พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6170/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเพื่อมหาดไทยต้องรวมเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายสรรพสามิตและกฎหมายจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต
การจัดเก็บภาษีเพื่อมหาดไทยเป็นการจัดเก็บภาษีสรรพาสามิตเพิ่มเติมจากผู้มีหน้าที่เสียภาษี ตาม พ.ร.บ.จัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 4 การจัดเก็บภาษีเพื่อมหาดไทยจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 เมื่อมาตรา 3 แห่ง พระราชกฤษฎีกาเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อนำไปจัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานครและราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2527 บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตเสียภาษีเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าหรือบริการตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละสิบของภาษี และมาตรา 139 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 บัญญัติให้เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือเป็นเงินภาษี การคำนวณภาษีเพื่อมหาดไทยในกรณีนี้จึงต้องคำนวณในอัตราร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิตรวมกับเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตที่ต้องชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของสุนัขต้องรับผิดชอบค่าเสียหายจากการที่สุนัขวิ่งตัดหน้ารถจนเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากประมาทเลินเล่อในการควบคุมดูแล
ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 111 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่ จูง ไล่ต้อนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทางเท้าในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรและไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของสุนัขจึงเป็นผู้ดูแลสัตว์จะต้องดูแลควบคุมมิให้สัตว์กีดขวางการจราจร การที่สุนัขของจำเลยทั้งสองวิ่งข้ามถนนตัดหน้ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ในระยะกระชั้นชิด ย่อมเป็นผลโดยตรงที่ทำให้รถจักรยานยนต์ของโจทก์ล้ม เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบของจำเลยทั้งสองว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์ขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูงและไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างไร ดังนั้น เหตุละเมิดจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสองที่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการควบคุมดูแลสุนัข เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 433 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5958/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทนายความปลอมและละเมิดอำนาจศาล ผู้สั่งการมีความผิดฐานใช้ผู้อื่นกระทำความผิด
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ใช้ชื่อของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เป็นทนายความ และให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความเป็นชื่อของผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 แม้จะไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ได้กระทำเช่นนั้นในบริเวณศาลอันจะถือว่าเป็นตัวการ แต่ก็ถือเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 จึงมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.อ. มาตรา 17 และ 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5695/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการตรวจดูและคัดสำเนาเอกสารทางภาษีเพื่อใช้ในการอุทธรณ์ หากเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตถือเป็นการละเมิดสิทธิ
สถานประกอบการโจทก์ที่เจ้าพนักงานของจำเลยนำหนังสือแจ้งการประเมินไปส่งเป็นภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงานของโจทก์ ในวันนั้นมีพนักงานของโจทก์อยู่ที่สถานประกอบการแต่ไม่มีผู้ใดยินยอมรับหนังสือแจ้งการประเมิน เพราะหากพนักงานของโจทก์ยินยอมรับหมาย ก็ไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานของจำเลยจะต้องไปเชิญเจ้าพนักงานตำรวจทำการปิดหมาย จึงฟังไม่ได้ว่า การกระทำของเจ้าพนักงานของจำเลยเป็นการกระทำโดยไม่ชอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตนได้..." และวรรคสองบัญญัติว่า "การตรวจดูเอกสาร ค่าใช้จ่ายในการตรวจดูเอกสาร หรือการจัดทำสำเนาเอกสารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง" เมื่อพิจารณามาตรา 31 ดังกล่าวทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองประกอบกัน จะเห็นได้ว่า การตรวจดูเอกสารหาใช่เป็นบทบัญญัติที่รับรองเพียงแต่สิทธิในการตรวจดูเอกสารเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการจัดทำสำเนาเอกสารด้วย
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตนได้..." และวรรคสองบัญญัติว่า "การตรวจดูเอกสาร ค่าใช้จ่ายในการตรวจดูเอกสาร หรือการจัดทำสำเนาเอกสารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง" เมื่อพิจารณามาตรา 31 ดังกล่าวทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองประกอบกัน จะเห็นได้ว่า การตรวจดูเอกสารหาใช่เป็นบทบัญญัติที่รับรองเพียงแต่สิทธิในการตรวจดูเอกสารเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการจัดทำสำเนาเอกสารด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีความผิดฐานอั้งยี่ ซ่องโจร ก่อการร้าย: การฟ้องซ้ำซ้อนและขอบเขตความผิด
การกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ ตาม ป.อ. มาตรา 209 เป็นความผิดสำเร็จทันทีเมื่อผู้นั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบ ทั้งยังเป็นความผิดต่อเนื่องติดต่อกันตลอดมา ตราบใดที่ผู้กระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ยังคงเป็นสมาชิกของคณะบุคคลดังกล่าว เมื่อคณะบุคคลที่จำเลยทั้งเจ็ดเข้าร่วมเป็นสมาชิกตามที่โจทก์บรรยายฟ้องในคดีนี้ กับคณะบุคคลที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 เข้าร่วมเป็นสมาชิกตามที่โจทก์บรรยายฟ้องในคดีก่อนเป็นคณะบุคคลเดียวกัน และช่วงระยะเวลาที่จำเลยทั้งเจ็ดสมัครเป็นสมาชิกของคณะบุคคลดังกล่าวอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 สมัครเป็นสมาชิกของคณะบุคคลในคดีดังกล่าว ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำหรือเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว หากคดีดังกล่าวถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญาในความผิดฐานเป็นอั้งยี่มาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) หรือหากคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 หรือศาลฎีกา ห้ามมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 ในความผิดเป็นอั้งยี่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรตาม ป.อ. มาตรา 210 เป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บทบัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานเป็นซ่องโจรจึงเป็นขั้นตอนการกระทำความผิดที่ยกระดับจากความผิดฐานเป็นอั้งยี่ โดยมีการกระทำถึงขั้นคบคิดหรือตกลงกันหรือประชุมหรือตกลงกันเพื่อกระทำความผิด ส่วนความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายตาม ป.อ. มาตรา 135/2 (2) จะเป็นความผิดต่อเมื่อผู้กระทำได้สะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย หรือการกระทำอื่นใดตามที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 135/2 (2) อันเป็นการยกระดับจากความผิดฐานเป็นอั้งยี่เช่นกัน แม้ความผิดฐานเป็นซ่องโจรและความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายอาจเป็นความผิดกรรมเดียวกันได้หากเป็นการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อก่อการร้ายซึ่งเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา แต่วันเวลาและสถานที่เกิดเหตุซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีนี้ต่างจากวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีก่อน และเจตนาในการกระทำความผิดคดีนี้ต่างกับเจตนาในการกระทำความผิดที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายคดีนี้เป็นการกระทำความผิดต่างกรรมกันกับความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำกับฟ้องในความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีดังกล่าว
เมื่อการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรในคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 และที่ 7 สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำการก่อการร้าย และลงมือกระทำความผิดฐานก่อการร้ายโดยร่วมกันมีวัตถุระเบิด ดังนี้ การกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรและความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีนี้จึงเป็นกระทำความผิดโดยมีเจตนาเดียวกันในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวอันถือเป็นความผิดกรรมเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ส่วนการกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจรเป็นการกระทำความผิดที่ยกระดับถึงขั้นมีการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดไม่ว่าโดยร่วมกันคบคิดหรือวางแผนเพื่อกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น การกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจรจึงเป็นการกระทำความผิดที่ผู้กระทำความผิดมีเจตนาต่างกัน อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานเป็นซ่องโจรตาม ป.อ. มาตรา 210 เป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บทบัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานเป็นซ่องโจรจึงเป็นขั้นตอนการกระทำความผิดที่ยกระดับจากความผิดฐานเป็นอั้งยี่ โดยมีการกระทำถึงขั้นคบคิดหรือตกลงกันหรือประชุมหรือตกลงกันเพื่อกระทำความผิด ส่วนความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายตาม ป.อ. มาตรา 135/2 (2) จะเป็นความผิดต่อเมื่อผู้กระทำได้สะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย หรือการกระทำอื่นใดตามที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 135/2 (2) อันเป็นการยกระดับจากความผิดฐานเป็นอั้งยี่เช่นกัน แม้ความผิดฐานเป็นซ่องโจรและความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายอาจเป็นความผิดกรรมเดียวกันได้หากเป็นการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อก่อการร้ายซึ่งเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา แต่วันเวลาและสถานที่เกิดเหตุซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีนี้ต่างจากวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีก่อน และเจตนาในการกระทำความผิดคดีนี้ต่างกับเจตนาในการกระทำความผิดที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายคดีนี้เป็นการกระทำความผิดต่างกรรมกันกับความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำกับฟ้องในความผิดฐานเป็นซ่องโจรและฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีดังกล่าว
เมื่อการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรในคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 และที่ 7 สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทำการก่อการร้าย และลงมือกระทำความผิดฐานก่อการร้ายโดยร่วมกันมีวัตถุระเบิด ดังนี้ การกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรและความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายในคดีนี้จึงเป็นกระทำความผิดโดยมีเจตนาเดียวกันในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวอันถือเป็นความผิดกรรมเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ส่วนการกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจรเป็นการกระทำความผิดที่ยกระดับถึงขั้นมีการสมคบกันเพื่อกระทำความผิดไม่ว่าโดยร่วมกันคบคิดหรือวางแผนเพื่อกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ของประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น การกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจรจึงเป็นการกระทำความผิดที่ผู้กระทำความผิดมีเจตนาต่างกัน อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลภาษีอากรกลาง: ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาอำนาจศาล การฟ้องเรียกค่าหุ้นค้างชำระเกี่ยวข้องภาษี
การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าคดีในส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7 (2) เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตามมาตรา 10 วรรคสอง กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย ศาลภาษีอากรกลางหามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไม่ ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และพิพากษายกฟ้องจำเลยดังกล่าวมานั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อคดีนี้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลไว้ จึงไม่มีประเด็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในเรื่องเขตอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาภาษีอากร: การออกใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิและเบี้ยปรับ, เหตุลดหย่อนเบี้ยปรับ
โจทก์นำสืบว่า โจทก์ทำข้อตกลงขายชิ้นส่วนรถยนต์ให้แก่ผู้ซื้อโดยให้กำหนดราคาขายคำนวณจากต้นทุนจริงบวกกำไรร้อยละ 15 ตามสัญญาซื้อขายชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์จำหน่ายภายในประเทศแต่สัญญาดังกล่าวผู้ขายที่ตกลงทำสัญญาไม่ใช่บริษัทโจทก์ และในข้อสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงให้มีผลใช้บังคับกับโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ทั้งในข้อ 2 ของสัญญาก็ระบุเพียงว่า ราคาซื้อสินค้าให้เป็นไปตามเอกสารกำหนดราคาเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าเป็นการกำหนดราคาต้นทุนชิ้นส่วนบวกกำไรร้อยละ 15 ข้อสัญญาตามที่โจทก์นำสืบจึงไม่ตรงกับข้อตกลงที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง และที่โจทก์นำสืบอ้างว่าตามข้อตกลงทางการค้า การกำหนดราคาต้นทุนของชิ้นส่วนต้องคำนวณราคาชิ้นส่วนจากราคาวัตถุดิบ ค่าเครื่องจักร แรงงาน และระยะเวลาในการผลิตชิ้นส่วน เป็นต้น แต่โจทก์ไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ปัจจัยดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ทำให้โจทก์ลดราคาสินค้าที่ขาย เนื่องจากโจทก์คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริงอย่างไร ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 82/10 (1) อีกทั้งพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่มีความชัดเจนเพียงพอถึงต้นทุนวัตถุดิบและวิธีการคำนวณต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้า อันเป็นเหตุในการลดราคาสินค้าหรือเพิ่มราคาสินค้าที่จะมีสิทธิออกใบลดหนี้หรือเพิ่มหนี้ได้ พยานหลักฐานโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่า การออกใบลดหนี้ของโจทก์เกิดจากการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากคำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง อันจะเป็นเหตุให้ออกใบลดหนี้ตามมาตรา 82/10 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 82) เรื่อง กำหนดเหตุอื่นตามมาตรา 82/10 (1) (2) (3) และ (4) แห่ง ป.รัษฎากร
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (6) กำหนดให้บุคคลสองประเภทที่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับสองเท่า ประเภทแรก คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งได้แก่บุคคลตามมาตรา 82 รวมทั้งบุคคลตามมาตรา 82/1 และมาตรา 82/2 ประเภทที่สอง คือ บุคคลตามมาตรา 86/13 ซึ่งในวรรคหนึ่งของมาตรา 86/13 ได้บัญญัติบุคคลสองไว้สองประเภทเช่นกัน ประเภทแรก คือ บุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ประเภทที่สอง คือ บุคคลซึ่งมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ ซึ่งนอกจากหมายความถึงบุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนแต่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ ยังหมายความรวมถึงบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนแต่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ด้วย กรณีนี้โจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่ง ป.รัษฎากร กำหนดว่าการออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 86 ถึงมาตรา 86/14 เมื่อโจทก์ออกใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 82/10 โจทก์ย่อมเป็นบุคคลตามมาตรา 86/13 ที่ต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (6) ด้วย แต่เนื่องจากเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (6) สูงกว่าเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) โจทก์จึงคงรับผิดเบี้ยปรับจำนวนสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบลดหนี้ที่โจทก์ออกโดยไม่มีสิทธิที่จะออกได้
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (6) กำหนดให้บุคคลสองประเภทที่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับสองเท่า ประเภทแรก คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งได้แก่บุคคลตามมาตรา 82 รวมทั้งบุคคลตามมาตรา 82/1 และมาตรา 82/2 ประเภทที่สอง คือ บุคคลตามมาตรา 86/13 ซึ่งในวรรคหนึ่งของมาตรา 86/13 ได้บัญญัติบุคคลสองไว้สองประเภทเช่นกัน ประเภทแรก คือ บุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ประเภทที่สอง คือ บุคคลซึ่งมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ ซึ่งนอกจากหมายความถึงบุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนแต่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ ยังหมายความรวมถึงบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนแต่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ด้วย กรณีนี้โจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่ง ป.รัษฎากร กำหนดว่าการออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 86 ถึงมาตรา 86/14 เมื่อโจทก์ออกใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 82/10 โจทก์ย่อมเป็นบุคคลตามมาตรา 86/13 ที่ต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (6) ด้วย แต่เนื่องจากเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (6) สูงกว่าเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) โจทก์จึงคงรับผิดเบี้ยปรับจำนวนสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบลดหนี้ที่โจทก์ออกโดยไม่มีสิทธิที่จะออกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับคดีอาญาไม่เป็นหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ศาลและอัยการมีอำนาจบังคับคดีได้โดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
การบังคับโทษปรับเป็นการใช้อำนาจรัฐเกี่ยวกับการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเป็นอำนาจของศาลที่จะบังคับโทษปรับแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องในฐานะพนักงานอัยการมีอำนาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับเต็มจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา
การที่จำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และบรรดาเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 จะต้องขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ต่อผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2583 มาตรา 27, 91 วรรคหนึ่ง และมาตรา 94 แต่คดีนี้ศาลและผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 อีกทั้งค่าปรับก็มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย แต่การชำระเงินค่าปรับหรือการบังคับโทษปรับเป็นการใช้อำนาจรัฐเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยศาลและพนักงานอัยการเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 29 โดยไม่จำต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้คัดค้านเช่นเดียวกับหนี้เงินในคดีแพ่ง มิฉะนั้นแล้วการลงโทษทางอาญาจะไม่ต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพราะกฎหมายอาญาจัดเป็นกฎหมายมหาชนว่าด้วยความผิดและโทษทางอาญาเป็นบทบัญญัติถึงความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนกับรัฐ ทั้งการกระทำความผิดนั้นยังได้ชื่อว่ากระทบกระเทือนต่อมหาชนเป็นส่วนรวม จึงไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติล้มละลายซึ่งผู้ร้องจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
การที่จำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และบรรดาเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 จะต้องขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ต่อผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2583 มาตรา 27, 91 วรรคหนึ่ง และมาตรา 94 แต่คดีนี้ศาลและผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 อีกทั้งค่าปรับก็มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย แต่การชำระเงินค่าปรับหรือการบังคับโทษปรับเป็นการใช้อำนาจรัฐเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยศาลและพนักงานอัยการเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 29 โดยไม่จำต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้คัดค้านเช่นเดียวกับหนี้เงินในคดีแพ่ง มิฉะนั้นแล้วการลงโทษทางอาญาจะไม่ต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพราะกฎหมายอาญาจัดเป็นกฎหมายมหาชนว่าด้วยความผิดและโทษทางอาญาเป็นบทบัญญัติถึงความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนกับรัฐ ทั้งการกระทำความผิดนั้นยังได้ชื่อว่ากระทบกระเทือนต่อมหาชนเป็นส่วนรวม จึงไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติล้มละลายซึ่งผู้ร้องจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม สัญญาจ้างดูแลสวนยางไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน
ป.รัษฎากร มาตรา 81 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้... (ฐ) การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน" สัญญาจ้างดูแลสวนยางระหว่างโจทก์กับบริษัท พ. ข้อ 3 กำหนดว่า ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง ดังรายละเอียดอัตราค่าจ้างและงวดชำระเงินปรากฏตามเอกสารแนบท้ายสัญญานี้ และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับนี้ ซึ่งตามบัญชีการทำงานแนบท้ายสัญญามีข้อความว่า ระยะปลูก 76 ต้นต่อไร่ พื้นที่ 1,000 ไร่ และมีหมายเหตุต่อท้ายด้วยว่า หากผู้ว่าจ้างจัดทำพันธุ์ยางได้ไม่ครบจำนวนทันเวลา ผู้รับจ้างสงวนสิทธิในการจัดหาพันธุ์ยางเองในราคาต้นละ 15 บาท แสดงว่าสัญญาดังกล่าวมุ่งถึงผลสำเร็จของการปลูกต้นยางตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาตามช่วงเวลาจนเสร็จสิ้นไปเป็นสำคัญ ทั้ง ข้อ 2 ยังกำหนดให้โจทก์ดำเนินการปลูกยางพารา ปราบวัชพืช... โดยโจทก์ตกลงจะเป็นผู้จัดหาสัมภาระ เครื่องมือ ปุ๋ยบำรุง ยาปราบศัตรูพืช และวัสดุอื่นๆ ที่ใช้ในการบำรุงดูแลรักษาสวนยาง รวมถึงจะเป็นผู้จัดหาคนงาน โจทก์บริหารจัดการของโจทก์เอง โดยไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของบริษัท พ. ซึ่งอำนาจควบคุมบังคับบัญชาลูกจ้างเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบริษัท พ. จึงหาใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงานไม่ แต่เป็นการให้บริการซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5148/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชดเชยจากเกษียณอายุ ถือเป็นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน สามารถเลือกเสียภาษีได้
ป.รัษฎากร บัญญัติให้เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานสามารถเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น ซึ่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 45) ได้แบ่งประเภทเงินได้ดังกล่าวออกเป็น 4 ประเภท สำหรับข้อ 1 (ค) มีข้อความกำหนดไว้เพียงว่าให้หมายถึงเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานเท่านั้น เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุครบเกษียณอายุ และได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อออกจากงานรวม 3,118,040 บาท โดยหนังสือแจ้งการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและเงินบำเหน็จของบริษัทฯ แยกเป็นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 1,792,000 บาท และเงินบำเหน็จ 1,326,040 บาท เงิน 1,792,000 บาท เป็นการจ่ายตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ กรณีพนักงานที่ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี และนายจ้างคำนวณจ่ายให้แก่โจทก์จากเงินเดือนอัตราสุดท้ายเป็นระยะเวลา 300 วัน ซึ่งวิธีการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 118 (5) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อีกทั้งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์เมื่อเกษียณอายุอันเป็นการเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้กระทำความผิดตามความหมายของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ถือได้ว่าเข้าลักษณะเป็นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานแล้ว