พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, หลักฐานสัญญา, การระงับสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า, สิทธิเช่าคงอยู่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าห้องพิพาทจากจำเลยเป็นหนังสือและสัญญาเช่าอยู่ที่จำเลย จำเลยให้การว่าไม่มีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือ สัญญาเช่าไม่มีอยู่ที่จำเลย เช่นนี้ โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบว่ามีสัญญาเช่าเป็นหนังสือจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 94
แม้สัญญาเช่าจะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าก็ตาม แต่เมื่อทั้งโจทก์และ ว.ต่างเป็นผู้เช่าห้องพิพาทจากจำเลย การตายของว.จึงเป็นเหตุให้สิทธิการเช่าระงับไปเฉพาะตัวของว.แต่ผู้เดียว หาทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปด้วยไม่.
แม้สัญญาเช่าจะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าก็ตาม แต่เมื่อทั้งโจทก์และ ว.ต่างเป็นผู้เช่าห้องพิพาทจากจำเลย การตายของว.จึงเป็นเหตุให้สิทธิการเช่าระงับไปเฉพาะตัวของว.แต่ผู้เดียว หาทำให้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปด้วยไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเพื่อสาธารณประโยชน์ทำให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ไม่ได้จดทะเบียน
แม้ขณะ ส.อุทิศที่พิพาทให้แก่สุขาภิบาลโจทก์ส. มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกับผู้อื่น แต่ปรากฏตามเอกสารว่าส. ได้อุทิศที่ดินเฉพาะ ส่วนของตน ทั้งโจทก์ได้เข้าพัฒนาทำเป็นทางสาธารณะและราษฎรได้ใช้สอย ทางนี้ตลอดมา เช่นนี้แสดงว่าเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ยินยอมให้ที่พิพาทเป็นส่วนของ ส. ที่พิพาทจึงตก เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันทันทีหาจำต้องจดทะเบียนไม่ และการที่โจทก์เข้าพัฒนาที่พิพาทถือไม่ได้ว่าเป็นการที่โจทก์ครอบครองที่พิพาทและโดยเจตนาเป็นเจ้าของ ภาพถ่ายเอกสารรับฟังได้ เนื่องจากต้น ฉบับ เอกสารหาไม่ได้เพราะสูญหาย โจทก์เป็นผู้รับมอบการอุทิศทางพิพาทและมีหน้าที่บำรุงทางบกทางน้ำตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3984/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซื้อขายไม่เคลือบคลุม - สำเนาเอกสารใช้แทนต้นฉบับได้ - หนี้ร่วมจากการค้า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้ซื้อลูกไก่อาหารไก่และ อาหารหมู ไปจากโจทก์รวม 26 ครั้ง เป็นเงิน 115,835 บาท จำเลยทั้งสองได้รับ สินค้าไปตามสำเนาภาพถ่ายใบรับฝากสินค้าท้ายฟ้อง จำเลยค้างชำระ ค่าสินค้าเป็นเงิน 51,930 บาท เป็นคำฟ้อง ที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนข้อที่ว่าใครเป็นผู้ซื้อ ผู้รับสินค้าและเป็นสินค้าชนิดใดนั้นเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ผู้ขายได้มอบต้นฉบับใบรับฝากสินค้าให้แก่จำเลยผู้ซื้อไป คงเก็บไว้แต่สำเนา ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ ศาลรับฟังสำเนาแทนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นสามีของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองประกอบการค้า ร่วมกันในสถานที่เดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในหนี้สิน ที่ทำการค้าร่วมกัน
โจทก์ผู้ขายได้มอบต้นฉบับใบรับฝากสินค้าให้แก่จำเลยผู้ซื้อไป คงเก็บไว้แต่สำเนา ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ ศาลรับฟังสำเนาแทนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นสามีของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองประกอบการค้า ร่วมกันในสถานที่เดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในหนี้สิน ที่ทำการค้าร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3984/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซื้อขายไม่เคลือบคลุม แม้ไม่มีต้นฉบับเอกสาร แต่มีสำเนาที่โจทก์มอบให้จำเลย ศาลรับฟังได้ หนี้ร่วมสามีภรรยา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้ซื้อลูกไก่อาหารไก่และ อาหารหมู ไปจากโจทก์รวม 26 ครั้ง เป็นเงิน 115,835บาท จำเลยทั้งสองได้รับ สินค้าไปตามสำเนาภาพถ่ายใบรับฝากสินค้าท้ายฟ้อง จำเลยค้างชำระ ค่าสินค้าเป็นเงิน 51,930 บาท เป็นคำฟ้อง ที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนข้อที่ว่าใครเป็นผู้ซื้อ ผู้รับสินค้าและเป็นสินค้าชนิดใดนั้นเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ผู้ขายได้มอบต้นฉบับใบรับฝากสินค้าให้แก่จำเลยผู้ซื้อไป คงเก็บไว้แต่สำเนา ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ ศาลรับฟังสำเนาแทนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) จำเลยที่ 1 เป็นสามีของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองประกอบการค้า ร่วมกันในสถานที่เดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในหนี้สิน ที่ทำการค้าร่วมกัน
โจทก์ผู้ขายได้มอบต้นฉบับใบรับฝากสินค้าให้แก่จำเลยผู้ซื้อไป คงเก็บไว้แต่สำเนา ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ ศาลรับฟังสำเนาแทนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) จำเลยที่ 1 เป็นสามีของจำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองประกอบการค้า ร่วมกันในสถานที่เดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในหนี้สิน ที่ทำการค้าร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการโอนที่ดินพร้อมไถ่ถอนจำนองหลังชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนไม่ตกเป็นโมฆะ แม้มีปัญหาการชำระหนี้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับห้าง อ.แต่บันทึกดังกล่าวสูญหายไป โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงดังกล่าวได้โดยได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2)หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็น การขัดต่อมาตรา 94 ไม่
ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ.จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรม ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง เมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้ว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน
ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ.จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรม ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง เมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้ว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการโอนที่ดินหลังชำระบัญชี ห้างมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ โจทก์ออกเงินไถ่ถอนจำนองได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับห้าง อ. แต่บันทึกดังกล่าวสูญหายไปโจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงดังกล่าวได้โดยได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็น การขัดต่อมาตรา 94 ไม่ ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ. จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรมข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อ บทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนองเมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้วแม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนองศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำพยานบุคคลสืบแทนสัญญาประนีประนอมที่เสียหายจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า เงินค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้เป็น 2 ฉบับต่างยึดถือไว้ฝ่ายละ 1 ฉบับ แต่ฉบับที่จำเลยเก็บรักษาถูกไฟไหม้เสียหายโดยเหตุสุดวิสัยไม่อาจนำมาอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาจำเลยจึงนำพยานบุคคลมาสืบแทนได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากการคืนเช็คให้บุคคลอื่น ความรับผิดของธนาคาร และขอบเขตค่าเสียหายที่บังคับใช้ได้
โจทก์นำเช็คของธนาคาร ท.จำนวนเงิน 84,000 บาท ซึ่ง ซ.เป็นผู้สั่งจ่ายฝากเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารจำเลย จำเลยส่งเช็คฉบับนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ท. แต่ธนาคาร ท.ปฏิเสธการจ่ายเงินและส่งเช็คฉบับนั้นคืน ต่อมาพนักงานของจำเลยได้คืนเช็คฉบับนั้นให้แก่ผู้ที่พนักงานของจำเลยไม่เคยรู้จักมาก่อนซึ่งมาอ้างว่าเป็นลูกจ้าง ของโจทก์ไป โดยไม่ตรวจสอบดูหลักฐาน ย่อมเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น จำเลยก็ต้องรับผิดในการกระทำของพนักงานของตน แต่การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่ากับจำนวนเงินที่ปรากฏในเช็คฉบับนั้น นอกจากการที่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งแสดงอยู่ในตัวว่ายังห่างไกลต่อการที่คาดหมายได้ว่า โจทก์จะสามารถฟ้องเรียกเงินจาก ซ.ได้เต็มตามจำนวนเงินในเช็คนั้นแล้ว ตามฟ้องโจทก์ได้อ้างแต่เพียงว่าโจทก์ต้องเสียหายเพราะโจทก์ต้องสูญเสียเช็คฉบับนั้นสำหรับที่จะใช้เป็นหลักฐาน ในการฟ้อง ซ.ไปเท่านั้น กรณีจึงยังเป็นความเสียหายที่ห่างไกลต่อเหตุ ทั้งธนาคารจำเลยนำสืบฟังได้ว่า เมื่อโจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีแล้วเพียง 6 วัน โจทก์ก็ทราบว่าเช็คฉบับนั้นถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงยังมีทางที่โจทก์จะขอนำสืบพยานบุคคลแทนเช็คที่สูญหายไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ฉะนั้น ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เสียหายไปแล้วเป็นเงิน 84,000 บาท เท่าจำนวนเงินในเช็คเนื่องจากการที่โจทก์ต้องสูญเสียเช็คพิพาทไปนั้น จึงยังห่างไกลต่อความเป็นจริงมาก ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ ดังที่โจทก์กล่าวอ้างค่าเสียหายประการอื่น ๆ ถ้าหากจะมีโจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกร้องมาศาลจึงต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารต่อการคืนเช็คให้บุคคลอื่น การประเมินความเสียหายที่ห่างไกลต่อเหตุ
โจทก์นำเช็คของธนาคาร ท. จำนวนเงิน84,000บาทซึ่ง ซ. เป็นผู้สั่งจ่ายฝากเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยจำเลยส่งเช็คฉบับนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ท. แต่ธนาคาร ท. ปฏิเสธการจ่ายเงินและส่งเช็คฉบับนั้นคืน ต่อมาพนักงานของจำเลยได้คืนเช็คฉบับนั้นให้แก่ผู้ที่พนักงานของจำเลยไม่เคยรู้จักมาก่อนซึ่งมาอ้างว่าเป็นลูกจ้างของโจทก์ไปโดยไม่ตรวจสอบดูหลักฐาน ย่อมเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น จำเลยก็ต้องรับผิดในการกระทำของพนักงานของตนแต่การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่ากับจำนวนเงินที่ปรากฏในเช็คฉบับนั้น นอกจากการที่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งแสดงอยู่ในตัวว่ายังห่างไกลต่อการที่คาดหมายได้ว่า โจทก์จะสามารถฟ้องเรียกเงินจาก ซ. ได้เต็มตามจำนวนเงินในเช็คนั้นแล้ว ตามฟ้องโจทก์ได้อ้างแต่เพียงว่าโจทก์ต้องเสียหายเพราะโจทก์ต้องสูญเสียเช็คฉบับนั้นสำหรับที่จะใช้เป็นหลักฐานในการฟ้อง ซ. ไปเท่านั้น กรณีจึงยังเป็นความเสียหายที่ห่างไกลต่อเหตุทั้งธนาคารจำเลยนำสืบฟังได้ว่า เมื่อโจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีแล้วเพียง 6 วัน โจทก์ก็ทราบว่าเช็คฉบับนั้นถูกปฏิเสธการจ่ายเงินจึงยังมีทางที่โจทก์จะขอนำสืบพยานบุคคลแทนเช็คที่สูญหายไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ฉะนั้น ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เสียหายไปแล้วเป็นเงิน 84,000 บาท เท่าจำนวนเงินในเช็คเนื่องจากการที่โจทก์ต้องสูญเสียเช็คพิพาทไปนั้น จึงยังห่วงไกลต่อความเป็นจริงมาก ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง ค่าเสียหายประการอื่นๆ ถ้าหากจะมีโจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกร้องมาศาลจึงต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยเกินอัตราและทบต้นเป็นโมฆะ ส่วนที่สมบูรณ์บังคับได้
จำเลยอ้างว่าชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้วบางส่วน และโจทก์ออกใบรับให้แต่ต่อมาปลวกขึ้นบ้านจำเลยกับใบรับนั้นเสีย ดังนี้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
จำเลยกู้เงินให้โจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาทเป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตรา และคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654, 655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะ ส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาท นั้นยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้ และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ
จำเลยกู้เงินให้โจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาทเป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตรา และคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654, 655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะ ส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาท นั้นยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้ และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ