พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10069/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดียาเสพติดหลังจำเลยเข้ารับการฟื้นฟูแต่ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ
คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดลำพูนมีคำวินิจฉัยให้จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เข้มงวดเป็นเวลา 4 เดือน ภายหลังพ้นการฟื้นฟูแล้วให้เข้ารับการฟื้นฟูในโปรแกรมของสำนักงานคุมประพฤติเป็นเวลา 2 เดือน และทำงานบริการสังคม 10 ชั่วโมง ต่อมาคณะอนุกรรมการฟื้นฟูมีคำวินิจฉัยว่าผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูไม่ครบถ้วน โดยยังค้างรายงานตัว 1 ครั้ง และค้างทำงานบริการสังคม 10 ชั่วโมง จึงให้ขยายระยะเวลาฟื้นฟูออกไปอีก 30 วัน แต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ขยายแล้ว คณะอนุกรรมการฟื้นฟูมีคำวินิจฉัยว่า ระดับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของจำเลยอยู่ในระดับต้องปรับปรุง ผลการประเมินไม่ผ่าน เนื่องจากปฏิบัติตามแผนไม่ครบถ้วน จึงให้ส่งตัวคืนพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป แสดงว่าจำเลยเข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟูตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 22 วรรคหนึ่งแล้ว และจำเลยอยู่รับการฟื้นฟูตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ครบกำหนดเพียงแต่จำเลยผิดนัดไม่ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 1 ครั้ง และค้างการทำงานบริการสังคม 10 ชั่วโมง ตามพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวจำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบกำหนดเวลาตามมาตรา 25 แล้วแต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่น่าพอใจคณะอนุกรรมการฟื้นฟูจึงมีหน้าที่รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีต่อไปตามมาตรา 33 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9890-9891/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานความเสียหาย: เจ้าของทรัพย์ vs. ผู้จัดการมรดก คดีอาญา ยักยอกทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันยักยอกทรัพย์มรดกของ ล. เจ้ามรดก โดยโจทก์ร่วมซึ่งเป็น ผู้จัดการมรดก เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายในฐานะที่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของทรัพย์รวมอยู่ด้วย แม้ฟ้องโจทก์ระบุว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นเพียงระบุถึงสถานะของโจทก์ร่วมเท่านั้น มิได้หมายความว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกของ ล. ทั้งตามบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของโจทก์ร่วมก็กล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสี่ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วมไป โดยระบุรายละเอียดว่าโจทก์ร่วมได้ทรัพย์แต่ละรายการมาอย่างไร และให้การเพิ่มเติมภายหลังว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของโจทก์ร่วมกึ่งหนึ่ง อันเป็นการแสดงว่าโจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์โดยได้รับความเสียหายในฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์หรือเจ้าของรวม เป็นการแจ้งความในฐานะส่วนตัว มิใช่ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล. ดังนั้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ว่า เมื่อฟังว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ศาลชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้ตามฟ้องโดยไม่จำต้องเป็นเจ้าของหรือเจ้าของรวมในทรัพย์ของกลาง จึงเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9821/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาต้องแจ้งภายใน 8 วันนับจากวันที่ทราบข้อเท็จจริงที่ทำให้เสียหาย มิฉะนั้นขาดสิทธิอ้าง
คำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 28 มกราคม 2557 ที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวอ้างได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวอ้างว่า เจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้จำเลยไม่ชอบเพราะบ้านของจำเลยซึ่งเป็นภูมิลำเนาตามฟ้องยังไม่ได้รื้อถอนและจำเลยพักอาศัยอยู่ที่บ้านดังกล่าวตลอดมา อันเป็นการยกข้ออ้างที่ทำให้จำเลยไม่ทราบว่าศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ออกหมายจับจำเลยและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่จำเลยเพิ่งทราบเรื่องดังกล่าว จำเลยก็ชอบที่จะยกข้อคัดค้านในเรื่องผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างภายในเวลาไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นด้วย ข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่าเมื่อประมาณต้นเดือนธันวาคม 2556 จำเลยทราบจากเจ้าหน้าที่เรือนจำจังหวัดภูเก็ตว่า จำเลยแพ้คดีโดยศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาตั้งแต่ต้นปี 2556 และต่อมาประมาณต้นเดือนมกราคม 2557 จำเลยให้ทนายความติดตามรายละเอียดของสำนวนคดีจึงทราบว่า การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้จำเลยไม่ชอบ จึงฟังได้ว่าจำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างในเรื่องผิดระเบียบตามคำร้องดังกล่าวของจำเลยจากทนายความตั้งแต่ประมาณต้นเดือนมกราคม 2557 แล้ว เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่อ้างว่าผิดระเบียบเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2557 จึงช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นแล้ว จำเลยย่อมหมดสิทธิยกขึ้นอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9801/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินและรถยนต์กรณีคนต่างด้าว: สัญญาซื้อขาย, การครอบครอง, และการส่งมอบทรัพย์
แม้จำเลยจะมีชื่อในทะเบียนรถซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 17/1 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยตกลงคืนรถยนต์ให้แก่โจทก์โดยมอบสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และนัดหมายโอนทะเบียนรถให้แก่กันแล้วย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยยอมรับว่ารถยนต์เป็นของโจทก์โดยให้ใส่ชื่อจำเลยถือครองแทน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท
หากโจทก์มีความประสงค์จะซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทให้จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์กับจำเลยต้องทำสัญญาซื้อขายไว้อีก และเมื่อพิจารณาข้อความทั้งหมดในสัญญาดังกล่าวแล้วแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่า ต้องการจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทเป็นของตนเอง แต่เนื่องจากโจทก์เป็นคนต่างด้าว ไม่ได้ถือสัญชาติไทยจะมีสิทธิถือครองที่ดินได้ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวว่าหากวันใดมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในการถือสิทธิครอบครองที่ดินขอให้โอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์โดยชอบธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินคืน เมื่อปรากฏว่าทรัพย์นั้นยังคงมีอยู่ที่จำเลยและจำเลยสามารถปฏิบัติการส่งมอบทรัพย์พิพาทตามที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงไม่ต้องชำระราคาทรัพย์ และจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแต่อย่างใด แต่กรณีที่ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ทั้งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวก็หมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง ตามคำฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินคืน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับให้จัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
หากโจทก์มีความประสงค์จะซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทให้จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์กับจำเลยต้องทำสัญญาซื้อขายไว้อีก และเมื่อพิจารณาข้อความทั้งหมดในสัญญาดังกล่าวแล้วแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่า ต้องการจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทเป็นของตนเอง แต่เนื่องจากโจทก์เป็นคนต่างด้าว ไม่ได้ถือสัญชาติไทยจะมีสิทธิถือครองที่ดินได้ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวว่าหากวันใดมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในการถือสิทธิครอบครองที่ดินขอให้โอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์โดยชอบธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินคืน เมื่อปรากฏว่าทรัพย์นั้นยังคงมีอยู่ที่จำเลยและจำเลยสามารถปฏิบัติการส่งมอบทรัพย์พิพาทตามที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงไม่ต้องชำระราคาทรัพย์ และจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแต่อย่างใด แต่กรณีที่ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ทั้งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวก็หมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง ตามคำฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินคืน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับให้จัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9800/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและอำนาจฟ้องในคดีขับไล่ การยกฎีกาจำเลยร่วมที่ไม่เคยอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยได้เช่าจากโจทก์ที่ 2 ในอัตราค่าเช่าปีละ 200 บาท กับเรียกค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้โจทก์ที่ 2 จะขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 10,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในอัตราเดือนละ 100 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง จำเลยอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยร่วมไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยร่วมจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยร่วมไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยร่วมจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8795/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี, การยกเว้นภาษีทรัพย์สินของรัฐ, การตีความสัญญาเช่า, และการห้ามอุทธรณ์ประเด็นใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนต้นว่าการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ตามกฎหมายอื่นบรรดาที่เรียกเก็บสำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย นอกจากอาคารและที่ดินที่ให้เช่า ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ซึ่งมาตรา 31 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ระบุว่า เฉพาะกรณีที่ผู้รับประเมินเป็นรัฐวิสาหกิจไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่าจำนวนเงินซึ่งประเมินไว้มีจำนวนสูงเกินสมควรเท่านั้น จึงให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและคณะรัฐมนตรีมีอำนาจลดหย่อนค่ารายปีให้แก่รัฐวิสาหกิจนั้นได้ แต่กรณีนี้การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่าไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน จึงไม่ใช่กรณีที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามมาตรา 31 วรรคท้าย การท่าเรือแห่งประเทศไทยและโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนการท่าเรือแห่งประเทศไทยย่อมมีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้ได้
สัญญาเช่าสำหรับการบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าท่าเทียบเรือบี 2 นอกจากมีข้อสัญญาอนุญาตให้โจทก์เข้าบริหารประกอบการท่าเทียบเรือดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อสัญญาเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งข้อความตามสัญญาและภาคผนวกล้วนแสดงให้เห็นว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยยอมให้โจทก์ใช้ทรัพย์สินและโจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษากับเอาประกันภัยทรัพย์สินนั้นไว้เพื่อประโยชน์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รวมทั้งการจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์และยังมีการกำหนดค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องชำระแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยตามรายละเอียดในภาคผนวก บี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่ตามที่ระบุไว้เป็นตัวเลขค่าธรรมเนียมแน่นอนสำหรับปีที่ 1 ถึงปีที่ 12 ของการเช่า ค่าธรรมเนียมผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติมคิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องรับกันกับข้อสัญญาการชำระค่าเช่าตามข้อ 3.2 อันแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและโจทก์เป็นเช่นเดียวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าทรัพย์ และแม้การชำระเงินเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญานี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่และค่าธรรมเนียมผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติมที่คิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้ในภาคผนวก บี ซึ่งอาจมีบางส่วนที่คิดเป็นค่าตอบแทนในการให้สิทธิโจทก์ได้เข้าดำเนินการท่าเรือเพื่อแสวงหากำไรเป็นของโจทก์ได้ก็ตาม แต่ก็มีค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่ซึ่งอย่างน้อยย่อมคิดในลักษณะเป็นค่าเช่าเป็นผลตอบแทนจากที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าท่าเทียบเรือบี 2 ด้วย ย่อมแสดงว่าสัญญาระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับโจทก์แม้จะมีข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง แต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยคิดผลตอบแทนที่ถือเป็นค่าเช่าด้วยย่อมถือได้ว่าทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยดังกล่าวนี้เป็นอาคารและที่ดินที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าตาม พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 17 ตอนท้าย ซึ่งเป็นบทยกเว้นความตอนต้นของมาตรานี้ จึงมีผลให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่ได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ท่าเทียบเรือบี 2 เป็นทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของสาธารณะโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 นั้น โจทก์มิได้ฟ้องประเด็นนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง เป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ภาษีที่จำเลยที่ 1 ประเมินมานั้นสูงเกินส่วนเนื่องจากสูตรในการคำนวณไม่สอดคล้องกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน เนื่องจากมิได้คำนึงถึงมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินประเภทโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในสัดส่วนที่ใช้ประโยชน์จริง ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินไว้ และจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดนั้นมีจำนวนที่สูงเกินสมควร ดังนั้น การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเรื่องที่จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาด เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตามมาตรา 30 และในการนี้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจลดหย่อนค่ารายปีได้ตามมาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่คณะรัฐมนตรียังไม่มีมติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองในประเด็นข้อนี้เช่นเดียวกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย
สัญญาเช่าสำหรับการบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าท่าเทียบเรือบี 2 นอกจากมีข้อสัญญาอนุญาตให้โจทก์เข้าบริหารประกอบการท่าเทียบเรือดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อสัญญาเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งข้อความตามสัญญาและภาคผนวกล้วนแสดงให้เห็นว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยยอมให้โจทก์ใช้ทรัพย์สินและโจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษากับเอาประกันภัยทรัพย์สินนั้นไว้เพื่อประโยชน์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รวมทั้งการจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์และยังมีการกำหนดค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องชำระแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยตามรายละเอียดในภาคผนวก บี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่ตามที่ระบุไว้เป็นตัวเลขค่าธรรมเนียมแน่นอนสำหรับปีที่ 1 ถึงปีที่ 12 ของการเช่า ค่าธรรมเนียมผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติมคิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องรับกันกับข้อสัญญาการชำระค่าเช่าตามข้อ 3.2 อันแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและโจทก์เป็นเช่นเดียวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าทรัพย์ และแม้การชำระเงินเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญานี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่และค่าธรรมเนียมผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติมที่คิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้ในภาคผนวก บี ซึ่งอาจมีบางส่วนที่คิดเป็นค่าตอบแทนในการให้สิทธิโจทก์ได้เข้าดำเนินการท่าเรือเพื่อแสวงหากำไรเป็นของโจทก์ได้ก็ตาม แต่ก็มีค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่ซึ่งอย่างน้อยย่อมคิดในลักษณะเป็นค่าเช่าเป็นผลตอบแทนจากที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าท่าเทียบเรือบี 2 ด้วย ย่อมแสดงว่าสัญญาระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับโจทก์แม้จะมีข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง แต่ก็มีวัตถุประสงค์ในการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยคิดผลตอบแทนที่ถือเป็นค่าเช่าด้วยย่อมถือได้ว่าทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยดังกล่าวนี้เป็นอาคารและที่ดินที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าตาม พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 17 ตอนท้าย ซึ่งเป็นบทยกเว้นความตอนต้นของมาตรานี้ จึงมีผลให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่ได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ท่าเทียบเรือบี 2 เป็นทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของสาธารณะโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 นั้น โจทก์มิได้ฟ้องประเด็นนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง เป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ภาษีที่จำเลยที่ 1 ประเมินมานั้นสูงเกินส่วนเนื่องจากสูตรในการคำนวณไม่สอดคล้องกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน เนื่องจากมิได้คำนึงถึงมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินประเภทโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในสัดส่วนที่ใช้ประโยชน์จริง ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินไว้ และจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดนั้นมีจำนวนที่สูงเกินสมควร ดังนั้น การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเรื่องที่จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาด เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตามมาตรา 30 และในการนี้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจลดหย่อนค่ารายปีได้ตามมาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่คณะรัฐมนตรียังไม่มีมติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง และโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองในประเด็นข้อนี้เช่นเดียวกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8793/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกษียณอายุตามโครงการของบริษัท และการยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 บัญญัติถึงเงินได้ประเภทต่าง ๆ ที่มีเหตุอันสมควรได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีโดยเงินได้ในประเภทตามมาตรา 42 (17) คือเงินได้ตามที่กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง ให้อำนาจฝ่ายบริหารกำหนดได้ตามนโยบายภาษีและเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้มีเงินได้ และตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรกำหนดว่า เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (17) แสดงให้เห็นว่ารัฐประสงค์จะใช้มาตรการยกเว้นภาษีจากเงินได้ประเภทนี้เพื่อสนับสนุนระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ข้อ 1 (1) กำหนดว่า (1) กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งออกจากงานเพราะครบกำหนดหรือสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ก็แสดงให้เห็นถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการยกเว้นภาษีเงินได้ประเภทนี้ ที่ประสงค์ให้มีการเข้าเป็นสมาชิกกองทุนเป็นระยะยาวอันจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการกองทุนได้ดี จึงให้ประโยชน์ในการยกเว้นภาษีแก่ผู้เป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และไม่ให้ประโยชน์ในการยกเว้นภาษีในกรณีสมาชิกลาออกจากงานหรือออกเพราะเหตุที่กระทำความผิด
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศเรื่อง โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่ให้พนักงานออกจากงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยความสมัครใจร่วมกันนี้ก็คือข้อกำหนดส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์การเกษียณอายุงาน อันเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การเกษียณ อายุงานเพิ่มเติมจากที่กำหนดให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เป็นให้เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเกษียณอายุงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งประกาศนี้ การที่โจทก์ใช้สิทธิตามประกาศนี้ในการออกจากงาน โดยการเกษียณอายุซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่มุ่งส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อประโยชน์ในยามชราภาพของลูกจ้างก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเกษียณอายุโดยการออกจากงานเมื่อสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดไว้ให้เป็นไปภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งประกาศเรื่อง โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้ขณะออกจากงานโจทก์ก็มีอายุ 55 ปีเศษ อันเป็นกรณีที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งโจทก์ก็เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว จึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่มีผลให้เงินได้ที่โจทก์ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (17) ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 (36) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศเรื่อง โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่ให้พนักงานออกจากงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยความสมัครใจร่วมกันนี้ก็คือข้อกำหนดส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์การเกษียณอายุงาน อันเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การเกษียณ อายุงานเพิ่มเติมจากที่กำหนดให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เป็นให้เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเกษียณอายุงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งประกาศนี้ การที่โจทก์ใช้สิทธิตามประกาศนี้ในการออกจากงาน โดยการเกษียณอายุซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่มุ่งส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อประโยชน์ในยามชราภาพของลูกจ้างก็ย่อมถือได้ว่าเป็นการเกษียณอายุโดยการออกจากงานเมื่อสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดไว้ให้เป็นไปภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งประกาศเรื่อง โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้ขณะออกจากงานโจทก์ก็มีอายุ 55 ปีเศษ อันเป็นกรณีที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งโจทก์ก็เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว จึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่มีผลให้เงินได้ที่โจทก์ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (17) ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 (36) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8681/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน, สัญญาเช่าทรัพย์สินของรัฐ, การประเมินภาษีสูงเกินสมควร
โจทก์บรรยายฟ้องแสดงสภาพแห่งข้อหาในตอนต้นว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร และได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ตามกฎหมายอื่นบรรดาที่เรียกเก็บสำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย นอกจากอาคารและที่ดินที่ให้เช่า ตามมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ซึ่งมาตรา 31 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ระบุว่า เฉพาะกรณีที่ผู้รับประเมินเป็นรัฐวิสาหกิจไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่าจำนวนเงินซึ่งประเมินไว้มีจำนวนสูงเกินสมควรเท่านั้น จึงให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและคณะรัฐมนตรีมีอำนาจลดหย่อนค่ารายปีให้แก่รัฐวิสาหกิจนั้นได้ แต่กรณีนี้การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่า ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน จึงไม่ใช่กรณีที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามมาตรา 31 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การท่าเรือแห่งประเทศไทยและโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนการท่าเรือแห่งประเทศไทยย่อมมีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้ได้
สัญญาเช่าสำหรับการบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าท่าเทียบเรือบี 2 นอกจากมีข้อสัญญาอนุญาตให้โจทก์เข้าบริหารประกอบการท่าเทียบเรือดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อสัญญาเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวคือ ตามสัญญาข้อ 2 วรรคหนึ่ง การท่าเรือแห่งประเทศไทยยินยอมให้เช่าและโจทก์ผู้เช่าตกลงที่จะเช่าท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือ บี 2 สำหรับพัฒนาบริหารและประกอบการให้เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขดังระบุในสัญญาฉบับนี้และภาคผนวกต่าง ๆ ข้อความตามสัญญาและภาคผนวกล้วนแสดงให้เห็นว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยยอมให้โจทก์ใช้ทรัพย์สินและโจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษากับเอาประกันภัยทรัพย์สินนั้นไว้เพื่อประโยชน์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รวมทั้งการจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์และยังมีการกำหนดค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องชำระแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยตามรายละเอียดในภาคผนวก บี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่ตามที่ระบุไว้เป็นตัวเลขค่าธรรมเนียมแน่นอนสำหรับปีที่ 1 ถึงปีที่ 12 ของการเช่า ค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมคิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องรับกันกับข้อสัญญาการชำระค่าเช่าอันแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและโจทก์เป็นเช่นเดียวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าทรัพย์ และแม้การชำระเงินเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญานี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่และค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่คิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้ในภาคผนวก บี ซึ่งอาจมีบางส่วนที่คิดเป็นค่าตอบแทนในการให้สิทธิโจทก์ได้เข้าดำเนินการท่าเรือเพื่อแสวงหากำไรเป็นของโจทก์ได้ก็ตาม แต่ก็มีค่าธรรมเนียมคงที่ซึ่งอย่างน้อยย่อมคิดในลักษณะเป็นค่าเช่าเป็นผลตอบแทนจากที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าท่าเทียบเรือ บี 2 ด้วย ย่อมแสดงว่าสัญญาระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับโจทก์แม้จะมีข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง แต่อย่างน้อยก็มีวัตถุประสงค์ในการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยคิดผลตอบแทนที่ถือเป็นค่าเช่าอยู่ด้วย ดังนั้น ไม่ว่าในบรรดาวัตถุประสงค์ของสัญญานี้จะมีบางส่วนเป็นสัญญาสัมปทานหรือไม่ก็ตาม แต่ก็มีส่วนที่มีวัตถุประสงค์เป็นการเช่าทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีการประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมอยู่ด้วย ย่อมถือได้ว่าทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยดังกล่าวนี้เป็นอาคารและที่ดินที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าตาม พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 17 ตอนท้าย ซึ่งเป็นบทยกเว้นความตอนต้นของมาตรานี้ จึงมีผลให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่ได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในทรัพย์สินดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ภาษีที่จำเลยที่ 1 ประเมินมานั้นสูงเกินส่วนเนื่องจากสูตรในการคำนวณไม่สอดคล้องกับกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยมิได้คำนึงถึงมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินประเภทโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในสัดส่วนที่ใช้ประโยชน์จริง ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินไว้และจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดนั้นมีจำนวนที่สูงเกินสมควร ดังนั้น การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเรื่องที่จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตาม มาตรา 30 และในการนี้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจลดหย่อนค่ารายปีให้แก่รัฐวิสาหกิจนั้นได้ตามสมควรตามมาตรา 31 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสองว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้นำเรื่องท่าเทียบเรือ บี 2 เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาลดหย่อนค่ารายปีตามมาตรา 31 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องและโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเช่นเดียวกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย
สัญญาเช่าสำหรับการบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้าท่าเทียบเรือบี 2 นอกจากมีข้อสัญญาอนุญาตให้โจทก์เข้าบริหารประกอบการท่าเทียบเรือดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อสัญญาเกี่ยวกับการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวคือ ตามสัญญาข้อ 2 วรรคหนึ่ง การท่าเรือแห่งประเทศไทยยินยอมให้เช่าและโจทก์ผู้เช่าตกลงที่จะเช่าท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือ บี 2 สำหรับพัฒนาบริหารและประกอบการให้เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขดังระบุในสัญญาฉบับนี้และภาคผนวกต่าง ๆ ข้อความตามสัญญาและภาคผนวกล้วนแสดงให้เห็นว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยยอมให้โจทก์ใช้ทรัพย์สินและโจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษากับเอาประกันภัยทรัพย์สินนั้นไว้เพื่อประโยชน์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รวมทั้งการจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์และยังมีการกำหนดค่าตอบแทนที่โจทก์ต้องชำระแก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยตามรายละเอียดในภาคผนวก บี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่ตามที่ระบุไว้เป็นตัวเลขค่าธรรมเนียมแน่นอนสำหรับปีที่ 1 ถึงปีที่ 12 ของการเช่า ค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมคิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องรับกันกับข้อสัญญาการชำระค่าเช่าอันแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและโจทก์เป็นเช่นเดียวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าและผู้เช่าตามสัญญาเช่าทรัพย์ และแม้การชำระเงินเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญานี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ค่าธรรมเนียมการเช่าคงที่และค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่คิดตามปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าต่ำสุดตามอัตราที่กำหนดไว้ในภาคผนวก บี ซึ่งอาจมีบางส่วนที่คิดเป็นค่าตอบแทนในการให้สิทธิโจทก์ได้เข้าดำเนินการท่าเรือเพื่อแสวงหากำไรเป็นของโจทก์ได้ก็ตาม แต่ก็มีค่าธรรมเนียมคงที่ซึ่งอย่างน้อยย่อมคิดในลักษณะเป็นค่าเช่าเป็นผลตอบแทนจากที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าท่าเทียบเรือ บี 2 ด้วย ย่อมแสดงว่าสัญญาระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทยกับโจทก์แม้จะมีข้อสัญญาที่มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง แต่อย่างน้อยก็มีวัตถุประสงค์ในการให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยคิดผลตอบแทนที่ถือเป็นค่าเช่าอยู่ด้วย ดังนั้น ไม่ว่าในบรรดาวัตถุประสงค์ของสัญญานี้จะมีบางส่วนเป็นสัญญาสัมปทานหรือไม่ก็ตาม แต่ก็มีส่วนที่มีวัตถุประสงค์เป็นการเช่าทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีการประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินรวมอยู่ด้วย ย่อมถือได้ว่าทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยดังกล่าวนี้เป็นอาคารและที่ดินที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เช่าตาม พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 17 ตอนท้าย ซึ่งเป็นบทยกเว้นความตอนต้นของมาตรานี้ จึงมีผลให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่ได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในทรัพย์สินดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ภาษีที่จำเลยที่ 1 ประเมินมานั้นสูงเกินส่วนเนื่องจากสูตรในการคำนวณไม่สอดคล้องกับกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยมิได้คำนึงถึงมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินประเภทโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในสัดส่วนที่ใช้ประโยชน์จริง ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์เห็นว่าจำนวนเงินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินไว้และจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดนั้นมีจำนวนที่สูงเกินสมควร ดังนั้น การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเรื่องที่จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตาม มาตรา 30 และในการนี้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจลดหย่อนค่ารายปีให้แก่รัฐวิสาหกิจนั้นได้ตามสมควรตามมาตรา 31 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสองว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้นำเรื่องท่าเทียบเรือ บี 2 เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาลดหย่อนค่ารายปีตามมาตรา 31 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องและโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเช่นเดียวกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8546/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาซื้อขายข้าว, ฟ้องซ้อน, การเป็นผู้ประกอบการค้า
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรม หรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง" และมาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) (2) และ (5) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี" ซึ่งความหมายของผู้ประกอบการค้า นอกจากเป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้าโดยทำการซื้อขายสินค้าแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระเพื่อหวังผลกำไรในทางการค้าด้วย โจทก์เป็นองค์การของรัฐจัดตั้งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 และ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การคลังสินค้า พ.ศ.2498 มีวัตถุประสงค์ทำกิจการทั้งปวงเกี่ยวกับสินค้าเกษตร ฯลฯ ทั้งการซื้อขายข้าวเปลือกระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 สืบเนื่องมาจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2548/2549 ของรัฐบาลในสมัยนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยสามารถจำนำข้าวได้ในราคาสูง ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง อีกทางหนึ่งก็คงเป็นเพราะเพื่อลดภาระในการดูแลรักษาข้าวเปลือกดังกล่าวของโจทก์ซึ่งฝากไว้ในโกดังเก็บข้าวของจำเลยที่ 1 ซึ่งเข้าร่วมในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2548/2549 โดยให้จำเลยที่ 1 สามารถขายข้าวเปลือกดังกล่าวไปได้ ดังนั้นการขายข้าวเปลือกดังกล่าวของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 จึงมิได้มุ่งหวังกำไรเพื่อหารายได้เข้ารัฐ โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าในอันที่จะนำอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) มาใช้บังคับ เมื่อกรณีตามสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำกำหนดอายุความ 10 ปี ซึ่งเป็นอายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับ
คดีอาญาเป็นเรื่องที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง ฐานยักยอกทรัพย์คือข้าวเปลือกที่จำเลยทั้งสองรับฝากไว้ตามสัญญาฝากเก็บ แปรสภาพ และจัดจำหน่ายข้าว และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ก็เป็นกรณีที่เนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาอันเป็นมูลละเมิดเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซื้อข้าวเปลือกจากโจทก์และยังคงค้างชำระราคาข้าวเปลือก จึงขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระราคาข้าวเปลือกที่ยังคงค้างชำระแก่โจทก์ อันเป็นมูลหนี้มาจากการผิดสัญญา ถึงแม้คำขอบังคับในคดีอาญาและคดีนี้เป็นอย่างเดียวกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิใช่เป็นอย่างเดียวกัน นอกจากนี้คำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องผิดสัญญา การโต้แย้งสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาลเป็นเรื่องของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญาไม่อาจอาศัยสิทธิในเรื่องจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขายข้าวเปลือกมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ เพราะมิได้เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คดีอาญาเป็นเรื่องที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง ฐานยักยอกทรัพย์คือข้าวเปลือกที่จำเลยทั้งสองรับฝากไว้ตามสัญญาฝากเก็บ แปรสภาพ และจัดจำหน่ายข้าว และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ก็เป็นกรณีที่เนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาอันเป็นมูลละเมิดเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซื้อข้าวเปลือกจากโจทก์และยังคงค้างชำระราคาข้าวเปลือก จึงขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระราคาข้าวเปลือกที่ยังคงค้างชำระแก่โจทก์ อันเป็นมูลหนี้มาจากการผิดสัญญา ถึงแม้คำขอบังคับในคดีอาญาและคดีนี้เป็นอย่างเดียวกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิใช่เป็นอย่างเดียวกัน นอกจากนี้คำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องผิดสัญญา การโต้แย้งสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาลเป็นเรื่องของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญาไม่อาจอาศัยสิทธิในเรื่องจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขายข้าวเปลือกมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ เพราะมิได้เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้อนตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8528/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่วางค่าธรรมเนียม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งหากศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ย่อมมีผลให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นอันเพิกถอนไปในตัว จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 โดยศาลไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติก่อน เพราะกรณีมิใช่เรื่องที่จำเลยมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมา ก็ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้