พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้ ดอกเบี้ยเกินอัตรา และการพิสูจน์การชำระหนี้ด้วยพยานบุคคล
จำเลยอ้างว่าชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้วบางส่วน และโจทก์ออกใบรับให้ แต่ต่อมาปลวกขึ้นบ้านจำเลยกินใบรับนั้นเสียดังนี้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาท เป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตราและคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654,655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ตกเป็นโมฆะส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาทนั้น ยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาท เป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตราและคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654,655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ตกเป็นโมฆะส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาทนั้น ยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะสัญญาประกันชีวิตจากเจ็บป่วยซ่อนเร้น และการรับฟังสำเนาเอกสารทางการแพทย์
ต้นฉบับเอกสารเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยของคนไข้ซึ่งแพทย์โรงพยาบาลบันทึกไว้หาไม่พบ จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงโดยอาศัยภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสารนั้นแทนต้นฉบับได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) และมาตรา 123
ผู้เอาประกันชีวิตรู้ตัวดีว่าตนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและปัสสาวะเป็นเลือดก่อนขอเข้าทำสัญญาประกันชีวิต แต่ก็ ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงให้บริษัทประกันชีวิตทราบ สัญญาประกันชีวิตย่อมตกเป็นโมฆียะ
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยโดยระบุให้ผู้เยาว์คนหนึ่งเป็นผู้รับประโยชน์เมื่อปรากฏว่า สัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865และบริษัทจำเลยได้บอกล้างไปยังผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้นแล้ว สัญญานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ
ผู้เอาประกันชีวิตรู้ตัวดีว่าตนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและปัสสาวะเป็นเลือดก่อนขอเข้าทำสัญญาประกันชีวิต แต่ก็ ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงให้บริษัทประกันชีวิตทราบ สัญญาประกันชีวิตย่อมตกเป็นโมฆียะ
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยโดยระบุให้ผู้เยาว์คนหนึ่งเป็นผู้รับประโยชน์เมื่อปรากฏว่า สัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865และบริษัทจำเลยได้บอกล้างไปยังผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้นแล้ว สัญญานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตโมฆียะจากเจตนาทุจริตของผู้เอาประกัน และการนำสืบพยานเอกสาร
ต้นฉบับเอกสารเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยของคนไข้ซึ่งแพทย์โรงพยาบาลบันทึกไว้หาไม่พบ จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงโดยอาศัยภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสารนั้นแทนต้นฉบับได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) และมาตรา 123
ผู้เอาประกันชีวิตรู้ตัวดีว่าตนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและปัสสาวะเป็นเลือดก่อนขอเข้าทำสัญญาประกันชีวิต แต่ก็ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงให้บริษัทประกันชีวิตทราบ สัญญาประกันชีวิตย่อมตกเป็นโมฆียะ
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยโดยระบุให้ผู้เยาว์คนหนึ่งเป็นผู้รับประโยชน์เมื่อปรากฏว่า สัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865และบริษัทจำเลยได้บอกล้างไปยังผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้นแล้ว สัญญานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ
ผู้เอาประกันชีวิตรู้ตัวดีว่าตนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและปัสสาวะเป็นเลือดก่อนขอเข้าทำสัญญาประกันชีวิต แต่ก็ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงให้บริษัทประกันชีวิตทราบ สัญญาประกันชีวิตย่อมตกเป็นโมฆียะ
ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยโดยระบุให้ผู้เยาว์คนหนึ่งเป็นผู้รับประโยชน์เมื่อปรากฏว่า สัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865และบริษัทจำเลยได้บอกล้างไปยังผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้นแล้ว สัญญานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันได้หากต้นฉบับสูญหายและมีพยานยืนยันความถูกต้อง
ในคดีผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน ศาลสั่งให้โจทก์ส่งต้นฉบับสัญญาต่อศาลเพื่อให้จำเลยตรวจดูก่อนจำเลยให้การ โจทก์ยื่นคำแถลงว่ายังหาต้นฉบับไม่พบ เพราะหลงไปปะปนอยู่กับเรื่องอื่น คงพบแต่สำเนา จะได้ขอนำเข้าสืบแทนต้นฉบับ จำเลยมิได้โต้แย้งอย่างใด ต่อมาศาลรับฟังสำเนาสัญญานั้นเมื่อโจทก์นำเข้าสืบก็เท่ากับศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
สำเนาของเอกสารที่อ้างไว้ในคดีเรื่องหนึ่งแล้ว คู่ความอ้างมาเป็นพยานในคดีอีกเรื่องหนึ่งโดยชอบ ศาลย่อมรับฟังได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถไปจากโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แล้วนำสืบว่าจำเลยทำสัญญากับ อ. ตัวแทนของโจทก์ ดังนี้ ไม่เป็นการสืบแตกต่างกับฟ้องหรือนอกฟ้อง
สำเนาของเอกสารที่อ้างไว้ในคดีเรื่องหนึ่งแล้ว คู่ความอ้างมาเป็นพยานในคดีอีกเรื่องหนึ่งโดยชอบ ศาลย่อมรับฟังได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถไปจากโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แล้วนำสืบว่าจำเลยทำสัญญากับ อ. ตัวแทนของโจทก์ ดังนี้ ไม่เป็นการสืบแตกต่างกับฟ้องหรือนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสำเนาสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันเป็นหลักฐานได้เมื่อต้นฉบับสูญหาย และการที่ตัวแทนลงนามในสัญญา
ในคดีผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน ศาลสั่งให้โจทก์ส่งต้นฉบับสัญญาต่อศาลเพื่อให้จำเลยตรวจดูก่อนจำเลยให้การ โจทก์ยื่นคำแถลงว่ายังหาต้นฉบับไม่พบเพราะหลงไปปะปนอยู่กับเรื่องอื่น คงพบแต่สำเนา จะได้ขอนำเข้าสืบแทนต้นฉบับ จำเลยมิได้โต้แย้งอย่างใด ต่อมาศาลรับฟังสำเนาสัญญานั้นเมื่อโจทก์นำเข้าสืบก็เท่ากับศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
สำเนาของเอกสารที่อ้างไว้ในคดีเรื่องหนึ่งแล้ว คู่ความอ้างมาเป็นพยานในคดีอีกเรื่องหนึ่งโดยชอบ ศาลย่อมรับฟังได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถไปจากโจทก์โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันแล้วนำสืบว่าจำเลยทำสัญญากับ อ. ตัวแทนของโจทก์ดังนี้ ไม่เป็นการสืบแตกต่างกับฟ้องหรือนอกฟ้อง
สำเนาของเอกสารที่อ้างไว้ในคดีเรื่องหนึ่งแล้ว คู่ความอ้างมาเป็นพยานในคดีอีกเรื่องหนึ่งโดยชอบ ศาลย่อมรับฟังได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถไปจากโจทก์โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันแล้วนำสืบว่าจำเลยทำสัญญากับ อ. ตัวแทนของโจทก์ดังนี้ ไม่เป็นการสืบแตกต่างกับฟ้องหรือนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับการฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และโฉนดที่ดิน ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องทรัพย์สินที่ผู้เสียหายเสียไป และอำนาจการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 นั้น เมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไปทรัพย์สินที่ผู้เสียหารศูนย์เสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้ศูนย์เสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้ศูนย์หายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้ มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยศูนย์ไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ใช้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนด มอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกัน ฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2489 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลง แต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่ 3 - 4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้ว รอแต่วันรับโฉนดเท่านั้น ผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อ ได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังว่า โฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุ ทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกันได้เป็น 2 กระทง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ :- (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้ และสั่งรับฎีกาจำเลย แต่ศาลฎีกาเห็นว่า เฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วย แต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้าม จึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัย ตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ใช้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนด มอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกัน ฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2489 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลง แต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่ 3 - 4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้ว รอแต่วันรับโฉนดเท่านั้น ผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อ ได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังว่า โฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุ ทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกันได้เป็น 2 กระทง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ :- (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้ และสั่งรับฎีกาจำเลย แต่ศาลฎีกาเห็นว่า เฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วย แต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้าม จึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัย ตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวกับการฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และการพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามศาลชั้นต้นในประเด็นฉ้อโกงและจำกัดขอบเขตการชดใช้ค่าเสียหาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 นั้นเมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไป ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้สูญหายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยสูญไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ให้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนดมอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกันฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลงแต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่3-4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้วรอแต่วันรับโฉนดเท่านั้นผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้หอทะเบียนโอนโฉนดเหล่านั้นให้แล้ว ผู้เสียหายจึงคืนสัญญากู้ให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกได้เป็น 2 กระทง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้และสั่งรับฎีกาจำเลยแต่ศาลฎีกาเห็นว่าเฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และข้อหาปลอมหนังสือต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วยแต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัยตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ให้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนดมอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกันฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลงแต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่3-4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้วรอแต่วันรับโฉนดเท่านั้นผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้หอทะเบียนโอนโฉนดเหล่านั้นให้แล้ว ผู้เสียหายจึงคืนสัญญากู้ให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกได้เป็น 2 กระทง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้และสั่งรับฎีกาจำเลยแต่ศาลฎีกาเห็นว่าเฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และข้อหาปลอมหนังสือต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วยแต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัยตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานกู้ยืมสูญหาย โจทก์พิสูจน์ได้จากการที่จำเลยยืมหลักฐานไปและไม่คืน ถือใช้แทนหลักฐานได้
จำเลยยืมเงินโจทก์ไปโดยทำหลักฐานการยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยให้โจทก์ยึดถือไว้ แต่เมื่อโจทก์มาฟ้องให้จำเลยใช้คืนเงินยืมนั้น โจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมมาแสดงต่อศาล แต่โจทก์ก็นำสืบได้ว่าจำเลยได้ยืมหลักฐานดังกล่าวไปแล้วไม่ส่งคืน ดังนี้ ย่อมรับฟังแทนหนังสือกู้ยืมดังกล่าวนั้นได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยืมเงินโจทก์ไปโดยทำหนังสือยืมให้ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยให้การว่าไม่เคยยืมเงินโจทก์และไม่เคยทำหลักฐานการยืมเงินให้โจทก์ โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งหนี้ ดังนี้ ศาลจะวินิจฉัยว่ากรณีเป็นเรื่องเข้าหุ้นส่วนกันประกอบการค้าไม่ใช่กู้ยืมนั้น หาชอบไม่เพราะไม่มีประเด็นในเรื่องนี้.
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยืมเงินโจทก์ไปโดยทำหนังสือยืมให้ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยให้การว่าไม่เคยยืมเงินโจทก์และไม่เคยทำหลักฐานการยืมเงินให้โจทก์ โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งหนี้ ดังนี้ ศาลจะวินิจฉัยว่ากรณีเป็นเรื่องเข้าหุ้นส่วนกันประกอบการค้าไม่ใช่กู้ยืมนั้น หาชอบไม่เพราะไม่มีประเด็นในเรื่องนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมสูญหาย โจทก์พิสูจน์ได้จากการที่จำเลยยืมเอกสารไปและไม่คืน ถือใช้แทนหลักฐานได้
จำเลยยืมเงินโจทก์ไปโดยทำหลักฐานการยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยให้โจทก์ยึดถือไว้ แต่เมื่อโจทก์มาฟ้องให้จำเลยใช้คืนเงินยืมนั้น โจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมมาแสดงต่อศาล แต่โจทก์ก็นำสืบได้ว่าจำเลยได้ยืมหลักฐานดังกล่าวไปแล้วไม่ส่งคืน ดังนี้ย่อมรับฟังแทนหนังสือกู้ยืมดังกล่าวนั้นได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยืมเงินโจทก์ไปโดยทำหนังสือยืมให้ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยให้การว่าไม่เคยยืมเงินโจทก์และไม่เคยทำหลักฐานการยืมเงินให้โจทก์โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งหนี้ ดังนี้ศาลจะวินิจฉัยว่ากรณีเป็นเรื่องเข้าหุ้นส่วนกันประกอบการค้า ไม่ใช่กู้ยืมนั้น หาชอบไม่ เพราะคดีไม่มีประเด็นในเรื่องนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยืมเงินโจทก์ไปโดยทำหนังสือยืมให้ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยให้การว่าไม่เคยยืมเงินโจทก์และไม่เคยทำหลักฐานการยืมเงินให้โจทก์โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งหนี้ ดังนี้ศาลจะวินิจฉัยว่ากรณีเป็นเรื่องเข้าหุ้นส่วนกันประกอบการค้า ไม่ใช่กู้ยืมนั้น หาชอบไม่ เพราะคดีไม่มีประเด็นในเรื่องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน: การส่งสัญญากู้คืนไม่ตัดสิทธิการฟ้อง หากมีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไปโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ คือ ทำสัญญากู้ให้ไว้แก่โจทก์ จำเลยชำระหนี้รายนี้ให้แก่โจทก์ด้วยเช็คเงินสด โจทก์จึงคืนสัญญากู้แก่จำเลย แต่เมื่อโจทก์นำเช็คไปขึ้นเงิน ปรากฏว่าเงินของจำเลยชำระหนี้ตามหลักฐานกู้นั้น และโจทก์ได้ส่งอ้างหนังสือของจำเลยที่รับว่าเป็นหนี้โจทก์ต่อศาล ดังนี้การที่โจทก์ส่งอ้างต้นฉบับสัญญากู้ ยังไม่ได้จะถือเคร่งครัดว่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหาชอบไม่ เพราะโจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)