คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 93 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3188/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องแสดงสภาพแห่งข้อหาชัดเจน และการรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับเมื่อต้นฉบับสูญหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถอนเงินของโจทก์จากธนาคาร2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 26 มิถุนายน 2528 เป็นเงิน 500,000 บาทครั้งที่สองเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 เป็นเงิน 200,000 บาทและเบียดบังเอาเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต แล้วหลบหนีไปเป็นละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องบรรยายว่าจำเลยที่ 1จงใจหรือประมาทเลินเล่ออีก คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์นำสืบว่า ต้นฉบับสัญญาค้ำประกันสูญหายเพราะถูกจำเลยที่ 1ลักไป ได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจไว้แล้ว อันเป็นการแสดงเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถส่งต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานได้การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาสัญญาค้ำประกัน จึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับเอกสารได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) หาใช่เป็นการรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐาน อันจะต้องปิดอากรแสตมป์ที่ต้นฉบับนั้นไม่ ทั้งสำเนาเอกสารดังกล่าวก็มิใช่ต้นฉบับหรือคู่ฉบับหรือคู่ฉีก จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน - สำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ กรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 ส่งต้นฉบับเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ต่อศาลแล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้นำส่งต้นฉบับเอกสารดังกล่าวตามคำสั่งศาล จึงรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวประกอบพยานบุคคลของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3418/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สัญญากู้ยืมเงินสำเนาเป็นหลักฐานฟ้องร้องได้เมื่อต้นฉบับไม่อยู่ในการครอบครองของผู้มีหน้าที่นำสืบ
สัญญากู้เงินได้ทำไว้ 2 ฉบับ โดยขณะทำสัญญาได้ใช้กระดาษก๊อปปี้คั่นกลาง ต้นฉบับอยู่ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ ส่วนฉบับสำเนาอยู่ที่โจทก์ ดังนี้ สำเนาสัญญาไม่ใช่เอกสารปลอม เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยและนำสืบพยานหลักฐานแสดงให้เห็นแล้วว่าต้นฉบับเอกสารนำมาไม่ได้ จึงรับฟังสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 93(2) เท่ากับโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ จึงฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3418/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาสำเนาใช้ฟ้องร้องได้ หากต้นฉบับไม่อยู่ในความครอบครองของศาล หรือคู่ความ
โจทก์จำเลยทำสัญญากู้ 2 ฉบับ โดยใช้กระดาษก๊อปปี้คั่นกลางต้นฉบับอยู่ที่จำเลย ฉบับสำเนาอยู่ที่โจทก์ เมื่อโจทก์นำสืบว่าต้นฉบับสัญญากู้นำมาไม่ได้ จึงรับฟังสัญญาฉบับสำเนาซึ่งอยู่ที่โจทก์ได้ เท่ากับโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยได้ตามกฎหมายแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอน/ตั้งผู้จัดการมรดกจากพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้กุศล และสิทธิในการนำสืบพยาน
ผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีพยานระบุว่าพินัยกรรมของผู้ตายอยู่ที่ผู้ร้อง และได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกคำสั่งเรียกพินัยกรรมดังกล่าวจากผู้ร้อง 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกให้ตามขอวันนัดไต่สวนพยานผู้คัดค้าน ผู้ร้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องไม่เคยมีพินัยกรรมของผู้ตายไว้ในครอบครอง ดังนี้จึงเป็นเรื่องหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกต้นฉบับพินัยกรรมของผู้ตายจากผู้ร้อง อันเป็นการแสดงเหตุจำเป็นที่ส่งต้นฉบับเอกสารเป็นพยานไม่ได้ไว้ก่อนแล้ว การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นแทนนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงประกอบคำร้องขอ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 มิได้ห้ามการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานเอกสาร ผู้คัดค้านมีสิทธินำสืบเกี่ยวกับพินัยกรรมได้แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าไม่มีพินัยกรรม การนำสืบของผู้คัดค้านไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม มิได้โต้เถียงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะพยานในพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อในขณะทำพินัยกรรม ปัญหาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทและมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่รับวินิจฉัย
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์โดยตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์อันถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเสียแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกและแต่งตั้งใหม่ตามพินัยกรรมที่ยกทรัพย์สินให้กุศลสาธารณะ
ผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีพยานระบุว่าพินัยกรรมของผู้ตายอยู่ที่ผู้ร้อง และได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกคำสั่งเรียกพินัยกรรมดังกล่าวจากผู้ร้อง 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกให้ตามขอวันนัดไต่สวนพยานผู้คัดค้าน ผู้ร้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าผู้ร้องไม่เคยมีพินัยกรรมของผู้ตายไว้ในครอบครอง ดังนี้จึงเป็นเรื่องหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกต้นฉบับพินัยกรรมของผู้ตายจากผู้ร้อง อันเป็นการแสดงเหตุจำเป็นที่ส่งต้นฉบับเอกสารเป็นพยานไม่ได้ไว้ก่อนแล้ว การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นแทนนั้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงประกอบคำร้องขอทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 มิได้ห้ามการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานเอกสาร ผู้คัดค้านมีสิทธินำสืบเกี่ยวกับพินัยกรรมได้แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าไม่มีพินัยกรรมการนำสืบของผู้คัดค้านไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม มิได้โต้เถียงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะพยานในพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อในขณะทำพินัยกรรม ปัญหาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทและมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่รับวินิจฉัย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์โดยตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์อันถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเสียแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4558/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสำเนาเอกสารเป็นหลักฐาน: ต้องแสดงเหตุต้นฉบับหายหรือเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย จึงจะรับฟังได้
โจทก์ส่งสำเนา (ภาพถ่ายเอกสาร) หนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยเป็นพยานต่อศาล โดยมิได้นำสืบหรือแถลงโดยชัดแจ้งให้รับฟังได้ว่าต้นฉบับเอกสารดังกล่าวหายสาบสูญหรือค้นหาไม่พบหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นกรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) ซึ่งทำให้โจทก์มีสิทธินำสำเนา (ภาพถ่ายเอกสาร) หรือพยานบุคคลมาสืบได้ และการที่ศาลรับสำเนาหนังสือดังกล่าวไว้ระหว่างพิจารณา จะถือว่าเป็นการที่ศาลอนุญาตให้โจทก์อ้างสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบโดยปริยายแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1386/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานเอกสารและการเบิกความรับรองความถูกต้องของเอกสารในการพิสูจน์การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
การที่จำเลยไม่อาจนำต้นฉบับเอกสารของทางราชการมาแสดง แต่มีสำเนาเอกสารซึ่งเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบมาเบิกความรับรองความมีอยู่และถูกต้องของเอกสารดังกล่าว จึงเพียงพอที่จะรับฟังเป็นหลักฐานให้เชื่อได้ว่าเจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมจริง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าทรัพย์สิน: สิทธิการเช่ายังคงอยู่แม้ผู้เช่ารายหนึ่งเสียชีวิต และการนำสืบพยานบุคคลเพื่อยืนยันสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าห้องพิพาทจากจำเลยเป็นหนังสือและสัญญาเช่าอยู่ที่จำเลย จำเลยให้การว่าไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือ สัญญาเช่าไม่มีอยู่ที่จำเลย เช่นนี้ โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบว่ามีสัญญาเช่าเป็นหนังสือจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2) ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 94
แม้สัญญาเช่าจะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าก็ตาม แต่เมื่อทั้งโจทก์และ ว. ต่างเป็นผู้เช่าห้องพิพาทจากจำเลย การตายของว.จึงเป็นเหตุให้สิทธิการเช่าระงับไปเฉพาะตัวของ ว. แต่ผู้เดียว หาทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปด้วยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า, การตายของผู้เช่าร่วม, สิทธิการเช่าเฉพาะตัว, การนำสืบพยานบุคคล
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าห้องพิพาทจากจำเลยเป็นหนังสือและสัญญาเช่าอยู่ที่จำเลย จำเลยให้การว่าไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือสัญญาเช่าไม่มีอยู่ที่จำเลย เช่นนี้ โจทก์นำ พยานบุคคลเข้าสืบว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา93(2) ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 94 แม้สัญญาเช่าจะเป็นสิทธิเฉพาะ ตัวของผู้เช่าก็ตาม เมื่อทั้งโจทก์และ ว.ต่างเป็นผู้เช่าห้องพิพาทจากจำเลยการตายของว.เป็นเหตุให้สิทธิการเช่า ระงับไปเฉพาะ ตัวของ ว. หาทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปด้วยไม่.
of 8