลยโจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2) เดิมและถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นตามมาตรา 93(2) ซึ่งศาลจะอนุญาตให้นำสำเนามาส่งก็ได้การที่ศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานในคดีจึงชอบแล้ว การที่โจทก์มิได้ทำคำแปลเอกสารหมาย จ.6 ส่วนที่สำคัญขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศไว้นั้น เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่งโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลและศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม, การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์, สิทธิในที่ดินเช่าและการครอบครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทตั้งอยู่ซอยขี้วัว ถนนเจริญกรุงแขวงบางคอแหลม เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 ไร่เศษ มีบ้านเลขที่34 ถึงเลขที่ 38 และเลขที่ 40 ตั้งอยู่ จำเลยทั้งสองสามารถเข้าใจดีแล้วว่าเป็นที่แปลงใด ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ว่า เป็นที่ดินโฉนดที่เท่าใด เป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องมา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ข้อความตอนต้นในพินัยกรรมระบุว่า ข้าพเจ้าทำหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นก่อนหน้าที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศมีกำหนด 45 วัน หนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ข้าพเจ้ามีความประสงค์ให้มีผลใช้บังคับได้ เมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตไปแล้วข้อความดังกล่าวเป็นแต่เพียงการระบุข้อเท็จจริงให้ทราบว่าได้ทำพินัยกรรมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มิได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากตนเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วให้พินัยกรรมสิ้นผลบังคับ พินัยกรรมฉบับนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง
โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ล.6ไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ คงอ้างว่าเอกสารหมาย ล.6 เป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ต้นฉบับของพินัยกรรมสูญหาย ศาลย่อมรับฟังสำเนาพินัยกรรมตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
ตามทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเอกสารหมาย จ.4 ปรากฏว่าขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม เจ้ามรดกมีอายุ 25 ปีจึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1582 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้นที่กำหนดว่าผู้รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ส่วนการรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมตามเอกสารหมาย จ.3 เจ้ามรดกแจ้งว่าเป็นโสด แต่ความจริงเจ้ามรดกได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย
มารดาเจ้ามรดกเช่าที่ดิน 3 แปลง จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีกำหนดเพียง 1 ปี เมื่อผู้เช่าตาย สัญญาเช่าซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับไป จึงรับมรดกเป็นผู้เช่าต่อไปไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองคงครอบครองที่ดินต่อมาแล้วให้ผู้อื่นเช่าก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยทั้งสองกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หาใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแต่อย่างใด
ข้อความตอนต้นในพินัยกรรมระบุว่า ข้าพเจ้าทำหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นก่อนหน้าที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศมีกำหนด 45 วัน หนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ข้าพเจ้ามีความประสงค์ให้มีผลใช้บังคับได้ เมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตไปแล้วข้อความดังกล่าวเป็นแต่เพียงการระบุข้อเท็จจริงให้ทราบว่าได้ทำพินัยกรรมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มิได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากตนเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วให้พินัยกรรมสิ้นผลบังคับ พินัยกรรมฉบับนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง
โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ล.6ไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ คงอ้างว่าเอกสารหมาย ล.6 เป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ต้นฉบับของพินัยกรรมสูญหาย ศาลย่อมรับฟังสำเนาพินัยกรรมตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
ตามทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเอกสารหมาย จ.4 ปรากฏว่าขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม เจ้ามรดกมีอายุ 25 ปีจึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1582 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้นที่กำหนดว่าผู้รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ส่วนการรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมตามเอกสารหมาย จ.3 เจ้ามรดกแจ้งว่าเป็นโสด แต่ความจริงเจ้ามรดกได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จึงขัดต่อป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย
มารดาเจ้ามรดกเช่าที่ดิน 3 แปลง จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีกำหนดเพียง 1 ปี เมื่อผู้เช่าตาย สัญญาเช่าซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับไป จึงรับมรดกเป็นผู้เช่าต่อไปไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองคงครอบครองที่ดินต่อมาแล้วให้ผู้อื่นเช่าก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยทั้งสองกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หาใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมที่ไม่สมบูรณ์, พินัยกรรม, และสิทธิในทรัพย์มรดก: ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินและสิทธิการเช่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทตั้งอยู่ซอยขี้วัวถนนเจริญกรุง แขวงบางคอแหลม เขตยานนาวา กรุงเทพมหานครเนื้อที่ 1 ไร่เศษ มีบ้านเลขที่ 34 ถึงเลขที่ 38 และเลขที่ 40 ตั้งอยู่ จำเลยทั้งสองสามารถเข้าใจดีแล้วว่าเป็นที่แปลงใด ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ว่า เป็นที่ดินโฉนดที่เท่าใด เป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องมา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ข้อความตอนต้นในพินัยกรรมระบุว่า ข้าพเจ้าทำหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นก่อนหน้าที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศมีกำหนด 45 วัน หนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ข้าพเจ้ามีความประสงค์ให้มีผลใช้บังคับได้ เมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตไปแล้วข้อความดังกล่าวเป็นแต่เพียงการระบุข้อเท็จจริงให้ทราบว่าได้ทำพินัยกรรมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มิได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากตนเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วให้พินัยกรรมสิ้นผลบังคับ พินัยกรรมฉบับนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ล.6ไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับคงอ้างว่าเอกสารหมาย ล.6 เป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าต้นฉบับของพินัยกรรมสูญหาย ศาลย่อมรับฟังสำเนาพินัยกรรมตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) ตามทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเอกสารหมาย จ.4 ปรากฏว่าขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมเจ้ามรดกมีอายุ 25 ปี จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1582 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้นที่กำหนดว่าผู้รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ส่วนการรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมตามเอกสารหมาย จ.3 เจ้ามรดกแจ้งว่าเป็นโสด แต่ความจริงเจ้ามรดกได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย มารดาเจ้ามรดกเช่าที่ดิน 3 แปลง จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีกำหนดเพียง 1 ปี เมื่อผู้เช่าตายสัญญาเช่าซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับไป จึงรับมรดกเป็นผู้เช่าต่อไปไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองคงครอบครองที่ดินต่อมาแล้วให้ผู้อื่นเช่าก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยทั้งสองกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หาใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษี, ค่าเสื่อมราคา, และการนำสืบพยานเอกสาร/บุคคลในคดีภาษีอากร
พยานเอกสารซึ่งโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียก เป็นเพียงใบสำคัญคู่จ่ายและใบเสร็จรับเงินซึ่งนำส่งในชั้นตรวจสอบไต่สวนอันเป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีของโจทก์เท่านั้น และเหตุที่จำเลยไม่อาจส่งเอกสารดังกล่าวก็เนื่องจากเอกสารสูญหายในช่วงที่จำเลยมีการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยมีความมุ่งหมายที่จะกีดกันมิให้โจทก์ใช้เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานทั้งเมื่อจำเลยไม่สามารถส่งเอกสารตามที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกเนื่องจากสูญหาย โจทก์ก็อาจขออนุญาตศาลนำพยานบุคคลมาสืบเกี่ยวกับข้ออ้างได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ลงรายการต่าง ๆ ครบถ้วนถูกต้องหาได้ไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลไว้แล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินรายการใด ย่อมแสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเฉพาะรายการนั้น ส่วนรายการใดที่มิได้มีการอุทธรณ์ย่อมแสดงว่าผู้ยื่นเสียภาษีพอใจแล้วเมื่อโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์รายการใด โจทก์ย่อมหมดสิทธิโต้แย้งในรายการนั้น โจทก์หามีสิทธิรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนำมาอุทธรณ์ต่อศาลอีกหาได้ไม่
เหล็กแผ่นที่ใช้ทำแบบในการก่อสร้าง โดยสภาพเป็นวัตถุที่คงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพโดยง่าย ย่อมสามารถใช้ได้หลายครั้ง ทั้งตามรายงานการตรวจสอบปรากฏว่าเหล็กแผ่นดังกล่าวมีอายุการใช้งานได้มากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าแผ่นเหล็กดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนและไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งหมดในแต่ละปี โดยเพียงแต่คำนวณหักเป็นค่าเสื่อมราคาให้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจึงเป็นการชอบแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลไว้แล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินรายการใด ย่อมแสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเฉพาะรายการนั้น ส่วนรายการใดที่มิได้มีการอุทธรณ์ย่อมแสดงว่าผู้ยื่นเสียภาษีพอใจแล้วเมื่อโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์รายการใด โจทก์ย่อมหมดสิทธิโต้แย้งในรายการนั้น โจทก์หามีสิทธิรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนำมาอุทธรณ์ต่อศาลอีกหาได้ไม่
เหล็กแผ่นที่ใช้ทำแบบในการก่อสร้าง โดยสภาพเป็นวัตถุที่คงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพโดยง่าย ย่อมสามารถใช้ได้หลายครั้ง ทั้งตามรายงานการตรวจสอบปรากฏว่าเหล็กแผ่นดังกล่าวมีอายุการใช้งานได้มากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าแผ่นเหล็กดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนและไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งหมดในแต่ละปี โดยเพียงแต่คำนวณหักเป็นค่าเสื่อมราคาให้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การอุทธรณ์ และการหักค่าใช้จ่ายลงทุน: การพิจารณาเอกสารหลักฐานและอายุการใช้งานของทรัพย์สิน
พยานเอกสารซึ่งโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียก เป็นเพียงใบสำคัญคู่จ่ายและใบเสร็จรับเงินซึ่งนำส่งในชั้นตรวจสอบไต่สวนอันเป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีของโจทก์เท่านั้น และเหตุที่จำเลยไม่อาจส่งเอกสารดังกล่าวก็เนื่องจากเอกสารสูญหายในช่วงที่จำเลยมีการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยมีความมุ่งหมายที่จะกีดกันมิให้โจทก์ใช้เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานทั้งเมื่อจำเลยไม่สามารถส่งเอกสารตามที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกเนื่องจากสูญหาย โจทก์ก็อาจขออนุญาตศาลนำพยานบุคคลมาสืบเกี่ยวกับข้ออ้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ลงรายการต่าง ๆ ครบถ้วนถูกต้องหาได้ไม่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลไว้แล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินรายการใด ย่อมแสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเฉพาะรายการนั้นส่วนรายการใดที่มิได้มีการอุทธรณ์ย่อมแสดงว่าผู้ยื่นเสียภาษีพอใจแล้วเมื่อโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์รายการใด โจทก์ย่อมหมดสิทธิโต้แย้งในรายการนั้น โจทก์หามีสิทธิรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนำมาอุทธรณ์ต่อศาลอีกหาได้ไม่ เหล็กแผ่นที่ใช้ทำแบบในการก่อสร้าง โดยสภาพเป็นวัตถุที่คงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพโดยง่าย ย่อมสามารถใช้ได้หลายครั้งทั้งตามรายงานการตรวจสอบปรากฏว่าเหล็กแผ่นดังกล่าวมีอายุการใช้งานได้มากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าแผ่นเหล็กดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนและไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งหมดในแต่ละปี โดยเพียงแต่คำนวณหักเป็นค่าเสื่อมราคาให้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4233/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานต่างภาษาและเอกสารสำเนาในคดีแพ่ง: การปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ขณะนำสืบและส่งเอกสารซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศเป็นพยาน โจทก์ไม่ได้ส่งคำแปลต่อศาลและจำเลยด้วย ในนัดต่อมาโจทก์ขอส่งคำแปลเอกสารดังกล่าวที่มีคำรับรอง ศาลอนุญาตแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 แล้ว ศาลรับฟ้องเอกสารดังกล่าวนั้นเป็นพยานได้ สำหรับสำเนาเอกสารที่โจทก์นำส่งเป็นพยานนั้น ปรากฏว่าโจทก์เบิกความว่าต้นฉบับเอกสารนั้น จำเลยได้รับคืนไปแล้ว ส่วนจำเลยเบิกความว่า ต้นฉบับอยู่ที่จำเลยหรือไม่จำไม่ได้ จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) ศาลรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสูญหาย-ข้อยกเว้นการนำสืบ + การประกันภัยรถยนต์กรณีผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต
เมื่อต้นฉบับใบอนุญาตขับรถยนต์อยู่ในความครอบครองของ น.ซึ่งหลบหนีคดีอาญา จึงเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นชอบที่โจทก์ที่ 1 จะอ้างสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
จำเลยให้การรับว่า ได้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ไว้จริงแต่จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยเพราะผู้ขับรถยนต์ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ได้ตามกฎหมายซึ่งเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบในข้อนี้
จำเลยให้การรับว่า ได้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ไว้จริงแต่จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยเพราะผู้ขับรถยนต์ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ได้ตามกฎหมายซึ่งเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบในข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาเอกสารกรณีต้นฉบับอยู่กับผู้หลบหนี และภาระการพิสูจน์ของผู้รับประกันภัย
เมื่อต้นฉบับใบอนุญาตขับรถยนต์อยู่ในความครอบครองของ น.ซึ่งหลบหนีคดีอาญา จึงเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นชอบที่โจทก์ที่ 1 จะอ้างสำเนาหรือภาพถ่ายเอกสารได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) จำเลยให้การรับว่า ได้รับประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ที่ 1ไว้จริงแต่จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยเพราะผู้ขับรถยนต์ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ได้ตามกฎหมายซึ่งเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบในข้อนี้