พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเป็นเจ้าของและสิทธิเหนือกว่าเมื่อมีการใช้เครื่องหมายที่คล้ายคลึงกัน
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา22วรรคสี่(1)เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทของโจทก์และจำเลยในชั้นแรกเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่ามีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่แต่ตามสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิที่โจทก์ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)เป็นคนละกรณีกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่กล่าวข้างต้นการฟ้องคดีของโจทก์จึงมิได้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CELINE"มาก่อนโดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศ ฝรั่งเศสใช้กับสินค้าของโจทก์ตั้งแต่พ.ศ.2506และประเทศอื่นๆเกือบทั่วโลกตั้งแต่พ.ศ.2517สินค้าของโจทก์มีจำหน่ายแพร่หลายตามห้างสรรพสินค้าต่างๆในประเทศไทยการที่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CELINE" อยู่ใต้รูปนกยูงเกาะตัว "C" เมื่อพ.ศ.2523โดยอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" เหมือนหรือคล้ายกับอักษรโรมันคำว่า "CELINE" ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เป็นเครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลยจึงต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELINE" หรือ "CE'LINE" ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศและสิทธิที่ดีกว่า
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 22 วรรคสี่ (1) เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทของโจทก์และจำเลยในชั้นแรกเกี่ยวกับเรื่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ยื่นขอจดทะเบียนว่ามีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่ ซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์จะนำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องต่อศาลอีกไม่ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แต่ในคดีนี้สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จึงขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิตามที่โจทก์ได้รับความคุ้มครองดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่วินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว การฟ้องคดีของโจทก์หาใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้น แม้ไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CELINE"มาก่อน โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศฝรั่งเศสและใช้กับสินค้าของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2506 และประเทศอื่น ๆ เกือบทั่วโลก ตั้งแต่ พ.ศ.2517 สินค้าของโจทก์มีจำหน่ายแพร่หลายตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ในประเทศไทย การที่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" อยู่ใต้รูปนกยูงเกาะตัว "C"เมื่อ พ.ศ.2523 โดยอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" เหมือนหรือคล้ายกับอักษร-โรมันคำว่า "CELINE" ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เป็นเครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลย จึงต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELINE"หรือ "CE'LINE" ดีกว่าจำเลย
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้น แม้ไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CELINE"มาก่อน โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศฝรั่งเศสและใช้กับสินค้าของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2506 และประเทศอื่น ๆ เกือบทั่วโลก ตั้งแต่ พ.ศ.2517 สินค้าของโจทก์มีจำหน่ายแพร่หลายตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ในประเทศไทย การที่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" อยู่ใต้รูปนกยูงเกาะตัว "C"เมื่อ พ.ศ.2523 โดยอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" เหมือนหรือคล้ายกับอักษร-โรมันคำว่า "CELINE" ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เป็นเครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลย จึงต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELINE"หรือ "CE'LINE" ดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนการจดทะเบียนหลังมีคำวินิจฉัย
แม้โจทก์กับจำเลยจะโต้เถียงกันในชั้นพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยหรือไม่ จนคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้จำเลยชนะซึ่งถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 22 วรรคสี่ (1)แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้โจทก์อ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง