พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13252/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับบริการทางศิลปะวัฒนธรรมที่ไม่เก็บค่าบริการจากผู้ชมโดยตรง
ป.รัษฎากร มาตรา 81 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1)... (ซ) การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขา และลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี" ซึ่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 11) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ตามมาตรา 81 (1) (ซ) แห่ง ป.รัษฎากร "ข้อ 1 การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขานาฏศิลป์และสาขาดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์ คำว่า "สาขานาฏศิลป์" หมายความถึง การแสดงศิลปะการร่ายรำประเภทต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงพื้นเมือง ระบำ ละคร และโขน คำว่า "สาขาดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์" หมายความถึงเฉพาะการแสดงดนตรีไทย หรือการขับร้องเพลงไทยประกอบเครื่องดนตรีไทย ข้อ 2 การให้บริการตามข้อ 1 ผู้ประกอบการจะต้องมิได้เรียกเก็บค่าบริการโดยตรงจากผู้ชมหรือผู้ฟัง แต่ไม่รวมถึงการให้บริการโดยกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น เมื่อประกาศอธิบดีฉบับดังกล่าวไม่ได้มีข้อจำกัดว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขานาฏศิลป์และสาขาดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์โดยมุ่งค้าหากำไรแล้วจะไม่เข้าเงื่อนไขยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น แม้ในส่วนที่โจทก์ให้บริการทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขานาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์จะเป็นการให้บริการโดยมุ่งค้าหากำไร แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้เก็บค่าบริการจากผู้ชมโดยตรงตามข้อ 2 ของประกาศฉบับดังกล่าว โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12761/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่ จำเลยมีสิทธิปฏิเสธความรับผิดหากมิได้กระทำผิด
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดชำระค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธความรับผิดและต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสี่มิได้บริจาคเงินและไม่มีเจตนาจะจูงใจให้จำเลยทั้งสี่ได้รับเลือกตั้ง ถือว่าจำเลยทั้งสี่ปฏิเสธว่ามิได้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 99 วรรคหนึ่ง ที่ให้ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น มิใช่บทบัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดโดยเด็ดขาด จำเลยทั้งสี่ย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธว่ามิได้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12751/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรศุลกากร การไม่อุทธรณ์ถือเป็นการยอมรับ และฟ้องซ้ำซ้อนที่ไม่เป็นผล
ตามคำฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 716/2553 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ โจทก์ในคดีดังกล่าวฟ้องขอให้จำเลยในคดีนี้รับผิดข้อหาร่วมกันนำหรือพาสินค้าหลบหนีภาษีอากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ซึ่งมีปัญหาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ สำหรับคดีนี้มีปัญหาว่า จำเลยต้องรับผิดชำระค่าอากร เงินเพิ่มอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มหรือไม่เพียงใด จะเห็นได้ว่า คำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 716/2553 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ย่อมมีผลเฉพาะในส่วนอาญาที่ขอให้ลงโทษจำเลยเท่านั้น ศาลในคดีอาญาไม่อาจพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระค่าอากร เงินเพิ่มอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ มูลคดีของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นเรื่องทางแพ่งโดยเฉพาะ มิใช่เรื่องเดียวกับคดีอาญาในความหมายที่บัญญัติไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
ตามมาตรา 112 ฉ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน กฎหมายให้สิทธิผู้นำของเข้าอุทธรณ์การประเมินเช่นนี้ หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ถือว่าผู้นำของเข้าพอใจการประเมิน การประเมินนั้นเป็นที่ยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยมิได้สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง
ตามมาตรา 112 ฉ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน กฎหมายให้สิทธิผู้นำของเข้าอุทธรณ์การประเมินเช่นนี้ หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ถือว่าผู้นำของเข้าพอใจการประเมิน การประเมินนั้นเป็นที่ยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ จำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยมิได้สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12714/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้คำให้การ การพิพากษาความผิด และการชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 กับฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ราคาหุ้นต่อหน่วยรวมเป็นเงิน 8,000,000 บาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำอันเป็นความผิดทั้งสองฐานตามฟ้อง จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้ในคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องอันเป็นการรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งด้วยจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12714/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีอาญา: ข้อจำกัดการฟ้อง, ความผิดฐานฟอกเงิน, และการไม่รับฟ้องคดีแพ่ง
จำเลยให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ การที่จำเลยทั้งสองขอแก้คำให้การเป็นให้การปฏิเสธ โดยอ้างเหตุเพียงว่าบุคคลภายนอกที่ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยทั้งสองไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ และอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีพยานหลักฐานที่จะแสดงได้ว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันควรที่จะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองแก้คำให้การได้
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท ช. แจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารของบริษัทดังกล่าว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดหรือร่วมกระทำความผิด อันเป็นการประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วยและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง อันเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 กับฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ที่โจทก์เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาหุ้นต่อหน่วยรวมเป็นเงิน 8,000,000 บาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำอันเป็นความผิดทั้งสองฐานตามฟ้อง จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้ในคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องอันเป็นการรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งด้วยจึงเป็นการมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท ช. แจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารของบริษัทดังกล่าว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดหรือร่วมกระทำความผิด อันเป็นการประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วยและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง อันเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 กับฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ที่โจทก์เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาหุ้นต่อหน่วยรวมเป็นเงิน 8,000,000 บาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำอันเป็นความผิดทั้งสองฐานตามฟ้อง จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้ในคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องอันเป็นการรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งด้วยจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12132/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย: จำเลยต้องวางค่าธรรมเนียมก่อนอุทธรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นอันเพิกถอนไปได้ ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 โดยศาลไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติก่อน เพราะกรณีมิใช่เรื่องที่จำเลยมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ดังนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12127/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ-ภาษีธุรกิจเฉพาะ-นิติกรรมอำพราง: การประเมินภาษีถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์และบริษัท ล. มุ่งประสงค์ถึงการขนถ่ายสินค้าของโจทก์จากเรือนำไปเก็บยังคลังสินค้าที่โจทก์เช่าจากบริษัท ล. ให้สำเร็จเสร็จสิ้นไปเป็นสำคัญ โดยบริษัท ล. ทำงานได้โดยอิสระเพียงเพื่อให้ได้ผลสำเร็จของงานเท่านั้น ค่าเทียบท่าเป็นขั้นตอนแรกที่นำไปสู่ผลสำเร็จของงานและมีการเรียกเก็บตามปริมาณสินค้าที่นำเข้า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท ล. จึงเป็นการจ่ายตามสัญญาจ้างทำของ โจทก์มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งต่อจำเลย
นอกจากการรับขนสินค้าแล้ว บริษัท ล. ยังให้บริการอย่างอื่นด้วย เริ่มตั้งแต่การสูบถ่ายสินค้าขึ้นรถ การวัดปริมาณการบรรจุสินค้า การจัดหาอุปกรณ์ในการเตรียมการขนส่ง ซึ่งการให้บริการต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้เป็นการตกลงรับทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่โจทก์ ค่าบริการสำหรับการงานดังกล่าวจึงเป็นสินจ้างเพื่อการทำงานอันเข้าลักษณะสัญญาจ้างทำของ มิใช่เป็นบำเหน็จอันจะต้องจ่ายให้เพื่อการขนส่งของหรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าระวางแต่อย่างใด
การที่โจทก์แสดงเจตนาให้บริษัท ล. กู้ยืมเงินจากโจทก์ และบริษัท ล. นำเงินไปให้บริษัท ฟ. กู้ยืมต่อ เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงที่จะบังคับให้ผูกพันกัน แต่เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์ บริษัท ล. และบริษัท ฟ. โดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้กู้ยืมไม่ต้องนำมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะอ้างว่าเป็นการกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือเท่านั้น กรณีจึงต้องฟังว่าโจทก์ให้บริษัท ฟ. ซึ่งมิใช่บริษัทในเครือของโจทก์กู้ยืมเงิน
นอกจากการรับขนสินค้าแล้ว บริษัท ล. ยังให้บริการอย่างอื่นด้วย เริ่มตั้งแต่การสูบถ่ายสินค้าขึ้นรถ การวัดปริมาณการบรรจุสินค้า การจัดหาอุปกรณ์ในการเตรียมการขนส่ง ซึ่งการให้บริการต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้เป็นการตกลงรับทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่โจทก์ ค่าบริการสำหรับการงานดังกล่าวจึงเป็นสินจ้างเพื่อการทำงานอันเข้าลักษณะสัญญาจ้างทำของ มิใช่เป็นบำเหน็จอันจะต้องจ่ายให้เพื่อการขนส่งของหรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าระวางแต่อย่างใด
การที่โจทก์แสดงเจตนาให้บริษัท ล. กู้ยืมเงินจากโจทก์ และบริษัท ล. นำเงินไปให้บริษัท ฟ. กู้ยืมต่อ เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงที่จะบังคับให้ผูกพันกัน แต่เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันระหว่างโจทก์ บริษัท ล. และบริษัท ฟ. โดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้กู้ยืมไม่ต้องนำมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะอ้างว่าเป็นการกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือเท่านั้น กรณีจึงต้องฟังว่าโจทก์ให้บริษัท ฟ. ซึ่งมิใช่บริษัทในเครือของโจทก์กู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11212/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีครอบครัวต้องวินิจฉัยโดยประธานศาลฎีกาเท่านั้น ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจ
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นคดีแพ่งที่ฟ้องเกี่ยวกับครอบครัวซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นคดีครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ศาลชั้นต้นจึงไม่มีเขตอำนาจรับฟ้องของโจทก์คดีนี้ไว้พิจารณานั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงมิชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11118/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นเพื่อปกป้องสิทธิในฐานะผู้เขียนร่วม ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 รับจ้างทำงานให้แก่สำนักงาน น. ซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง ว. นั้น โจทก์ร่วมดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงาน น. และในช่วงระยะเวลาเดียวกันนั้น จำเลยที่ 1 รับจ้างทำงานให้แก่ศูนย์ พ. ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ให้ทุนสนับสนุนทางวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์แก่สำนักงาน น. เพื่อดำเนินงานโครงการนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในหัวข้อ "การเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของภาคเกษตรอินทรีย์ไทย" (Strengthening the Export Capacity of Thailand's Organic Agriculture) โดยทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ร่วมอยู่ในทีมงานซึ่งดำเนินงานตามโครงการนี้ดังนั้นไม่ว่าการดำเนินงานตามโครงการนี้จะอยู่ในขอบเขตการทำงานตามที่สำนักงาน น. ว่าจ้างจำเลยที่ 1 หรือไม่ก็ตาม เมื่อปรากฏชื่อโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมดำเนินโครงการนั้นย่อมถือได้ว่าทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ซึ่งต่อมาทีมดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวได้จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ขึ้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอันมีใจความสำคัญและรายนามผู้เขียนร่วมกันตรงกันกับบทความที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการฉบับหนึ่ง คงมีความแตกต่างในลำดับของรายนามผู้เขียน ซึ่งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างก็โต้แย้งว่าตนเองเป็นผู้เขียนหลักในบทความดังกล่าว ดังนั้นเมื่อทั้งรายงานฉบับสมบูรณ์ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวมทั้งบทความที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการดังกล่าวมีรายนามผู้เขียนร่วมกัน 7 คน เหมือนกัน และมีชื่อทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนร่วมกันเหมือนกันโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้เขียนคนใดเขียนในเนื้อหาส่วนใด จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าบุคคลทั้งเจ็ดคนดังกล่าวเป็นผู้เขียนบทความดังกล่าวร่วมกันทั้งหมด แม้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการดำเนินการตามโครงการนวัตกรรม ชื่อ "โครงการวิเคราะห์เชิงลึกการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ตามกรอบยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย" ที่บริษัท ส. ได้รับทุนอุดหนุนการดำเนินโครงการจากสำนักงาน น. แต่เมื่อปรากฏว่าหัวข้อโครงการที่บริษัท ส. ดำเนินการดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกันกับหัวข้อโครงการที่สำนักงาน น. ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ พ. ที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ร่วมอยู่ในทีมดำเนินงาน และระยะเวลาการดำเนินโครงการของบริษัท ส. เป็นช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับระยะเวลาดำเนินโครงการของสำนักงาน น. ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ พ. และใกล้เคียงกับช่วงระยะเวลาที่ทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งไปพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ จึงมีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าเนื้อหาการดำเนินโครงการของบริษัท ส. ดังกล่าวอาจมีความทับซ้อนกันกับเนื้อหาการดำเนินโครงการตามรายงานฉบับสมบูรณ์ที่มีชื่อโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งทีมงานจัดทำขึ้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมทำดุษฎีนิพนธ์ในการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ที่มีความใกล้เคียงกันกับหัวข้อดำเนินงานวิจัยในโครงการที่สำนักงาน น. ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ พ. ที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 อยู่ในทีมดำเนินงาน และคล้ายคลึงกันกับหัวข้อบทความที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งไปพิมพ์เผยแพร่ที่วารสารทางวิชาการ ทั้งยังเป็นช่วงระยะเวลาเดียวกันทั้งหมด โดยเอกสารทางวิชาการที่กล่าวถึงทั้งหมดนั้นมีเนื้อหาอันเป็นใจความสำคัญเหมือนกันโดยบรรณานุกรมของดุษฎีนิพนธ์ที่โจทก์ร่วมทำขึ้นก็อ้างอิงถึงรายงานฉบับสมบูรณ์ที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งทีมงานได้จัดทำขึ้นด้วย ทั้งยังได้ความอีกด้วยว่า จำเลยที่ 1 สนใจศึกษาต่อระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตโดยจะเสนอหัวข้อดุษฎีนิพนธ์เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ซึ่งจำเลยที่ 1 เคยส่งบทความทางวิชาการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการมาแล้วนั้น แต่อาจารย์ที่ปรึกษาของจำเลยที่ 1 แจ้งว่า ไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ทราบข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ร่วมดำเนินงานโครงการวิจัยและมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนร่วมกันในบทความทางวิชาการที่มีการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการก่อนที่โจทก์ร่วมจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทำดุษฎีนิพนธ์ในหัวข้อที่ใกล้เคียงกัน ย่อมมีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมนำผลงานทางวิชาการที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมวินิจฉัยและร่วมเขียนบทความไปใช้ในการเขียนดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วม ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ร่วมในผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องตามที่กล่าวอ้างถึงข้างต้นหรือไม่ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้เขียนร่วมในผลงานทางวิชาการที่กล่าวอ้างถึงดังกล่าว จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะผู้สร้างสรรค์ร่วม ทั้งในวงวิชาการนั้นพึงมีบรรทัดฐานด้านจรรยาบรรณของนักวิชาการในระดับสากลเช่นเดียวกัน กล่าวคือ การที่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้วิจัยหรือผู้เขียนผลงานทางวิชาการนำผลงานทางวิชาการของผู้สร้างสรรค์ร่วมกันมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตน ก็ควรอย่างยิ่งที่โจทก์ร่วมจะได้บอกกล่าวผู้สร้างสรรค์ร่วมกันทุกคนรวมทั้งจำเลยที่ 1 ว่าจะนำบทความที่เขียนร่วมกันนั้นไปใช้ในดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วม และเมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม โดยในส่วนของจำเลยที่ 1 คือการกระทำในส่วนที่ให้สัมภาษณ์แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 ลงพิมพ์เผยแพร่ข้อความคำให้สัมภาษณ์ของจำเลยที่ 1 ในหนังสือพิมพ์เป็นบทความภาษาอังกฤษ จึงต้องพิจารณาจากข้อความในบทความที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นเบื้องต้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากข้อความภาษาอังกฤษในบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แล้ว เห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวไม่ได้กล่าวยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ข้อความดังกล่าวตามฟ้องทั้งหมด ทั้งใจความสำคัญของข้อความที่กล่าวอ้างไว้ในบทความภาษาอังกฤษล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วม รายงานการดำเนินงานวิจัยที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ร่วมอยู่ในทีมดำเนินงาน และบทความที่โจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ต่างคนต่างส่งพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับรายงานการดำเนินงานตามโครงการที่บริษัท ส. เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งงานสร้างสรรค์ในลักษณะงานนิพนธ์อันเป็นงานวรรณกรรมทั้งหกชิ้นดังกล่าวนี้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันหรืออาจถึงขนาดที่กล่าวได้ว่าทับซ้อนกันในเนื้อหาอันเป็นสาระสำคัญได้ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้งหมด ประกอบกับปรากฏตามสรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงจากรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงจากรายงานการสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำสั่ง จ. ว่า คณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงมีความเห็นว่า แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าเอกสารทางวิชาการที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 1 นั้นเป็นผลงานของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่ แต่ดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วมมีการคัดลอกงานวิชาการจากเอกสารจำนวน 4 ฉบับ ซึ่งเป็นงานเขียนของกลุ่มบุคคลในปริมาณงานที่มาก แม้ว่าโจทก์ร่วมจะอ้างอิงเอกสารบางรายการไว้ในบรรณานุกรมของดุษฎีนิพนธ์ แต่การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นการลอกเลียนวรรณกรรมโดยมิชอบ (Plagiarism) ไม่ว่าจะเป็นการลอกวรรณกรรมของตนเองหรือเป็นการลอกวรรณกรรมของผู้อื่นหรือโดยผู้อื่นเป็นเจ้าของผลงานร่วมด้วย นอกจากนี้ สัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ในงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับดุษฎีนิพนธ์ของโจทก์ร่วม ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนโดยปราศจากข้อโต้แย้งของทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับข้อตกลงเรื่องความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการทำรายงานการดำเนินโครงการวิจัยและในบทความที่กลุ่มบุคคลซึ่งมีโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วยเป็นผู้จัดทำขึ้น รวมทั้งบทความทางวิชาการที่เผยแพร่ต่อเนื่องจากการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าวมาทั้งหมดข้างต้นย่อมมีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ร่วมกันกับบุคคลอื่นในคณะบุคคลหรือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ร่วมกันกับหน่วยงานผู้ให้สนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้อง และแม้ลิขสิทธิ์ในรายงานการดำเนินโครงการวิจัยและบทความที่กลุ่มบุคคลซึ่งมีโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วยเป็นผู้จัดทำขึ้นจะมิใช่ของจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 1 ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย แต่ในฐานที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนร่วมในผลงานวิชาการในรูปแบบงานนิพนธ์อันเป็นงานวรรณกรรมซึ่งมีลิขสิทธิ์ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับการปกป้องคุ้มครองในฐานะผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์นั้นด้วย ดังนั้น จึงมีเหตุผลให้จำเลยที่ 1 เชื่อว่าจำเลยที่ 1 พึงได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิในฐานะผู้เขียนเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดดังกล่าวนั้นด้วยการร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความเป็นธรรม การแสดงข้อความตามฟ้องที่ปรากฏในบทความภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์ตามฟ้องนั้น จึงถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยที่ 1 แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เขียนร่วมในรายงานการดำเนินโครงการวิจัยและบทความที่จำเลยที่ 1 เชื่อว่าโจทก์ร่วมได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงข้อความอันเป็นสาระสำคัญดังกล่าวของผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยมิได้บอกกล่าวหรือขออนุญาตผู้สร้างสรรค์ร่วมกันหรือผู้เขียนร่วม หรือผู้มีลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นครบถ้วนทุกคน ตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวย่อมไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 ประกอบมาตรา 326 ดังที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10754/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีภาระจำยอมซ้ำกับคดีเดิมที่อยู่ระหว่างการพิจารณา แม้คดีเดิมจำหน่ายไปแล้ว ก็ไม่ทำให้ฟ้องซ้อนเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่โดยอ้างเหตุว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีในคดีก่อนเพียง 6 วัน เป็นการยื่นภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และโจทก์ทั้งเจ็ดยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขณะนั้นระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ของจำเลยยังไม่สิ้นสุดลงถือได้ว่า โจทก์ยื่นคำฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณา และเมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งเจ็ดกล่าวอ้างว่า ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดที่อยู่ติดกันเช่นเดียวกันกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีก่อน แม้คำขอบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับความกว้างยาวของทางพิพาทแตกต่างกัน แต่ก็เป็นการขอให้รับรองว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดเช่นเดียวกัน คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้กับคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีก่อนจึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน และการพิจารณาว่าคำฟ้องคดีหลังเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ ต้องพิจารณาในวันยื่นคำฟ้องคดีหลังเป็นสำคัญ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ทั้งเจ็ดยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีก่อน แม้ต่อมาศาลฎีกาในคดีก่อนจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรแก่การพิจารณา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องซ้อนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายไม่