พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7294/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทิน: ผู้ต้องโทษต้องพ้นโทษก่อนบังคับใช้กฎหมายจึงมีสิทธิได้รับประโยชน์
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ที่ได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเท่านั้น แม้จำเลยกระทำความผิดก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2550 แต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2550 ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี จำเลยจึงยังไม่ได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับ ดังนี้ จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด และค่าปรับการชำระเงินล่าช้า
กรณีที่จะถือว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุสมควร ตามบทบัญญัติในมาตรา 65 ทวิ (4) แห่ง ป.รัษฎากร หรือไม่ อย่างน้อยที่สุดโจทก์ต้องคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ในระดับอัตราที่ไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์กู้มาจากผู้ให้กู้ การที่โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการทางด้านการเงินโดยประกอบกิจการธุรกิจบัตรเครดิต โดยยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร ประเภทกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และโจทก์กู้ยืมเงินมาจากผู้ให้กู้ในต่างประเทศแล้วนำเงินกู้ยืมมาให้บริษัทในเครือและธนาคารในเครือของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทยกู้ยืมโดยใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวผันแปรตามราคาตลาด ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ เมื่อพิจารณารายงานเศรษฐกิจและการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2541 และปี 2542 ที่โจทก์อ้างปรากฏว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเวลาปี 2541 และปี 2542 ระหว่างไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 4 ปรากฏอัตราดอกเบี้ย 4 ประเภท ประเภทแรก อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (ธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง) ประเภทที่สอง อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม (ธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง) ประเภทที่สาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร และประเภทที่สี่ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (1 วัน) แต่เนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารมาเป็นราคาตลาดสำหรับการให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ในต่างประเทศมาให้บริษัทในเครือกู้ยืมอีกต่อหนึ่ง ไม่ใช่กรณีที่โจทก์นำเงินฝากของตนเองมาให้บุคคลอื่นกู้ยืม อัตราดอกเบี้ยที่จะนำมาถือเป็นราคาตลาดสำหรับการให้กู้ยืมของโจทก์ ควรเป็นอัตราดอกเบี้ยประเภทที่สอง คืออัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมดังกล่าวมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้กู้ในต่างประเทศ แม้โจทก์จะอ้างว่าจากสภาวะเศรษฐกิจในระยะเวลาหลังจากที่โจทก์กู้ยืมเงินมาจากต่างประเทศในช่วงปี 2541 ถึงปี 2542 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในประเทศลดลงทำให้โจทก์เกิดผลขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยนั้น ตามพฤติการณ์ของโจทก์ที่กู้ยืมเงินมาจากต่างประเทศแล้วนำมาให้กู้ยืมภายในประเทศโดยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 5.7125 ถึง 6.1125 แต่ดอกเบี้ยในราคาตลาดในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในอัตราร้อยละ 14.50 ถึง 15.0 และลดลงจนมีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดอยู่ที่ร้อยละ 8.25 ซึ่งยังคงเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้ผู้กู้ในต่างประเทศ ข้อกล่าวอ้างถึงผลขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยจึงไม่อาจรับฟังได้ กรณีของโจทก์จึงเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าปรับชำระเงินล่าช้า (Late Charge /Delinquency Charge) ในกรณีที่ลูกค้าไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบตามใบแจ้งยอดบัญชีที่โจทก์จัดส่งไปให้ ต้องเสียค่าปรับการชำระเงินล่าช้าร้อยละ 4 ต่อเดือน ของยอดค้างชำระทั้งหมด เว้นแต่ลูกค้าที่มีวงเงิน Club Payment จะเสีย Late Charge เฉพาะส่วนที่ค้างชำระเกินวงเงิน Club Payment ส่วนค่าปรับคืนเช็ค (Service fee return cheque) ในกรณีที่ลูกค้าชำระเงินด้วยเช็ค หากเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ ต้องเสียค่าปรับเช็คคืนฉบับละ 500 บาท และค่าปรับหักบัญชีธนาคารไม่ได้ (Return direct debit fee) ลูกค้าที่ชำระเงินโดยการหักบัญชีธนาคาร หากไม่สามารถหักบัญชีได้จะต้องเสียค่าปรับครั้งละ 100 บาท นั้น ไม่ใช่ค่าบริการจากการให้บริการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกันโดยตรง ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการเฉพาะอย่างที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้เป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 246) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (2) เนื่องจากเป็นค่าตอบแทนที่เกิดจากการที่ลูกค้าของโจทก์ไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบถ้วนตามใบแจ้งยอดบัญชี ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากการให้บริการการใช้บัตรเครดิตที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์สิ้นสุดลงแล้ว รายรับส่วนนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าปรับชำระเงินล่าช้า (Late Charge /Delinquency Charge) ในกรณีที่ลูกค้าไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบตามใบแจ้งยอดบัญชีที่โจทก์จัดส่งไปให้ ต้องเสียค่าปรับการชำระเงินล่าช้าร้อยละ 4 ต่อเดือน ของยอดค้างชำระทั้งหมด เว้นแต่ลูกค้าที่มีวงเงิน Club Payment จะเสีย Late Charge เฉพาะส่วนที่ค้างชำระเกินวงเงิน Club Payment ส่วนค่าปรับคืนเช็ค (Service fee return cheque) ในกรณีที่ลูกค้าชำระเงินด้วยเช็ค หากเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ ต้องเสียค่าปรับเช็คคืนฉบับละ 500 บาท และค่าปรับหักบัญชีธนาคารไม่ได้ (Return direct debit fee) ลูกค้าที่ชำระเงินโดยการหักบัญชีธนาคาร หากไม่สามารถหักบัญชีได้จะต้องเสียค่าปรับครั้งละ 100 บาท นั้น ไม่ใช่ค่าบริการจากการให้บริการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกันโดยตรง ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการเฉพาะอย่างที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้เป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 246) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (2) เนื่องจากเป็นค่าตอบแทนที่เกิดจากการที่ลูกค้าของโจทก์ไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบถ้วนตามใบแจ้งยอดบัญชี ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากการให้บริการการใช้บัตรเครดิตที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์สิ้นสุดลงแล้ว รายรับส่วนนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6802/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ป.รัษฎากร ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วออกจากภาษีที่ต้องชำระ
มาตรา 67 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันสมควร เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้ว แต่กรณี เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีเงินภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายในช่วงหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2549 ที่จะนำมาหักได้ ประกอบกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) ของจำเลย ในช่องการคำนวณภาษีรายการที่ 4 ก็ยินยอมให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแล้ว จึงนำมาถือเป็นเงินได้ที่ต้องชำระเพิ่มเติมหรือชำระเกินในรายการที่ 5 เช่นนี้ โจทก์ย่อมนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในรายการที่ 4 มาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ โดยไม่ต้องรอเมื่อโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ถึงจะนำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายมาเครดิตภาษี โจทก์จึงไม่มีภาษีที่ชำระขาดที่จะต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำหลักเกณฑ์ตามหนังสือที่ กต.0723/ว.3956 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ที่ให้คำนวณเงินเพิ่มจากภาษีที่ชำระขาดโดยไม่คำนึงถึงภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย จึงเป็นการแปลความตามมาตรา 67 ตรี ในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีและเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ของหลักการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีของผู้เสียภาษี การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6736/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีขับรถเมาแล้วหลบหนี ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ว่ารถยนต์เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ขับในขณะเมาสุราและขับรถหลบหนีด้วยความเร็วสูงโดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นถือเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้องโดยตรงอันพึงริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6295/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนล่าช้า ศาลอนุญาตขยายเวลาได้ หากโจทก์ยื่นภายในกำหนดที่ศาลอนุญาต
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสอง กำหนดว่า การยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน คดีนี้โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหลังจากสืบพยานประเด็นโจทก์ไปแล้วก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ว่า ทนายผู้ร้องแถลงต่อศาลชั้นต้นขอยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ เนื่องจากทนายผู้ร้องยังไม่ทำคำร้องดังกล่าว เท่ากับทนายผู้ร้องมีความประสงค์ขอให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลาให้โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาต เท่ากับศาลชั้นต้นได้กำหนดเวลาให้โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว เมื่อโจทก์ร่วมได้ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วมไว้พิจารณาและมีคำพิพากษาในคดีส่วนแพ่ง จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6041/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตได้ การบรรยายฟ้องครบถ้วน
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง ข้อ 1.3 ว่า และเครื่องกระสุนปืน ขนาด 7.62 มม. NATO จำนวน 11 นัด ซึ่งเป็นกระสุนปืนตามกฎหมายผลิตขึ้นใช้กับอาวุธปืนกล ขนาด 7.62 มม. NATO เป็นอาวุธปืนชนิดที่มีเครื่องกลไกสำหรับบรรจุกระสุนปืนให้สามารถยิงซ้ำเองได้ มีขนาดความยาวลำกล้องเกิน 160 มม. ซึ่งนายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ อันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่สามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้ เครื่องกระสุนปืนจึงเป็นแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ข้อ 2 (3) (ก) ไว้ในครอบครองของจำเลย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนี้ เมื่อฟ้องโจทก์บรรยายว่ากระสุนปืน ขนาด 7.62 มม. เป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนกล ขนาด 7.62 มม. NATO ซึ่งเป็นอาวุธปืนชนิดที่มีเครื่องกลไกสำหรับบรรจุกระสุนปืนให้สามารถยิงซ้ำเองได้มีขนาดความยาวลำกล้องเกิน 160 มม. ที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 2 (3) (ก) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่ไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองแล้ว โดยไม่จำต้องบรรยายให้เห็นว่าเครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ข้อ 3 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพความผิดฐานดังกล่าวกฎหมายไม่ได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น ศาลย่อมลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5411/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ใช้สิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดแล้ว ย่อมไม่อาจขอคืนของกลางได้
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ริบอาวุธปืนของกลางแล้ว หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าศาลอุทธรณ์ริบอาวุธปืนของกลางโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ชอบที่จะใช้สิทธิฎีกาคำพิพากษาไปยังศาลฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ใช้สิทธิดังกล่าวจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลคืนอาวุธปืนของกลาง โดยอ้างข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังที่ปรากฏในคำร้องของจำเลยที่ 1 ดังนี้ หากศาลฟังตามที่จำเลยที่ 1 อ้างในคำร้องดังกล่าวแล้ววินิจฉัยให้คืนอาวุธปืนของกลางแก่จำเลยที่ 1 ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ที่ห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้ว นอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลดหนี้สูญและผลกระทบทางภาษีมูลค่าเพิ่ม: การลดหนี้ไม่ใช่ส่วนลดแต่เป็นการชำระหนี้ ทำให้เกิดหน้าที่เสียภาษี
โจทก์ทำบันทึกข้อตกลงลดหนี้ค่าเช่ารถประจำเดือนธันวาคม 2546 ให้แก่บริษัท บ. 35 ล้านบาท แล้วนำเป็นรายจ่ายหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยไม่ปฏิบัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) เจ้าพนักงานประเมินจึงให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยนำยอดหนี้จำนวนดังกล่าวบวกกลับเป็นยอดลูกหนี้ค้างชำระดังเดิม ซึ่งเป็นเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่ทำให้บันทึกข้อตกลงลดหนี้และรับชำระหนี้ ซึ่งมีผลเป็นการปลดหนี้บางส่วนให้แก่บริษัท บ. ยกเลิกหรือสิ้นสุดลง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าวจึงระงับลงเสมือนโจทก์ได้รับชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้วอันเนื่องมาจากการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โดยถือวันที่ทำบันทึกลดหนี้คือวันที่ 30 ธันวาคม 2546 เป็นวันที่ได้รับชำระหนี้ค่าบริการ ซึ่งเป็นวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78/1 (1) นอกจากนี้การลดหนี้ของโจทก์มิใช่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) ที่ลดให้ในขณะขายสินค้าหรือให้บริการ แต่เป็นการลดหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัท บ. ในวันที่มีการลดหนี้ตามมาตรา 82/4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อพาร์ตเมนต์ไม่ถือเป็นโรงแรม: การรับผิดในความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ของผู้เช่า
พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 มาตรา 4 โรงแรม หมายความว่า สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน ดังนี้ สถานที่อื่นทำนองเช่นว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 674 จะต้องเป็นสถานที่ซึ่งให้บริการทำนองเดียวกันกับโรงแรมหรือโฮเต็ล คือเป็นสถานที่ซึ่งมีลักษณะให้บริการเป็นที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใด สำหรับอพาร์ตเม้นท์ของจำเลยนั้น ศ. เช่าห้องพักของจำเลยสำหรับอยู่อาศัยและเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปสถานศึกษา แม้จะมีบุคคลอื่นเช่าห้องพักดังกล่าวในลักษณะเดียวกัน แต่เห็นได้ว่าการให้บริการห้องพักของจำเลยมีลักษณะเป็นการให้เช่าพักอยู่อาศัยโดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนขึ้นไปเท่านั้น มิใช่เป็นการให้เช่าบริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลใด ดังนี้ การประกอบธุรกิจของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เข้าลักษณะสถานที่อื่นทำนองเช่นว่านั้น กล่าวคือ เช่นดังเจ้าสำนักโรงแรมหรือโฮเต็ลที่จะนำบทบัญญัติวิธีเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรมตาม ป.พ.พ. มาใช้บังคับให้จำเลยต้องรับผิดตามคำฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินต่างกัน แม้คู่ความเกี่ยวเนื่องกัน ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีก่อน จำเลยฟ้อง ว. เป็นจำเลย อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ว. ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ ว. โดยครอบครองต่อจาก ตา ยาย และบิดาของ ว. คือโจทก์ในคดีนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีดังกล่าวจึงมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าที่ดินเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกัน ทั้งคู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคนละคนกัน ว. เป็นผู้สืบสิทธิจากโจทก์ คำพิพากษาในคดีก่อนย่อมไม่ผูกพันโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ